ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>ธุรกิจ

19 ม.ย. 2022

PEAK Account

20 min

เทคนิคการสร้างคุณค่าและเสริมประสิทธิภาพในการประชุมผู้ถือหุ้น

เมื่อพูดถึงการประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว กิจการทั้งหลายก็คงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยแฉพาะกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัดที่ต้องมีการจัดประชุมอยู่เป็นประจำ ย่อมมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการดำเนินการจัดประชุมที่ถูกต้องนั้นจะต้องทำอย่างไร ซึ่งการจัดประชุมที่ดี นอกจากจะเป็นการแสดงว่าบริษัทให้ความสำคัญ และเคารพต่อการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นแล้ว ยังสามารถแสดงถึงความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการบริหารงานของกรรมการ  รวมถึงเป็นการสร้างมูลค่าให้กิจการด้วย เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาทบทวนเรื่องของการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นในประเด็นสำคัญต่าง ๆ กัน ความหมายของการประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมผู้ถือหุ้น คือ การประชุมของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดที่จัดขึ้นตามวันเวลาและสถานที่ที่ได้มีการกำหนดนัดหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาและเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สูงสุดร่วมกัน นอกจากนี้การประชุมผู้ถือหุ้นยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบข้อสงสัยต่างๆ ในการบริหารกิจการได้อีกด้วย ประเภทของการประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ตัวอย่างวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ลักษณะหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่ดี           ในการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งการส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีรายละเอียดชัดเจน และเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ  ได้กำหนดเกี่ยวกับข้อมูลในหนังสือเชิญประชุมไว้ดังนี้             “ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี  รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าว” หลายคนมักจะมีคำถามตามมาว่า  จะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลในหนังสือนัดประชุมฯ มีรายละเอียดตามสมควรแล้วหรือยัง   เรื่องนี้ อาจทดสอบได้ง่ายๆ ว่า ลองพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ในเรื่องที่เสนอให้พิจารณาว่าเพียงพอที่จะตัดสินใจแล้วหรือยัง หากเรายังรู้สึกว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่สามารถตัดสินใจได้  ผู้ถือหุ้นก็คงจะรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยอาจใช้วิธีเก็บรวบรวมคำถามของผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งก่อน ๆ  ประเด็นที่ผู้ถือหุ้นมักจะสนใจซักถามในเรื่องใดเพิ่มเติม และอธิบายประเด็นเหล่านั้นให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น ก็จะช่วยให้ข้อมูลมีความชัดเจนมากขึ้น ประเด็นในหนังสือนัดประชุมฯ ที่ะต้องใช้ดุลยพินิจมากเป็นพิเศษ น่าจะเป็นรายละเอียดของเรื่องที่เสนอให้พิจารณา และ ความเห็นของคณะกรรมการ ซึ่งควรจะมีหลักการทั่วไป ดังนี้ เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา  ควรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน  (1) รายละเอียดทั่วไปของเรื่องที่เสนอ  (2) วัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็น และ (3) ผลกระทบต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยระบุผลกระทบที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ และไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรือเป็นเรื่องการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของบริษัทหรือผู้ถือหุ้น ในส่วนที่เป็นความเห็นคณะกรรมการ  ไม่ควรระบุเพียงว่า “เห็นด้วย” แต่ควรอธิบายเหตุผลด้วยว่า เรื่องที่เสนอดังกล่าวสมเหตุสมผลอย่างไร  การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างไร และหากกรรมการบางส่วนไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่เสนอ ก็ควรจะระบุไว้ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบด้วย ในมาตรา 100 แห่ง พรบ.บริษัทมหาชนฯ กำหนดให้บริษัทโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุม ในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนการประชุม ดังนั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย บริษัทอาจจะเลือกโฆษณา เฉพาะ วัน เวลา สถานที่ และชื่อวาระการประชุมก็ได้ ส่วนรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ก็สามารถจัดทำเป็นเอกสาร ประกอบของหนังสือนัดประชุมฯ  รวมถึงบริษัทอาจเผยแพร่รายละเอียด ของหนังสือนัดประชุมฯ ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทด้วยก็ได้ 2. มีข้อมูลประกอบการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิได้ถูกต้อง  หนังสือเชิญประชุมควรนำเสนอข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น 3. จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ก่อนการประชุมพอสมควร สำหรับกำหนดการในการส่งจดหมายเชิญประชุมนั้น กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม  ส่วนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้บริษัทจดทะเบียนส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน  เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีระยะเวลาเพียงพอที่จะศึกษารายละเอียดของหนังสือนัดประชุมฯ ก่อนตัเข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสามารถจัดเตรียมและส่งเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งที่มีการเสนอวาระพิเศษ นอกเหนือจากเรื่องปกติที่ต้องประชุมสามัญประจำปีอยู่แล้ว เช่น การพิจารณาควบรวมกิจการ  การซื้อขายทรัพย์สินสำคัญ  ก็ยิ่งต้องส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้านานขึ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ศึกษาข้อมูลได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง 4. จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นพร้อมแบบมอบฉันทะ บริษัทควรจะสนับสนุนการใช้สิทธิออกเสียง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้น ดังนี้ 1 ส่งแบบมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นพร้อมการส่งหนังสือนัดประชุม 2. แบบมอบฉันทะที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นควรเป็นแบบที่ให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางให้ผู้รับมอบฉันทะ ลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระได้ว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง 3. เสนอให้กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกจะตั้ง ผู้รับมอบฉันทะของตนเอง โดยระบุรายละเอียดของกรรมการอิสระดังกล่าว ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ส่วนได้เสียของกรรมการอิสระนั้นในวาระเพื่อพิจารณาแต่ละวาระไว้ในแบบหนังสือมอบอำนาจ และกรรมการอิสระนั้นควรได้รับทราบเรื่องที่บริษัทเสนอให้ตนเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น เพื่อให้กรรมการอิสระเข้าประชุมผู้ถือหุ้นในวันดังกล่าวได้  นอกจากนี้บริษัทควรมีมาตรการดูแลให้กรรมการอิสระนั้น ลงคะแนนเสียงตามทิศทางที่ผู้ถือหุ้นกำหนดด้วย การจัดวาระการประชุม แนวทางการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ดี วัน เวลา สถานที่นัดประชุม สถานที่ประชุมควรเลือกสถานที่ที่ผู้ถือหุ้นส่วนมากสามารถเข้าร่วมประชุมได้โดยสะดวก เช่น ถ้าผู้ลงทุนส่วนมากอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ก็ควรจัดประชุมผู้ถือหุ้นในกรุงเทพฯ  โดยควรแนบแผนที่ไปให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุม  นอกจากนี้ ควรเลือกวัน เวลานัดประชุม ที่เหมาะสมและน่าจะสะดวกสำหรับผู้ถือหุ้น  โดยควรหลีกเลี่ยงการนัดประชุมในเวลา เช้า หรือเย็นเกินไป  และควรจัดให้มีโสตทัศนูปกรณ์สำหรับการประชุมที่เหมาะสม การตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารก่อนเข้าประชุม การจัดเตรียมเอกสารที่ใช้เพื่อเข้าร่วมประชุมนี้ ควรจะกำหนดเท่าที่จำเป็น และไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือหุ้นจนเกินไป  โดยควรแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าด้วย นอกจากนี้ ในส่วนของการลงคะแนนในทุกวาระการประชุม บริษัทควรจัดทำบัตรลงคะแนนเพื่อแจกให้ผู้เข้าร่วม เพื่อให้การนับคะแนนเสียงทำได้โดยสะดวก ถูกต้อง และตรวจสอบได้ การดำเนินการประชุม การจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น จากข้อกำหนดของพรบ.บริษัทมหาชนฯ มาตรา 96 วรรคสาม  ควรจัดทำรายงานประชุมผู้ถือหุ้นให้เสร็จภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม และเปิดเผยหรือเผยแพร่ไว้ ณ ที่ทำการหรือเว็บไซต์ของบริษัท หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจดูความถูกต้องของมติ  เรื่องที่อภิปรายหรือชี้แจงในที่ประชุม และให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่ควรบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้ ก่อนที่บริษัทจะนำรายงานการประชุมดังกล่าวเสนอเพื่อรับรองในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป ทั้งนี้ รายงานการประชุมควรบันทึกมติที่ถูกต้อง ชัดเจน โดยควรระบุประเด็นสำคัญที่ผู้ถือหุ้นซักถามและข้อชี้แจงของคณะกรรมการ รวมทั้งระบุผลการนับคะแนนในแต่ละวาระไว้ด้วยว่ามีผู้ถือหุ้นที่เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง จำนวนกี่เสียง และหากมีผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเนื่องจากมีส่วนได้เสียกับเรื่องที่พิจารณา  ก็ควรระบุไว้ด้วย นอกจากการจัดทำรายงานการประชุมแล้ว บริษัทควรจัดทำวีดิทัศน์ (Video) บันทึกภาพการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดระยะเวลาการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถติดตามเหตุการณ์ในการประชุมผู้ถือหุ้นได้สะดวกและรวดเร็ว และยังเป็นประโยชน์ต่อการอ้างอิงและจัดทำรายงานการประชุมในภายหลังด้วย การจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการแสดงว่าบริษัทให้ความสำคัญ และเคารพต่อการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นแล้ว ยังสามารถแสดงถึงความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการบริหารงานของกรรมการอีกด้วย ดังนั้นกิจการจึงควรให้ความสำคัญในทุกๆ ขั้นตอน ไม่ให้เกิดความขึ้นได้ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินต่างๆ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: การจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ดีช่วยสร้างมูลค่าให้กิจการได้อย่างไร  ›

18 ม.ย. 2022

PEAK Account

16 min

วางแผนการเงินอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตได้ดีในยุคดิจิทัล

ปัจจุบันหลายๆ คนมีความฝันที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยให้การดำเนินการต่างๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้น  แต่สิ่งสำคัญที่มักจะเป็นปัญหากัผู้ที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอ ก็คือเรื่องของการวางแผนทางการเงินว่าจะทำให้ธุรกิจหรือกิจการของเรามีสภาพคล่องในระยะยาว และสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นก่อนท่จะเริ่มประกอบธุรกิจ จะต้องมีการวางแผนทางการเงินเป็นอย่างดี ปัญหาที่พบโดยทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการรายใหม่ คือ การขาดระบบบัญชีและงบการเงินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการด้านการเงิน และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการติดสินใจทางธุรกิจได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรืออาจทำให้ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการส่งเสริมตามาตรการของภาครัฐ ได้ ดังนั้นการประกอบธุรกิจจึงต้องการจัดการเรื่องการเงินการลงทุนอย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี และการทำธุรกรรมทางการเงินการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับบัญชีภาษี และการบันทึกบัญชีรับ – จ่าย เป็นต้น การวางแผนการเงิน คืออะไร การวางแผนทางการเงินสำหรับธุรกิจ เป็นการบริหารจัดการเงินทุน เพื่อสร้างมูลค่าของกิจการให้อยู่ในระดับสูงสุด รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจที่ล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุน ทั้งการได้มาหรือใช้ไปของเงินทุน เช่น การซื้อเครื่องจักรใหม่ การกู้เงินจากธนาคาร การเพิ่มทุน  เป็นต้น การวางแผนการเงิน ช่วยธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร ? การวางแผนการเงินธุรกิจมีความสำคัญในธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือแม้กระทั่งธุรกิจ SMEs จะขาดการวางแผนเรื่องการเงินไปไม่ได้ หากกิจการมีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ก็เป็นเหมือนฐานรากที่แข็งแกร่งที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างมั่นคง แข็งแรง สัญญาณอันตราย ปัญหาทางการเงินของธุรกิจ ในการวางแผนธุรกิจ แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ของหลายๆ กิจการก็คงไม่แตกต่างกันมากนักก็คือ การแสวงหาผลกำไรที่สูงที่สุด แต่หลายๆ ครั้งจะพบสัญญาณที่บ่งบอกว่าแผนธุรกิจที่ได้กำหนดไว้เพื่อสร้างผลกำไรให้กับกิจการนั้น นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังทำให้ประสบปัญหาทางด้านการเงินอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น 1. การเร่งทำกำไรมากเกินไปด้วยการลงทุนวิธีการต่างๆ ซึ่งแต่ละการลงทุนนั้นย่อใมีความเสี่ยง หากเลือกลงทุนผิดวิธี ย่อมก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินอย่างแน่นอน ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงิน ผู้ประกอบการจึงควรคิดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนลงทุนทุกครั้ง 2. กำไรขั้นต้นลดต่ำ กำไรจะเป็นตัวใช้วัดความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ซึ่งหากธุรกิจมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง นั่นแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการทำกำไรของธุรกิจเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่หากเมื่อใดที่อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจต่ำลง นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจอาจประสบปัญหาทางการเงินได้ 3.  อัตราการเติบโตของยอดขายลดลง แม้ยอดขายจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ชะล่าใจไม่ได้ เพราะเจ้าของธุรกิจต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่าอัตราการเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด หากอัตราการเติบโตของยอดขายโตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ต้องจับตามองเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาทางการเงิน 4.  ธุรกิจได้กำไร แต่กระแสเงินสดติดลบ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ คือ การขาดคนที่มีความเข้าใจด้านการเงินมาช่วยวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงินของธุรกิจ จึงทำให้ผู้ประกอบการขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ในกิจการจึงควรเตรียมความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย กลยุทธ์วางแผนการเงิน สำหรับธุรกิจ SMEs             เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาทางการขาดสภาพคล่อง จึงควรมีการวางแผนการเงินการลงทุนตั้งแต่แรก ซึ่งหลักในการวางแผนบริหารจัดการการเงินของกิจการนั้นก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน ได้แก่ วางแผนบริหารกระแสเงินสด ในการวางแผนบริหารจัดการกระแสเงินสด ปัญหาสำคัญคือ เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ารายได้ที่เข้ามานั้นยังมีภาระที่ต้องจ่ายแฝงอยู่ด้วย เช่น รายจ่ายที่จำเป็น หนี้สินธุรกิจที่ต้องชำระ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบริษัท ทำให้ไม่ทราบตัวเลขกระแสเงินสดที่แท้จริง มีผลทำให้การตัดสินใจใช้เงินค่อนข้างยาก และอาจผิดพลาดได้ การจะวางแผนบริหารกระแสเงินสดได้ดีนั้น ต้องมีการตรวจสอบกระแสเงินสดเข้า-ออกของกิจการ เพื่อให้รู้ว่าธุรกิจมีรายรับและรายจ่ายจากช่องทางไหนบ้าง โดยกระแสเงินสดเข้าหรือเงินสดรับ มาจากการขายสินค้า การขายสินทรัพย์ การขายเครื่องมือ การขายของเก่า การให้บริการ หรือการกู้เงินจากธนาคาร เป็นต้น  ส่วนกระแสเงินสดออก หรือการจ่ายเงิน เกิดเมื่อมีการนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าเข้ามาขาย การจ่ายค่าโฆษณา การจ่ายเงินเดือน เป็นต้น สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs  ควรทำคือ บริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อสามารถวางแผนบริหารจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ ประเมินความเสี่ยงธุรกิจ ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่จะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และเตรียมแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้ผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด เช่น  มีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากโดยไม่ทราบล่วงหน้า   ลูกค้ามีปัญหาและยกเลิกการสั่งซื้อกระทันหัน เป็นต้น  ผู้ประกอบการจะต้องมีมาตรการรับมือและบริหารจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว สำรองเงินไว้เสมอ เงินทุนหมุนเวียน หรือเงินทุนสำรอง คือความมั่นคงพื้นฐานของธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณา คือ ต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ นอกจากนี้ในการประกอบธุรกิจ อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติภัย หรือสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมเงินสำรองเอาไว้เสมอ หากกระแสเงินสดเกิดติดลบ ก็ยังมีเงินเอาไว้หมุนเวียนในธุรกิจ และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ แต่หากกระแสเงินสดไม่มีเพียงพอ อาจจะต้องหาแหล่งกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ ต่อไป สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ เงินสำรองมีน้อยก็เสี่ยง มีมากเกินไปก็ไม่ดี เพราะอาจเสียโอกาสที่จะนำเงินไปสร้างผลตอบแทนในด้านอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องประเมินการสำรองเงินไว้อย่างเหมาะสม จัดเตรียมแหล่งเงินทุน ในกรณีที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทางบริษัทก็จำเป็นจะต้องมองหาแหล่งเงินทุนภายในนอกเข้ามาช่วยผ่านการขอสินเชื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ SMEs สินเชื่ออเนกประสงค์ สินเชื่อหุ้นค้ำประกัน  เป็นต้น  โดยแหล่งเงินทุนที่กิจการจะนำมาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กิจการนั้น ควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ การบริหารจัดการลูกหนี้และเจ้าหนี้ การบริหารจัดการลูกหนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรมีวิธีจัดการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้เร็วที่สุด  โดยควรหาแรงจูงใจเพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินให้เร็วขึ้น มีการติดตามทวงหนี้อย่างสม่ำเสมอ และสำหรับหากกิจจการอยู่ในฐานะลูกหนี้ก็ควรชำระเงินให้ตรงตามเวลา ไม่ผัดผ่อนหนี้ เพื่อสร้างเครดิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือ การบริหารทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งาน หากธุรกิจของคุณมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีสินค้าค้างสต็อกเป็นจำนวนมาก ควรจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านี้เป็นตัวเงินมากกว่าจะทิ้งให้เป็นสินค้าค้างสต็อก เพราะยิ่งเก็บนานวัน สินค้าก็ยิ่งเก่า  และมูลค่าจะลดลงตามไปด้วย  มีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ สำหรับการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินที่ดีคือ การมีระบบบัญชีที่ถูกต้อง มีการจัดเก็บเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีมาตรฐาน จะช่วยให้ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องภาษีและการตรวจสอบย้อนหลัง ยังป้องกันการทุจริตได้ ช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร เข้าใจงบการเงินให้ถี่ถ้วน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการ SMEs  เพราะตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินนั้นสามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรอ่านงบให้เป็น อย่างน้อยต้องดูกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในธุรกิจ รู้สภาพคล่อง เพื่อจะได้ทราบสภาพการณ์ที่แท้จริงของกิจการได้ และนำมากำหนดแนวทางการบริหารจัดการต่อไป แยกเงินส่วนตัวกับเงินบริษัทออกจากกันอย่างเด็ดขาด     ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการมักใช้เงินปะปนกันระหว่างเงินของตัวเองกับเงินของธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อว เพราะหากมองในแง่มุมการทำธุรกิจ การเสียภาษีของบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลนั้นใช้คนละฐานภาษีกัน ดังนั้นการใช้จ่ายเงินส่วนตัว กับรายได้จากธุรกิจควรแยกกระเป๋าให้ชัดเจน หากไม่แยก เจ้าของธุรกิจจะไม่ทราบเลยว่าจริง ๆ แล้วธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุน หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุน ควรนำไปลงทุนในธุรกิจ หรือนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ควรใช้เงินสดจนขาดสภาพคล่อง การที่จะดำเนินงานธุรกิจ SMEs ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น การวางแผนการเงินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีมาตรฐานในการดำเนินงาน ในการบริหาร การจัดการที่เป็นขั้นตอน เป็นระบบระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ธุรกิจ SMEs ดำเนินการได้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก 

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

19 min

API ตัวช่วยเร่งสปีดธุรกิจ เสริมประสิทธิภาพนักบัญชี

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า  API ในการพัฒนา แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือ เกม แต่ไม่เข้าใจความหมาย นักบัญชีบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้ว API เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นักบัญชี ยุคดิจิทัลไม่รู้ไม่ได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น API มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับงานบัญชี บทความนี้มีคำตอบ API คืออะไร API ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface หรือส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ โดย วิกิพีเดียได้ให้คำนิยามว่า เป็นวิธีที่ระบบปฏิบัติการไลบารีซึ่งเป็นส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียน ซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่งๆ) หรือบริการอื่น  เปิดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อเรียกใช้งานได้ API เป็นตัวกลางที่ทำให้เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกัน โดยเชื่อมถึงข้อมูลกับฐานข้อมูลของอีกฝ่ายหนึ่ง ในรูปแบบของ ”โค้ด” ใช้เรียก API  หลักการทำงานของ API API เป็นตัวกลางระหว่างแอปพลิเคชันปลายทางกับเซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API โดย API มีหน้าที่ ดึงข้อมูลที่ผู้ใช้บนแพลตฟอร์มทำขึ้น นำไปประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API และตอบสนอง กลับไปยังแพลตฟอร์มของผู้ใช้ ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 หลักการทำงานของAPI ที่มา: API หรือ Application Programming Interface คืออะไร ? (thaiware.com) API เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์จากระบบหลักไปสู่ระบบ Client อื่นๆ หน้าที่หลักของ API จะคอยรับคำสั่งจากฝั่ง Client ซึ่งก็คือแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, โมบายส์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรม จะมีการรับคำสั่งไปประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ตรงกับ Request ที่ต้องการ ก่อนจะส่งข้อมูลนั้นกลับไปที่ Client หรือตัวแอปพลิเคชันนั้นๆ เพื่อใช้งานต่อไป   (ที่มา: พัฒนาระบบแอปของธุรกิจคุณด้วย POSPOS APIs ) API เป็นช่องทางหรือ Gateway ที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยตรงของอีกฝ่าย เป็นตัวกลางที่ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API มีความปลอดภัย สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงได้ เป็นการป้องกันผู้เข้ามาโจมตีในการเข้าถึงข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของซอฟต์แวร์และเว็บไซต์ที่ใช้ API ในการใช้งาน API สามารถศึกษาได้จากคู่มือนักพัฒนา (Developers)  เกี่ยวกับรูปแบบการส่งข้อมูลว่ามีการส่งข้อมูลแบบไหน, ใช้ภาษาโปรแกรมอะไรในการเชื่อมต่อ, ใช้แพลตฟอร์มใดในการเชื่อมต่อ เช่น Web Application, Mobile Application หรือ Desktop Application เป็นต้น  ในการสมัครใช้บริการ โดยทั่วไปจะให้ลงทะเบียนสมัคร เพื่อรับค่าอ้างอิง เช่น Token และต้องดาวน์โหลด Libraries ของภาษาโปรแกรมของผู้ให้บริการนั้นมาติดตั้งในเครื่องนักพัฒนาหรือเครื่องแม่ข่ายของนักพัฒนา ประเภทของ API API มีด้วยกัน 4 ประเภทดังนี้ 1. Public API เป็น API ที่เปิดเป็นสาธารณะที่พร้อมให้นักพัฒนา หรือองค์กรต่างๆ เข้ามาขอใช้งานได้ อย่างเช่น Microsoft เปิด Public API ให้นักพัฒนาอื่นๆ สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน หรือข้อมูลที่ต้องการจาก Windows ได้ แต่มีการคิดค่าใช้จ่าย หรืออาจแจกฟรีบ้าง แล้วแต่ตกลง เช่น Windows API ที่นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมที่เข้าถึงระบบของระบบปฏิบัติการ Windows ได้ เป็นต้น 2. Partner API เป็น API สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้คู่ค้าทางธุรกิจได้เข้าถึงข้อมูลของ บริษัทได้ โดยมีข้อกำหนดว่าคู่ค้าสามารถใช้ข้อมูลได้เฉพาะที่บริษัทกำหนดเท่านั้น เช่น โปรแกรม CRM ที่บริษัท เปิด API ให้คู่ค้าทางธุรกิจเข้าถึงข้อมูลลูกค้าบางรายการของบริษัท  เป็นต้น 3. Internal API เป็น API ที่ใช้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น (Internal Only) ใช้สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลและระบบต่างๆ ภายในองค์กรเข้าด้วยกันอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่มีหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีฐานข้อมูลที่ใช้งานแตกต่างกัน เช่น หน่วยงานขาย หน่วยงานบัญชี หน่วยงานจัดซื้อ หน่วยงานคลังสินค้า เป็นต้น หากต้องการเข้าถึงระบบของอื่น ๆ ในองค์กร ก็อาจมีการสร้าง API และเปิดให้อีกฝ่ายใช้งาน เป็นต้น 4.Composite API เป็นรูปแบบการผสมผสาน API ตั้งแต่ 2 บริการขึ้นไปเข้าด้วยกัน ในการทำงานผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกันได้ในคราวเดียว ช่วยลดปัญหาการใช้ API ซ้ำซ้อน และ ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มในด้านความเร็วในการใช้งาน ประโยชน์ของ API ลักษณะของ API ที่ดี API ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ ตัวอย่างของAPI Application Grab เป็นแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่ให้บริการเรียกรถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคลและ รถมอเตอร์ไซค์ ทั้งในส่วนของมอเตอร์ไซค์รับจ้างและการขนส่งสิ่งของหรือเอกสาร บริการของ Grab ได้แก่ Grab Car บริการเรียกรถส่วนบุคคล, Grab Taxi บริการเรียกรถแท็กซี่, Grab Express บริการรับส่งพัสดุหรือเอกสาร เป็นต้น  Grab ใช้เทคโนโลยี API ที่ให้พันธมิตร ทางธุรกิจสามารถเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง Grab และบริการของพาร์ตเนอร์ได้ อย่าง Grab ใช้ระบบแผนที่ของ Google หรือ Google Map โดย Grab จะขอ API ของ Google Map มาเขียนโปรแกรม Fastship           เป็นแพลตฟอร์มขนส่งระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์และบุคคลทั่วไปที่ต้องการ ส่งพัสดุ เป็นผู้ให้บริการส่งสินค้า e-Commerce บริการส่งพัสดุไปต่างประเทศ โดยมีระบบ เทคโนโลยี API ในการเชื่อมต่อ Marketplace ต่างๆ อย่างเช่น ebay, amazon, Alibaba เป็นต้น และบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก อย่างเช่น UPS, FedEx เป็นต้น มีบริการเชื่อมต่อกับ Marketplace ระดับโลก ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการจัดส่งพัสดุ นอกจากนี้ยังมี API ที่เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง PEAK ACCOUNT ทำให้ผู้ประกอบการได้รับ ความสะดวก สามารถบันทึกรายการบัญชีได้โดยอัตโนมัติ ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ของนักบัญชี และข้อมูลที่บันทึกบัญชีถูกต้องครบถ้วน Cloud Commerce เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce ของไทยที่ให้บริการครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ มีระบบเทคโนโลยี API ในการเชื่อมต่อกับกลุ่ม Marketplace ที่มีชื่อเสียงอย่าง eBay, Lazada, Alibaba, Amazon เป็นต้น เป็นพันธมิตรกับ Fastship ที่ช่วยเชื่อมโยงการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้รับอย่างรวดเร็ว มีพันธมิตรด้าน Drop point ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการนำสินค้าไปวาง ณ จุด Drop point ได้ นอกจากนี้ยังมี API ที่เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง PEAK ACCOUNT เช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความสะดวกในการบันทึกรายการบัญชีอีกด้วย ทำไมนักบัญชีต้องรู้เรื่อง เทคโนโลยี API จากที่กล่าวมาข้างต้น นักบัญชีได้ทำความรู้จักเทคโนโลยี API จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวนักบัญชีเลย ยิ่งในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน นักบัญชีจึงควรมีความรู้ เรื่องเทคโนโลยี API ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. API เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการทำงานของนักบัญชีอย่างเช่นโปรแกรมบัญชี โดยเฉพาะ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีความทันสมัย จะสามารถเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์ม FASTSHIP (แพลตฟอร์มขนส่งสินค้าและพัสดุ), TORYORDONLINE (แพลตฟอร์มค้าส่งออนไลน์), CLOUDCOMMERCE (แพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจ e-Commerceครบวงจร), SELLSUKI (แพลตฟอร์ม       e-Commerce Solution  สำหรับธุรกิจออนไลน์) เป็นต้น ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การบันทึกบัญชีเป็นอัตโนมัติมีความรวดเร็ว และถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องรอรับเอกสารแล้วค่อยบันทึกบัญชี ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรับส่งเอกสาร นักบัญชีลดงานคีย์เอกสาร 2. API เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบบัญชีมีความเป็นมาตรฐานและอัตโนมัติ ทำให้กระบวนการ ทางบัญชีมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมีเวลามากขึ้น นอกจากนักบัญชีจะสามารถลดเวลาในการทำงาน แบบซ้ำๆ แล้ว ยังสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้บริหารได้รวดเร็วและวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เป็นการนำเทคโนโลยีมาสร้างข้อได้เปรียบสำหรับนักบัญชี เปลี่ยนบทบาทของ นักบัญชีในอดีตที่เคยทำงานกับเอกสารกองโตมาเป็นนักบัญชีที่มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ 3. เมื่อ API เข้ามามีบทบาทในการกระบวนการทำงานทางบัญชี ทำให้นักบัญชีต้องพัฒนาทักษะ ในด้านต่างๆ ได้แก่ 3.1 ทักษะในการทำงานกับข้อมูล ได้แก่ Data Analytics รวมถึงทักษะการตั้งคำถามและ การใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล 3.2 ทักษะในการสื่อสารกับผู้บริหารด้วยภาษาธุรกิจและสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกลยุทธ์เพื่อให้เข้าใจธุรกิจในหลากหลายมิติ 3.3 ในการจัดการระบบอัตโนมัตินักบัญชีต้องมีทักษะทางบัญชีในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจขอบเขตและ ลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างถ่องแท้ 3.4 ทักษะในการเชื่อมโยงข้อมูล กระบวนการทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในองค์กรเป็นองค์รวม เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน นำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ ในโลกธุรกิจ คงยากที่ผู้ใดจะต้านทานคลื่นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ นักบัญชีจึงควรเปิดใจรับ มองเทคโนโลยีเป็นโอกาสในการเติบโตในวิชาชีพ พัฒนาทักษะดังที่กล่าวมาและปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เปลี่ยนบทบาทของนักบัญชีมาสู่การเป็นนักบัญชีบริหาร เป็นคู่คิดของผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีบริการเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์มที่เป็นพันธมิตร ใช้ API ที่เป็นมาตรฐานรองรับและเชื่อมต่อได้ง่าย มีทีมพัฒนาและนักบัญชีที่มากประสบการณ์ ในการช่วยเหลือแนะนำในการเชื่อมต่อ มีนักบัญชีช่วยผู้ประกอบการในการทำความเข้าใจ ระบบงานและวางระบบการเชื่อมต่อ API ที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: API หรือ Application Programming Interface คืออะไร ? (thaiware.com) นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล | สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) (tfac.or.th) API คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ API มีอะไรบ้าง – เกร็ดความรู้.net (xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net) API คืออะไร และกำลังเปลี่ยนแปลงโลกของการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร – AI GEN (aigencorp.com)

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

23 min

เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรให้ถูกใจเจ้าของกิจการ

ผู้ประกอบการ SMEs นิยมจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีเองหรือจ้างพนักงานบัญชี และถึงแม้กิจการจะสามารถจัดทำเอกสารทางธุรกิจเองได้  ไม่ว่าจะเป็น ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น แต่ในการปิดบัญชี การตรวจสอบความถูกต้องทางบัญชีและภาษี ยังจำเป็นต้องมีนักบัญชีลงนามรับรองงบการเงินและรายงานภาษีประจำปีตามกฎหมาย การจ้างสำนักงานบัญชีจึงมีความสำคัญสำหรับกิจการ การเลือกใช้สำนักงานบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการควรให้ความสำคัญ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายในการนำส่งงบการเงินและแบบแสดงรายการทางภาษี รวมทั้งคุ้มค่ากับค่าทำบัญชีที่จ่าย หน้าที่ของสำนักงานบัญชี 1. การยื่นแบบภาษีประจำเดือน ได้แก่ การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. การยื่นแบบประจำปี ได้แก่ การยื่นแบบภาษีนิติบุคคลกลางปีและสิ้นปี การนำส่งงบการเงิน การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำปีสำหรับเงินเดือนพนักงาน 3. การปิดบัญชี ได้แก่ การจัดทำสมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันซื้อขายและรับจ่ายเงิน สมุดบัญชีแยกประเภท งบทดลอง งบการเงิน รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องบัญชีและภาษี ประโยชน์ของการใช้สำนักงานบัญชี  1. ช่วยให้ตัวเลขงบการเงินของบริษัทมีความถูกต้องน่าเชื่อถือจากการตรวจสอบตัวเลขรายการซื้อขาย รับจ่ายของสำนักงานบัญชี และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตในองค์กร 2. ช่วยลดภาระและความยุ่งยากของเจ้าของกิจการและประหยัดเวลาในการทำบัญชีด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ สามารถใช้เวลาไปกับการบริหารจัดการ การวางแผน การเพิ่มยอดขาย ได้มากขึ้น 3. มีการอัปเดตกฎหมายทางบัญชีและภาษีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเลือกใช้โปรแกรมทางบัญชีที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ และสามารถติดต่อประสานงานและให้ข้อมูลทางบัญชีและภาษีกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์หรือกรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการได้ 4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายของกิจการประเภทเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ในการจ้างนักบัญชีในบริษัท โดยผู้ประกอบการสามารถว่าจ้างสำนักงานบัญชีด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ในการจัดทำบัญชี การจัดทำงบการเงิน การยื่นแบบเสียภาษีรายเดือนและรายปี นอกจากนี้ยังลดต้นทุนในการจัดซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปและค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดโปรแกรมด้วย 5. สำนักงานบัญชีไม่เพียงแค่จัดทำบัญชีให้อย่างเดียวเท่านั้น ยังให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำในการจัดการเรื่องบัญชีและภาษีของบริษัท ซึ่งลดความเสี่ยงในการมีประเด็นทางภาษีและการเสียค่าปรับทางบัญชีและภาษี นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจต่อไป วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือในการเลือกสำนักงานบัญชี ในการเลือกสำนักงานบัญชีสำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มต้น หรือกิจการที่ต้องการหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือ สามารถทำได้ดังนี้ 1. การขอคำแนะนำจากคนรู้จักหรือผู้ที่เคยใช้งานจริง เป็นการสอบถามจากคนรู้จัก เพื่อน ญาติพี่น้อง ที่ทำธุรกิจส่วนตัวซึ่งใช้บริการสำนักงานบัญชี หรือเรียกว่าวิธี Refer โดยสอบถามวิธีการทำงานของสำนักงานบัญชี ประสิทธิภาพในการทำงาน ผลงานเป็นอย่างไร เมื่อได้รับคำแนะนำจากคนรู้จักแล้ว อาจทำการติดต่อสอบถามสำนักงานบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจว่าจ้าง 2. การติดต่อสอบถามจากสำนักงานบัญชี ในกรณีที่ไม่มีคนรู้จักแนะนำ กิจการสามารถค้นหาสำนักงานบัญชีจากการ search ในอินเทอร์เน็ต และทำการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันอย่างน้อย 4-5 ราย เช่น เรื่องของประสบการณ์ในการทำงานของสำนักงาน มีใบประกอบวิชาชีพหรือไม่ มีบริการอะไรบ้าง ค่าบริการทำบัญชีเป็นเท่าไร เป็นต้น 3 เรื่องในการเลือกสำนักงานบัญชี ที่เจ้าของกิจการต้องระวัง 1. การพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ในการเลือกสำนักงานบัญชี ผู้ประกอบการควรพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ดังต่อไปนี้ 1 .1 สำนักงานบัญชีต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย สำนักงานบัญชีสามารถจัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็ได้ แต่สิ่งที่จำเป็นก็คือสำนักงานบัญชีจำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้ลงนามนำส่งงบการเงินประจำปีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยผู้ทำบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้ โดยปกติสำนักงานบัญชีจะมีบริการจัดหาผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของกิจการ กิจการสามารถตรวจสอบสถานะของผู้สอบบัญชีได้ที่ :ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี :: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ Federation of Accounting Professions (tfac.or.th) 1.2 ประสบการณ์ของสำนักงานบัญชี ในการพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ควรพิจารณาประสบการณ์ของสำนักงานบัญชีว่าเคยให้บริการแก่ธุรกิจประเภทใดบ้าง เช่น ธุรกิจบริการ ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิต เป็นต้น และพิจารณาความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกิจการ อย่างกรณีกิจการที่มีลักษณะเฉพาะเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริม BOI ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น เพราะการบันทึกบัญชีจะมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป ถ้านักบัญชีในสำนักงานบัญชีไม่มีประสบการณ์ตรงในธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดทางด้านบัญชีและภาษีสูง 1.3 ระบบการทำงาน ในการเลือกสำนักงานบัญชี เจ้าของกิจการควรพิจารณาระบบการทำงานของสำนักงานบัญชีว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น มีเอกสารใดบ้างที่ต้องส่ง กำหนดการส่งเอกสารเมื่อไร และที่สำคัญควรสอบถามกำหนดการยื่นแบบภาษีและการนำส่งงบการเงินประจำปี เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการ      เสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม รวมทั้งควรสอบถามรายงานที่กิจการจะได้รับในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี เช่น งบกำไรขาดทุนรายเดือน งบการเงินประจำปี เป็นต้น นอกจากนี้กิจการอาจพิจารณาถึงจำนวนพนักงานของสำนักงานบัญชี รวมทั้งจำนวนลูกค้าที่สำนักงานบัญชีให้บริการ ก็จะช่วยให้กิจการทราบถึงประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานบัญชีก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ 1.4 จริยธรรมของสำนักงานบัญชี จริยธรรมในที่นี้หมายถึงความซื่อสัตย์ของสำนักงานบัญชี ที่จริงแล้วดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากในการประเมินคุณสมบัติข้อนี้ของสำนักงานบัญชี ผู้ประกอบการอาจจะเคยได้ยินว่ามีลูกค้าของสำนักงานบัญชีบางรายโดนสำนักงานบัญชีโกงเงินค่าภาษี เมื่อโอนเงินค่าภาษีให้สำนักงานบัญชีไปแล้ว แต่สำนักงานบัญชีไม่นำไปจ่ายกรมสรรพากร ในการพิจารณาความซื่อสัตย์ของสำนักงานบัญชี ให้ดูว่าสำนักงานบัญชีมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่งหรือไม่ อย่าหลงเชื่อเว็บไซต์ที่สวยงาม โดยในการเซ็นตกลงราคาควรนัดเซ็นที่สำนักงานบัญชี หรือในระหว่างการใช้บริการอาจสุ่มขอดูใบเสร็จค่าภาษีหรือใช้วิธีให้สำนักงานบัญชีส่งเอกสาร pay slip มาให้ผู้ประกอบการนำไปชำระภาษีเอง 2. บริการของสำนักงานบัญชีและราคาค่าบริการทำบัญชี โดยทั่วไปสำนักงานบัญชีจะให้บริการในการทำบัญชี ปิดงบ จัดทำงบการเงินประจำปี การยื่นประกันสังคมและยื่นแบบภาษีเป็นหลัก แต่ถ้าสำนักงานบัญชีมีบริการที่ครบวงจรหรือมีสำนักงานที่เป็นพันธมิตร ได้แก่ บริการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การเปลี่ยนแปลงกรรมการ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของบริษัท เป็นต้น การวางระบบบัญชี การวางแผนภาษี การจัดทำเงินเดือน การจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ ก็จะเป็นการสะดวกสำหรับเจ้าของกิจการ ที่ไม่ต้องจัดหาสำนักงานบัญชีหลายแห่ง สำหรับค่าบริการทำบัญชี ผู้ประกอบการควรพิจารณาราคาที่เหมาะสมกับบริการที่ได้รับ ปัจจุบันมีสำนักงานทางบัญชีที่ให้บริการเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันกันทางด้านราคาค่าบริการ ผู้ประกอบการไม่ควรเลือกสำนักงานบัญชีที่คิดราคาค่าบริการที่ถูกเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่คิดราคาค่าบริการที่เหมาะสมและพิจารณาที่คุณภาพของงานที่ให้บริการเป็นหลัก ในการตกลงค่าบริการทำบัญชีกับสำนักงานบัญชี กิจการควรสอบถามให้ชัดเจนว่า ค่าบริการทำบัญชีรวมบริการอะไรบ้าง อย่างในกรณีที่กิจการถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษี ได้รวมค่าที่ปรึกษาและการที่สำนักงานบัญชีเป็นตัวแทนเข้าพบเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรหรือยัง ในกรณีที่ยังไม่รวม สำนักงานบัญชีจะคิดอัตราค่าบริการอย่างไร ถ้ากรณีดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดของสำนักงานบัญชี ทางสำนักงานบัญชีจะร่วมรับผิดชอบกับกิจการหรือไม่ จึงควรมีการตกลงในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน และที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรมีการตกลงราคาค่าบริการและบริการที่จะได้รับกับสำนักงานบัญชีเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้สำนักงานบัญชีจัดทำข้อเสนอราคาและมีการลงนามทั้งสองฝ่าย 3 . โปรแกรมบัญชีที่สำนักงานบัญชีใช้ ในการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง คือ โปรแกรมบัญชีที่สำนักงานบัญชีใช้ ควรเป็นโปรแกรมบัญชีที่เหมาะกับธุรกิจของกิจการ มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น การมองหาสำนักงานบัญชีที่ใช้โปรแกรมบัญชีดังกล่าวได้จะช่วยให้ไม่เกิดความผิดพลาดในการจัดทำบัญชีและภาษี ปัจจุบันการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้การทำบัญชีสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนการทำงานตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีอย่างโปรแกรมPEAK มีฟีเจอร์สำหรับผู้ประกอบการดังนี้ – ช่วยจัดการงานบัญชีครบวงจรทั้งโปรแกรมบัญชีและบริการบัญชี/ยื่นภาษีในที่เดียว – มีรายงานแบบเรียลไทม์ที่สรุปผลประกอบการข้อมูลการขาย รายงานสินค้า รายงานลูกหนี้/เจ้าหนี้ค้างชำระ และรายงานการเก็บเงินช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนและตัดสินใจ – การออกเอกสารการค้าทางออนไลน์ ได้แก่ ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี   ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้สะดวก ถูกต้องและรวดเร็วแบบมืออาชีพ – ช่วยกิจการจัดทำเอกสารยื่นแบบส่งกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง ส่วนฟีเจอร์สำหรับสำนักงานบัญชี ได้แก่ – การบันทึกบัญชีอัตโนมัติทั้งสมุดรายวัน บัญชีแยกประเภท ออกงบทดลองและจัดทำงบการเงิน – ช่วยจัดเตรียมรายงานภาษี ทั้งรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย (สำหรับจัดทำ ภ.พ.30) รายงานภาษี   หัก ณ ที่จ่าย สำหรับจัดทำ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 – สามารถแนบภาพไฟล์เอกสารออนไลน์เก็บไว้ในการบันทึกบัญชี ใช้ตรวจสอบภายหลังได้ ลดการส่งเอกสารฉบับจริง – สามารถดึงข้อมูลคู่ค้าจากเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรโดยอัตโนมัติ – ช่วยการกระทบยอด Statement บัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้PEAK ยังมีฟีเจอร์ที่รองรับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เป็นพันธมิตร โดยมีการเชื่อมต่อกับโปรแกรมพันธมิตรในกลุ่มต่างๆ เพื่อช่วยให้การบันทึกบัญชีหรือการตรวจสอบข้อมูลเป็นอัตโนมัติมากที่สุด อย่างกลุ่มธุรกิจ e-Commerce โปรแกรม PEAK มีการพัฒนาเชื่อมต่อกับ ZORT ผู้ให้บริการระบบบริหารและจัดการออเดอร์และสต็อกสินค้าแบบครบวงจร รองรับทั้งระบบ e-Commerce, Social Media และหน้าร้าน โดย PEAK จะช่วยให้การบันทึกบัญชีและการตรวจสอบข้อมูลเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน ข้อมูลมีความถูกต้อง โปรแกรม PEAK ยังช่วยออก e-Tax Invoice by email ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนดทันที พร้อมประทับเวลารับรอง (Time Stamp) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานในการส่งเอกสารให้กรมสรรพากรได้โดยไม่ต้องแปลงไฟล์ หรือใช้งานผ่านโปรแกรมใดเพิ่มเติม การเลือกใช้สำนักงานบัญชีที่ทำบัญชีโดยการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้การจัดการบัญชีมีความสะดวกรวดเร็ว ยังช่วยให้กิจการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ่ายซื้อซอฟต์แวร์และประหยัดค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที  และโปรแกรมยังมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันระบบล่ม การติดไวรัสหรือข้อมูลสูญหาย รวมทั้งการป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้งานด้วย จากที่กล่าวมา 3 แนวทางในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้รับบริการที่ครบถ้วน เหมาะสม คุ้มค่ากับราคาค่าบริการที่จ่าย    ได้รับบริการจากสำนักงานบัญชีที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งทางกฎหมาย  มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ตรงกับธุรกิจ มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้โปรแกรมบัญชีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้การจัดทำบัญชีและภาษีมีความถูกต้อง ช่วยลดความผิดพลาด ลดประเด็นปัญหาทางบัญชีและภาษี กิจการไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ที่สำคัญคือผู้ประกอบการสามารถเรียกดูข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ทุกที่ทุกเวลา ข้อมูลมีความถูกต้องนำไปใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรและนำไปสู่การเติบโตในอนาคต PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีสำนักงานบัญชีพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมช่วยแนะนำสำนักงานบัญชีที่ใกล้และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของคุณ ช่วยผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน                                                                                                    ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ – PEAK Blog (peakaccount.com) สำนักงานบัญชี คืออะไร ข้อดีของการจ้างสำนักงานบัญชี? – ณัฐชา | บริการด้านบัญชีและภาษี (accnonthaburi.com) วิธีเลือกสำนักงานบัญชี | Prosoft ERP 5 วิธีตรวจสอบสำนักงานบัญชีที่น่าใช้งาน – โปรแกรมบัญชี SMEMOVE

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

14 min

หลักเกณฑ์สำคัญของการบันทึกรายได้ช่วยให้กิจการเติบโต

รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การคำนวณกำไรสุทธิที่ถูกต้อง ในการบันทึกรายได้ยังคงมีประเด็นปัญหาที่นักบัญชีต้องระวัง จะมีประเด็นอย่างไรนั้นมาติดตามกันในบทความนี้ รายได้คืออะไร ในทางธุรกิจ รายได้ (Revenue) หมายถึง รายรับที่องค์กรธุรกิจได้มาจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติ เป็นผลจากการสินค้าและบริการให้กับลูกค้า นอกจากนี้รายได้ยังหมายถึงจำนวนเงินที่ได้รับภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น บริษัท A มีรายได้ในปี 2564 10 ล้านบาท เป็นต้น ในทางบัญชีการจัดทำงบการเงิน รายได้จะถูกแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุนเป็นบรรทัดแรก ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 รายได้ หมายถึง กระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้นจำนวนเงินที่กิจการเก็บแทนบุคคลที่สาม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ถือเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กิจการได้รับและไม่ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ประเภทของรายได้ รายได้จากการประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenue) เป็นรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการตามปกติของธุรกิจ เกิดจากการประกอบกิจการโดยตรงตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจในการแสวงหากำไร เรียกว่ารายได้หลัก ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการผลิตสินค้าและจำหน่าย รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น 2. รายได้อื่น (Non Operating Revenue) เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ แต่เป็นรายได้อันเนื่องมาจากการประกอบกิจการที่เป็นผลพวงมาจากการดำเนินงานในทางอ้อม เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ รายได้ค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร กำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เงินปันผลรับ เป็นต้น ในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป รายได้เกิดจากรายการดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้า สินค้า หมายถึง สินค้าที่กิจการผลิตหรือที่ซื้อมาเพื่อขายต่อ ได้แก่ สินค้าที่ซื้อมาโดยกิจการค้าปลีก ที่ดินที่กิจการถือครองไว้เพื่อขายต่อ เป็นต้น 2. การให้บริการ สำหรับการให้บริการ มีผู้ให้คำนิยามของการบริการไว้ดังนี้ ไพรพนา (2544) การบริการ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลหรือองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นให้ได้รับความสุขและความสะดวกสบาย หรือเกิดความพึงพอใจจากผลของการกระทำนั้น โดยมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่สามารถจับต้องได้ ไม่สามารถครอบครองเป็นเจ้าของในรูปธรรม และไม่จำเป็นต้องรวมอยู่กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งยังเกิดจากความเอื้ออาทร มีน้ำใจ ไมตรี เปี่ยมด้วยความปรารถนาดี ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ความสะดวกรวดเร็ว Kotler (1997) ให้ความหมายของการบริการไว้ว่า การบริการ หมายถึง กิจกรรม หรือประโยชน์เชิงนามธรรมซึ่งฝ่ายหนึ่งได้เสนอเพื่อขายให้กับฝ่ายหนึ่ง โดยผู้รับบริการไม่ได้ครอบครองการบริการนั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการให้การบริการอาจจะให้ควบคู่ไปกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ได้ การบริการจึงเปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้เหมือนสินค้าทั่วๆ ไป ดังนั้นการบริการจะเกี่ยวข้องกับการเสนอขาย การปฏิบัติงาน หรือการกระทำใดๆ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยที่ผู้บริโภคจะมิได้ครอบครองการบริการนั้นๆ เหมือนการครอบครองสินค้า 3. ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ เงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ เงินปันผล เป็นรายได้ที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการโดย ดอกเบี้ย เป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้เงินสด รายการเทียบเท่าเงินสด หรือจำนวนค้างรับของกิจการ ค่าสิทธิ เป็นค่าตอบแทนจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ระยะยาวของกิจการ เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เงินปันผล เป็นส่วนแบ่งกำไรที่ผู้ถือเงินลงทุนในตราสารทุนจะได้รับตามสัดส่วนของเงินลงทุนที่ถือ ความหมายของรายได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นรายได้ในทางบัญชี สำหรับรายได้ทางภาษีหรือ รายได้ตามประมวลรัษฎากร หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ประมวลรัษฎากรได้กำหนดคำว่า ขาย หมายถึงรวมถึง ขายฝาก และเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอบในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใดและไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ การรับรู้รายได้ (Revenue Recognition) หมายถึง การรวบรวมรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบกำไรขาดทุน ดังนั้น เมื่อกิจการมีการรับรู้รายได้ สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ คือ จะต้องนำรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นไปบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และนำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีอากรมีความแตกต่างกัน สำหรับความแตกต่างของหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกรณีกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ได้แก่ ธุรกิจ SMEs ซึ่งมีจำนวนเงินทุนน้อย และมีการดำเนินธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน   ตารางที่1 ความแตกต่างของหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและการรับรู้รายได้ทางภาษี ปัญหาในการบันทึกรายได้ที่นักบัญชีต้องระวัง การบันทึกรายได้เป็นรายการที่นักบัญชีมีความคุ้นเคยกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมีประเด็นปัญหาในการบันทึกรายได้ที่นักบัญชีต้องระวัง ในที่นี้จะขอยกประเด็นปัญหาในการบันทึกรายได้บางประเด็นพร้อมทั้งแนวทางแก้ไข ดังต่อไปนี้ 1. การบันทึกรายได้ไม่ตรงตามงวดเวลาที่เกิดรายการ ปัญหา กรณีที่กิจการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในงวดปัจจุบัน โดยตามหลักฐานใบส่งของระบุวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่การบันทึกบัญชีรายได้ บันทึกเป็นรายได้ของปีถัดไป มีผลทำให้รายได้ของปีปัจจุบันต่ำไปและรายได้ของปีถัดมาสูงไป แนวทางแก้ไข นักบัญชีควรตรวจสอบรายการส่งมอบสินค้าโดยเฉพาะในช่วงสิ้นปี จากวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในหลักฐานใบส่งของ เพื่อบันทึกรายได้ให้ตรงตามงวดเวลาและครบถ้วน 2. การบันทึกรับรู้รายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ปัญหา กรณีที่กิจการออกเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีและบันทึกรายได้ แต่ยังไม่มีการส่งสินค้าหรือยังไม่มีการให้บริการเกิดขึ้น แนวทางแก้ไข นักบัญชีควรตรวจสอบหรือสอบยันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ามีรายการส่งสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นหรือยัง มิใช่บันทึกรายการตามเอกสารที่ได้รับเท่านั้น 3. การบันทึกรายได้จากการขายสินค้าส่งออก ปัญหา กิจการมีรายการขายสินค้าส่งออก การรับรู้รายได้บันทึกตามวันที่เอกสารใบขนขาออก แนวทางการแก้ไข ตามปกติในการส่งออก กิจการจะว่าจ้างบริษัทเดินเรือเพื่อทำการส่งออกและเคลียร์เอกสารต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า (INCOTERM) หลายรูปแบบ ได้แก่ CIF, CFR หรือ FOB เป็นต้น ในการรับรู้รายได้ นักบัญชีควรพิจารณาเงื่อนไขดังกล่าว แล้วจีงรับรู้รายได้และบันทึกตัดสินค้าคงเหลือออกจากบัญชีเมื่อกิจการปราศจากความเสี่ยงและผลตอบแทนในตัวสินค้านั้นแล้ว โดยความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกโอนไปยังผู้รับจ้างเดินเรือ หรือโอนไปยังผู้ซื้อตาม INCOTERM ที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่การบันทึกรายได้ตามวันที่ในเอกสารใบขนขาออก นักบัญชีจึงควรศึกษาทำความเข้าใจวิธีการบันทึกรายได้ของกิจการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การบันทึกรายได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าและได้ข้อมูล ผลประกอบการของกิจการที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ PEAK โปรแกรมบัญชีช่วยนักบัญชีจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว   ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: 5 ปัญหาการบันทึกรายได้ ที่นักบัญชีต้องระวัง (dharmniti.co.th) ความหมายของคำว่า รายได้ | Prosoft ERP z3BRppJ4TF.pdf (tfac.or.th) สรุปความแตกต่างหลักการทางบัญชีและหลักการทางภาษี สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

16 ม.ค. 2022

PEAK Account

20 min

วิธีรับมือกับความเสี่ยงด้านบัญชีของธุรกิจ

ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี  ประกอบด้วย 1. ความเสี่ยงจากลักษณะธุรกิจ (Inherent Risk หรือ IR) หรือความเสี่ยงสืบเนื่อง เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่โดยธรรมชาติในธุรกิจหรือกิจกรรมแต่ละอย่าง เกิดขึ้นจากลักษณะของธุรกิจ ความ เสี่ยงนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการตัดสินใจทำธุรกิจหรือดำเนินกิจกรรมนั้น โดยความเสี่ยงสืบเนื่อง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1.1 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับงบการเงิน เป็นการพิจารณาความเสี่ยงจากงบการเงินโดยรวม ว่างบการเงินมีโอกาสแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างไร โดยปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่ – ลักษณะธุรกิจของกิจการ เช่น กิจการที่มีรายการกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีความเสี่ยงจากการกำหนดราคาขายสินค้าระหว่างกันใน ราคาต่ำกว่าราคาตลาด หรือกิจการที่มีรายการค้าการนำเข้าหรือส่งออก มีความเสี่ยงในเรื่องอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือกิจการที่จำหน่ายสินค้าประเภทแฟชั่นตามสมัยนิยม มีความ เสี่ยงเรื่องสินค้าล้าสมัย เป็นต้น – ความซื่อสัตย์และประสบการณ์ของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์ของผู้บริหาร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระหว่างงวดบัญชี มีผลต่อการ จัดทำงบการเงิน – แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร การที่ผู้บริหารได้รับค่าตอบแทนที่มีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับกำไรสุทธิหรือรายได้ มีโอกาสที่กิจการจะบันทึก รายการกำไรสุทธิหรือรายได้สูงกว่าความเป็นจริง เช่น กิจการอาจรับรู้รายได้โดยที่ยังไม่ควรรับรู้ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือการเลื่อนการรับรู้ค่าใช้จ่ายโดยการตั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย รอตัดบัญชี เป็นต้น – ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินอยู่ ได้แก่ เศรษฐกิจ สถานการณ์การแข่งขันในตลาด ลูกค้า เทคโนโลยี การเกิดโรคระบาด เช่น การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 วิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็นต้น 1.2 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทของรายการ เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของรายการมากกว่าในระดับของงบการเงิน ได้แก่ – การประเมินความซับซ้อนของรายการและเหตุการณ์ ว่าต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือการประมาณการ ในการกำหนดยอดคงเหลือของบัญชี เช่น การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม เทคโนโลยี – การพิจารณาความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก – รายการที่มีความผิดปกติและซับซ้อน รวมทั้งรายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติ 2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk หรือ CR) เป็นความเสี่ยงที่ระบบบัญชีของกิจการไม่สามารถป้องกันหรือตรวจพบและแก้ไข การแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลา หรือเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากระบบการควบคุม ภายในที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการปฏิบัติตาม จนทำให้มีข้อผิดพลาดรวมอยู่ในงบการเงิน ตัวอย่างเช่น – กิจการไม่มีการอนุมัติรายการก่อนการจ่ายเงิน ทำให้มีการจ่ายเงินซ้ำซ้อน หรือมีรายจ่ายที่ไม่ใช่รายจ่ายของกิจการ – กิจการไม่มีนโยบายหรือแนวทางในการปฏิบัติงานทำให้ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่งานที่เหมาะสม – มีการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารโดยพนักงานบัญชี แต่ไม่ได้รับการตรวจทานจาก หัวหน้าแผนกบัญชี – ผู้จัดการแผนกบัญชีมีความไว้วางใจพนักงานบัญชีคนหนึ่งมากเกินไป จึงมอบหมายให้จัดทำรายงาน ทางการเงินทั้งหมดโดยไม่ได้ตรวจสอบ แนวทางในการจัดการความเสี่ยง ในการจัดการความเสี่ยง ในที่นี้ขอนำแนวคิดของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread Way Commission) ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วมของสถาบันวิชาชีพทางด้านบัญชีและตรวจสอบภายใน 5 สถาบัน มาใช้ดังนี้ 1. การวางระบบควบคุมภายใน การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือในการจัดการที่เป็นกลไกพื้นฐานของกระบวนการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรให้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 1. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน (Effective and Efficiency of Operation หรือ O) เป็นวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ กำหนดไว้ขององค์กร 2. ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน (Reliability of Financial Reporting หรือ F) เพื่อให้ ผู้ใช้รายงานทางการเงินขององค์กรที่เป็นบุคคลทั้งภายในและภายนอกได้ข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ใน การตัดสินใจ 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด กฎระเบียบ และข้อบังคับ (Compliance with Laws and Regulations หรือ C) เพื่อป้องกันมิให้องค์กรเกิดความเสียหายจากการละเว้นไม่ปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติผิดกฎหมาย ข้อกำหนด กฎ ระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรเอง ประเภทของการควบคุมภายใน การควบคุมภายในแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 1. การควบคุมแบบป้องกัน (Preventive Control) เป็นการควบคุมเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น การแบ่งแยกหน้าที่การงาน การควบคุมการเข้าถึงทรัพย์สิน เป็นต้น 2. การควบคุมแบบค้นพบ (Detective Control) เป็นการควบคุมเพื่อค้นพบความเสียหาย หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การสอบทานงาน การสอบยืนยันยอด การตรวจนับพัสดุ เป็นต้น 3. การควบคุมแบบแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง หรือเพื่อหาวิธีแก้ไขเพื่อ ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต 4. การควบคุมแบบส่งเสริม (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การให้รางวัล แก่ผู้มีผลงานดี เป็นต้น 5. การควบคุมแบบชดเชย (Compensating Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อชดเชยหรือทดแทนระบบสำรองที่ทำอยู่เดิม เช่น การเปลี่ยนจากการ ใช้โปรแกรมบัญชีระบบออฟไลน์เป็นระบบออนไลน์ เป็นต้น แนวทางการวางระบบการควบคุมภายใน มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการควบคุมภายใน เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในภาพรวมขององค์กร การค้นหาความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ และการพิจารณาการ ควบคุมที่มีอยู่ว่าสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ในระดับใด 2. แนวทางการกำหนดหรือออกแบบระบบการควบคุมภายใน การกำหนดแนวทางระบบการควบคุมภายในทำได้โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบการปฏิบัติงาน การป้องกันการทุจริตอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดแผนการดำเนินการโดยเชื่อมโยงมาตรฐาน การปฏิบัติงานของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร 3 .การติดตามประเมินผล ได้แก่ การติดตามประเมินผลในระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รวมอยู่กับการบริหาร จัดการ และการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานปกติประจำวัน โดยบุคลากรขององค์กรทุกระดับต้องมี ความรับผิดชอบร่วมกันในการติดตามการประเมินผลในหน่วยงานย่อยของตนเอง และการประเมินผล เป็นรายครั้ง โดยอาจจัดตั้งหน่วยงานอิสระในการประเมินผลตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร มีเครื่องมือในการประเมินผล เช่น แบบสอบถามการควบคุมภายใน รวมทั้งการทดสอบการควบคุม ได้แก่ การทดสอบระบบการปฏิบัติงาน การสอบทานรายการต่างๆ เป็นต้น 2.การบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management) ตามแนวทางกรอบจัดการความเสี่ยงของ COSO (COSO ERM : Enterprise Risk Management)     การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่เป็นผลมาจากผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรร่วมกัน กำหนดขึ้น เพื่อประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์โดยการออกแบบสามารถระบุเหตุการณ์ที่มีความ เป็นไปได้อันจะมีผลกระทบต่อองค์กร และการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง 1. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic :S);                                   เป็นวัตถุประสงค์ระดับสูงที่เน้นเป้าหมายรวมและสัมพันธ์กับการสนับสนุนพันธกิจ เป็นการกำหนดโดย ผู้บริหารระดับสูง เช่น แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ เป็นต้น 2. วัตถุประสงค์การดำเนินงาน (Operations :O) เป็นวัตถุประสงค์ของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและคุ้มค่า  ซึ่งวัดได้จากอัตรา กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทน อัตราหมุนเวียนการใช้ทรัพย์สิน การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ระดับความพึงพอใจของลูกค้าในการให้บริการ เป็นต้น 3. วัตถุประสงค์การรายงาน (Reporting: R) เป็นวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ของการรายงานโดยเน้นทุกรายงานมิใช่เฉพาะรายงานการ เงิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการการตัดสินใจของผู้บริหารและความน่าเชื่อถือสำหรับบุคคลภายนอก 4.วัตถุประสงค์การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance :C) เป็นวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ทำการละเมิดซึ่งจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหรือเสียชื่อเสียง แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง ในการบริหารจัดการความความเสี่ยง เริ่มจากการระบุเหตุการณ์ (Event Identification) โดยแยก เหตุการณ์ที่เป็นโอกาสออกจากความเสี่ยง ทำการระบุความเสี่ยง จากนั้นก็ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยการวิเคราะห์ ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยง สำหรับแนวทางตอบสนองความเสี่ยง(Risk Response) ประกอบด้วย เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่เกิดความคุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกัน ความเสี่ยง เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้      เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งเบาภาระความเสี่ยง เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และหน่วยงานไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการหรือกิจกรรมนั้น ผู้ประกอบการจึงควรเลือกแนวทางการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ทำให้ความน่าจะเป็นและผลกระทบ จากความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จากนั้นจึงควรกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติซึ่งจะช่วย ให้เกิด ความมั่นใจว่าความเสี่ยงได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลและมีการปฏิบัติตามวิธีการตอบสนอง     ความเสี่ยงที่กำหนดไว้และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรจัดให้มีการสื่อสารกับบุคลากรในองค์กร เพื่อให้มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรมีการติดตามผลจากการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อนำมาประเมินกรอบการจัดการความเสี่ยง ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงดังที่กล่าวมา เป็นแนวทางที่จะช่วย ผู้ประกอบการรับมือความเสี่ยงในงานบัญชีได้ นักบัญชีขององค์กรสามารถมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ วิเคราะห์ความเสี่ยงในงานบัญชี โดยวิเคราะห์ลักษณะการประกอบธุรกิจ มีกิจกรรมตรงส่วนไหนขององค์กรที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและถ้าไม่มีมาตรการการควบคุมที่เพียงพอจะ ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ดีเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการรับมือต่อความเสี่ยงในงานบัญชี ได้ PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชี ช่วยลดความเสี่ยงในงานบัญชี ให้ข้อมูลและรายงานที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ นำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์และตัดสินใจได้โดยไม่ผิดพลาด และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์กรกำหนด ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก

29 ธ.ค. 2021

PEAK Account

23 min

กลยุทธ์การระดมทุน SMEs

ธุรกิจ SMEs เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยเงินทุนของเจ้าของเป็นหลักในการลงทุนและต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ นอกจากการมีแผนธุรกิจและไอเดียในการทำธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs ยังจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างผลกำไรและเพื่อการเติบโตของธุรกิจอีกด้วย แหล่งเงินทุนของ SMEs โดยปกติแหล่งเงินทุนของ SMEs ประกอบด้วย 1. แหล่งเงินทุนระยะสั้น เป็นแหล่งเงินทุนที่ใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ มีภาระผูกพันเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ประกอบด้วย 1.1 แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ (Spontaneous Financing) เป็นแหล่งเงินทุนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจปกติของกิจการ ได้แก่ 1.2 แหล่งเงินทุนระยะสั้นที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามยอดขาย (Non-Spontaneous Financing) เป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่ได้มาจากการขายสินค้าหรือบริการ แต่เกิดจากการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น เพื่อใช้ในการหมุนเวียนในกิจการได้แก่ 2. แหล่งเงินทุนระยะยาว เป็นแหล่งเงินทุนที่กิจการจัดหามาใช้เพื่อการลงทุนระยะยาว ในการจัดหาสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคาร โรงงาน เครื่องจักร เป็นต้น แหล่งเงินทุนระยะยาวมาจากกำไรสะสมของกิจการ เงินกู้ยืม การออกหุ้นเพื่อระดมทุนสาธารณะ เป็นต้น สำหรับแหล่งเงินทุนของ SMEs สามารถแบ่งออกได้อีกลักษณะหนึ่ง เป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1. แหล่งเงินทุนภายในกิจการ เป็นแหล่งเงินทุนที่กิจการสร้างขึ้นเอง ได้แก่ 1.1  เงินทุนส่วนตัวของเจ้าของกิจการ เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจ เงินทุนเริ่มแรกของกิจการจะมาจากทุนส่วนตัวของเจ้าของ หรือกรณีเป็น  ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท เงินทุนเริ่มแรกมาจากหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นร่วมกัน 1.2 กำไรสะสม เป็นแหล่งเงินทุนที่มาจากผลประกอบการกำไรในการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการจนถึงสิ้นงวดบัญชีในปีปัจจุบัน เป็นแหล่งเงินทุนภายในกิจการที่ใช้วัดประสิทธิภาพและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ สำหรับกิจการที่เป็นบริษัท กำไรสะสมเป็นแหล่งเงินทุนที่ผู้ประกอบการนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทใช้เป็นเงินทุนสำรองตามกฎหมาย รวมทั้งเป็นเงินทุนที่กิจการเก็บไว้เพื่อการลงทุนขยายกิจการในอนาคต 1.3 ทรัพย์สินของกิจการ หมายถึง เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่ไม่ได้ถูกใช้งานแล้ว หรือถูกใช้งานแต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินทุนของกิจการ ได้แก่ ก. สินทรัพย์หมุนเวียน เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การเร่งขายสินค้าคงเหลือที่เป็นสินค้าขายไม่ออกหรือค้างสต็อก (dead stock), การทำ Factoring คือการโอนลูกหนี้การค้า ที่กิจการยังไม่ได้รับชำระหนี้ไปให้กับบริษัท Factoring หรือบริษัทที่รับซื้อลูกหนี้การค้า โดยบริษัท Factoring จะจ่ายเงินให้กับผู้ขายบางส่วนก่อน (โดยประมาณ 80-90%) ข. สินทรัพย์ถาวร การจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ การขายเครื่องจักร ที่ดิน อาคาร ซึ่งมีมูลค่าสูงอาจใช้เวลานานกว่าจะขายได้ ซึ่งทำให้เกิดต้นทุน ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า เป็นต้น 2. แหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ แหล่งเงินทุนจากภายนอกกิจการ ได้แก่ 2.1. การกู้เงินจากบุคคล สถาบันการเงิน ตลาดสินเชื่อออนไลน์ 2.2. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ ได้แก่ การออกหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ทำไมกิจการ SMEs ต้องระดมทุน ในช่วงเริ่มต้นของการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการ SMEs ใช้เงินทุนส่วนตัวหรือหยิบยืมจากคนใกล้ตัว เช่น ครอบครัวและเพื่อน เป็นต้น เป็นเงินทุนเริ่มต้น แต่ในการดำเนินธุรกิจ การพึ่งพาเพียงแหล่งเงินทุนภายในของกิจการ SMEs มักจะไม่เพียงพอ ทำให้กิจการ SMEs ส่วนใหญ่เกิดการขาดสภาพคล่อง กิจการจึงต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมหรือทำการระดมทุนเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอในการดำเนินกิจการ รวมทั้งเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนเพื่อขยายกิจการ การเตรียมตัวในการระดมทุนของธุรกิจ SMEs ในการระดมทุนของธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่จะใช้การกู้เงินจากสถาบันการเงินเป็นหลัก ผู้ประกอบการควรมีการวางแผนและเตรียมตัวในการจัดหาเงินทุนหรือการระดมทุน ดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน ก่อนการตัดสินใจกู้เงิน เจ้าของกิจการควรกำหนดวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน เพื่อเป็นการวางแผนให้นำเงินที่กู้มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำเงินกู้มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น การก่อหนี้ของกิจการเพิ่มขึ้น เป็นต้น สำหรับวัตถุประสงค์ในการกู้เงินของธุรกิจโดยทั่วไปมีดังนี้ 1.1 การกู้เงินเพื่อลงทุน เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อลงทุนในกิจการใหม่ หรือการกู้เงินมาลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือขยายธุรกิจให้เติบโต ได้แก่ การกู้เงินมาลงทุนซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต การกู้เงินมาลงทุนเพื่อสร้างคลังสินค้าเพิ่ม หรือการกู้เงินเพื่อนำเงินมาใช้ในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ 1.2 การกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมการดำเนินงานปกติของธุรกิจ เช่น การจ่ายค่าเช่า ค่าวัตถุดิบหรือเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น 1.3  การกู้เงินเพื่อรีไฟแนนซ์ เป็นการกู้ยืมเงินโดยนำเงินกู้ที่ได้มาใหม่ไปปิดเงินกู้ก้อนเก่า เพื่อให้ได้วงเงินสูงเพียงพอการใช้ หรือได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินในครั้งก่อน   2. การเตรียมวางแผนธุรกิจก่อนเริ่มกู้เงิน โดยในการวางแผนการกู้เงิน เจ้าของกิจการควรเขียนแผนธุรกิจซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเสนอต่อสถาบันการเงินหรือธนาคารผู้ให้กู้ ในการเขียนแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการควรเตรียมข้อมูลดังนี้ 2.1. รูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ ประเภทสินค้า 2.2. รายรับรายจ่ายโดยประมาณในแต่ละเดือน 2.3. ประมาณการผลกำไรที่ต้องการ 2.4. กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของธุรกิจ 2.5. เป้าหมายของธุรกิจและแผนการดำเนินงานในอนาคต 3. การพิจารณาเงื่อนไขของสินเชื่อ ในการขอสินเชื่อ ผู้ประกอบการควรพิจารณาเงื่อนไขของสินเชื่อ ได้แก่ วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย อายุสัญญา ระยะเวลาในการผ่อนชำระ หลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกัน เป็นต้น โดยวงเงินกู้ควรเพียงพอต่อการนำมาใช้ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และไม่ควรมากกว่าที่ต้องการเพราะจะทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระดอกเบี้ยจ่ายเกินกว่าความจำเป็น นอกจากนี้ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขสำหรับสินเชื่อธุรกิจที่ให้ผู้กู้เงินวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ด้วย หลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกัน เช่น โฉนดที่ดิน บ้าน ใบหุ้น เป็นต้น 4. การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ ผู้ประกอบการควรประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกิจการ จากภาระหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละงวด ซึ่งไม่ควรเกินกว่าประมาณการกำไรในแต่ละเดือน เพื่อมิให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ ซึ่งจะมีผลต่อประวัติการชำระหนี้ของกิจการ กิจการที่มีประวัติผิดนัดการชำระหนี้จะขอสินเชื่อในครั้งต่อๆ ไปได้ยากขึ้น 5. เอกสารที่ต้องเตรียมในการระดมทุนโดยทั่วไปในการจัดหาเงินทุนหรือการระดมทุนด้วยการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ เอกสารโดยทั่วไปที่ผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมมีดังนี้ 5.1. เอกสารประจำตัวของกิจการ 5.2 หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/หุ้นส่วน พร้อมวัตถุประสงค์ของบริษัท 5.3 หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท 5.4 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) 5.5 ใบทะเบียนการค้าและทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) 5.2. เอกสารทางการเงิน      ก. งบการเงินพร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่มีผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง (ย้อนหลัง3ปี)      ข. Bank Statement ย้อนหลัง 12 เดือน      ค. สำเนาใบเสร็จชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว ย้อนหลัง 6 เดือนทุกบัญชีเงินกู้      ง. เอกสารแสดงภาระหนี้ทุกประเภท เช่น สัญญาเงินกู้ สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจำนอง 5.3. เอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ      ก. ข้อมูลประวัติกิจการ (Profile)      ข. โครงสร้างองค์กรและประวัติผู้บริหาร      ค. รายละเอียดสินค้าและบริการ      ง. รายละเอียดรายได้ หรือยอดขายเป็นรายเดือน      จ. รายชื่อลูกค้ารายใหญ่      ฉ. ข้อมูลต้นทุนผลิต/ต้นทุนขาย      ช. ข้อมูลการซื้อวัตถุดิบและรายชื่อซัพพลายเออร์รายใหญ่      ซ. ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร      ฌ. สำเนายื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ย้อนหลัง 12 เดือน      ฎ. ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4 ถ้ามี), ใบอย., ใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม การคำนวณเงินที่ขอระดมทุน ในการระดมทุนของ SMEs ด้วยการกู้เงิน ผู้ประกอบการสามารถคำนวณเงินที่ขอระดมทุนโดยประมาณ ความสามารถในการกู้เงินของกิจการ ตัวอย่าง การแสดงความสามารถในการกู้เงินของกิจการ หรือการประมาณการจำนวนเงินที่จะขอระดมทุนกรณีสินเชื่อSMEs ตัวอย่าง การคำนวณประมาณการจำนวนเงินที่จะขอกู้เงิน ประเมินจากประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายต่อเดือนของกิจการ โดยกำหนดให้รายได้ต่อเดือนเป็น 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเป็น 70,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปีที่ใช้ในการคำนวณ 6% ต่อปี ระยะเวลาที่ขอกู้ 15 ปี ผลการคำนวณ กิจการสามารถกู้เงินได้ 556,200 บาท โดยภาระหนี้ที่ต้องผ่อนจ่ายต่องวดเท่ากับ 5,000 บาท การระดมทุนของ SMEs ด้วยการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ถือว่าเป็นวิธีการระดมทุนแบบดั้งเดิม ซึ่งกิจการ SMEs ส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้เท่าที่ควร เนื่องจากมีอุปสรรคที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ ปัจจุบันมีแหล่งเงินทุนที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นทางเลือกในการระดมทุนผ่านระบบออนไลน์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในประเทศไทย วิธีการระดมทุนแบบ Crowdfunding เป็นการระดมทุนจากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นการระดมทุนทางระบบอินเทอร์เนต โดยกิจการที่ต้องการระดมทุนจะนำเสนอกิจกรรมหรือโครงการผ่านแพลตฟอร์มของตัวกลางซึ่งเป็นผู้ให้บริการ เรียกว่า Crowdfunding Portal โดยนักลงทุนที่สนใจกิจกรรมหรือโครงการสามารถโอนเงินลงทุนผ่านแพลตฟอร์มนั้นๆได้ โดยเฉพาะกิจการ SMEs ที่เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ยากดังกล่าวข้างต้นการระดมทุนแบบ Crowdfunding จึงเป็นทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สะดวกและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจ SMEs และเป็นโอกาสของนักลงทุนสำหรับการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลาย การระดมทุนแบบ Crowdfunding สำหรับธุรกิจ SMEs มีด้วยกัน 3 รูปแบบดังนี้ 1. Reward-Based Crowdfunding เป็นการระดมทุนที่กิจการนำเสนอไอเดียและทำการผลิตสินค้า โดยผู้สนใจสินค้าจะนำเงินมาลงทุนและได้รับสินค้าเป็นผลตอบแทน 2. Peer-to-Peer Lending เป็นการระดมทุนที่เป็นการกู้ยืมเงินระหว่างนักลงทุน (ผู้ให้กู้) กับผู้ประกอบการ(ผู้กู้) โดยแพลตฟอร์มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมเงินทุนจากนักลงทุน เพื่อให้ได้ตามจำนวนเงินที่ผู้ประกอบการต้องการ โดยผู้ประกอบการต้องชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่นักลงทุนตามข้อตกลง ซึ่งวิธีนี้ไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นการระดมทุนที่ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและเร็วขึ้น กว่าการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ผู้ลงทุนได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากแต่ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระเงินของผู้กู้ได้ 3. Investment-Based Crowdfunding เป็นการลงทุนในรูปแบบของหลักทรัพย์ ซึ่งมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ 3.1 .Equity Crowdfunding กิจการทำการระดมทุนโดยการออกหุ้นสามัญให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้นและได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล 3.2. Debt Crowdfunding กิจการทำการระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการและได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย โดยผู้ลงทุนจะได้รับคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุ วิธีนี้ต่างจากวิธี Equity Crowdfunding โดยวิธีนี้เจ้าของกิจการยังมีความเป็นเจ้าของธุรกิจอยู่ การระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจในการระดมทุนสำหรับธุรกิจ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ทำให้กิจการ SMEs สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือขยายกิจการเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: [ 4 วิธีจัดหา แหล่งเงินทุน SME ] สำหรับการประกอบธุรกิจ ที่ไหนดีที่สุด ปี 2021 (moneywecan.com) แหล่งเงินทุนระยะสั้น คืออะไร มีอะไรบ้าง ไม่มีหลักประกันจะกู้เงินลงทุนผ่านหรือไม่ (moneywecan.com) คำนวณความต้องการเงินทุน (สินเชื่อ SME) | ธนาคารกรุงศรี (krungsri.com) Crowd Funding ทางเลือกการระดมทุนยุคอินเทอร์เน็ต (efinancethai.com)

28 ต.ค. 2021

PEAK Account

23 min

วิธี “จดทะเบียน” หรือ “ยกเลิก” กิจการ อย่างถูกต้อง

หลายคนมองว่าการเปิดกิจการทำได้ง่ายมากแต่การเลิกกิจการนั้นยาก มีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานานในการดำเนินการในรูปของบริษัทจำกัด เริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทซึ่งเกิดจากผู้ลงทุนร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปโดยแบ่งทุนออกเป็นหุ้นๆละเท่าๆกันและตกลงแบ่งกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการนั้น ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการของบริษัทซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพซึ่งเชื่อว่าบริษัทจะเจริญเติบโตได้และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น บริษัทจึงเป็นองค์กรธุรกิจที่กฎหมายต้องการให้มีชีวิตยาวนานไปได้ แม้ผู้ถือหุ้นจะตาย ล้มละลายหรือเป็นผู้ไร้ความสามารถ บริษัทก็จะไม่ได้รับความกระทบกระเทือน จนกว่าผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของบริษัทจะประสงค์ให้เลิกบริษัท  การเลิกบริษัทจำกัด การเลิกของบริษัทจำกัดจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีสาเหตุของการเลิกบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. การเลิกโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ 1.1. กรณีข้อบังคับของบริษัทได้กำหนดสาเหตุแห่งการเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้นจึงต้องเลิกบริษัท 1.2. ในการตั้งบริษัทได้กำหนดระยะเวลาในการเปิดและปิดไว้และเมื่อถึงวันที่สิ้นสุดตามที่กำหนดไว้ 1.3. ในการตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อบริษัทได้ทำกิจการนั้นเสร็จแล้วจึงต้องเลิกบริษัท 1.4. บริษัทล้มละลาย 2. การเลิกบริษัทจากความประสงค์ของผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท ในกรณีเลิกและชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องมีการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน 3. การเลิกบริษัทโดยคำสั่งศาล ได้แก่ 3.1. บริษัททำผิดในการยื่นรายงานการประชุมตั้งบริษัทหรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท 3.2. บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปี นับแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือหยุดทำการเป็นเวลาถึง 1 ปี 3.3. การประกอบธุรกิจขาดทุนและไม่มีทางฟื้นคืน 3.4. จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน 3.5. มีเหตุที่ทำให้บริษัทเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้ ก่อนการเลิกกิจการ กิจการควรคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง 1.การตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้น ก่อนการดำเนินการเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นต้องปรึกษาหารือกันก่อน เนื่องจากถ้ามีการดำเนินการเลิกบริษัทโดยที่มีผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วย อาจเกิดการฟ้องร้องได้ การดำเนินการตามกฎหมายทุกขั้นตอนเป็นการปิดความเสี่ยงไม่ให้มีการฟ้องร้องกันได้ กฎหมายจึงกำหนดให้มีการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อให้มีมติในการเลิกกิจการ 2.การจัดทำงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วน ก่อนการดำเนินการเลิกกิจการ ถ้าบริษัทมีงบการเงินย้อนหลังที่ยังไม่ได้นำส่ง กิจการต้องนำส่งงบการเงินย้อนหลังให้ครบถ้วนเพราะในขั้นตอนการเลิกกิจการ บริษัทต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการด้วย ซึ่งต้องมีตัวเลขงบการเงินยกมาจากปีก่อนจึงจะสามารถจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการได้ 3.การยื่นแบบนำส่งภาษีต่างๆให้ครบถ้วน ก่อนการดำเนินการเลิกกิจการ หากบริษัทยังมีภาษีที่ยังยื่นแบบต่อกรมสรรพากรไม่ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น บริษัทควรจัดการเคลียร์รายการทางภาษีดังกล่าวและนำส่งกรมสรรพากรให้ครบถ้วน เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการเลิกกิจการได้และป้องกันไม่ให้กิจการมีปัญหากับกรมสรรพากรในภายหลัง 4.การจัดหานักบัญชีและผู้สอบบัญชีที่มีประสบการณ์มาช่วยในการจัดการเรื่องบัญชีและภาษี การเลิกบริษัทมีประเด็นทางบัญชีและภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากทั้งก่อนการดำเนินการเลิกกิจการที่ต้องเคลียร์ประเด็นทางบัญชีและภาษี และการจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาเลือกนักบัญชีและผู้สอบบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางด้านบัญชีและภาษี ซึ่งประเด็นทางทางบัญชีและภาษีที่พบบ่อยหากไม่มีการวางแผนในการเลิกกิจการที่ดีพอได้แก่ 5.การพิจารณาหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการเลิกบริษัทในการเลิกบริษัท หน่วยงานภาครัฐต้องเกี่ยวข้องโดยตรงคือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ นอกจากนี้กิจการควรพิจารณาว่ามีหน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องอีกเพื่อจะได้ดำเนินการติดต่อให้ครบถ้วน โดยถ้ากิจการเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการต้องดำเนินการจดทะเบียนเลิกกับกรมสรรพากรด้วยเพื่อให้ได้หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร นอกจากนี้ถ้ากิจการมีการขึ้นทะเบียนนายจ้างกับสำนักงานประกันสังคม กิจการก็ต้องดำเนินการแจ้งเลิกกับสำนักงานประกันสังคมด้วย ขั้นตอนการเลิกบริษัท เมื่อกิจการตกลงที่จะปิดกิจการ กิจการควรดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนการเลิกบริษัทตามกฎหมาย โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ 1. การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด 2. การจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน 3. การแจ้งเลิกการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากร กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. การชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด เมื่อบริษัทจำกัดที่เป็นนิติบุคคลเลิกกันบริษัทจะยังคงตั้งอยู่เพื่อชำระบัญชี ในการเลิกบริษัทนอกจากกรณีล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี กรรมการทุกคนของบริษัทถือเป็นผู้ชำระบัญชีหากข้อบังคับของบริษัทไม่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในการจดทะเบียนเลิกบริษัทมีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 1.1. จัดทำหนังสือนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษในการเลิกบริษัท การปิดบริษัท โดยหนังสือนัดประชุมจะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและมีการส่งไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบให้แก่ตัวผู้ถือหุ้น ในการออกหนังสือนัดประชุมดังกล่าวตัองจัดทำก่อนการประชุมวิสามัญไม่น้อยกว่า 14 วันหรือตามที่กำหนดในข้อบังคับของบริษัท  1.2. การจัดประชุมผู้ถือหุ้น ในการลงมติผู้ถือหุ้นต้องมีมติพิเศษให้ยกเลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน 1.3. จัดทำประกาศลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้งรวมทั้งการจัดทำหนังสือบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้ของบริษัทภายใน 14 วัน นับจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเลิกบริษัท 1.4. ผู้ประกอบการดำเนินการยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 14 วันนับจากวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติเลิกบริษัท โดยการยื่นเอกสารด้วยมือหรือการยื่นออนไลน์ทางระบบDBD-e-Registration  ขั้นตอนการจดทะเบียนเลิกบริษัทดังแสดงในรูปที่1 สำหรับเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนเลิกมีดังนี้ (ก) แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)  (ข) รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*  (ค) สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)  (ง) สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระ บัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือ กำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของกรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)  (จ) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป (ใช้เฉพาะกรณีที่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)  (ฉ) สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)  (ช) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน   (ฌ) สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)  (ญ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ 10 บาท)  สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรอง ความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็น เจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง 2. การจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน เมื่อบริษัทดำเนินการจดทะเบียนเลิกเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการต้องจัดทำงบการเงินและยื่นแบบภาษีต่างๆให้ครบถ้วน กิจการต้องจัดหาผู้ทำบัญชีมาช่วยในการจัดการดังกล่าวและต้องมีผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงินด้วย โดยมีรายละเอียดการดำเนินการดังต่อไปนี้ 2.1. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการโดยผู้ทำบัญชีของบริษัท และมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบและแสดงความเห็นว่างบการเงินถูกต้อง 2.2. นำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) พร้อมงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการภายใน 150 วันนับจากวันที่เลิกกิจการ   2.3. นำส่งแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกกิจการให้ครบถ้วน ได้แก่ค่าบริการจัดทำบัญชี ค่าสอบบัญชี เป็นต้น 2.4. สำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทต้องนำส่งแบบภ.พ.30ต่อกรมสรรพากรไปจนกว่าจะได้รับ”หนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร”จากกรมสรรพากร 2.5. สำหรับกิจการที่ต้องนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะเช่นมีรายการดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยค้างรับในงบการเงิน ให้ดำเนินการยื่นแบบภธ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากวันที่เลิกกิจการ 3. การแจ้งเลิกการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากร กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลิกกิจการ ผู้ประกอบการต้องไปดำเนินการเลิกการจด  ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรพื้นที่ในเขตที่บริษัทตั้งอยู่ โดยผู้ประกอบการต้องแจ้งภายใน 15 วันนับจากวันที่เลิกประกอบกิจการ โดยในทางปฏิบัติสรรพากรในแต่ละพื้นที่จะขอเอกสารหลักฐานแตกต่างกัน แนะนำว่าผู้ประกอบการควรโทรไปสอบถามเอกสารหลักฐานที่ใช้กับสรรพากรพื้นที่ในเขตของตนก่อน  อย่างไรก็ตามเอกสารที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้ 3.1. แบบ ภพ.09 จำนวน 4 ฉบับ 3.2. หนังสือรับรองบริษัท (เลิกกิจการ) 3.3. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน 3.4. ภพ.01, ภพ.01.1, ภพ.09 และ ภพ.20 ตัวจริง ถ้าหายจะต้องใช้ใบแจ้งความหายแทน และ  ในใบแจ้งความต้องระบุชื่อบริษัทด้วย 3.5. หนังสือชี้แจงเหตุผลในการเลิกกิจการ 3.6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) 3.7. บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ 3.8. ภงด.50 ณ วันเลิกกิจการ 3.9. งบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ 3.10. แผนที่แสดงที่ตั้งสานักงานของบริษัท 3.11. ภพ.30 และใบเสร็จย้อนหลัง 3.12. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ชำระบัญชีทุกคน 3.13. ภงด.50 ภงด.51 และ งบการเงินย้อนหลัง เมื่อดำเนินการในขั้นตอนนี้แล้ว กิจการจะได้รับหนังสือขีดชื่อเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร จากกรมสรรพากร 4.การชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด หลังจากกิจการส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้องแล้ว มีขั้นตอนการชำระบัญชีดังต่อไปนี้ 4.1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก 4.2. ผู้ชำระบัญชีเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้น การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัท เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ที่ค้างชำระ ชำระหนี้สิน ใช้คืนเงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้สำรองจ่ายไปในการดำเนินการของบริษัทและจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท ถ้ามีเงินเหลือให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ 4.3. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี 4.4. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี 4.5. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชีกรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิกกิจการ ให้ผู้ชำระบัญชียื่น รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันเริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) ต้องทำรายงานยื่นต่อที่ประชุมว่าได้ดำเนินการไปอย่างไรบ้างและแจ้งความคืบหน้าของการชำระบัญชีอย่างละเอียด ขั้นตอนการชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ดังแสดงในรูปที่2 สำหรับเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีมีดังนี้ (ก) แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)  (ข) รายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี (แบบ ลช.5)  (ค) รายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3)  (ง) งบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท (หรือ งบการเงิน ณ วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกบริษัทก็ได้)  (จ) รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)  (ฉ) แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร  (ช) สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน  (ฌ) สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)  (ญ) หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย) ในการพิจารณาเลิกบริษัท ถ้ากิจการมีข้อมูลผลประกอบการที่ถูกต้องและอัปเดตก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น PEAKช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี PEAK BOARD ที่มีรายงานสรุปผลประกอบการในรูปของDashboard ทำให้เห็นข้อมูลกำไรของกิจการแบบเรียลไทม์ แสดงข้อมูลสรุปผลอย่างง่าย สวยงาม ถูกต้อง สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจได้ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAKหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถทดลองใช้งานฟรี 30 วัน ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่

6 ต.ค. 2021

PEAK Account

12 min

การขายสินค้าจากโลกอนาคต ด้วย Big Data

Amazon คืออะไร เชื่อว่าเพื่อนๆนักธุรกิจทุกท่านนั้นรู้จัก Amazon ตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเริ่มจากการเป็นเพียงเวปไซด์ขายหนังสือออนไลน์ ซึ่งต่อมา ได้มีการขยายธุรกิจสู่สินค้าอื่นได้แก่ DVD, CD, ซอฟต์แวร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เสื้อผ้า, เฟอร์นิเจอร์, ของเล่น ฯลฯ นอกเหนือจากอีคอมเมิร์ซ Amazon ยังเป็นผู้บุกเบิก Kindle ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง ซึ่งเป็นดิจิทัลคอนเทนต์ที่ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะเคยซื้อของผ่าน Amazon มาบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า Amazon ยังเป็นผู้บุกเบิก และเป็นผู้นำในการให้บริการ Cloud Computing ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Amazon ได้เริ่มที่จะนำระบบ Cloud Computing มาใช้จัดการภายในองกรค์ตัวเอง เริ่มต้นตั้งแต่ Cloud Accounting, ระบบจัดการคลังสินค้า, วางระบบการขนส่ง ฯลฯ จนต่อมาเริ่มมีการเก็บข้อมูลการซื้อของลูกค้ามากขึ้นพัฒนาการไปสู่ ระบบแนะนำสินค้า (Recommendation Engine) เพื่อที่จะแนะนำสินค้าให้กับลูกค้า โดยประมวลจากประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้าผู้นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้าคนอื่นๆ ซึ่ง​ Recommendation Engine ของ Amazon ในยุคต่อมาได้ถูกบัญญัติรวมเป็น Analytics และหรือ Big Data ซึ่งเป็นเทรนด์ยอดนิยมของธุรกิจไอทีในปัจจุบัน ซึ่งระบบการใช้ข้อมูลของ Amazon นั้นเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้กับ PEAK ของเราในการที่จะนำระบบ Cloud Accounting เข้ามาพัฒนางานหลังบ้านของ SME ไทยให้ไปสู่ความสำเร็จในอีกขั้นให้จงได้ แต่แน่นอนว่าระดับ Amazon แล้วนั้นการใช้ข้อมูลคงไม่จบแต่เพียงเท่านี้ แต่ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจนนำไปสู่ระบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน นั่นก็คือ Anticipatory Shipping การส่งสินค้าล่วงหน้าด้วยการคาดการณ์ (Anticipatory Shipping) คืออะไร เทคนิคของ Amazon คือการคาดการณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพื่อที่จะส่งสินค้าไปเก็บไว้ก่อนในคลังสินค้าที่ใกล้เคียงกับลูกค้ามากที่สุด และเมื่อลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อสินค้า จึงจะถูกส่งไปยังบ้านของลูกค้าจากคลังสินค้าที่อยู่ใกล้บ้าน Anticipatory Shipping ของ Amazon ได้ถูกจด สิทธิบัตรเพื่อป้องกันการถูกลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง และจะประหยัดเวลาในการนำส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งแทนที่จะต้องส่งสินค้ามาจากคลังสินค้าส่วนกลาง ที่ต้องใช้เวลาหลายวัน สามารถถูกนำส่งจากคลังสินค้าใกล้บ้านได้เลย ตัวอย่าง Anticipatory Shipping เนื่องจาก Amazon มีข้อมูลการซื้อของลูกค้าจำนวนมาก สมมติว่าฐานข้อมูลวิเคราะห์ นางสาว A ซึ่งชอบซื้อชุดออกกำลังกายออกใหม่จาก Gymshark ซึ่งเป็นชุดออกกำลังกายสำหรับผู้หญิงสายออกกำลังกายหนักโดยเฉพาะ ที่จากประวัติการซื้อสินค้าก่อนหน้า สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า นางสาว A เป็นนักออกกำลังกายตัวยง และทุกครั้งที่มีการเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ๆ เธอได้ทำการสั่งซื้อภายในสัปดาห์แรกของการเปิดตัวทุกครั้ง Amazon จะสามารถใช้ Anticipatory Shipping ในการส่งชุดออกกำลังกายที่ออกใหม่ล่าสุด ไปยังคลังสินค้าที่อยู่ใกล้บ้านของเธอ หลังจากที่ได้ทำการคำนวณอย่างแม่นยำแล้วว่า ลูกค้าผู้นี้จะต้องสั่งซื้อชุดออกกำลังกายนี้ภายในหนึ่งสัปดาห์อย่างแน่นอน ก็จะสามารถนำส่งให้กับเธอได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า SME ไทยจะเริ่มต้นจัดการ Big data ได้อย่างไร เราจะเห็นว่าการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลของ Amazon นั้นดูยิ่งใหญ่และซับซ้อนมากเกินกว่าความเข้าใจได้ แต่จริงๆแล้วนั้นการจัดการข้อมูลเริ่มต้นได้ง่ายๆ ตั้งแต่ร้านโชว์ห่วยเล็กๆ ไปจนถึงบริษัทระดับมหาชนเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น : คุณป้าเจ้าของร้านขายของชำหน้าโรงเรียนปฐม แนะนำไอติมออกใหม่ให้กับลูกค้าบางคน ตัวอย่างที่ 2 : แม่ค้าออนไลน์สามารถแนะนำลิปสติกสีออกใหม่ให้กับลูกค้าที่ชอบซื้อเครื่องสำอางใหม่ๆเป็นประจำ เชื่อว่าเพื่อนๆนักธุรกิจของ PEAK น่าจะอ๋อกันแล้ว ใช่ครับนี่คือการใช้ดาต้า เพียงแต่ดาต้าถูกใช้โดยเก็บข้อมูลไว้ในความจำของเจ้าของร้านนั่นเอง ซึ่งผู้ประกอบการทุกท่านน่าจะเคยมีประสบการณ์แนะนำสินค้าให้ลูกค้ามาบ้าง ซึ่งแน่นอนถ้าเรารู้จักลูกค้าท่านนั้นดีพอก็จะสามารถแนะนำสิ่งที่เค้าอยากซื้อได้ นำไปสู่การปิดการขายอีกหนึ่งออเดอร์อย่างง่ายดาย แค่ใช้เพียงดาต้าเล็กๆแบบนี้ยังสามารถที่จะเพิ่มปริมาณการซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นทาง PEAK Academy อยากให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ไทยให้ความสำคัญกับการ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อที่จะช่วยให้การใช้ข้อมูลเหล่านี้มาสเกลยอดทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด ระบบ PEAK Cloud Accounting ดีกับการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างไร จัดเก็บได้ทั้งข้อมูลลูกค้า และเอกสารต่างๆได้ในทีเดียว เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกท่านเคยประสบปัญหาเอกสารหาย หรือหาเอกสารสำคัญไม่เจอในช่วงเวลาที่ต้องการเนื่องจากมีเอกสารเยอะมากๆ สำนักงาน หรือโรงงานเจอน้ำท่วมเอกสารหาย หรือแม้แต่ต้องการเอกสารเร่งด่วนระหว่างการท่องเที่ยว ลูกค้าของ PEAK Account ทุกบัญชีจะได้รับพื้นที่จัดเก็บเอกสารผ่านระบบคลาวด์แบบไม่จำกัด ทั้งเวลา และปริมาณ สามารถเรียกดูเอกสารต่างๆที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ ทุกเวลาให้ผู้ประกอบการทุกท่านมั่นใจเหมือนมีเอกสารทุกอย่างอยู่กับตัวตลอดเวลา รวบรวมข้อมูลแสดงในรูปของ Dashboard ให้เลยไม่ต้องเก่งเรื่องตัวเลขก็สามารถทำงานได้ ผู้ประกอบการหลายๆท่านนั้นขายเก่ง บริหารงานได้อย่างยอดเยี่ยมแต่ในบางครั้งก็ไม่ชอบเรื่องตัวเลข หรือจำให้นำข้อมูลตัวเลขมากมายมานั่งจัดเรียง วิเคราะห์ก็เสียเวลามากเกินไป ไม่มีเวลาจะไปดูแลธุรกิจหลัก ทาง PEAK Account เรานำตัวเลขทางบัญชีของลูกค้า มาจัดทำ Dashboard วิเคราะห์ข้อมูลให้ทำให้เจ้าของธุรกิจ สามารถเรียกดูสถาณะการเงินได้ทันที ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลปลอดภัยระดับโลก สำรองข้อมูลอัตโนมัติให้ทุก 5 นาที ใช้เซิฟเวอร์จากผู้ให้บริการระดับโลก ให้บริการโดย Microsoft Azure ให้เจ้าของธุรกิจทุกท่านสามารถวางใจว่าข้อมูลจะปลอดภัยจากทั้งการสูญหาย และการโดนโจรกรรม   รองรับการเชื่อมต่อ API ที่ใช้งานได้จริง เรามีบริการนักบัญชีเข้าไปช่วยทำความเข้าใจระบบการทำงาน และวางระบบการเชื่อมต่อ API ที่ถูกต้องตามหลักบัญชีในอนาคตลูกค้าเชื่อมโยงระบบรองรับการเป็น Cloud Computing ได้อย่างสมบูรณ์แบบ หวังว่าบทความของ PEAK Academy ของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนักธุรกิจได้นำไปใช้ประโยชน์กัน ทางเรา PEAK Academy จะนำเสนอบทความที่มีประโยชน์อื่นๆ ทั้งในเรื่องของบัญชีและธุรกิจให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ได้อ่านกันเรื่อยๆ ถ้านักธุรกิจ SME ท่านใดกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีดีๆ ที่ใช้ลงบัญชีได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมไปถึงจัดทำเอกสารทางธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นโปรแกรมชั้นนำที่ครอบคลุมการทำบัญชีมากที่สุดในประเทศไทย ช่วยให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ทุกท่านมีเวลาไปโฟกัสกับการทำธุรกิจมากขึ้น และสามารถตรวจสอบบัญชีได้ตลอดเวลา ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ และผ่าน Application LINE ในมือถือ โดยไม่ต้องลงโปรแกรม ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่

26 ก.ย. 2021

PEAK Account

9 min

5 เรื่องควรรู้! ก่อนเริ่มทำ Co-Branding

ในยุคนี้ปลาวาฬใหญ่ออกหากินเป็นฝูง เราจะมีโอกาศได้เห็นแบรนด์ใหญ่ๆ เข้ามาร่วมมือกันเพื่อให้สินค้านั้น มีสีสัน เพิ่มลูกเล่น และขยายฐานลูกค้ากันแบบ x2 เลยทีเดียว เรียกได้ว่าข้อดีนั้นเขียนได้ไม่มีหมด ตัวอย่างแบรนด์ที่ Co-Branding แล้วเรียกว่ายอดขายถล่มทลายมีหลากหลายหมวดให้เราเห็น ตัวอย่างเช่น (1) หมวดเสื้อผ้า Uniqlo x Marimekko ได้แสดงให้เห็นว่า การนำทั้ง 2 แบรนด์มาร่วมมือกันนั้นได้สร้างปรากฏการณ์ที่เรียกได้ว่าทำให้ผู้คนต้องเผ้ารอฤดูร้อนเพื่อนที่ได้ช๊อปปิ้งเสื้อผ้าคอเลคชั่นใหม่ๆของการรวมตัวกันระหว่าง 2 แบรนด์นี้เลยทีเดียว (2) หรือแม้แต่กระเป๋าแบรนด์เนมอย่าง Disney x GUCCI ก็สร้างปรากฏการฮิตไปทั่วโลก โดยเอาตัวละครที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง Mickey mouse เอามาไว้บนกระเป๋าแบรนด์เนมราคาแพงอย่าง GUCCI ที่ต้องบอกว่าช่วงแรกๆมีบางคนขำกับเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่าไม่นานต่อมากลับกลายเป็นปรากฏการ ที่เรียกว่าทุกประเทศเกิดปรากฏการที่เห็นแบรนด์เนมตัวนี้ออกมาโลดแล่นเต็มท้องถนน จนกระทั่งมีการเลียนแบบไปทุกๆสินค้าเลยทีเดียว (3) ในหมวดขนมขบเคี้ยว ก็มีขนมที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างแบรนด์เถ้าแก่น้อย ที่ร่วมมือกับ พริงเกิลส์ซึ่งเป็นแบรนด์มันฝรั่งแผ่นที่เก่าแก่และแข็งแกร่งของโลกออกผลิตภัณฑ์ พริงเกิลส์ x เถ้าแก่น้อย ที่ไม่เพียงแต่ตีตลาดในไทย แต่ยังขายทีทั่ว South-east Asia จนเราได้เห็นปรากฏการณ์ขายดีจนเรียกได้ว่าไม่เพียงแต่สินค้าหมดในห้างชั้นนำ แต่ยังหมดกระทั้งในมาเก็ตเพลสออนไลน์อย่าง Shopee เลยทีเดียว ซึ่งข้อควรระวังและตรวจสอบให้ดีก่อนร่วมลงทุนหรือร่วมมือทางธุรกิจใดๆนั้นมีดังนี้ครับ เชื่อว่าเพื่อนๆนักธุรกิจ SME ไทยคงรู้เรื่องของข้อดีในเรื่องของการ Co-Branding แล้ว และคงมีหลายๆท่านที่กำลังมองหาหรือกำลังจะร่วมหุ้นกับพาร์ทเนอร์ ทาง PEAK Academy ของเรามีเคล็ดลับดีๆมานำเสนอ เพื่อให้การร่วมหุ้นของเพื่อนๆ SME ไทยนั้นไม่ต้องประสบปัญหาสะดุด หรือขุ่นข้องหมองใจกันเพราะข้อตกลงนั้นไม่ลงตัว เพราะยุคนี้ทุกท่านก็ทราบว่า การมีพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจนั้นมีคุณค่าเพียงใด 1. ตรวจสอบข้อมูลของหุ้นส่วนให้ถี่ถ้วน   ทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติการทำธุรกิจต่างๆ รวมไปถึงประวัติการฉ้อโกงหรือความประพฤติในทางที่ไม่ดี เพราะถ้าท่านไปร่วมมือหรือจับมือกับนักธุรกิจที่เป็นคนคดโกงหรือบางทีพฤติกรรมส่วนตัวบางอย่างก็อาจจะนำพามาซึ่งความเสียหายทางธุรกิจได้ ถ้าเป็นไปได้ถ้าเราร่วมหุ้นที่มีมูลค่าสูงมากจ้างนักสืบเอกชนหรือสำนักงานกฎหมายหาข้อมูลหุ้นส่วนก่อนที่จะตัดสินใจก็เป็นวิธีการที่ดีทางหนึ่ง 2. สัญญาต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษร ดังคำกล่าวที่ว่า “สัญญาใจ ใช้ไม่ได้กับธุรกิจ” ไม่ว่าจะสนิทกันในระดับไหน ก็ควรที่จะมีสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นต่างหากไว้ว่าใครมีหน้าที่อะไรบ้าง ใครมีสิทธิอะไรบ้าง เป็นข้อตกลงระหว่างกันไว้ เพื่อให้ง่ายในการดำเนินคดีในภายหลังหากมีการคดโกงกัน ถือเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำธุรกิจร่วมกัน เพราะเราได้เห็นอยู่บ่อยครั้งที่เพื่อนสนิทตั้งแต่วัยเด็ก หรือแม้แต่พี่น้องต้องมาแตกแยกกันเมื่อทำธุรกิจ 3. ลงรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน ละเอียด และโปร่งใส ในการทำธุรกิจร่วมกันนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมาก คดีพิพาทระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน มีปัญหาอยู่สองเรื่อง คือ เรื่องเงินกับเรื่องลูกค้า กล่าวคือ หุ้นส่วนรับเงินแล้วไม่เอาเข้าบริษัทเอาไปเข้าบัญชีส่วนตัวของหุ้นส่วน ส่วนเรื่องลูกค้าก็มักจะมีการแย่งลูกค้ากัน และไปตั้งห้างใหม่หรือตั้งบริษัทใหม่ แย่งลูกค้าของบริษัทไปเป็นลูกค้าของตัวเองหรือที่เรียกว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนั้น ข้อตกลงในการทำธุรกิจร่วมกันจะต้องเขียนหรือระบุไว้ให้ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องเงินและเรื่องลูกค้า เพื่อไม่ให้ต้องมีกรณีพิพาทในอนาคต 4. ทรัพย์สินทางปัญญาก็ต้องแจกแจงแยกแยะให้ชัดเจนในสัญญาเช่นเดียวกัน หุ้นส่วนทางธุรกิจมากมายที่บางครั้งละเอียดถี่ถ้วนกับเรื่องของเงินๆทอง แต่ว่าหลงลืมไปว่าของที่จับต้องไม่ได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ก็ควรจะกำหนดให้ชัดแจ้งว่าจะนำมาลงทุนกันอย่างไร ขอบเขตในการใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ต้องทะเลาะกันในวันข้างหน้า 5. ต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การจะทำธุรกิจร่วมกับบุคคลอื่น เจ้าของ SME ทุกท่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเป็นหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด จะต้องรู้ว่าการเป็นหุ้นส่วนนั้นสาระสำคัญเป็นอย่างใด หรือถ้าไม่ทราบก็ควรจะปรึกษาสำนักงานกฏหมายหรือหาที่ปรึกษาที่จะช่วยดูแลส่วนนี้ได้เมื่อเกิดปัญหา หวังว่าบทความของ PEAK Academy ของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนักธุรกิจได้นำไปใช้ประโยชน์กัน ทางเรา PEAK Academy จะนำเสนอบทความที่มีประโยชน์อื่นๆ ทั้งในเรื่องของบัญชีและธุรกิจให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ได้อ่านกันเรื่อยๆ ถ้านักธุรกิจ SME ท่านใดกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีดีๆ ที่ใช้ลงบัญชีได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมไปถึงจัดทำเอกสารทางธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นโปรแกรมชั้นนำที่ครอบคลุมการทำบัญชีมากที่สุดในประเทศไทย ช่วยให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ทุกท่านมีเวลาไปโฟกัสกับการทำธุรกิจมากขึ้น และสามารถตรวจสอบบัญชีได้ตลอดเวลา ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ และผ่าน Application LINE ในมือถือ โดยไม่ต้องลงโปรแกรม ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

9 min

5 สัญญาณบ่งบอก ถึงเวลาจ้างสำนักงานบัญชี

เช็กด่วน! หากร่างกายของคุณกำลังมีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น อย่าเพิ่งมองข้ามเด็ดขาด เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงอะไรบางอย่างที่คุณต้องเร่งแก้ไขก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป…ใจเย็น ๆ ก่อน นี่ไม่ใช่บทความข้อแนะนำจากแพทย์ หรือขายยารักษาใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นบทความของนักบัญชี หรือเจ้าของธุรกิจ ที่กำลังโดนร่างกายชูป้ายประท้วงให้จ้างสำนักงานบัญชีมาจัดการเรื่องการเงิน และปิดงบต่าง ๆ โดยด่วน  สำนักงานบัญชีคืออะไร? สำนักงานที่ให้บริการด้านการทำบัญชี และภาษี รวมถึงให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเงินต่าง ๆ โดยสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพจะได้รับการหนังสือรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งแสดงถึงการทำงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ ถึงเวลาเช็กตัวเอง! สังเกต 5 อาการที่ร่างกายกำลังประท้วงให้คุณจ้างสำนักงานบัญชี 1. สายตาเริ่มพร่ามั่ว เพราะเพ่งมองหาจุดผิดพลาดในบัญชี สำหรับคนทำบัญชีต้องรู้กันดีว่าความถูกต้อง และแม่นยำในการทำบัญชีนั้นต้องมีอันดับ 1 ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย บันทึกบัญชีรายได้ บันทึกบัญชีทุน หรือแม้กระทั่งบันทึกบัญชีหนี้สิน หากผิดพลาดแม้จุดเดียวต้องนั่งจ้องไล่หาจุดผิดให้เจอ แม้มันจะเยอะและทำให้ตาลายก็ตาม สำนักงานบัญชีสามารถเข้ามาช่วยในการทำงาน รวมถึงการเก็บเอกสาร และข้อมูลต่าง ๆ อีกด้วย หมดปัญหาเรื่องความผิดพลาดในการทำบัญชี  2. หัวใจเต้นแรง ไม่เป็นจังหวะ เหงื่อออกมือ เพราะต้องลุ้นว่าจะปิดงบยื่นแบบประจำเดือนให้กรมสรรพากร อาการยอดฮิตของเหล่าเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ที่มักจะเป็นในช่วงสิ้นเดือน จนถึงต้นเดือน เพราะต้องเร่งยื่นแบบประจำเดือนให้กับกรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นยื่นภาษีเงินได้พนักงานที่หัก ณ ที่จ่ายเรียบร้อยแล้ว,  ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่หัก ณ ที่จ่ายเรียบร้อยแล้ว หรือแม้กระทั่งยื่นภาษีเงินสมทบประกันสังคมประจำเดือน ที่จำเป็นต้องยื่นแบบประจำเดือนให้ทันเวลา รีบเร่งแบบนี้ทุกเดือนไม่ไหวแน่ ๆ สำนักงานบัญชีพร้อมช่วยบริหารจัดการบัญชีของคุณ ไม่ต้องห่วงเรื่องเวลาที่จำกัดอีกต่อไป เพิ่มเวลาให้กับตัวเองสามารถไปพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นได้ 3. สมองเบลอ เมื่อปัญหาบัญชีรุมเร้า จัดการไม่ถูกวิธี เพราะขาดผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านบัญชี เรื่องบัญชีไม่ใช่เรื่องง่าย แน่นอนว่าในแต่ละวันเจ้าของธุรกิจต้องเจอกับปัญหาบัญชีเข้ามารุมเร้าให้เครียดเป็นประจำ ที่สำคัญเมื่อจะแก้ปัญหาต้องเป็นการแก้ไขที่ถูกต้อง ถูกกฎหมาย และไม่ทำให้ปัญหาที่เจอใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพราะฉะนั้นที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างสำนักงานบัญชีถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่คุณควรมีเคียงข้างธุรกิจ 4. ความจำสั้น นึกอะไรไม่ออก ผ่านมา 3 นาทีก็ลืมหมดแล้ว โดยเฉพาะเรื่องเอกสารต่าง ๆ การทำธุรกิจเอกสารต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เปรียบเสมือนเป็นหลักฐานการซื้อ – ขาย หลักฐานการรับเงิน การจ่ายเงิน และแน่นอนเมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปีกับกรมสรรพากร เอกสารต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องยื่นแนบไปเพื่อเป็นหลักฐาน การจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุก ๆ บริษัทต้องทำ และจัดเก็บเป็นอย่างดี แต่สำนักงานบัญชีจะช่วยให้คุณหมดห่วงในเรื่องนี้ เพราะเราสามารถช่วยจัดเก็บเอกสารต่าง ๆ ของบริษัท ไม่ให้เกิดการตกหล่นเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน 5. จิตใจมีอาการสับสน ไม่สามารถตอบคำถามอะไรได้ เพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์งบการเงินของธุรกิจตัวเองตอนนี้เป็นอย่างไร? สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจคือเจ้าของธุรกิจต้องรู้งบการเงินของบริษัท เพราะงบการเงินคือรายงานสถานการณ์การเงิน ผลประกอบการของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นงบแสดงฐานะการเงิน, งบกำไรขาดทุน หรือบริษัทไหนมีหุ้นส่วน ก็ต้องรู้งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นด้วย จะได้รู้ว่าในตอนนี้บริษัทของเรากำลังมีกำไร หรือขาดทุนแล้วต้องรีบเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหา ซึ่งในส่วนนี้สำนักงานบัญชีก็สามารถจัดทำงบการเงินในทุก ๆ เดือนเพื่อรายงานผลให้คุณทราบงบการเงินของบริษัทได้แบบ เรียลไทม์ สำนักงานบัญชีแบบไหนที่ควรจ้าง? จ้างทั้งทีต้องได้งานคุณภาพ! หากคิดจะจ้างสำนักงานบัญชี ควรจ้างสำนักงานบัญชีที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพราะถูกการันตีคุณภาพงานเรียบร้อยแล้ว แต่เอ๊ะ! เราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าสำนักงานบัญชีแบบไหนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ไม่รับรอง และไม่ผ่านเกณฑ์การตัดสิน สำนักงานบัญชีสามารถช่วยแก้ปัญหาอาการแปลก ๆ ของร่างกายคุณได้ ที่สำคัญการจ้างสำนักงานบัญชีให้จัดทำบัญชีนั้นสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานบัญชีประจำบริษัทได้  PEAK ขอแนะนำเทคนิคสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของคุณ และสำนักงานบัญชีทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น คือใช้โปรแกรมบัญชี PEAK จะช่วยแบ่งเบาภาระ และจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นสมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก

9 ต.ค. 2022

PEAK Account

16 min

ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) เรื่องสำคัญที่กิจการไม่ควรละเลย

ต้นทุนแฝงถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจซึ่งหลายกิจการไม่ได้ให้ความสำคัญหรือหาแนวทางแก้ไขอย่างจริงจัง PEAK จึงขอพาผู้ประกอบการมารู้จักและทำความเข้าใจต้นทุนแฝงในบทความนี้ ต้นทุนของกิจการมีอะไรบ้าง ก่อนอื่นเรามาทบทวนต้นทุนของกิจการกันก่อนว่ามีอะไรบ้าง  ต้นทุนของกิจการหรือต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ  ถ้าพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนของกิจการ ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย  1. ต้นทุนขาย เป็นต้นทุนที่ทำให้สินค้าอยู่ในสภาพที่พร้อมขาย หรือ ต้นทุนบริการ ซึ่งเป็นต้นทุนสำหรับการให้บริการตามที่มีการตกลงกับลูกค้าไว้  2. ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายในการขายเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้ขายสินค้าได้ ได้แก่ ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายบริหารเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการดำเนินธุรกิจได้ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเช่าอาคาร เป็นต้น หรือ ถ้าจะมองต้นทุนของกิจการโดยพิจารณาตามโครงสร้างต้นทุน จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เป็นมูลค่าคงที่เป็นประจำ และเกิดขึ้นไม่ว่าธุรกิจจะมีการผลิตสินค้าหรือไม่ก็ตาม หรือไม่ว่าธุรกิจจะมีผลประกอบการขาดทุนหรือได้กำไร ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า เป็นต้น 2. ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) เป็นต้นทุนที่มีราคาเปลี่ยนแปลง แปรผันไปตามปริมาณการผลิต หรือปริมาณการขาย ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง เป็นต้น ต้นทุนแฝงคืออะไร ต้นทุนแฝง (Implicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต ได้แก่ แรงงาน เครื่องมือเครื่องจักร เป็นต้น แต่จากการใช้ไปของปัจจัยการผลิตนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลตอบแทนกลับมาแก่กิจการ หรือผลตอบแทนที่กลับมาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  ต้นทุนแฝงจึงเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบการมองข้ามหรือมองไม่เห็น (Hidden Cost) และในการบันทึกรายการทางบัญชีไม่ได้นำมารวมเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ประเภทของต้นทุนแฝง ต้นทุนแฝงของกิจการเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนแฝงในรูปของค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจำนวนเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าคลิปหนีบกระดาษ ค่าลวดเย็บเอกสาร เป็นต้น 2. ต้นทุนแฝงจากการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการเดินทาง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ค่าเดินทางไปพบลูกค้า ค่าเดินทางในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิตสินค้า ค่าเดินทางเพื่อซื้อสินค้าเข้าร้านเป็นต้น 3. ต้นทุนแฝงในรูปของเวลา ได้แก่ การสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นของกิจการจากเวลาที่สูญเสียไป ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การรอวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต ทำให้พนักงานแผนกผลิตว่างงาน เนื่องจากต้องใช้เวลารอวัตถุดิบมาถึงก่อนจึงจะทำการผลิตสินค้าต่อได้  การรอการอนุมัติจากผู้บริหารในการลงนามในเอกสาร การรอการตัดสินใจจากผู้มีอำนาจในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น การรอเหล่านี้จะทำให้เกิดการเสียโอกาสในการใช้เวลาเพื่อดำเนินการในส่วนที่จะช่วยสร้างมูลค่าหรือรายได้ของกิจการ 4. ต้นทุนแฝงในรูปของสินค้าคงคลัง สำหรับกิจการผลิต มีโอกาสเกิดต้นทุนแฝงจากสินค้าคงคลังซึ่งมีมูลค่าสูง ได้แก่ – การเกิดสินค้าล้าสมัย ได้แก่ การที่กิจการมีสินค้าคงคลังในปริมาณมากและสินค้ามีการตกรุ่นทำให้สินค้าขายไม่ออก หรือต้องลดราคาขายลง – การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก เพราะต้องการส่วนลดในการสั่งซื้อ หรือกิจการไม่มีการวางแผนการผลิตทำให้วัตถุดิบล้นสต็อก จนเกิดของเสียหรือเสื่อมสภาพ – ปริมาณสินค้าคงเหลือที่ไม่พอเหมาะ ทำให้สินค้าขาด/เกิน เช่น กิจการร้านอาหารสั่งวัตถุดิบมาสต็อกไว้ในปริมาณที่มากเกินไป จนวัตถุดิบเหลือและเกิดการเน่าเสีย หรือการสั่งซื้อวัตถุดิบมาในปริมาณน้อยเกินไปทำให้เสียโอกาสในการขาย – การจัดซื้อวัตถุดิบคุณภาพดีเกินความจำเป็น ในบางกิจการ ผู้ประกอบการให้ความใส่ใจคัดสรรเลือกซื้อวัตถุดิบที่ดีสำหรับลูกค้า ซึ่งทำให้ต้นทุนสินค้าสูงและราคาขายสูงตามไปด้วย ซึ่งลูกค้าไม่ได้ต้องการสินค้าคุณภาพสูงมาก ทำให้ผู้ประกอบการลงทุนไปกับวัตถุดิบที่ดีเกินความจำเป็น 5. ต้นทุนแฝงจากการเปลี่ยนพนักงานบ่อยๆ การเปลี่ยนพนักงานบ่อยทำให้ต้องมีการสอนงานและฝึกอบรมพนักงานใหม่ เกิดค่าเสียโอกาสในการใช้เวลาสอนงานแทนที่จะใช้เวลาไปทำงานที่สร้างมูลค่าให้แก่องค์กร และพนักงานใหม่ยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับกิจการจนกว่าจะทำงานเป็น ต้นทุนแฝง สิ่งที่กิจการควรระวัง ตันทุนแฝงเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ถูกมองข้าม ซึ่งต้นทุนแฝงจะส่งผลเสียต่อกิจการดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนแฝงจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา เช่น ต้นทุนแฝงจากสินค้าล้าสมัย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าและค่าจ้างพนักงานดูแลสินค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น 2. ต้นทุนแฝงทำให้ผลกำไรของกิจการลดลง หรืออาจมีผลขาดทุนได้ 3. ต้นทุนแฝงทำให้เกิดค่าเสียโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่กิจการ 4. ต้นทุนแฝงทำให้การจัดการทรัพยากรขององค์กรไม่มีประสิทธิภาพ 5. ต้นทุนแฝงถือเป็นรูรั่วของธุรกิจ เป็นโอกาสที่อาจทำให้เกิดการทุจริตในองค์กรได้ การลดต้นทุนแฝงทำอย่างไร 1. การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย ได้แก่  1.1 การนำระบบ e-Procurement ซึ่งเป็นกระบวนการจัดซื้อทางออนไลน์ที่ประสานการทำงานระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นช่องทางการสื่อสารที่มีความปลอดภัยสูงมาใช้ในการจัดซื้อ ซึ่งจะช่วยให้กิจการลดค่าใช้จ่าย ผู้ประกอบการสามารถวางแผน วิเคราะห์คัดเลือก Supplier การเปรียบเทียบราคา ลดการเกิด Human Error และช่วยลดการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อ ช่วยลดการใช้กระดาษ มีความถูกต้อง สามารถติดตามตรวจสอบการสั่งซื้อภายหลังได้  1.2 การนำระบบ MRP (Material Requisition Planning) มาใช้ในกิจการผลิต MRP เป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการวัตถุดิบ เพื่อการจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบของกิจการ ซึ่งจะช่วยควบคุมแผนการสั่งซื้อ การส่งมอบสินค้า การจัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  2. การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ได้แก่  2.1 การบริหารจัดการคลังสินค้าวัตถุดิบ คลังสินค้าสำเร็จรูป คลังอะไหล่ โดยนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการควบคุม สามารถตรวจสอบกับปริมาณสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริงได้ รวมทั้งการจัดทำเอกสารในระบบคลังสินค้าให้เป็นระบบเดียวกัน ไปจนถีงความสามารถในการตรวจสอบปริมาณสินค้าคงเหลือได้ในระบบเรียลไทม์  2.2 การบริหารจัดการ Dead Stock (สินค้าคงเหลือที่ค้างในสต็อกเป็นเวลานาน ไม่มีการเคลื่อนไหว) เพื่อลดปริมาณสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม เพิ่มพื้นที่ในการเก็บสินค้า  2.3 การลดของเสีย โดยใช้แนวทางดังต่อไปนี้ ก. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) เป็นการควบคุมคุณภาพสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด โดยใช้กระบวนการ Inspection ซึ่งเป็นการตรวจสอบจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง รวมทั้งการบันทึกและเก็บสถิติข้อมูลของจำนวนและลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เกิดความบกพร่อง เพื่อนำไปวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ  ข. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ(Quality Assurance หรือ QA) เป็นการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของสินค้า โดยเน้นการวางแผนในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อป้องกันสินค้าชำรุดหรือไม่ได้คุณภาพ ให้ได้สินค้าที่มีมาตรฐาน เป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าในทุกด้าน  ค. แนวคิด Zero Defect เป็นแนวคิดในการจัดการผลิตให้ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นแนวคิดในการสร้างระบบโรงงานที่ดี ได้แก่ การใช้ระบบ Automation Design & System Integration ซึ่งเป็นการออกแบบและสร้างระบบการผลิตแบบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นในการวางแผนการผลิตและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพการผลิตตั้งแต่การเริ่มจัดซื้อวัตถุดิบ การจ้างแรงงานผลิต จนถึงการส่งมอบสินค้า ซึ่งจะช่วยลดค่าเสียโอกาสจากสิ่งที่ผลิตเกินหรือขาด 3. การวางแผนการจัดการงบประมาณ เป็นการควบคุมการเกิดต้นทุนแฝงโดยใช้งบประมาณ โดยการวิเคราะห์ผลต่างของต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่   เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณที่ตั้งไว้ เช่น การวิเคราะห์ผลต่างของราคาวัตถุดิบที่จ่ายซื้อกับที่ตั้งประมาณการไว้ เมื่อพบว่าราคาจ่ายซื้อวัตถุดิบสูงกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ จะได้ทำการเจรจาต่อรองราคากับผู้จำหน่ายวัตถุดิบเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง การวิเคราะห์งบประมาณจะทำให้ผู้ประกอบมองเห็นรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสามารถควบคุมต้นทุนแฝงไม่ให้เกิดขึ้นได้ 4. การจัดทำรายงานทางบัญชี การจัดทำรายงานทางบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบการเงิน หรือรายงานเพื่อเสนอผู้บริหาร (Financial Management Report) จะช่วยเจ้าของกิจการในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและต้นทุน ทำให้ทราบข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายครบถ้วนและถูกต้อง สามารถควบคุมต้นทุนแฝงไม่ให้เกิดขึ้นได้  ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่างโปรแกรม PEAK  ที่ช่วยผู้ประกอบการจัดการงานบัญชีแบบครบวงจร เป็นรายงานแบบ Real Time ที่สรุปผลประกอบการและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีรูปแบบรายงานแบบ Dashboard ช่วยเจ้าของกิจการในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องได้ทุกที่ทุกเวลา  จากแนวทางดังที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการ ทราบข้อมูลต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง สามารถควบคุมและจัดการต้นทุนแฝงไม่ให้เกิดขึ้นได้ ก่อให้เกิดผลประกอบการที่ดีแก่กิจการ   ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชึ PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง : ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) คืออะไร | โปรซอฟท์ คอมเทค (prosoft.co.th) ต้นทุนแฝง คืออะไร? Implicit Cost มีอะไรบ้าง – GreedisGoods ต้นทุนแฝง (Hidden Cost) คืออะไร | Prosoft WINSpeed โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป

29 ส.ค. 2022

PEAK Account

23 min

ลูกหนี้ค้างชำระนาน ควรจัดการอย่างไร?

ในการขายสินค้า การให้เครดิตแก่ลูกค้าช่วยสร้างยอดขายให้กิจการเพิ่มขึ้น ในขณะที่ลูกค้าก็ได้รับสินค้าและได้รับเครดิตทำให้มีสภาพคล่อง มีเงินหมุนเวียนเพียงพอในการดำเนินกิจการ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้การดำเนินธุรกิจขาดสภาพคล่องอย่างมาก ลูกค้าไม่สามารถจ่ายชำระเงินได้ ผู้ขายไม่ได้รับการชำระเงินภายในระยะเวลาที่ตกลงให้เครดิตแก่ลูกค้า บางครั้งถูกยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปเป็นเวลานาน กิจการจะมีแนวทางในการจัดการกับลูกหนี้ที่ค้างนานได้อย่างไรมาติดตามกันในบทความนี้ ลูกหนี้ค้างนานคืออะไร ลูกหนี้ค้างนาน หมายถึง ลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับเครดิตจากกิจการ ซึ่งโดยปกติลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการดำเนินการค้าปกติของธุรกิจ โดยมีการให้เครดิตแก่ลูกค้าในการนำสินค้าไปใช้ก่อน แต่รับชำระเงินในภายหลัง ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันเรียกว่า ระยะเวลาการให้เครดิตเทอม เช่น 15 วัน 30 วัน 45 วัน หลังจากวันส่งมอบสินค้า เป็นต้น ในการจัดการกับลูกหนี้ค้างนาน กิจการไม่ควรปล่อยปละละเลยให้มีลูกหนี้ค้างเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถจัดเก็บหนี้ หรือจนกระทั่งเกิดปัญหาหนี้สูญที่กิจการได้มีติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว  แต่ไม่ได้รับชำระหนี้จนต้องตัดจำหน่ายออกจากบัญชี แนวทางการจัดการลูกหนี้ที่ค้างชำระเป็นเวลานาน  เมื่อกิจการมีลูกหนี้ที่ค้างชำระเป็นเวลานาน กิจการควรกำหนดแนวทางในการเรียกเก็บหนี้ ดังต่อไปนี้ 1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลของลูกหนี้ เบื้องต้นกิจการควรรวบรวมข้อมูลของลูกหนี้รายที่ค้างชำระนาน ว่ามียอดค้างชำระเท่าไร ประกอบด้วยใบแจ้งหนี้ใดบ้าง ใบแจ้งหนี้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บค่าสินค้า ซึ่งมีข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ของลูกหนี้ รายละเอียดและมูลค่าสินค้า เงื่อนไขในการชำระเงิน ระยะเวลาการให้เครดิต รวมถึงค่าปรับในกรณีที่ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า เช่น ค่าปรับอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นต้น กิจการควรตรวจสอบว่าเป็นใบแจ้งหนี้ที่ได้ส่งไปเรียกเก็บจากลูกหนี้แล้ว และควรตรวจสอบว่าลูกหนี้ได้รับสินค้าเรียบร้อยแล้วด้วย โดยพิจารณาจากใบส่งของซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าลูกค้าได้รับสินค้าแล้ว และใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายในการอ้างอิงว่ามีการส่งสินค้าจริง ท่านสามารถศึกษาเรื่องใบแจ้งหนี้และใบส่งของได้จากลิงก์นี้ ตัวอย่างใบแจ้งหนี้และใบวางบิล ควรมีอะไรบ้าง (peakaccount.com) ใบส่งของสำคัญไฉน? (พร้อมดูตัวอย่างใบส่งของ) (peakaccount.com) 2. การติดตามทวงถามเบื้องต้นด้วยวาจา หลังจากรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลของลูกหนี้แล้ว กิจการควรติดต่อลูกหนี้รายที่มียอดคงเหลือค้างชำระ โดยกำหนดให้พนักงานผู้ดูแลจัดเก็บหนี้ติดตามลูกหนี้ด้วยการโทรติดต่อเพื่อสอบถามเกี่ยวกับกำหนดการชำระเงิน ซึ่งควรติดตามสอบถามด้วยความสุภาพ ในบางกรณีลูกหนี้อาจมิได้มีเจตนาในการหลบเลี่ยงการชำระหนี้ แต่เป็นไปได้ที่จะลืมชำระเมื่อถึงกำหนด การติดตามทวงถามเบื้องต้นทางวาจาก็อาจจะทำให้กิจการได้รับชำระหนี้ได้ 3.การเจรจาต่อรองขอรับชำระหนี้ เมื่อกิจการมีการติดตามทวงถามทางวาจาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการชำระหนี้ กิจการอาจใช้วิธีเจรจาต่อรองขอรับชำระหนี้จาก ลูกหนี้ โดยสอบถามในรายละเอียดถึงสาเหตุที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด ลูกหนี้เกิดการขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยลูกหนี้ไม่มีเงินหรือมีไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ กิจการสามารถใช้วิธีเจรจาต่อรอง เพื่อประนีประนอมกับลูกหนี้ เช่น การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ การกำหนดแผนการชำระหนี้ใหม่ การยกเว้นค่าปรับหรือดอกเบี้ย เป็นต้น โดยถ้ามีการตกลงเงื่อนไขในการชำระหนี้ใหม่ที่แตกต่างจากเงื่อนไขเดิม กิจการควรจัดทำหนังสือรับสภาพหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ลงนามรับสภาพหนี้ และในกรณีที่ลูกหนี้มีข้อโต้แย้งว่าได้รับสินค้าไม่ครบถ้วนจึงยังไม่ชำระเงิน กิจการควรตรวจสอบข้อเท็จจริงว่ามีการส่งมอบสินค้าครบถ้วนหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น กิจการควรควบคุมให้มีลูกค้าลงนามรับสินค้าทุกครั้งที่มีการรับของ ในเอกสารใบส่งของของกิจการดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น 4. การติดตามทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อกิจการได้ดำเนินการเจราจาต่อรองขอรับชำระหนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ กิจการควรจัดทำหนังสือทวงถามหนี้เป็น  ลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานว่ากิจการมีความพยายามในการติดตามหนี้จากลูกหนี้ และใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลในกรณีที่มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น รวมทั้งเป็นหลักฐานทางภาษีในการจำหน่ายหนี้สูญทางบัญชี ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 374  (พ.ศ. 2564) ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 29 เมษายน 2564   ในการจัดทำหนังสือทวงถามหนี้ ควรระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของลูกหนี้ ระบุจำนวนเงินและเลขที่เอกสารใบแจ้งหนี้ ดอกเบี้ยผิดนัด ตอกเบี้ยการชำระหนี้ล่าช้าและ/หรือ ค่าปรับ การออกหนังสือทวงหนี้โดยทั่วไปจะระบุข้อความให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่กิจการทันที กิจการสามารถจัดทำหนังสือทวงถามหนี้มากกว่าหนึ่งครั้งได้ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงหนี้ดังกล่าว โดยฉบับแรกเป็นการตักเตือน ฉบับที่สองเป็นการคิดค่าปรับ จนถึงฉบับสุดท้ายเป็นการติดตามก่อนดำเนินการทางกฎหมายโดยการฟ้องศาล ซึ่งกิจการควรมีการอ้างถึงและควรแนบหนังสือทวงถามหนี้ฉบับล่าสุดก่อนหน้าไปพร้อมกันด้วย และในการส่งหนังสือทวงถามหนี้ กิจการควรส่งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียนตอบรับ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าเอกสารได้ถูกนำส่งถึงมือลูกหนี้และลูกหนี้ได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว 5. การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามทวงถามหนี้ กิจการควรศึกษาพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย โดยกิจการต้องปฏิบัติตามหน้าที่ วิธีการ รูปแบบ ลักษณะและข้อจำกัด ในการติดตามทวงถามหนี้ โดยในการทวงถามหนี้กฎหมายได้กำหนดแนวปฏิบัติในการทวงหนี้ไว้ดังนี้ 5.1  วิธีการติดต่อ โดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ 5.2  สถานที่ติดต่อ ถ้าลูกหนี้มิได้แจ้งไว้ ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้ หรือตามที่คณะกรรมการทวงถามหนี้ประกาศกำหนด 5.3 เวลาในการติดต่อ กิจการสามารถทวงหนี้โดยใช้บุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระหว่างวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8.00 น.- 20.00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 8.00 น.-18.00 น.  5.4 ความถี่ในการทวงหนี้ กิจการสามารถทวงหนี้ได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะนับจำนวนครั้งในการทวงหนี้เมื่อลูกหนี้รับโทรศัพท์ หรืออ่านไลน์การทวง หรือรับทราบการทวงอย่างชัดเจน นอกจากนี้กฎหมายยังมีข้อกำหนดให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้อย่างสุภาพชน ละเว้นการประจานหรือดูหมิ่นให้ลูกหนี้เกิดความเสื่อมเสีย, ห้ามเจ้าหนี้ทวงหนี้กับบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกหนี้ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้, ห้ามเจ้าหนี้ใช้ข้อความข่มขู่ใช้ความรุนแรง หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น เป็นต้น 6. การใช้บริการมืออาชีพหรือทนายความในการติดตามทวงหนี้ ถ้ากิจการมีลูกหนี้เป็นจำนวนมาก เจ้าหนี้อาจจะจ้างบุคคลภายนอก ได้แก่ สำนักงานกฎหมาย สำนักงานทนายความ หรือ ธุรกิจที่ให้บริการทวงถามหนี้ เป็นต้น ซึ่งกิจการควรตรวจสอบว่าบุคคลภายนอกเหล่านี้เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการจดทะเบียนประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติทวงถามหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย 7. การดำเนินคดีในทางศาล ถ้ากิจการในฐานะเจ้าหนี้ได้ดำเนินการมาทั้งหมดแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ สามารถดำเนินคดีในทางศาล แต่จะมีค่าใช้จ่ายและต้องใช้เวลาในการดำเนินการ  แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกหนี้ค้างนาน กิจการสามารถดำเนินการโดยใช้ดังต่อไปนี้  1. การจัดทำรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้การค้า (Aging Analysis Report) รายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้การค้า เป็นรายงานที่แบ่งช่วงอายุลูกหนี้ แสดงให้เห็นรายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายมีหนี้คงค้างเท่าไร ค้างชำระมาเป็นระยะเวลานานเท่าไรแล้ว โดยลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้เป็นเวลานาน ทำให้กิจการต้องทวงถามเป็นลำดับแรก ในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้ ประกอบด้วยข้อมูลวันที่ขายสินค้า และวันที่ครบกำหนดชำระ  โดยข้อมูลวันที่ขายสินค้าซึ่งส่วนใหญ่ยึดตามวันที่ใบแจ้งหนี้ ส่วนวันที่ครบกำหนดชำระเป็นไปตามเครดิตเทอม ซึ่งปกติจะระบุไว้ในใบแจ้งหนี้  2. การวิเคราะห์อายุลูกหนี้ แนวทางการวิเคราะห์อายุลูกหนี้จากรายงานการวิเคราะห์อายุลูกหนี้การค้าจะคำนวณวันที่ค้างชำระจาก วันที่ปัจจุบัน-วันที่ขายสินค้า ยกตัวอย่าง เช่น วันที่ปัจจุบัน เป็นวันที่ 31 ก.ค. 2565 วันที่ขายสินค้า เป็นวันที่  1 พ.ค. 2565 จำนวนวันที่ค้างชำระ = วันที่ปัจจุบัน-วันที่ขายสินค้า หมายถึง ตั้งแต่วันที่ปัจจุบันจนถึงวันที่ขายสินค้า เป็นเวลา 90 วัน แต่กิจการยังไม่ได้รับชำระหนี้ จากนั้นนำจำนวนวันที่ค้างชำระมาเปรียบเทียบกับเครดิตเทอมที่ลูกค้าได้รับ เช่น ลูกค้าได้รับเครดิตเทอม 30 วัน                       ดังนั้นลูกค้ารายนี้เกินกำหนดชำระเป็นเวลา เท่ากับ 90-30= 60 วัน เมื่อวิเคราะห์อายุลูหนี้เรียบร้อยแล้ว กิจการสามารถนำรายงานการวิเคราะห์อายุหนี้มาใช้ในการวิเคราะห์จัดเกรดลูกค้าได้ เช่น กลุ่ม A = ยังไม่ถึงกำหนดชำระ กลุ่ม B = เกินกำหนดภายใน 30 วัน กลุ่ม C = เกินกำหนด 31-60 วัน กลุ่ม D = เกินกำหนด 61-90 วัน กลุ่ม E = เกินกำหนด 91 วันขึ้นไป                                                                                        จากตัวอย่างข้างต้น ลูกค้าบริษัท กิจการดี จำกัด  ค้างชำระนาน 90 วัน เกินกำหนดชำระ 60 วัน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม C   การจัดเกรดลูกหนี้จะช่วยให้กิจการจัดลำดับลูกหนี้ที่เกินกำหนดชำระได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการในการติดตามหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    3. การตรวจสอบคุณภาพลูกหนี้                                                                                               เป็นการทบทวนคุณภาพ  การกำกับตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติของลูกค้า มีการทบทวนการให้วงเงินเครดิต การทบทวนการให้ระยะเวลาเครดิตเทอม ควรมีการตรวจสอบอย่างน้อยปีละครั้ง มีการตรวจสอบพฤติกรรม เช่น ลูกหนี้มีการขอเลื่อนการวางบิล มีการชำระเช็คลงวันที่ล่วงหน้า ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูล กำกับดูแล การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ได้แก่ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (AR Turnover) ซึ่งถ้าอัตรา AR Turnover มีค่าสูงแสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว, ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) ซึ่งอัตรายิ่งต่ำยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงการมีคุณภาพของลูกหนี้ การมีประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการขายสินค้าของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเรียกเก็บเงินไม่ได้ในอนาคตอนาคต                                                                                                                       4.การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  เป็นการประมาณการทางบัญชี โดยประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ ซึ่งคำนวณเป็นร้อยละของยอดขาย หรือคำนวณเป็นร้อยละของลูกหนี้  โดยเป็นการวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับจำนวนลูกหนี้ที่ยังเก็บไม่ได้ ในการดำเนินธุรกิจแม้ลูกหนี้โดยส่วนใหญ่จะชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด แต่ก็มีลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ และในทางปฏิบัติจะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดจะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะถึงกำหนดชำระ หรือได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว ทำให้มูลค่าของลูกหนี้ที่จะแสดงในงบการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นการประมาณการจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ขึ้นจำนวนหนึ่ง โดยกันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งมีลักษณะเป็นบัญชีปรับมูลค่านำไปลดบัญชีลูกหนี้ จะช่วยผู้ประกอบการในการบริหารจัดการลูกหนี้ทำให้กิจการทราบมูลค่าของลูกหนี้ที่แสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามความเป็นจริงได้    การบริหารจัดการลูกหนี้ที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดลูกหนี้ค้างนานได้ ช่วยให้กิจการได้รับชำระเงินจากการขายสินค้าได้ครบถ้วนและมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ  นำไปสู่การเติบโตในอนาคต      PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชี ให้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ลูกหนี้ของกิจการได้อย่างถูกต้อง เสริมสร้างสภาพคล่องช่วยให้กิจการเติบโตได้อย่างยั่งยืน อ้างอิง: การเรียกเก็บหนี้ (Collection) ความหมายของการเรียกเก็บหนี้ การควบคุมหนี้ และการติดตามหนี้ (novabizz.net)                                                                                                         เจาะลึกบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable Aging) คืออะไร? – PENIAPHOBIA                           จัดการลูกหนี้ อย่างไร? ให้ได้เงิน – MoneyHub                                                                                   วิธีจัดเกรดลูกค้าจาก AR Aging – Zero to Profit                                                                                       การทวงหนี้จากลูกหนี้อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ (wonder.legal)

17 ส.ค. 2022

PEAK Account

23 min

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ

นักบัญชีส่วนใหญ่รู้จักทะเบียนทรัพย์สินหรือ Fixed Asset Register ว่าเป็นการสรุปรายละเอียดของทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น อาคารสำนักงานหรือโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงานซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้มีอายุการใช้งานนานและมีมูลค่าสูง และต้องมีการประมาณการค่าเสื่อมราคา ทะเบียนทรัพย์สินมีความสำคัญอย่างไร มีขั้นตอน ข้อปฏิบัติ สิ่งควรรู้ในการจัดทำอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ สินทรัพย์ประเภทใดที่ต้องจัดทำทะเบียนคุม หลายคนเข้าใจว่าทรัพย์สิน กับ สินทรัพย์ เป็นคำคำเดียวกันเพียงแค่สลับคำกัน แต่ที่จริงทั้งสองคำนี้มีความหมายต่างกัน โดยทรัพย์สินเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ ตามพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายความหมายของคำว่า “ทรัพย์สิน” และ “สินทรัพย์” ไว้ดังนี้ 1. ทรัพย์สิน(Property) หมายถึง รายการของวัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่ถือครองได้  ซึ่งมีมูลค่าเป็นเงิน  ทรัพย์สินแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ  (1)  ทรัพย์สินมีตัวตน (Tangible assets) หรือ ในทางบัญชีใช้คำว่า “ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ”(Property, Plant and Equipment)  ได้แก่ ที่ดิน อาคารโรงงาน อาคารสำนักงาน เครื่องจักร ยานพาหนะ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น (2)  ทรัพย์สินทางการเงิน (Financial  assets)  เช่น เงินตรา  ธนบัตร  หุ้น พันธบัตร เป็นต้น (3) ทรัพย์สินไม่มีตัวตน (Intangible assets)  เช่น  เครื่องหมายการค้า (Trade–mark), ค่าความนิยม (Goodwill) ของสินค้าหรือของกิจการ, ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น 2. สินทรัพย์  ในทางบัญชี หมายถึง สิทธิและทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งเกิดจากการประกอบการสามารถแสดงค่าเป็นตัวเงินได้และจะให้ประโยชน์ในอนาคต ซึ่งนอกจากจะหมายรวมถึงรายการทรัพย์สินแล้ว ยังรวมรายจ่ายที่จ่ายไปและไม่มีสิทธิเรียกร้อง แต่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่กิจการยังมีอยู่  เช่น รายจ่ายรอตัดบัญชี เป็นต้น กิจการที่มีทรัพย์สินที่มีตัวตนไว้ในครอบครอง จำเป็นต้องมีระบบการควบคุมและเก็บรักษาทรัพย์สิน จึงต้องมีการจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของทรัพย์สิน ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ตลอดจนระบุแหล่งที่ใช้ทรัพย์สินนั้นอยู่  ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16  ได้ให้ความหมายของ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (Property, Plant and Equipment) ไว้ดังนี้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ 1. กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน  2. กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลา ราคาทุน ของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1. ราคาซื้อ รวมอากรขาเข้า และภาษีซื้อที่เรียกคืนไม่ได้ หักส่วนลดการค้าและจำนวนที่ได้รับคืนจากผู้ขาย 2. ต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตของสินทรัพย์ที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการเตรียมพร้อม ได้แก่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวเนื่องจากการกู้ยืมของกิจการ 3. ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์ เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตามความประสงค์ของฝ่ายบริหาร ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ต้นทุนการเตรียมสถานที่ ต้นทุนการขนส่งเริ่มแรกและการเก็บรักษา ต้นทุนการติดตั้งและการประกอบ ต้นทุนในการทดสอบว่าสินทรัพย์นั้นสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่  4. ต้นทุนที่ประมาณการเบื้องต้นสำหรับการรื้อ การขนย้าย และการบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ ซึ่งเป็นภาระผูกพันของกิจการที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้สินทรัพย์นั้นมา  ทะเบียนทรัพย์สิน (Fixed Asset Register)  คืออะไร ทะเบียนทรัพย์สิน หมายถึง รายงานสรุปรายละเอียดของทรัพย์สินที่มีตัวตนที่มีอยู่ในกิจการและใช้ในการควบคุมภายในเพื่อ ตรวจสอบความมีตัวตนอยู่จริงของทรัพย์สิน ความสำคัญของทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนทรัพย์สินมีความสำคัญต่อกิจการดังต่อไปนี้ 1. เป็นการยืนยันว่าทรัพย์สินมีตัวตนอยู่จริง การที่กิจการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินแสดงให้เห็นว่ากิจการมีรายงานที่แสดงว่ามีการควบคุมทรัพย์สิน  อย่างไรก็ตามกิจการควรมีการตรวจนับทรัพย์สินอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดี 2. เป็นการป้องกันการทุจริตและปรับปรุงทะเบียนคุมทรัพย์สินให้ถูกต้องตรงกันกับทรัพย์สินที่มีอยู่จริง การจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินและมีการตรวจนับทรัพย์สินว่ามีจำนวนตรงกันกับรายการในทะเบียนคุมหรือไม่ ช่วยป้องกันการทุจริตหรือการสูญหายของทรัพย์สิน เป็นการแสดงว่าทรัพย์สินนั้นๆ มีการใช้งานจริงและเป็นทรัพย์สินที่มีความเกี่ยวข้องกับกิจการ และในกรณีที่ทะเบียนคุมไม่อัปเดต เช่น มีทรัพย์สินเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้แล้วแต่มีการจำหน่ายออกจากบัญชี หรือมีทรัพย์สินจำนวนมากที่มียอดคงเหลืออยู่ในบัญชีแต่ไม่มีของจริง ให้ทำการตรวจสอบให้ถูกต้อง 3. ช่วยให้การตรวจสอบค้นหาทรัพย์สินทำได้ง่าย ในการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่มีการกำหนดที่ตั้ง (Location) ของทรัพย์สิน จะทำให้สะดวกต่อการนำทรัพย์สินมาใช้และค้นหาได้ง่ายเมื่อมีการตรวจนับประจำงวด 4. ทำให้การคำนวณค่าเสื่อมราคาถูกต้อง การจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินและการตรวจนับทรัพย์สินดังที่กล่าวมา จะช่วยให้ข้อมูลทรัพย์สินครบถ้วน ทำให้การคำนวณค่าเสื่อมราคามีความถูกต้อง ไม่เกิดความผิดพลาดและปัญหาตามมา การควบคุมการใช้ทรัพย์สินของกิจการ การจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการใช้ทรัพย์สินพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดี ที่จริงแล้วการควบคุมการใช้ทรัพย์สินเพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดีมีด้วยกัน  5 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก เริ่มจากการจัดหาทรัพย์สินมาใช้ในการดำเนินกิจการ ควรมีการจัดทำงบประมาณในการจัดซื้อ โดยแต่ละหน่วยงานเป็นผู้จัดทำ ปกติจะจัดทำปีละครั้งเพื่อระบุความต้องการในการซื้อทรัพย์สินใหม่เพื่อทดแทนของเดิม หรือเพิ่มเติมจากทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว ในการตั้งงบประมาณการซื้อทรัพย์สิน หน่วยงานควรพิจารณาถึงความต้องการใช้และผลตอบแทน หรือความคุ้มค่าที่จะได้จากการลงทุนในทรัพย์สินน้้น รวมทั้งพิจารณาเงินทุนที่มีอยู่ในปีงบประมาณแต่ละปีว่ามีเพียงพอหรือไม่ ในการจัดทำงบประมาณควรมีการ  เปรียบเทียบเงินที่จ่ายจริงในการซื้อทรัพย์สินและตัวเลขงบประมาณเพื่อเป็นการติดตามและเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นว่าเงินที่จ่ายซื้อทรัพย์สินมีความเหมาะสมและยังอยู่ภายในวงเงินงบประมาณที่กำหนดไว้ ระยะที่สอง เป็นขั้นตอนของการจัดซื้อ ซึ่งกิจการควรมีการกำหนดนโยบายในการจัดซื้อทรัพย์สิน รวมทั้งอำนาจในการอนุมัติ โดยทั่วไปวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจะไม่ค่อยต่างจากการจ้ดซื้อสินค้าทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการสอบราคาจากผู้ขายที่เชื่อถือได้และในการรับของควรให้หน่วยงานผู้เสนอซื้อเข้ามาร่วมตรวจรับของด้วย เพื่อจะได้ทราบว่าทรัพย์สินนั้นตรงตามความต้องการที่เสนอมาหรือไม่ ระยะที่สาม  กิจการควรพิจารณาแบ่งแยกรายจ่ายในการซื้อทรัพย์สินโดยมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ว่าเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน (Capital Expenditure) หรือรายจ่ายในการดำเนินงาน โดยรายจ่ายฝ่ายทุนจะเป็นรายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สิน รวมทั้งรายจ่ายในการต่อเติม รายจ่ายในการเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สิน รายจ่ายในการขยายออก และรายจ่ายในการทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นกว่าวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา ส่วนรายจ่ายในการดำเนินกิจการ หมายถึงรายจ่ายในการดำเนินธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยที่ธุรกิจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ ได้แก่ เงินเดือน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น  ในการพิจารณาว่าเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนให้พิจารณาจากรายจ่ายที่ถือว่าเป็นราคาทุนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ ค่าขนส่ง ค่าเตรียมสถานที่ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เป็นต้น นอกจากนี้กิจการควรกำหนดนโยบายในการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำของทรัพย์สิน เช่น มูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ระยะที่สี่ เริ่มตั้งแต่เมื่อกิจการได้รับทรัพย์สินเข้ามา ซึ่งจะต้องมีการจัดหมวดหมู่ให้ทรัพย์สินนั้นก่อน มีการให้รหัสทรัพย์สิน การบันทึกรายละเอียดของทรัพย์สินลงในทะเบียนคุมทรัพย์สิน ซึ่งจะกล่าวถึงขั้นตอนและแนวปฏิบัติในรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้กิจการควรทำประกันภัยเพื่อลดความเสี่ยงภัยอันอาจจะเกิดแก่ทรัพย์สิน ได้แก่ ไฟไหม้ การโจรกรรม อุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น โดยเฉพาะทรัพย์สินที่มูลค่าสูง เช่น อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ เป็นต้น จากนั้นเป็นขั้นตอนของการคำนวณค่าเสื่อมราคาและควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพย์สินและควรมีการตรวจนับทรัพย์สินอย่างน้อยปีละครั้ง ระยะที่ห้า เมื่อมีการเลิกใช้ทรัพย์สิน ต้องมีการอนุมัติการตัดจำหน่ายและกำหนดแนวปฏิบัติในการตัดจำหน่ายทรัพย์สิน เทคนิคในการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินของกิจการ ในการควบคุมการใช้ทรัพย์สินของกิจการหลังจากที่กิจการได้รับทรัพย์สินมาแล้ว  เป็นขั้นตอนในการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สิน โดยมีขั้นตอนการจัดทำดังต่อไปนี้ 1. การจัดทรัพย์สินตามประเภทของทรัพย์สินเป็นกลุ่มและกำหนดรหัสทรัพย์สิน โดยกิจการควรแบ่งกลุ่มทรัพย์สินเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยๆ ตามประเภทของทรัพย์สิน ซึ่งมีรหัสทรัพย์สินแยกตามกลุ่มของทรัพย์สิน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่ดิน                                                            รหัส 161        ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงงาน            รหัส 161-1        ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างสำนักงาน         รหัส 161-2        ที่ดินที่ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างร้านค้า             รหัส 161-3 อาคาร                                                          รหัส 162                                     อาคารโรงงาน                                       รหัส 162-1        อาคารสำนักงาน                                  รหัส 162-2           อาคารร้านค้า                                        รหัส 162-3 เครื่องจักรและอุปกรณ์                                       รหัส 163          เครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงาน                     รหัส 163-1          เครื่องจักรและอุปกรณ์สำนักงาน                รหัส 163-2          เครื่องจักรและอุปกรณ์ร้านค้า                     รหัส 163-3 โดยปกติในการกำหนดรหัสทรัพย์สินจะเป็นการระบุกลุ่มทรัพย์สิน (Fixed Asset Group) และรหัสทรัพย์สิน(Fixed Asset Number) ที่ระบุกลุ่มทรัพย์สิน และ Running Number ตามลำดับวันที่ก่อน-หลังที่ซื้อทรัพย์สินนั้น 2. นอกจากกำหนดรหัสทรัพย์สินแล้ว ในการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินควรระบุชื่อทรัพย์สิน (Asset Name), ชื่อย่อหรือนามแฝง (Asset Name Alais), สถานที่ของทรัพย์สิน (Location) เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาเมื่อทำการตรวจนับ  3. เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา ทะเบียนคุมทรัพย์สินควรระบุวันที่เริ่มใช้งานทรัพย์สิน, อ้างอิงเลขที่เอกสารใบแจ้งหนี้ที่ซื้อทรัพย์สิน, วิธีคิดค่าเสื่อมราคา, อัตราค่าเสื่อมราคา, วันที่คิดค่าเสื่อมราคา, ราคาทุนของทรัพย์สิน รวมทั้งค่าเสื่อมราคาและค่าเสื่อมราคาสะสม  4. มูลค่าตามบัญชีคงเหลือ (Net Book Value) ซึ่งได้จากการคำนวณราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม โดยมูลค่าตามบัญชีคงเหลือในทะเบียนทรัพย์สินของทุกรายการรวมกันควรเท่ากับมูลค่าตามบัญชีคงเหลือในบัญชีแยกประเภทของที่ดิน อาคาร และอุุปกรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการยืนยันความครบถ้วนของการบันทึกบัญชีที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 5. มีการจัดทำฉลาก (Tags) ติดกำกับที่ทรัพย์สิน ซึ่งจะช่วยในการคันหาและตรวจสอบทรัพย์สินได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น  6. เมื่อดำเนินการจัดทำทะเบียนทรัพย์สินแล้ว เพื่อให้เกิดระบบการควบคุมภายในที่ดีที่เป็นการยืนยันความมีตัวตนของทรัพย์สิน กิจการควรกำหนดให้มีการตรวจนับทรัพย์สินอย่างน้อยปีละครั้งดังที่กล่าวมาแล้ว         ข้างต้น ปัจจุบัน โปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง PEAK ACCOUNT มีระบบจัดการทะเบียนทรัพย์สินและการบันทึกค่าเสื่อมราคา ทำให้นักบัญชีจัดทำทะเบียนทรัพย์สินได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานและมีความถูกต้องในการบันทึกบัญชี โดย PEAK Asset จะมาช่วยในการควบคุมดูแลทรัพย์สินของกิจการ ควบคุมการรับเข้าและตัดจำหน่ายทรัพย์สิน มีรายงานสรุปมูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่ ช่วยคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี พร้อมบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ สามารถจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินแต่ละรายการ นักบัญชีสามารถแนบไฟล์รูปภาพของทรัพย์สินให้ตรงกับทะเบียนทำให้การตรวจนับทรัพย์สินมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการทุจริตและการสูญหายของทรัพย์สิน ซึ่งนักบัญชีสามารถศึกษาระบบ PEAK Asset ได้ตามลิงก์นี้ PEAK Asset ระบบจัดการสินทรัพย์ และการบันทึกค่าเสื่อมราคา – PEAK Blog (peakaccount.com) สำหรับฟังก์ชั่นใน PEAK Asset ประกอบด้วย 1. ฟังก์ชั่นเพิ่มกลุ่มสินทรัพย์ 2. ฟังก์ชั่นเพิ่มสินทรัพย์ยกมา 3. ฟังก์ชั่นซื้อสินทรัพย์ 4. ฟังก์ชั่นขายสินทรัพย์ 5. หน้ารายละเอียดสินทรัพย์และตารางค่าเสื่อมราคา 6. พิมพ์รายงานกลุ่มสินทรัพย์แสดงทรัพย์สินและมูลค่าทั้งหมด 7. ฟังก์ชั่นหยุดคิดค่าเสื่อมราคา PEAK Asset เหมาะกับใคร 1. กิจการที่มีทรัพย์สินเพื่อการใช้งานเป็นระยะเวลานานและมีมูลค่าสูง เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ ยานพาหนะ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น และต้องการจัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สิน 2. นักบัญชีที่จัดทำบัญชีให้ธุรกิจที่มีสินทรัพย์ถาวรอยู่ภายในกิจการ 3. ผู้ดูแลทรัพย์สินหรือฝ่ายจัดซื้อ ที่มีหน้าที่ตรวจนับและดูแลทรัพย์สินภายในกิจการ ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยนักบัญชีจัดทำบัญชีได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้อง ช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชึ PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง ทะเบียนทรัพย์สินคืออะไร รู้กันในบทความนี้เลย | Station Account (station-ac    count.com) ระบบบัญชีสินทรัพย์ถาวร,ระบบบัญชี 2561, วิไล วีรปรีย จงจิตต์ หลีกภัย ประจิตร หาวัตร

17 ส.ค. 2022

PEAK Account

21 min

เทคนิคบริหารจัดการ ลดต้นทุน สร้างกำไร ช่วยธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด

เทคนิคการลดต้นทุน (Cost Reduction) เป็นแนวทางการบริหารองค์กรที่ทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ต้นทุนในที่นี้มิได้หมายถึงเม็ดเงินแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงทรัพยากรที่สูญเสียไปในการผลิตหรือการให้บริการ โดยไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับส่วนอื่นๆ ได้  แนวทางการลดต้นทุนขององค์กร ในที่นี้จะขอนำเสนอเทคนิคการลดต้นทุนในองค์กร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่เฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะช่วยสร้างกำไรและทำให้ธุรกิจเติบโตได้ โดยแบ่งออกได้เป็น 4 แนวทาง ดังต่อไปนี้ 1. การลดต้นทุนด้านการผลิต ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิต หรือให้บริการ ต้นทุนการผลิตเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการควบคุมอย่างมากเพราะจะช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือให้บริการ ทำให้กิจการได้รับกำไรเพิ่มขึ้น  แต่ถ้าการบริหารต้นทุนไม่ดีก็จะก่อให้เกิดผลเสียทำให้คุณภาพของสินค้าและบริการลดลง  การลดต้นทุนการผลิตเป็นการลดค่าใช้จ่ายและความเสียหายในช่วงระหว่างการดำเนินการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ลูกค้าที่ใช้สินค้าหรือบริการนั้นเกิดความพึงพอใจ ในการลดต้นทุนการผลิตแบ่งตามประเภทของต้นทุนได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนในธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้า ดังต่อไปนี้ 1.1 การลดต้นทุนวัตถุดิบ โดยทั่วไปต้นทุนวัตถุดิบ (Material Cost) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ  ก. ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct Material Cost) หมายถึง วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต เป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสมหลักที่นำมาผลิตสินค้าและสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าใช้ในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในปริมาณและต้นทุนเท่าใด เช่น เยื่อกระดาษเป็นวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตกระดาษ ไม้แปรรูปเป็นวัตถุดิบทางตรงที่ใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ข. ต้นทุนวัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Material Cost) หมายถึง วัตถุดิบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนผสมหรือส่วนประกอบเสริมที่เอามาผลิตสินค้า แต่ไม่ใช่วัตถุดิบหลักหรือวัตถุดิบส่วนใหญ่ เช่น กาว ตะปู กระดาษทราย เป็นวัตถุดิบทางอ้อมของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น หรือที่เรียกว่าวัสดุโรงงานซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตประเภทหนึ่ง โดยเทคนิคในการลดต้นทุนวัตถุดิบ ในการจัดหาวัตถุดิบควรมีการเปรียบเทียบราคาจาก Supplier         หลายราย เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม ตรงกับความต้องการมากที่สุด มีความเหมาะสมกับกระบวนการผลิต คำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการจัดซื้อ วิธีการเก็บรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้วัตถุดิบเสื่อมสภาพหรือหมดอายุก่อนการใช้งาน ซึ่งทำให้กิจการมีต้นทุนจ่ายซื้อวัตถุดิบแต่มิได้นำมาใช้งาน  1.2 การลดต้นทุนการผลิตทางด้านแรงงานและค่าโสหุ้ยการผลิต ต้นทุนแรงงาน (Labor Cost) เป็นต้นทุนของค่าจ้างและผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่คนงานหรือลูกจ้างที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้า โดยต้นทุนแรงงานแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้ ก. ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor Cost) หมายถึง ค่าแรงที่จ่ายให้คนงานที่ทำการผลิตสินค้าสำเร็จรูปโดยตรง เป็นค่าแรงหลักที่สำคัญในการผลิตสินค้าหน่วยหนึ่งๆ ได้แก่ ค่าแรงคนงานที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ข. ค่าแรงทางอ้อม (Indirect Labor Cost) หมายถึง ค่าแรงงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับค่าแรงทางตรงที่ใช้ในการผลิตสินค้า เช่น เงินเดือนพนักงานทำความสะอาดเครื่องจักรและโรงงาน เงินเดือนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ เงินเดือนช่างซ่อมบำรุง เป็นต้น ค่าโสหุ้ยการผลิต เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้านอกเหนือจากต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและแรงงานทางตรง ได้แก่ ต้นทุนวัตถุดิบทางอ้อม ต้นทุนแรงงานทางอ้อม ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าเช่าของโรงงาน ค่า          เสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าเสื่อมราคาอาคารโรงงาน  เป็นต้น ในการลดต้นทุนแรงงานและโสหุ้ยการผลิตสามารถทำได้โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุน ถึงแม้ว่าในระยะแรกจะใช้เงินลงทุนสูงแต่จะช่วยประหยัดต้นทุนทางด้านแรงงานและโสหุ้ยการผลิตในระยะยาวได้  1.3 การลดต้นทุนทางด้านเครื่องจักร การลดต้นทุนทางด้านเครื่องจักรมิได้ หมายถึง การลดจำนวนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต แต่หมายถึงในแง่ของการบำรุงรักษา คือ การหมั่นตรวจสอบดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อมิให้มีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้าที่ผลิต อันจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย  2. การใช้งานระบบ LEAN Management LEAN เป็นเทคนิคในการลดต้นทุน ด้วยการปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่าในระยะยาว เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพของกระบวนการทำงาน หัวใจของ LEAN คือการเพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กรและลูกค้าผ่านการพัฒนาระบบเพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  หลักการพื้นฐานของระบบ LEAN Management มีด้วยกัน 5 ประการ ดังนี้ 1. กำหนดคุณค่า (Identify Value) 2. วางแผนดำเนินงาน (Map the Value Stream) 3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow) 4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull) 5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 1. กำหนดคุณค่า (Identify Value) เป็นการระบุคุณค่าที่องค์กรต้องการที่จะสร้างให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าในกระบวนการทำงานและหาวิธีการลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนในกระบวนการทำงาน เป็นการฟังเสียงลูกค้าที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการรับรู้ปัญหา หรือ Pain Point ของลูกค้าและส่งมอบคุณค่าที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ 2. วางแผนการดำเนินงาน (Map the Value Stream) เป็นการเขียนแผนผังไหลของงาน เพื่อให้รู้ว่าเกิดความสูญเปล่า (Waste) ในขั้นตอนใด ขั้นตอนใดใช้เวลามากเกินไปหรือใช้คนมากเกินไป มีความติดขัดของงานในขั้นตอนใดบ้าง จะได้ทำการลดหรือขจัดให้หมดไป 3. สร้างขั้นตอนการทำงาน (Create Flow) เป็นการดูแลและควบคุมระบบงานให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เป็นการกำจัดคอขวดไม่ให้งานหยุดชะงักและใช้การจัดการเทคโนโลยีต่างๆ แก้ไขให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่องจนจบกระบวนการ 4. ใช้ระบบดึง (Establish Pull) ระบบดึง คือ การนำความต้องการหลักของลูกค้ามาเป็นเป้าหมายหลักในการทำงาน ได้แก่ การผลิตตาม      ออเดอร์ลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเปล่าในการผลิตสินค้าจนมีสินค้าคงคลังมากเกินไปจนกลายเป็นต้นทุนจม ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดการไหลลื่นของงานอย่างต่อเนื่องและเป็นการใช้ทรัพยากรที่        คุ้มค่า 5. มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ (Seek Perfection) ขั้นตอนนี้เป็นการวัดผลและปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง โดยทำการวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนากระบวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ การทำ PDCA (Plan Do Check Act) เพื่อให้งานที่ได้มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข ค้นหาจุดบกพร่องและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ หลักการของ LEAN 5 ประการดังที่กล่าวมา จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้ 1. การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น LEAN เป็นการขจัดความสูญเปล่า ทำให้พนักงานได้ทำงานเฉพาะกระบวนการที่มีคุณค่าเท่านั้น 2. เป็นการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ ในการทำงาน พนักงานจะไม่เสียเวลากับกระบวนการที่ไม่จำเป็น ประหยัดเวลาในการทำงาน สินค้าและบริการจะถึงมือลูกค้าเร็วขึ้น 3. การให้บริการตรงตามความต้องการของลูกค้า ระบบ LEAN จะมุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบสนองตรงตามความต้องการของลูกค้า 4. พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน ระบบ LEAN สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน มีการรับฟังความคิดเห็นของพนักงานก่อให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่ดี 5. ช่วยลดต้นทุนของสินค้าคงคลัง ธุรกิจผลิต ถ้าผลิตสินค้ามากเกินไปทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูงขึ้น รวมทั้งการเก็บสินค้าไว้นาน การเก็บสินค้าไว้นานจะทำให้สินค้าสูญเสียคุณภาพ 3. การจัดทำงบประมาณ การจัดทำงบประมาณเป็นเทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนได้ โดยการควบคุมค่าใช้จ่ายผ่านตัวเลขทางบัญชี งบประมาณจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย เป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการใช้เงินในแต่ละช่วงเวลาและเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำไรของกิจการ ในการจัดทำงบประมาณโดยทั่วไปจะทำพร้อมกับการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปี โดยในการจัดทำผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของบริษัท เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวด้วย โดยทั่วไปงบประมาณที่ธุรกิจจัดทำมี 2 ประเภท ได้แก่ 1. งบประมาณดำเนินการ (Operating Budget) ประกอบด้วย งบประมาณการขาย งบประมาณแรงงาน งบประมาณค่าใช้จ่ายโรงงาน งบประมาณต้นทุนการผลิต งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 2. งบประมาณการเงิน (Financial Budget) ประกอบด้วย งบประมาณเงินสด งบประมาณกำไรขาดทุน งบประมาณงบดุล ส่วนธุรกิจขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องทำงบประมาณการทุกงบ สามารถเลือกทำงบประมาณที่มีความสำคัญต่อกิจการ เช่น งบประมาณการขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณกำไรขาดทุน  การจัดทำงบประมาณมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่กำลังขยายและเจริญเติบโต เพราะจุดประสงค์ของการจัดทำงบประมาณเพื่อวางแผนให้บริษัทมีกำไร (Profit Planning) และเพื่อจะวิเคราะห์ถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน (Cost and Expense Analysis) ว่ามีค่าสูงหรือต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันและจุดประสงค์สุดท้ายเพื่อให้เจ้าของกิจการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่าย (Control Cost and Operating Expense) ที่เกิดขึ้นได้ การลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้วยการจัดทำงบประมาณมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องติดตามตัวเลขจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ตั้งไว้อย่างใกล้ชิดและหาแนวทางการแก้ปัญหาพร้อมทั้งผลักดันฝ่ายต่างๆให้ช่วยกันลดค่าใช้จ่ายทั้งการผลิตและค่าใช้จ่ายในการบริหารอย่างจริงจังและเป็นระบบ การวิเคราะห์ผลแตกต่างงบประมาณและตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงก็เพื่อควบคุมและทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ การจัดทำการวิเคราะห์ผลแตกต่างของงบประมาณกับตัวเลขจริงที่เกิดขึ้นควรจัดทำทุก 1 เดือน หรือ 3 เดือน ก็เพื่อติดตามการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน ความแตกต่างนี้เราเรียกว่า Variance อาจจะไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (unfavorable) หรือบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (favorable) ก็ได้ การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี เทคนิคอีกอันหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนของกิจการได้คือ การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดี การควบคุมภายใน เป็นเครื่องมือด้านการจัดการประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาช่วยในการบริหารงาน และเป็นกลไกพื้นฐานสำคัญของกระบวนการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากระบบการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันและรักษาทรัพย์สินของกิจการ ช่วยให้การใช้ทรัพยากรของกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้การปฏิบัติงานในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันในปัจจุบัน หากกิจการไม่มีการจัดการที่ดี หรือไม่มีการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) ไม่มีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม โอกาสเสี่ยงที่อาจเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงานจะมีมาก เกิดการรั่วไหล หรือเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน ซึ่งรวมถึงการล้มละลายของกิจการ สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ก็คือ ขาดระบบการควบคุมภายในที่ดี ขาดการประเมินความเสี่ยงและจัดกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตลอดจนการไม่สามารถตรวจพบข้อผิดพลาด ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นล้วนไม่เป็นผลดีต่อกิจการ  4 แนวทางการควบคุมภายในของกิจการ การควบคุมภายในจะช่วยลดต้นทุนของกิจการ โดยแบ่งเป็น 4 แนวทางได้ดังนี้  1. การควบคุมแบบป้องกัน (Preventive Control) เป็นการควบคุมเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด ความเสียหาย เช่น การแบ่งแยกหน้าที่งาน การควบคุมในการเข้าถึงทรัพย์สิน เป็นต้น 2. การควบคุมแบบค้นพบ (Detective Control) เป็นการควบคุมเพื่อค้นพบความเสียหายหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การสอบทานงาน การตรวจนับ เป็นต้น 3. การควบคุมแบบแก้ไข (Corrective Control) เป็นการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องหรือเพื่อหาวิธีแก้ไขไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต 4. การควบคุมแบบชดเชย (Compensating Control) เป็นการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อชดเชยหรือทดแทนระบบที่ทำอยู่เดิม เช่น ใช้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้แทนระบบ Manual เป็นต้น 4 เทคนิคที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการลดต้นทุนของธุรกิจ ช่วยสร้างกำไรและช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องบัญชีและภาษี ให้ข้อมูลในการจัดทำงบประมาณช่วยให้กิจการควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง: การนำแนวคิด Lean มาใช้ในองค์กร คำตอบของธุรกิจยุค New Normal – (wearecp.com) Lean คืออะไร – 7 ความสูญเปล่า และ หลักการ 5 ประการ – Thai Winner Writer -การลดต้นทุนการผลิต คืออะไร มี่กี่ประเภท ? (tpa.or.th) ทำความรู้จัก Cost Reduction เทคนิคการลดต้นทุน – Pantavanij 5 หลักการระบบลีน (LEAN) วิธีการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร | HRNOTE Thailand

9 ก.ค. 2022

PEAK Account

28 min

กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กับการจัดเก็บข้อมูลของนักบัญชี

ปัจจุบันการใช้งานผ่านระบบดิจิทัล ระบบเครือข่ายออนไลน์ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา มีแพลตฟอร์มให้เลือกใช้งานมากมายและมีหลากหลายช่องทางในการติดต่อสื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละช่องทางในการใช้งานจะมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ได้แก่ ชื่อ นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลส่วนตัวที่ให้ไปนั้นจะถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการจริงๆ โดยไม่นำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้เพื่อผลประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากความยินยอมของเรา กฎหมาย PDPA ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไปนั้น จะเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและให้สิทธิที่ควรมีของเจ้าของข้อมูล นักบัญชีเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ เป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการช่วยนักบัญชีในการปรับตัว รวมทั้งให้คำแนะนำแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายบริหารหรือลูกค้าของกิจการได้อย่างครบถ้วนถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด บทความนี้จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักบัญชีและผู้ประกอบการในการเตรียมพร้อมจากการบังคับใช้กฎหมาย PDPA PDPA คืออะไร PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองส่วนบุคคล พ.ศ.2562 PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E.2562(2019) เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในรูปแบบของกระดาษหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งเจ้าของข้อมูลหรือถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน  โดยกฎหมาย PDPA ของไทย ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ซึ่งได้เลื่อนมามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป  ขอบเขตการบังคับใช้ 1. ภายในราชอาณาจักร บังคับใช้ในการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ภายในราชอาณาจักร 2. ภายนอกราชอาณาจักร บังคับใช้ในกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่นอกราชอาณาจักร ถ้ามีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 2.1 การเสนอขายสินค้าหรือบริการแก่เจ้าของข้อมูลซึ่งอยู่ภายในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะมีการชำระเงินหรือไม่ 2.2 การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในราชอาณาจักร ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคล ตามกฎหมาย PDPA แยกประเภทข้อมูลส่วนบุคคลออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) ตามมาตรา 6 ของ PDPA ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมข้อมูลของผู้ที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และไม่รวมข้อมูลของนิติบุคคล ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ได้แก่  2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการรวบรวมหรือประมวลผล โดยกฎหมายให้การคุ้มครองเข้มงวดกว่าข้อมูลส่วนบุคคลธรรมดา ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล 1. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) หมายถึง ลูกค้า พนักงานรวมถึง Outsource ซึ่งเป็นบุคคลที่ข้อมูลบ่งชี้ไปถึง 2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หมายถึง บุคคล บริษัท หรือนิติบุคคล องค์กรต่างๆ ที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้ดูแลระบบที่มีหน้าที่เก็บรวบรวมและนำข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลแล้วไปใช้ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัท บัตรกดเงินสดจำกัด เป็นต้น  3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) บุคคล บริษัท หรือนิติบุคคล องค์กรต่างๆ ที่ทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะทำภายใต้คำสั่งหรือกระทำการในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controlle) เท่านั้น ไม่สามารถตัดสินใจทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตนเอง ได้แก่ Outsource ผู้รับจ้าง ไม่ใช่พนักงานหรือส่วนหนึ่งของหน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน เช่น ร้านรับทำนามบัตร, ผู้ดูแลเพจร้านค้า, สำนักงานบัญชี, กิจการรับจัดการออเดอร์สินค้า เป็นต้น แนวทางการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมาย PDPA หน่วยงานที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA มีแนวทางที่สำคัญ 5 ประการที่ต้องปฏิบัติตามดังนี้ 1. ห้ามเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล 2. เก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย 3. ต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลให้เจ้าของข้อมูลทราบ 4 .หากเปลี่ยนวัตถุประสงค์ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ 5. ห้ามเก็บข้อมูลจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ข้อมูลโดยตรง สิทธิที่เจ้าของข้อมูลสามารถมีต่อข้อมูลของตน ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ได้รับสิทธิต่อข้อมูลของตนดังต่อไปนี้ 1. สิทธิในการได้รับแจ้ง มาตรา 23 หมายถึง สิทธิที่เจ้าของข้อมูลควรทราบว่าผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller) เก็บข้อมูลของตนเพื่อไปทำอะไร เก็บนานแค่ไหน ส่งต่อให้ใครหรือไม่ และจะติดต่อผู้ควบคุมข้อมูลได้อย่างไร 2 .สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม มาตรา 19 หมายถึง สิทธิที่เจ้าของข้อมูลสามารถเพิกถอนความยินยอมในการเก็บข้อมูล โดยต้องสามารถใช้สิทธินี้โดยวิธีที่ง่าย (เช่นเดียวกับตอนที่ให้ความยินยอม) และทำเมื่อใดก็ได้ 3. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 30 หมายถึง การที่เจ้าของมีสิทธิเข้าถึงและรับสำเนาข้อมูลที่เกี่ยวกับตนและมีสิทธิขอให้เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่ตน ไม่ได้ให้ความยินยอม โดยผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องจัดเตรียมข้อมูลตามคำขอให้เจ้าของภายในไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้คำขอ 4. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง มาตรา 35 และ 36 หมายถึง สิทธิที่เจ้าของข้อมูลสามารถยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลของตนได้ เมื่อเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ โดยผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องแก้ไขตามที่เจ้าของร้องขอ หากผู้ควบคุมปฏิเสธจะต้องบันทึกเหตุผลการปฏิเสธนั้นไว้ด้วย 5 .สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 33 หมายถึง สิทธิที่เจ้าของสามารถขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลของตนได้ เมื่อข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ตามวัตถุประสงค์อีกต่อไป เมื่อเจ้าของถอนความยินยอม หรือเมื่อข้อมูลถูกนำไปใช้อย่างผิดกฎหมาย 6. สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล  มาตรา 32  หมายถึง เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ ยกเว้นมีเหตุอันควรทางกฎหมายที่สำคัญจริงๆ เท่านั้น 7. สิทธิในการได้รับและโอนถ่ายข้อมูล  มาตรา 31  หมายถึง ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เช่น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายแรกได้ทำจัดทำข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปในอยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าถึงได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูลนั้น ทำการส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ หรือจะขอให้ส่งไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายอื่นโดยตรงก็สามารถทำได้ หากไม่ติดขัดทางวิธีการและเทคนิค โดยการใช้สิทธินั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญา หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น 8. สิทธิในการขอระงับการใช้ข้อมูล  มาตรา 34 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย เพราะมีความจำเป็นต้องนำข้อมูลไปใช้ในทางกฎหมาย หรือการเรียกร้องสิทธิ ก็สามารถทำได้ บทลงโทษที่ได้รับหากไม่ปฏิบัติตามPDPA บทลงโทษหากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมมีดังนี้ 1. โทษทางแพ่ง การจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของข้อมูล ประกอบด้วย ค่าสินไหมทดแทนบวกค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่า ของค่าเสียหายจริง 2. โทษทางปกครอง 2.1 ค่าปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท มาจากโทษไม่ขอความยินยอมให้ถูกต้อง ไม่แจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงข้อมูลตามสิทธิ ไม่จัดทำบันทึกรายการ ไม่จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่จัดให้มีการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ DPO 2.2 ค่าปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท มาจากโทษ เช่น เก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์การใช้งานใหม่ เก็บข้อมูลเกินความจ าเป็น ขอความยินยอมที่เป็นการหลอกลวงให้เข้าใจผิด ไม่จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ไม่แจ้งเหตุเมื่อมีการละเมิดข้อมูล โอนข้อมูลไปต่างประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2.3 ค่าปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท มาจากโทษเก็บ รวบรวม ใช้ เปิดเผยหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 3. โทษทางอาญา 3.1 การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวโดยไม่ได้รับความยินยอม ก. กรณีทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ข. การแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท 3.2 ผู้ที่รู้ข้อมูลนำไปเปิดเผยแก่ผู้อื่นหรือหาผลประโยชน์ ก. มีโทษจำคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท 3.3 ถ้าผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการหรือผู้จัดการหรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานต้องรับโทษด้วย  แนวทางการเก็บข้อมูลทางบัญชีที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย PDPA สำหรับแนวทางในการเก็บข้อมูลทางบัญชีที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย PDPA มีดังนี้                                                                                                  1. การจำแนกข้อมูลทางธุรกิจ                                                                                                                            เมื่อกิจการได้รับข้อมูลผ่านเข้ามาในระบบงานต่างๆขององค์กร ควรจำแนกประเภทของข้อมูลตามเจ้าของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผู้จำหน่าย ข้อมูลพนักงาน โดยในการจัดประเภทของข้อมูลจะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่า ข้อมูลใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ PDPA กำหนด ซึ่งต้องได้รับการปฏิบัติให้ถูกต้องตาม PDPA 2. กลไกการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลตามกฎหมาย PDPA หมายถึง การเก็บรวบรวม การใช้ การเผยแพร่ และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น กิจกรรมทางธุรกิจ และการทำบัญชี ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูล บันทึก ข้อมูลใช้ในการทำงาน การเผยแพร่และการเก็บรักษา ซึ่งถ้าเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจะถือเป็นการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่PDPA กำหนดทั้งหมด และนักบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม PDPA อย่างเหมาะสม กิจการจะต้องมีกลไกในการกำกับดูแลรวมทั้งกระบวนการภายในที่มีความพร้อม ในการแสดงให้เห็นว่ากิจการสามารถปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการปรับปรุงกลไกและกระบวนการให้เป็นปัจจุบันและจัดให้มีการอบรมบุคลากรให้มีความเข้าใจเรื่องพ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคลและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 3. ฐานของการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลให้ถูกต้องตาม PDPA มีฐานของการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ ฐานกฎหมาย ฐานสัญญา ฐานภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะเพื่ออำนาจรัฐ ฐานประโยชน์อันชอบธรรมด้วยกฎหมาย ฐานจดหมายเหตุ การวิจัยและสถิติ ฐานความยินยอม ดังนั้นการประมวลผลข้อมูลไม่ได้อยู่บนฐานความยินยอมเสมอไป การที่เจ้าของข้อมูลเมื่อให้ความยินยอมได้ เจ้าของข้อมูลก็สามารถถอนความยินยอมได้เช่นกัน สำหรับการจัดทำบัญชี เพื่อเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบัญชีและประมวลรัษฎากร หรือการให้บริการตามสัญญาที่ภาคธุรกิจมีสำหรับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละกลุ่ม ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการทำบัญชีจึงอยู่ภายใต้ฐานกฎหมายและฐานสัญญาที่มีอยู่เดิมแล้ว กิจการจึงมีหน้าที่ในการประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) เท่านั้น โดยไม่ต้องขอความยินยอมอีก การกำหนดฐานในการประมวลผลข้อมูลที่เหมาะสมย่อมทำให้ระบบการทำงานเกิดความ มีประสิทธิภาพและช่วยองค์กรลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น     4. สิทธิของเจ้าของข้อมูล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิภายใต้ PDPA ได้แก่ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูล  ส่วนบุคคลของตน ซึ่งอยู่ในความ รับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในการขอให้เปิดเผยซึ่งการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม สิทธิในการขอเคลื่อนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลของตนในกรณีที่ข้อมูลได้รับการจัดเก็บในรูปแบบที่โอนได้โดยอัตโนมัติ สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูล สิทธิขอให้ลบทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้  อย่างการใช้สิทธิของลูกค้าของสำนักงานบัญชีซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล ได้แก่ สิทธิในการขอลบข้อมูลเมื่องานเสร็จสิ้นแล้ว หรือสิทธิในการขอลบข้อมูลหลังจากสำนักงานบัญชีนำข้อมูลไปใช้ทางการตลาด ดังนั้นสำนักงานบัญชีจึงควรดำเนินการขอคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูลให้เรียบร้อยเมื่อคาดว่าจะมีรายการในลักษณะนี้เกิดขึ้น มิฉะนั้นสำนักงานบัญชีจะต้องดำเนินการลบข้อมูลให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง 5. หน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง บุคคลและนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล ภาคธุรกิจที่ทำบัญชีจึงอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และตาม PDPA  ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่  1.  แจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ 2.  จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม โดยจัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อให้มีการลบหรือทำลาย เมื่อพ้นระยะเวลาการเก็บรักษาหรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.  แจ้งเหตุเมื่อเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล กรณีของสำนักงานบัญชีควรระวังเหตุการณ์ เช่น การส่งอีเมลผิด การเข้าถึงอีเมลโดยบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานควรวางระบบการควบคุมภายในของกระบวนการต่างๆ ให้รัดกุมที่สำคัญ เช่นกระบวนการในการรับลูกค้า การจัดทำและการจัดเก็บสัญญา การจัดทำกระดาษทำการ การจัดเก็บเอกสารภายหลังจากงานเสร็จสิ้นแล้ว การสื่อสารทางอีเมลหรือโดยช่องทางทางสาธารณะอื่นๆ การใช้ข้อมูลเพื่อการตลาด หรือการประมวลผลอื่นๆ ตลอดจนกระบวนการควบคุมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกลงโทษทางกฎหมายรวมทั้งผลกระทบต่อชื่อเสียงของสำนักงาน 6. บทลงโทษกรณีไม่ปฏิบัติตาม PDPA บทกำหนดโทษกรณีไม่ปฏิบัติตามPDPA มีโทษทั้งทางแพ่งและอาญาและมีโทษรุนแรงถึงขั้นจำคุก โดยเฉพาะกรณีข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษจำคุกกรรมการหรือผู้บริหารและมีบทกำหนดโทษทางปกครอง โดยการตัดสินของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มสูงสุดถึง 5 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรง นักบัญชีมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจและช่วยให้องค์กรใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมหาศาล  มีหน้าที่รับผิดชอบ และมีส่วนร่วมในการออกแบบและกำหนดโครงสร้างในการเก็บรวบรวมมาตรการการควบคุมภายในด้านข้อมูลขององค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด นักบัญชีจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความสมดุลระหว่างประโยชน์ในการใช้ข้อมูลและต้นทุนในการดูแลรักษาข้อมูลขององค์กร จึงควรทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมในการปฏิบัติตาม PDPA เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นสำหรับบทลงโทษ ค่าปรับตลอดจนภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีรวมไปถึงองค์กรด้วย ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com) PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยนักบัญชีจัดทำบัญชีได้อย่างมืออาชีพ ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: PDPA คืออะไร ? – สรุป พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องรู้ (t-reg.co) พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ดร.สุนทรีย์ ส่งเสริม,ธนาคารแห่งประเทศไทย PDPAและนักบัญชี, วารุณี ปรีดานนท์  5 ข้อควรรู้เกี่ยวกับPDPA, TACHSAUCE

9 ก.ค. 2022

PEAK Account

14 min

AI เครื่องมือช่วยธุรกิจในยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน  “AI”  เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีชนิดนี้ โดยเฉพาะในแวดวงธุรกิจ AI ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในหลายๆ กิจการเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าทำไมปัจจุบัน AI จึงเป็นที่ต้องการในหลายๆ ธุรกิจ และจริงหรือไม่ที่ในอนาคต AI จะเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ ไปติดตามกันในบทความนี้ AI คือ อะไร AI หรือ Artificial Intelligence คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้จากการประมวลผลของฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันก็มีการนำ AI เข้ามาใช้ในหลากหลายธุรกิจ หลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การบริการ การเดินทาง การตลาด  เป็นต้น หลักการทำงานของ AI การทำงานของ Artificial Intelligence นั้น สามารถแบ่งได้ 3 เรื่องใหญ่ๆ ดังนี้ คุณสมบัติ AI เทคโนโลยีแห่งโลกดิจิทัล AI เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์ความต้องการในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กระดับเล็ก ไปถึงองค์กรใหญ่ระดับต้นๆ ของประเทศ ต่างก็หันมาให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี AI ใช้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น โดยคุณสมบัติการทำงานของ AI ที่สำคัญในปัจจุบันนี้ประกอบไปด้วย การทำงานอัตโนมัติ (Automation) เป็นคุณสมบัติที่ถูกพัฒนาขึ้นเเพื่อให้การทำงานสำเร็จเรียบร้อยรวดเร็วขึ้น เป็นการลดขั้นตอนและเวลาการทำงานให้น้อยลง โดยพัฒนาให้มนุษย์ทำหน้าที่ในการควบคุมสั่งการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ต่างๆ เท่านั้น จะเห็นได้ว่าขณะนี้ภาคธุรกิจมีการนำระบบหุ่นยนต์มาช่วยงานมากขึ้น เช่น  การนำหุ่นยนต์ไปช่วยทำงานในร้านอาหาร ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และลดการความผิดพลาดได้มาก การจดจำใบหน้าและระบุตัวตน (Facial Recognition)  การระบุตัวตนด้วยไบโอเมทริกซ์ ยกตัวอย่างเช่น ม่านตา เสียง ลายนิ้วมือ หน้า ภาษากาย ถือเป็นส่วนหนึ่งของการนำเทคโนโลยี AI ที่ใช้ไบโอเมทริกซ์ในการจดจำรูปแบบ และแยกแยะออกมาใช้เพื่อยืนยันตัวตนได้ เช่น การสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลาแทนการตอกบัตร การสแกนม่านตาเพื่อเข้าใช้งานสมาร์ทโฟน เป็นต้น  การเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าไว้ด้วยกัน (Internet of Things) ระบบ IOT หรือ Internet of Things เข้ามามีบทบาทและสร้างความเปลี่ยนแปลงในหลายธุรกิจ เช่น การเก็บบันทึกข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์ เมื่อเกิดพฤติกรรมการใช้งาน เซ็นเซอร์ก็จะเก็บข้อมูลทันที เช่น เซ็นเซอร์เปิดประตูบ้าน เปิดเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ เป็นต้น การช่วยในการตัดสินใจ (Decision Management) เทคโนโลยี AI ช่วยในการตัดสินใจเพื่อหาทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด มีความเสี่ยงน้อยที่สุด โดยใช้เวลาน้อย ในกรณีที่มีข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการตัดสินใจจำนวนมาก AI ก็จะเข้ามาเป็นตัวช่วยที่ดี เช่น การทำ Personalized Marketing หรือ ระบบแนะนำสินค้าของแต่ละบุคคล เป็นต้น การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing – NLP)  NLP คือ เทคโนโลยีที่จะวิเคราะห์คำสั่งหรือความต้องการของผู้ใช้ผ่านภาษาธรรมชาติ นอกจากนี้ NLP ยังครอบคลุมถึงความสามารถในการสร้างรูปประโยคเพื่อใช้ตอบสนองผู้ใช้งานได้ เช่น โปรแกรม Siri สามารถสร้างประโยคเพื่อตอบคำถามที่เราถามได้ เป็นต้น ประโยชน์ของ AI ในการขับเคลื่อนธุรกิจ SMEs จากการที่คุณสมบัติต่างๆ ของ AI ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน และแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งธุรกิจ SMEs ด้วยเช่นกัน สามารถนำ AI มาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ดังนี้ 1. เพิ่มประสิทธิภาพ และผลผลิตในการทำงาน AI  เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำงานในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันเทคโนโลยี AI ยังช่วยลดงานที่ต้องทำแบบเดิมซ้ำๆ ออกไป เพื่อให้พนักงานมีเวลาไปทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น นับเป็นการช่วยให้ธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดจากทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ได้มากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งจะช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการทำงานได้อีกด้วย 2. ทำธุรกิจได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้ขั้นตอนในการทำงานสั้นลง ใช้เวลาน้อยลง ตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัลที่ต้องการความรวดเร็ว และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคอีกด้วย 3. ขยายโอกาสทางธุรกิจ สร้างช่องทางใหม่ๆ ได้อย่างลงตัว การนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจ จะทำให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นโอกาสต่อยอดทางธุรกิจใหม่ได้อีกมากมาย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีบริการที่หลากหลายมากขึ้น  เป็นต้น 4. พัฒนาการให้บริการที่ดีให้กับลูกค้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ หากธุรกิจสามารถรับรู้ความต้องการของลูกค้าได้ว่าลูกค้าต้องการอะไร คู่แข่งเป็นอย่างไร และสามารถนำเสนอในสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างครบถ้วน ก็จะช่วยให้ได้รับการยอมรับ และมีการขยายธุรกิจให้เติบโตได้ตามต้องการ ซึ่งเทคโนโลยี AI สามารถเข้ามาช่วยวิแคราะห์และจัดการข้อมูลในส่วนนี้ได้ 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามงาน คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของ  AI ก็คือ สามารถนำเข้าและประมวลข้อมูลจำนวนมากได้แบบเรียลไทม์ ทำให้องค์กรสามารถติดตามความเป็นไปต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีเช่นกัน รวมถึงสามารถปัญหาที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นได้อีกด้วย 6. บริหารบุคลากรได้อย่างครบวงจร ระบบ AI สามารถช่วยองค์กรพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลได้เป็นอย่างดี ครอบคลุมในทุกด้าน ตั้งแต่การสรรหาพนักงาน ซึ่ง AI สามารถสร้างประสิทธิภาพในการสรรหาพนักงานที่ใช่สำหรับองค์กร   ตลอจนสามารถวัดผลทัศนคติ  วิเคราะห์ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานแต่ละคนได้อีกด้วย การวางแผนใช้งาน  AI  ในการพัฒนาธุรกิจ การเริ่มต้นนำ AI มาใช้ในองค์กรเพื่อการพัฒนาธุรกิจ ควรเริ่มต้นจากสิ่งสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการนำ AI ไปใช้ในธุรกิจ เทคโนโลยี  AI นั้น สามารถนำมาใช้ได้ในหลายภาคส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด งานขาย หรือแม้กระทั่งงานบัญชีเอง สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เริ่มต้นเรียนรู้การใช้งาน ควรเริ่มต้นจากการสำรวจปัญหาหรือความผิดพลาดที่ต้องการนำ AI เข้าไปใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว หรือจุดที่ต้องการนำ AI ไปพัฒนาให้ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจมากขึ้น ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์เหล่านี้ให้ชัดเจน 2. ทำความเข้าใจ AI เพื่อนำไปใช้อย่างเหมาะสม อันดับแรก ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่า AI จะเข้ามาช่วยธุรกิจของเราได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งที่ AI จะเข้ามาทดแทนนั้นเป็นในรูปแบบของลักษณะงานที่ทำซ้ำซ้อนกัน เช่น งานคีย์ข้อมูล จัดการเอกสารต่างๆ ไม่ได้เป็นการมาแทนที่คนทำงานทั้งหมด เพียงแต่บุคลากร คนทำงานในทุกส่วนต้องรู้จักปรับตัวให้สามารถใช้งาน AI และทำงานร่วมกับ AI เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเท่านั้น 3. กำหนดบทบาทของ AI ที่จะนำมาใช้ในธุรกิจ ปัจจุบัน AI มีรูปแบบการทำงานที่อยู่ในภายใต้การป้อนข้อมูลหรือคำของมนุษย์ เพราะในบางครั้งระบบต้องถูกดูเเลและตรวจเช็กโดยมนุษย์เพื่อความถูกต้อง 4. กำหนดทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การนำความสามารถของ AI มาใช้ ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ตั้งแต่การออกแบบและสร้างระบบ จนมาถึงการนำมาใช้งานแต่ละส่วน ต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและข้อผิดพลาดใดๆ ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com) PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยนักบัญชีจัดทำบัญชีได้อย่างมืออาชีพ ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง AI Security เพิ่มความปลอดภัยเครือข่าย ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (cyfence.com) เทคโนโลยี AI เปลี่ยนโลกธุรกิจ SME ได้อย่างไร? | ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) (ttbbank.com)  AI ใช้อย่างไรให้เหมาะ … เพื่อธุรกิจรอดพ้นจาก Digital Disruption – สอบบัญชีธรรมนิติ(DAA) 8.ประโยชน์ของ AI กับการใช้งานในภาคธุรกิจ – อบรมออนไลน์ สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 (google.com) 6 เทรนด์เทคโนโลยี AI ที่ธุรกิจห้ามพลาดในปี 2022 (pwc.com) 9 ความสามารถของ AI ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณอยู่รอด – Riverplus ประโยชน์ของเทคโนโลยี AI กับธุรกิจในยุค Next normal – AI GEN (aigencorp.com)