ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>ธุรกิจ

29 ก.พ. 2021

PEAK Account

14 min

เริ่มต้นธุรกิจใหม่ จดทะเบียนบริษัทอย่างไรและควรใช้ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่

การทำธุรกิจไม่ว่ารูปแบบใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพร้อมของเจ้าของธุรกิจ การเลือกรูปแบบธุรกิจในรูปของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต่างก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ทั้งในเรื่องการเสียภาษี การจัดทำบัญชี กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความน่าเชื่อถือ ภาระหน้าที่ของผู้บริหาร ความรับผิดต่อหนี้สินของกิจการ ไปจนถึงการจัดหาแหล่งเงินทุน การประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคลเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการประกอบธุรกิจที่หวังผลต่อการเติบโตในอนาคต การจดทะเบียนนิติบุคคลถือป็นการเริ่มต้นทำธุรกิจอย่างเป็นทางการ การจดทะเบียนนิติบุคคลมีกี่แบบ และต่างกันยังไง การจดทะเบียนนิติบุคคล สามารถทำได้ 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันรับผิดชอบในหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวนแต่อาจตกลงให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนได้ 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำการจดทะเบียนนิติบุคคล โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจะแบ่งเป็น”จำกัด” และแบบ”ไม่จำกัด”ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ ”จำกัด” จะรับผิดในหนี้สินกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตน หุ้นส่วนประเภทนี้จะไม่มีสิทธิในการตัดสินใจในการบริหารงาน แต่มีสิทธิที่จะสอบถามถึงการดำเนินงานของกิจการได้ หุ้นส่วนผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบ ”ไม่จำกัด” จะรับผิดในหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการและจะมีสิทธิตัดสินใจต่างๆในกิจการได้อย่างเต็มที่ 3. บริษัท การจดทะเบียนในรูปของบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดชอบในหนี้สินกิจการแบบจำกัด กล่าวคือผู้ถือหุ้นมีภาระเพียงแค่จะต้องชำระเงินทุนตามค่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากชำระครบแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นในกิจการอีก ด้วยการจำกัดความรับผิดนี่เองที่ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นิยมจดทะเบียนแบบบริษัทจำกัด ควรใช้ทุนในการจดทะเบียนบริษัทเท่าไหร่ ทุนจดทะเบียนของนิติบุคคลมีผลต่อความน่าเชื่อถือในการติดต่อธุรกิจ ไม่ว่าลูกค้าหรือคู่ค้าของธุรกิจจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน ยิ่งมูลค่าทุนจดทะเบียนมาก บริษัทยิ่งมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการรับงาน อย่างไรก็ตามทุนจดทะเบียนจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจด้วยดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนไม่ต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้นเหมือนกรณีการจดทะเบียนบริษัท และไม่มีการกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน โดยส่วนใหญ่การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจะอยู่ที่ 250,000-1,000,000 บาท ในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด ไม่สามารถลงทุนด้วยแรงงานได้เนื่องจากหุ้นส่วนประเภทนี้มีความรับผิดชอบหนี้สินของกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตน จึงไม่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนโดยตรงเหมือนหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด 2. บริษัทจำกัด การจดทะเบียนบริษัท นิยมจดทะเบียนกันที่ 1 ล้านบาท ซึ่งทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งในการติดต่อทำธุรกิจ และอัตราค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจเป็น 5,000 บาท ไม่ว่าทุนจดทะเบียนจะมีมูลค่าเท่าใด เช่น ถ้ากิจการเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียน 500,000 บาท ในการจดทะเบียนบริษัท กิจการต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท 5,000 บาท ถ้าต่อมากิจการต้องการเพิ่มทุนเป็น 1 ล้านบาท กิจการก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนอีก 5,000 บาท ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะจดทะเบียนเมื่อเริ่มต้นธุรกิจที่ 1 ล้านบาทเลย การดำเนินงานจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจปัจจุบันมีความทันสมัย สะดวกรวดเร็ว นอกจากผู้ประกอบการจะสามารถยื่นขอจดทะเบียนด้วยการยื่นเอกสารโดยตรงแล้วยังสามารถเลือกจดทะเบียนทางอิเล็คทรอนิคส์ (e-Registration) ได้ ขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจแต่ละแบบจะเป็นอย่างไร อ่านต่อได้ที่บทความ การจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภท และจดทะเบียนอย่างไร เลยครับ ผลจากการจดทะเบียนที่มีต่อธุรกิจ เมื่อนิติบุคคลดำเนินการจดทะเบียนแล้ว จะมีผลต่อธุรกิจในด้านต่างๆดังนี้ 1. ในทางกฎหมายสรรพากร ทุนจดทะเบียนมีผลต่อการเสียภาษีดังนี้ กรณีที่ 1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท กรมสรรพากรให้คำนวณภาษีในอัตราดังนี้ กำไรสุทธิ ไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับยกเว้นกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท เสียภาษีในอัตราร้อยละ15กำไรสุทธิเกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป เสียภาษีในอัตราร้อยละ20 กรณีที่ 2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี มากกว่า 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 30 ล้านบาท กรมสรรพากรให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ20 ของกำไรสุทธิ 2. ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 หลังจากที่กิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและกรรมการของบริษัทจำกัดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี โดยต้องจัดให้มี 2.1 การจัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้าและบัญชีอื่นๆตามความจำเป็นในการทำบัญชี 2.2 กิจการต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชี มีการส่งมอบเอกสารที่เป็นหลักฐานในการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีอย่างครบถ้วน และต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่สถานประกอบการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี 2.3 การปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือนนับตั้งแต่นับตั้งแต่วันเริ่มทำบัญชีและปิดบัญชีทุกรอบ12 เดือน 2.4 การจัดทำงบการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นและหมายเหตุประกอบงบการเงิน โดยจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงิน กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล/ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถจัดให้มีผู้ทำบัญชีที่เป็นผู้จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเป็นผู้ทำบัญชีได้ โดยผู้ประกอบการต้องควบคุมดูแลการทำบัญชีให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีตรวจสอบรับรองงบการเงินแต่กิจการต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภ.ง.ด.50) พร้อมรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร 2.5 การนำส่งงบการเงินที่ได้รับการรับรองโดยผู้สอบบัญชีแล้ว ภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดบัญชี 3. ในด้านอื่นๆ ได้แก่ กิจการมีความน่าเชื่อถือเพราะทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วสะท้อนถึงเงินหมุนเวียนที่กิจการมีอยู่เพียงพอและมีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้ลูกค้าและคู่ค้าของธุรกิจเกิดความเชื่อมั่นในฐานะการเงินของกิจการ ระบบบัญชี ระบบการบริหารของกิจการ และเอื้อต่อการขอระดมทุนรวมทั้ง การขอสินเชื่อและกู้เงินจากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ เช่น กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานบีโอไอ เป็นต้น ในบางธุรกิจ เช่นธุรกิจที่ปรึกษาที่จะรับงานภาครัฐ จากข้อมูลของศูนย์ที่ปรึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง กำหนดคุณสมบัติของที่ปรึกษานิติบุคคลว่ากิจการต้องมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป การจดทะเบียนธุรกิจมีความสำคัญ เป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ การมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ กิจการมีความสามารถในการชำระหนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรละเลยคือไม่ว่ากิจการจะจดแจ้งด้วยทุนจดทะเบียนเท่าไรก็ตาม ควรเรียกชำระค่าหุ้นตามจริงเพื่อเป็นการแสดงถึงฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการและไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินงานในอนาคต ติดตามความรู้ของ PEAK ที่Blog: facebook.com/peakengine อ้างอิง: ??ดทะเบียนธุรกิจ บทความ การจดทะเบียนธุรกิจ มีกี่ประเภทและจดทะเบียนอย่างไร 20 ก.ย.2562 ??ุนจดทะเบียนบริษัท บทความ ทุนจดทะเบียนบริษัท(จำกัด) เท่าไหร่ดี? คู่มือ ห้างหุ้นส่วน กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม คู่มือ บริษัทจำกัด กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 3 พ.ค. 2561

19 ม.ย. 2022

PEAK Account

20 min

เทคนิคการสร้างคุณค่าและเสริมประสิทธิภาพในการประชุมผู้ถือหุ้น

เมื่อพูดถึงการประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว กิจการทั้งหลายก็คงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยแฉพาะกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัดที่ต้องมีการจัดประชุมอยู่เป็นประจำ ย่อมมีความเข้าใจเป็นอย่างดีว่าการดำเนินการจัดประชุมที่ถูกต้องนั้นจะต้องทำอย่างไร ซึ่งการจัดประชุมที่ดี นอกจากจะเป็นการแสดงว่าบริษัทให้ความสำคัญ และเคารพต่อการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นแล้ว ยังสามารถแสดงถึงความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการบริหารงานของกรรมการ  รวมถึงเป็นการสร้างมูลค่าให้กิจการด้วย เพราะฉะนั้นในบทความนี้เราจะมาทบทวนเรื่องของการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นในประเด็นสำคัญต่าง ๆ กัน ความหมายของการประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมผู้ถือหุ้น คือ การประชุมของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดที่จัดขึ้นตามวันเวลาและสถานที่ที่ได้มีการกำหนดนัดหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรึกษาและเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อประโยชน์สูงสุดร่วมกัน นอกจากนี้การประชุมผู้ถือหุ้นยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบข้อสงสัยต่างๆ ในการบริหารกิจการได้อีกด้วย ประเภทของการประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมนั้นแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ตัวอย่างวาระการประชุมผู้ถือหุ้น ลักษณะหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่ดี           ในการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายหุ้นส่วนและบริษัทในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งการส่งหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่ดีนั้นจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีรายละเอียดชัดเจน และเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ  ได้กำหนดเกี่ยวกับข้อมูลในหนังสือเชิญประชุมไว้ดังนี้             “ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี  รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าว” หลายคนมักจะมีคำถามตามมาว่า  จะทราบได้อย่างไรว่า ข้อมูลในหนังสือนัดประชุมฯ มีรายละเอียดตามสมควรแล้วหรือยัง   เรื่องนี้ อาจทดสอบได้ง่ายๆ ว่า ลองพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ในเรื่องที่เสนอให้พิจารณาว่าเพียงพอที่จะตัดสินใจแล้วหรือยัง หากเรายังรู้สึกว่ามีข้อมูลไม่เพียงพอ ไม่สามารถตัดสินใจได้  ผู้ถือหุ้นก็คงจะรู้สึกเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยอาจใช้วิธีเก็บรวบรวมคำถามของผู้ถือหุ้นในการประชุมครั้งก่อน ๆ  ประเด็นที่ผู้ถือหุ้นมักจะสนใจซักถามในเรื่องใดเพิ่มเติม และอธิบายประเด็นเหล่านั้นให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น ก็จะช่วยให้ข้อมูลมีความชัดเจนมากขึ้น ประเด็นในหนังสือนัดประชุมฯ ที่ะต้องใช้ดุลยพินิจมากเป็นพิเศษ น่าจะเป็นรายละเอียดของเรื่องที่เสนอให้พิจารณา และ ความเห็นของคณะกรรมการ ซึ่งควรจะมีหลักการทั่วไป ดังนี้ เรื่องที่เสนอเพื่อพิจารณา  ควรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ให้ครบถ้วน  (1) รายละเอียดทั่วไปของเรื่องที่เสนอ  (2) วัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็น และ (3) ผลกระทบต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น โดยระบุผลกระทบที่ตรงต่อความเป็นจริง ไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ และไม่ว่าผลกระทบนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน หรือเป็นเรื่องการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของบริษัทหรือผู้ถือหุ้น ในส่วนที่เป็นความเห็นคณะกรรมการ  ไม่ควรระบุเพียงว่า “เห็นด้วย” แต่ควรอธิบายเหตุผลด้วยว่า เรื่องที่เสนอดังกล่าวสมเหตุสมผลอย่างไร  การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทหรือผู้ถือหุ้นอย่างไร และหากกรรมการบางส่วนไม่เห็นด้วยกับเรื่องที่เสนอ ก็ควรจะระบุไว้ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบด้วย ในมาตรา 100 แห่ง พรบ.บริษัทมหาชนฯ กำหนดให้บริษัทโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุม ในหนังสือพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนการประชุม ดังนั้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย บริษัทอาจจะเลือกโฆษณา เฉพาะ วัน เวลา สถานที่ และชื่อวาระการประชุมก็ได้ ส่วนรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ก็สามารถจัดทำเป็นเอกสาร ประกอบของหนังสือนัดประชุมฯ  รวมถึงบริษัทอาจเผยแพร่รายละเอียด ของหนังสือนัดประชุมฯ ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทด้วยก็ได้ 2. มีข้อมูลประกอบการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงให้ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิได้ถูกต้อง  หนังสือเชิญประชุมควรนำเสนอข้อมูลขั้นตอนการดำเนินการให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น 3. จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นล่วงหน้า ก่อนการประชุมพอสมควร สำหรับกำหนดการในการส่งจดหมายเชิญประชุมนั้น กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม  ส่วนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้บริษัทจดทะเบียนส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน  เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีระยะเวลาเพียงพอที่จะศึกษารายละเอียดของหนังสือนัดประชุมฯ ก่อนตัเข้าร่วมการประชุม รวมทั้งสามารถจัดเตรียมและส่งเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งที่มีการเสนอวาระพิเศษ นอกเหนือจากเรื่องปกติที่ต้องประชุมสามัญประจำปีอยู่แล้ว เช่น การพิจารณาควบรวมกิจการ  การซื้อขายทรัพย์สินสำคัญ  ก็ยิ่งต้องส่งหนังสือนัดประชุมล่วงหน้านานขึ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ศึกษาข้อมูลได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง 4. จัดส่งให้ผู้ถือหุ้นพร้อมแบบมอบฉันทะ บริษัทควรจะสนับสนุนการใช้สิทธิออกเสียง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้น ดังนี้ 1 ส่งแบบมอบฉันทะให้ผู้ถือหุ้นพร้อมการส่งหนังสือนัดประชุม 2. แบบมอบฉันทะที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นควรเป็นแบบที่ให้ผู้ถือหุ้นสามารถกำหนดทิศทางให้ผู้รับมอบฉันทะ ลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระได้ว่า เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง 3. เสนอให้กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกจะตั้ง ผู้รับมอบฉันทะของตนเอง โดยระบุรายละเอียดของกรรมการอิสระดังกล่าว ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ส่วนได้เสียของกรรมการอิสระนั้นในวาระเพื่อพิจารณาแต่ละวาระไว้ในแบบหนังสือมอบอำนาจ และกรรมการอิสระนั้นควรได้รับทราบเรื่องที่บริษัทเสนอให้ตนเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น เพื่อให้กรรมการอิสระเข้าประชุมผู้ถือหุ้นในวันดังกล่าวได้  นอกจากนี้บริษัทควรมีมาตรการดูแลให้กรรมการอิสระนั้น ลงคะแนนเสียงตามทิศทางที่ผู้ถือหุ้นกำหนดด้วย การจัดวาระการประชุม แนวทางการจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ดี วัน เวลา สถานที่นัดประชุม สถานที่ประชุมควรเลือกสถานที่ที่ผู้ถือหุ้นส่วนมากสามารถเข้าร่วมประชุมได้โดยสะดวก เช่น ถ้าผู้ลงทุนส่วนมากอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ก็ควรจัดประชุมผู้ถือหุ้นในกรุงเทพฯ  โดยควรแนบแผนที่ไปให้ผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุม  นอกจากนี้ ควรเลือกวัน เวลานัดประชุม ที่เหมาะสมและน่าจะสะดวกสำหรับผู้ถือหุ้น  โดยควรหลีกเลี่ยงการนัดประชุมในเวลา เช้า หรือเย็นเกินไป  และควรจัดให้มีโสตทัศนูปกรณ์สำหรับการประชุมที่เหมาะสม การตรวจสอบและจัดเตรียมเอกสารก่อนเข้าประชุม การจัดเตรียมเอกสารที่ใช้เพื่อเข้าร่วมประชุมนี้ ควรจะกำหนดเท่าที่จำเป็น และไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือหุ้นจนเกินไป  โดยควรแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าด้วย นอกจากนี้ ในส่วนของการลงคะแนนในทุกวาระการประชุม บริษัทควรจัดทำบัตรลงคะแนนเพื่อแจกให้ผู้เข้าร่วม เพื่อให้การนับคะแนนเสียงทำได้โดยสะดวก ถูกต้อง และตรวจสอบได้ การดำเนินการประชุม การจัดทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น จากข้อกำหนดของพรบ.บริษัทมหาชนฯ มาตรา 96 วรรคสาม  ควรจัดทำรายงานประชุมผู้ถือหุ้นให้เสร็จภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม และเปิดเผยหรือเผยแพร่ไว้ ณ ที่ทำการหรือเว็บไซต์ของบริษัท หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจดูความถูกต้องของมติ  เรื่องที่อภิปรายหรือชี้แจงในที่ประชุม และให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่ควรบันทึกเพิ่มเติมหรือแก้ไขได้ ก่อนที่บริษัทจะนำรายงานการประชุมดังกล่าวเสนอเพื่อรับรองในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งถัดไป ทั้งนี้ รายงานการประชุมควรบันทึกมติที่ถูกต้อง ชัดเจน โดยควรระบุประเด็นสำคัญที่ผู้ถือหุ้นซักถามและข้อชี้แจงของคณะกรรมการ รวมทั้งระบุผลการนับคะแนนในแต่ละวาระไว้ด้วยว่ามีผู้ถือหุ้นที่เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง จำนวนกี่เสียง และหากมีผู้ถือหุ้นที่ไม่มีสิทธิออกเสียงเนื่องจากมีส่วนได้เสียกับเรื่องที่พิจารณา  ก็ควรระบุไว้ด้วย นอกจากการจัดทำรายงานการประชุมแล้ว บริษัทควรจัดทำวีดิทัศน์ (Video) บันทึกภาพการประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดระยะเวลาการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถติดตามเหตุการณ์ในการประชุมผู้ถือหุ้นได้สะดวกและรวดเร็ว และยังเป็นประโยชน์ต่อการอ้างอิงและจัดทำรายงานการประชุมในภายหลังด้วย การจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการแสดงว่าบริษัทให้ความสำคัญ และเคารพต่อการใช้สิทธิออกเสียงของผู้ถือหุ้นแล้ว ยังสามารถแสดงถึงความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการบริหารงานของกรรมการอีกด้วย ดังนั้นกิจการจึงควรให้ความสำคัญในทุกๆ ขั้นตอน ไม่ให้เกิดความขึ้นได้ โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินต่างๆ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: การจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ดีช่วยสร้างมูลค่าให้กิจการได้อย่างไร  ›

18 ม.ย. 2022

PEAK Account

16 min

วางแผนการเงินอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตได้ดีในยุคดิจิทัล

ปัจจุบันหลายๆ คนมีความฝันที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตนเอง โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยให้การดำเนินการต่างๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้น  แต่สิ่งสำคัญที่มักจะเป็นปัญหากัผู้ที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอ ก็คือเรื่องของการวางแผนทางการเงินว่าจะทำให้ธุรกิจหรือกิจการของเรามีสภาพคล่องในระยะยาว และสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่อาจขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นก่อนท่จะเริ่มประกอบธุรกิจ จะต้องมีการวางแผนทางการเงินเป็นอย่างดี ปัญหาที่พบโดยทั่วไปของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการรายใหม่ คือ การขาดระบบบัญชีและงบการเงินที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการจัดการด้านการเงิน และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการติดสินใจทางธุรกิจได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรืออาจทำให้ขาดคุณสมบัติที่จะได้รับการส่งเสริมตามาตรการของภาครัฐ ได้ ดังนั้นการประกอบธุรกิจจึงต้องการจัดการเรื่องการเงินการลงทุนอย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชี และการทำธุรกรรมทางการเงินการจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับบัญชีภาษี และการบันทึกบัญชีรับ – จ่าย เป็นต้น การวางแผนการเงิน คืออะไร การวางแผนทางการเงินสำหรับธุรกิจ เป็นการบริหารจัดการเงินทุน เพื่อสร้างมูลค่าของกิจการให้อยู่ในระดับสูงสุด รวมถึงการวางแผนบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจที่ล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุน ทั้งการได้มาหรือใช้ไปของเงินทุน เช่น การซื้อเครื่องจักรใหม่ การกู้เงินจากธนาคาร การเพิ่มทุน  เป็นต้น การวางแผนการเงิน ช่วยธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร ? การวางแผนการเงินธุรกิจมีความสำคัญในธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือแม้กระทั่งธุรกิจ SMEs จะขาดการวางแผนเรื่องการเงินไปไม่ได้ หากกิจการมีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ก็เป็นเหมือนฐานรากที่แข็งแกร่งที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างมั่นคง แข็งแรง สัญญาณอันตราย ปัญหาทางการเงินของธุรกิจ ในการวางแผนธุรกิจ แน่นอนว่าวัตถุประสงค์ของหลายๆ กิจการก็คงไม่แตกต่างกันมากนักก็คือ การแสวงหาผลกำไรที่สูงที่สุด แต่หลายๆ ครั้งจะพบสัญญาณที่บ่งบอกว่าแผนธุรกิจที่ได้กำหนดไว้เพื่อสร้างผลกำไรให้กับกิจการนั้น นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังทำให้ประสบปัญหาทางด้านการเงินอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น 1. การเร่งทำกำไรมากเกินไปด้วยการลงทุนวิธีการต่างๆ ซึ่งแต่ละการลงทุนนั้นย่อใมีความเสี่ยง หากเลือกลงทุนผิดวิธี ย่อมก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินอย่างแน่นอน ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงิน ผู้ประกอบการจึงควรคิดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนลงทุนทุกครั้ง 2. กำไรขั้นต้นลดต่ำ กำไรจะเป็นตัวใช้วัดความสามารถในการจัดการค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ซึ่งหากธุรกิจมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง นั่นแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการทำกำไรของธุรกิจเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่หากเมื่อใดที่อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจต่ำลง นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจอาจประสบปัญหาทางการเงินได้ 3.  อัตราการเติบโตของยอดขายลดลง แม้ยอดขายจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ชะล่าใจไม่ได้ เพราะเจ้าของธุรกิจต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่าอัตราการเติบโตของยอดขายเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด หากอัตราการเติบโตของยอดขายโตน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ต้องจับตามองเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาทางการเงิน 4.  ธุรกิจได้กำไร แต่กระแสเงินสดติดลบ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ คือ การขาดคนที่มีความเข้าใจด้านการเงินมาช่วยวิเคราะห์ตัวเลขทางการเงินของธุรกิจ จึงทำให้ผู้ประกอบการขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ในกิจการจึงควรเตรียมความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย กลยุทธ์วางแผนการเงิน สำหรับธุรกิจ SMEs             เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาทางการขาดสภาพคล่อง จึงควรมีการวางแผนการเงินการลงทุนตั้งแต่แรก ซึ่งหลักในการวางแผนบริหารจัดการการเงินของกิจการนั้นก็มีอยู่หลายประการด้วยกัน ได้แก่ วางแผนบริหารกระแสเงินสด ในการวางแผนบริหารจัดการกระแสเงินสด ปัญหาสำคัญคือ เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ารายได้ที่เข้ามานั้นยังมีภาระที่ต้องจ่ายแฝงอยู่ด้วย เช่น รายจ่ายที่จำเป็น หนี้สินธุรกิจที่ต้องชำระ หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบริษัท ทำให้ไม่ทราบตัวเลขกระแสเงินสดที่แท้จริง มีผลทำให้การตัดสินใจใช้เงินค่อนข้างยาก และอาจผิดพลาดได้ การจะวางแผนบริหารกระแสเงินสดได้ดีนั้น ต้องมีการตรวจสอบกระแสเงินสดเข้า-ออกของกิจการ เพื่อให้รู้ว่าธุรกิจมีรายรับและรายจ่ายจากช่องทางไหนบ้าง โดยกระแสเงินสดเข้าหรือเงินสดรับ มาจากการขายสินค้า การขายสินทรัพย์ การขายเครื่องมือ การขายของเก่า การให้บริการ หรือการกู้เงินจากธนาคาร เป็นต้น  ส่วนกระแสเงินสดออก หรือการจ่ายเงิน เกิดเมื่อมีการนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าเข้ามาขาย การจ่ายค่าโฆษณา การจ่ายเงินเดือน เป็นต้น สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs  ควรทำคือ บริหารจัดการกระแสเงินสดอย่างถูกต้องแม่นยำเพื่อสามารถวางแผนบริหารจัดการเงินได้อย่างเป็นระบบ ประเมินความเสี่ยงธุรกิจ ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่จะต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง และเตรียมแนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้ผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุด เช่น  มีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากโดยไม่ทราบล่วงหน้า   ลูกค้ามีปัญหาและยกเลิกการสั่งซื้อกระทันหัน เป็นต้น  ผู้ประกอบการจะต้องมีมาตรการรับมือและบริหารจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว สำรองเงินไว้เสมอ เงินทุนหมุนเวียน หรือเงินทุนสำรอง คือความมั่นคงพื้นฐานของธุรกิจ สิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรพิจารณา คือ ต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับแต่ละธุรกิจ นอกจากนี้ในการประกอบธุรกิจ อาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติภัย หรือสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ดังนั้นผู้ประกอบการควรเตรียมเงินสำรองเอาไว้เสมอ หากกระแสเงินสดเกิดติดลบ ก็ยังมีเงินเอาไว้หมุนเวียนในธุรกิจ และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อประคับประคองธุรกิจให้ดำเนินต่อไปได้ แต่หากกระแสเงินสดไม่มีเพียงพอ อาจจะต้องหาแหล่งกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ ต่อไป สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ เงินสำรองมีน้อยก็เสี่ยง มีมากเกินไปก็ไม่ดี เพราะอาจเสียโอกาสที่จะนำเงินไปสร้างผลตอบแทนในด้านอื่น ๆ ดังนั้นจึงต้องประเมินการสำรองเงินไว้อย่างเหมาะสม จัดเตรียมแหล่งเงินทุน ในกรณีที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทางบริษัทก็จำเป็นจะต้องมองหาแหล่งเงินทุนภายในนอกเข้ามาช่วยผ่านการขอสินเชื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ SMEs สินเชื่ออเนกประสงค์ สินเชื่อหุ้นค้ำประกัน  เป็นต้น  โดยแหล่งเงินทุนที่กิจการจะนำมาช่วยเสริมสภาพคล่องให้กิจการนั้น ควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ การบริหารจัดการลูกหนี้และเจ้าหนี้ การบริหารจัดการลูกหนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรมีวิธีจัดการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้เร็วที่สุด  โดยควรหาแรงจูงใจเพื่อให้ลูกหนี้ชำระเงินให้เร็วขึ้น มีการติดตามทวงหนี้อย่างสม่ำเสมอ และสำหรับหากกิจจการอยู่ในฐานะลูกหนี้ก็ควรชำระเงินให้ตรงตามเวลา ไม่ผัดผ่อนหนี้ เพื่อสร้างเครดิตให้เป็นที่น่าเชื่อถือ การบริหารทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้งาน หากธุรกิจของคุณมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือมีสินค้าค้างสต็อกเป็นจำนวนมาก ควรจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านี้เป็นตัวเงินมากกว่าจะทิ้งให้เป็นสินค้าค้างสต็อก เพราะยิ่งเก็บนานวัน สินค้าก็ยิ่งเก่า  และมูลค่าจะลดลงตามไปด้วย  มีการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ สำหรับการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินที่ดีคือ การมีระบบบัญชีที่ถูกต้อง มีการจัดเก็บเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีมาตรฐาน จะช่วยให้ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องภาษีและการตรวจสอบย้อนหลัง ยังป้องกันการทุจริตได้ ช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร เข้าใจงบการเงินให้ถี่ถ้วน งบการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการ SMEs  เพราะตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินนั้นสามารถสะท้อนถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรอ่านงบให้เป็น อย่างน้อยต้องดูกระแสเงินสดที่หมุนเวียนอยู่ในธุรกิจ รู้สภาพคล่อง เพื่อจะได้ทราบสภาพการณ์ที่แท้จริงของกิจการได้ และนำมากำหนดแนวทางการบริหารจัดการต่อไป แยกเงินส่วนตัวกับเงินบริษัทออกจากกันอย่างเด็ดขาด     ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการมักใช้เงินปะปนกันระหว่างเงินของตัวเองกับเงินของธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อว เพราะหากมองในแง่มุมการทำธุรกิจ การเสียภาษีของบุคคลธรรมดากับนิติบุคคลนั้นใช้คนละฐานภาษีกัน ดังนั้นการใช้จ่ายเงินส่วนตัว กับรายได้จากธุรกิจควรแยกกระเป๋าให้ชัดเจน หากไม่แยก เจ้าของธุรกิจจะไม่ทราบเลยว่าจริง ๆ แล้วธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุน หากมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุน ควรนำไปลงทุนในธุรกิจ หรือนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ควรใช้เงินสดจนขาดสภาพคล่อง การที่จะดำเนินงานธุรกิจ SMEs ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น การวางแผนการเงินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มีมาตรฐานในการดำเนินงาน ในการบริหาร การจัดการที่เป็นขั้นตอน เป็นระบบระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ธุรกิจ SMEs ดำเนินการได้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก 

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

19 min

API ตัวช่วยเร่งสปีดธุรกิจ เสริมประสิทธิภาพนักบัญชี

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า  API ในการพัฒนา แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือ เกม แต่ไม่เข้าใจความหมาย นักบัญชีบางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้ว API เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่นักบัญชี ยุคดิจิทัลไม่รู้ไม่ได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น API มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับงานบัญชี บทความนี้มีคำตอบ API คืออะไร API ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface หรือส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ โดย วิกิพีเดียได้ให้คำนิยามว่า เป็นวิธีที่ระบบปฏิบัติการไลบารีซึ่งเป็นส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียน ซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่งๆ) หรือบริการอื่น  เปิดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อเรียกใช้งานได้ API เป็นตัวกลางที่ทำให้เว็บไซต์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกัน โดยเชื่อมถึงข้อมูลกับฐานข้อมูลของอีกฝ่ายหนึ่ง ในรูปแบบของ ”โค้ด” ใช้เรียก API  หลักการทำงานของ API API เป็นตัวกลางระหว่างแอปพลิเคชันปลายทางกับเซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API โดย API มีหน้าที่ ดึงข้อมูลที่ผู้ใช้บนแพลตฟอร์มทำขึ้น นำไปประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API และตอบสนอง กลับไปยังแพลตฟอร์มของผู้ใช้ ดังรูปที่ 1 รูปที่ 1 หลักการทำงานของAPI ที่มา: API หรือ Application Programming Interface คืออะไร ? (thaiware.com) API เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์จากระบบหลักไปสู่ระบบ Client อื่นๆ หน้าที่หลักของ API จะคอยรับคำสั่งจากฝั่ง Client ซึ่งก็คือแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์, โมบายส์ แอปพลิเคชัน และโปรแกรม จะมีการรับคำสั่งไปประมวลผลและสรุปข้อมูลให้ตรงกับ Request ที่ต้องการ ก่อนจะส่งข้อมูลนั้นกลับไปที่ Client หรือตัวแอปพลิเคชันนั้นๆ เพื่อใช้งานต่อไป   (ที่มา: พัฒนาระบบแอปของธุรกิจคุณด้วย POSPOS APIs ) API เป็นช่องทางหรือ Gateway ที่ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยตรงของอีกฝ่าย เป็นตัวกลางที่ทำให้เซิร์ฟเวอร์ของผู้พัฒนา API มีความปลอดภัย สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงได้ เป็นการป้องกันผู้เข้ามาโจมตีในการเข้าถึงข้อมูลผ่านเซิร์ฟเวอร์ของซอฟต์แวร์และเว็บไซต์ที่ใช้ API ในการใช้งาน API สามารถศึกษาได้จากคู่มือนักพัฒนา (Developers)  เกี่ยวกับรูปแบบการส่งข้อมูลว่ามีการส่งข้อมูลแบบไหน, ใช้ภาษาโปรแกรมอะไรในการเชื่อมต่อ, ใช้แพลตฟอร์มใดในการเชื่อมต่อ เช่น Web Application, Mobile Application หรือ Desktop Application เป็นต้น  ในการสมัครใช้บริการ โดยทั่วไปจะให้ลงทะเบียนสมัคร เพื่อรับค่าอ้างอิง เช่น Token และต้องดาวน์โหลด Libraries ของภาษาโปรแกรมของผู้ให้บริการนั้นมาติดตั้งในเครื่องนักพัฒนาหรือเครื่องแม่ข่ายของนักพัฒนา ประเภทของ API API มีด้วยกัน 4 ประเภทดังนี้ 1. Public API เป็น API ที่เปิดเป็นสาธารณะที่พร้อมให้นักพัฒนา หรือองค์กรต่างๆ เข้ามาขอใช้งานได้ อย่างเช่น Microsoft เปิด Public API ให้นักพัฒนาอื่นๆ สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน หรือข้อมูลที่ต้องการจาก Windows ได้ แต่มีการคิดค่าใช้จ่าย หรืออาจแจกฟรีบ้าง แล้วแต่ตกลง เช่น Windows API ที่นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมที่เข้าถึงระบบของระบบปฏิบัติการ Windows ได้ เป็นต้น 2. Partner API เป็น API สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้คู่ค้าทางธุรกิจได้เข้าถึงข้อมูลของ บริษัทได้ โดยมีข้อกำหนดว่าคู่ค้าสามารถใช้ข้อมูลได้เฉพาะที่บริษัทกำหนดเท่านั้น เช่น โปรแกรม CRM ที่บริษัท เปิด API ให้คู่ค้าทางธุรกิจเข้าถึงข้อมูลลูกค้าบางรายการของบริษัท  เป็นต้น 3. Internal API เป็น API ที่ใช้เฉพาะในองค์กรเท่านั้น (Internal Only) ใช้สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลและระบบต่างๆ ภายในองค์กรเข้าด้วยกันอย่างปลอดภัย โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ๆ ที่มีหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีฐานข้อมูลที่ใช้งานแตกต่างกัน เช่น หน่วยงานขาย หน่วยงานบัญชี หน่วยงานจัดซื้อ หน่วยงานคลังสินค้า เป็นต้น หากต้องการเข้าถึงระบบของอื่น ๆ ในองค์กร ก็อาจมีการสร้าง API และเปิดให้อีกฝ่ายใช้งาน เป็นต้น 4.Composite API เป็นรูปแบบการผสมผสาน API ตั้งแต่ 2 บริการขึ้นไปเข้าด้วยกัน ในการทำงานผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกันได้ในคราวเดียว ช่วยลดปัญหาการใช้ API ซ้ำซ้อน และ ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มในด้านความเร็วในการใช้งาน ประโยชน์ของ API ลักษณะของ API ที่ดี API ที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ ตัวอย่างของAPI Application Grab เป็นแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่ให้บริการเรียกรถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนบุคคลและ รถมอเตอร์ไซค์ ทั้งในส่วนของมอเตอร์ไซค์รับจ้างและการขนส่งสิ่งของหรือเอกสาร บริการของ Grab ได้แก่ Grab Car บริการเรียกรถส่วนบุคคล, Grab Taxi บริการเรียกรถแท็กซี่, Grab Express บริการรับส่งพัสดุหรือเอกสาร เป็นต้น  Grab ใช้เทคโนโลยี API ที่ให้พันธมิตร ทางธุรกิจสามารถเชื่อมต่อการทำงานระหว่าง Grab และบริการของพาร์ตเนอร์ได้ อย่าง Grab ใช้ระบบแผนที่ของ Google หรือ Google Map โดย Grab จะขอ API ของ Google Map มาเขียนโปรแกรม Fastship           เป็นแพลตฟอร์มขนส่งระหว่างประเทศ สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์และบุคคลทั่วไปที่ต้องการ ส่งพัสดุ เป็นผู้ให้บริการส่งสินค้า e-Commerce บริการส่งพัสดุไปต่างประเทศ โดยมีระบบ เทคโนโลยี API ในการเชื่อมต่อ Marketplace ต่างๆ อย่างเช่น ebay, amazon, Alibaba เป็นต้น และบริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก อย่างเช่น UPS, FedEx เป็นต้น มีบริการเชื่อมต่อกับ Marketplace ระดับโลก ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการจัดส่งพัสดุ นอกจากนี้ยังมี API ที่เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง PEAK ACCOUNT ทำให้ผู้ประกอบการได้รับ ความสะดวก สามารถบันทึกรายการบัญชีได้โดยอัตโนมัติ ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ของนักบัญชี และข้อมูลที่บันทึกบัญชีถูกต้องครบถ้วน Cloud Commerce เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce ของไทยที่ให้บริการครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ มีระบบเทคโนโลยี API ในการเชื่อมต่อกับกลุ่ม Marketplace ที่มีชื่อเสียงอย่าง eBay, Lazada, Alibaba, Amazon เป็นต้น เป็นพันธมิตรกับ Fastship ที่ช่วยเชื่อมโยงการจัดส่งสินค้าถึงมือผู้รับอย่างรวดเร็ว มีพันธมิตรด้าน Drop point ที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการนำสินค้าไปวาง ณ จุด Drop point ได้ นอกจากนี้ยังมี API ที่เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่าง PEAK ACCOUNT เช่นกัน ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความสะดวกในการบันทึกรายการบัญชีอีกด้วย ทำไมนักบัญชีต้องรู้เรื่อง เทคโนโลยี API จากที่กล่าวมาข้างต้น นักบัญชีได้ทำความรู้จักเทคโนโลยี API จะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวนักบัญชีเลย ยิ่งในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน นักบัญชีจึงควรมีความรู้ เรื่องเทคโนโลยี API ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. API เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการทำงานของนักบัญชีอย่างเช่นโปรแกรมบัญชี โดยเฉพาะ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีความทันสมัย จะสามารถเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โปรแกรม PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์ม FASTSHIP (แพลตฟอร์มขนส่งสินค้าและพัสดุ), TORYORDONLINE (แพลตฟอร์มค้าส่งออนไลน์), CLOUDCOMMERCE (แพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจ e-Commerceครบวงจร), SELLSUKI (แพลตฟอร์ม       e-Commerce Solution  สำหรับธุรกิจออนไลน์) เป็นต้น ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การบันทึกบัญชีเป็นอัตโนมัติมีความรวดเร็ว และถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องรอรับเอกสารแล้วค่อยบันทึกบัญชี ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรับส่งเอกสาร นักบัญชีลดงานคีย์เอกสาร 2. API เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ระบบบัญชีมีความเป็นมาตรฐานและอัตโนมัติ ทำให้กระบวนการ ทางบัญชีมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมีเวลามากขึ้น นอกจากนักบัญชีจะสามารถลดเวลาในการทำงาน แบบซ้ำๆ แล้ว ยังสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้บริหารได้รวดเร็วและวิเคราะห์ข้อมูลให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เป็นการนำเทคโนโลยีมาสร้างข้อได้เปรียบสำหรับนักบัญชี เปลี่ยนบทบาทของ นักบัญชีในอดีตที่เคยทำงานกับเอกสารกองโตมาเป็นนักบัญชีที่มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ 3. เมื่อ API เข้ามามีบทบาทในการกระบวนการทำงานทางบัญชี ทำให้นักบัญชีต้องพัฒนาทักษะ ในด้านต่างๆ ได้แก่ 3.1 ทักษะในการทำงานกับข้อมูล ได้แก่ Data Analytics รวมถึงทักษะการตั้งคำถามและ การใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล 3.2 ทักษะในการสื่อสารกับผู้บริหารด้วยภาษาธุรกิจและสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาทักษะทางด้านกลยุทธ์เพื่อให้เข้าใจธุรกิจในหลากหลายมิติ 3.3 ในการจัดการระบบอัตโนมัตินักบัญชีต้องมีทักษะทางบัญชีในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจขอบเขตและ ลักษณะการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างถ่องแท้ 3.4 ทักษะในการเชื่อมโยงข้อมูล กระบวนการทำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในองค์กรเป็นองค์รวม เพื่อให้สามารถนำเสนอข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน นำไปสู่การขับเคลื่อนธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ ในโลกธุรกิจ คงยากที่ผู้ใดจะต้านทานคลื่นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้ นักบัญชีจึงควรเปิดใจรับ มองเทคโนโลยีเป็นโอกาสในการเติบโตในวิชาชีพ พัฒนาทักษะดังที่กล่าวมาและปรับตัวให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เปลี่ยนบทบาทของนักบัญชีมาสู่การเป็นนักบัญชีบริหาร เป็นคู่คิดของผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีบริการเชื่อมต่อ API กับแพลตฟอร์มที่เป็นพันธมิตร ใช้ API ที่เป็นมาตรฐานรองรับและเชื่อมต่อได้ง่าย มีทีมพัฒนาและนักบัญชีที่มากประสบการณ์ ในการช่วยเหลือแนะนำในการเชื่อมต่อ มีนักบัญชีช่วยผู้ประกอบการในการทำความเข้าใจ ระบบงานและวางระบบการเชื่อมต่อ API ที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: API หรือ Application Programming Interface คืออะไร ? (thaiware.com) นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล | สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) (tfac.or.th) API คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประโยชน์ของ API มีอะไรบ้าง – เกร็ดความรู้.net (xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net) API คืออะไร และกำลังเปลี่ยนแปลงโลกของการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร – AI GEN (aigencorp.com)

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

23 min

เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรให้ถูกใจเจ้าของกิจการ

ผู้ประกอบการ SMEs นิยมจ้างสำนักงานบัญชีเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีเองหรือจ้างพนักงานบัญชี และถึงแม้กิจการจะสามารถจัดทำเอกสารทางธุรกิจเองได้  ไม่ว่าจะเป็น ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น แต่ในการปิดบัญชี การตรวจสอบความถูกต้องทางบัญชีและภาษี ยังจำเป็นต้องมีนักบัญชีลงนามรับรองงบการเงินและรายงานภาษีประจำปีตามกฎหมาย การจ้างสำนักงานบัญชีจึงมีความสำคัญสำหรับกิจการ การเลือกใช้สำนักงานบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการควรให้ความสำคัญ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายในการนำส่งงบการเงินและแบบแสดงรายการทางภาษี รวมทั้งคุ้มค่ากับค่าทำบัญชีที่จ่าย หน้าที่ของสำนักงานบัญชี 1. การยื่นแบบภาษีประจำเดือน ได้แก่ การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. การยื่นแบบประจำปี ได้แก่ การยื่นแบบภาษีนิติบุคคลกลางปีและสิ้นปี การนำส่งงบการเงิน การยื่นแบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายประจำปีสำหรับเงินเดือนพนักงาน 3. การปิดบัญชี ได้แก่ การจัดทำสมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันซื้อขายและรับจ่ายเงิน สมุดบัญชีแยกประเภท งบทดลอง งบการเงิน รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องบัญชีและภาษี ประโยชน์ของการใช้สำนักงานบัญชี  1. ช่วยให้ตัวเลขงบการเงินของบริษัทมีความถูกต้องน่าเชื่อถือจากการตรวจสอบตัวเลขรายการซื้อขาย รับจ่ายของสำนักงานบัญชี และยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตในองค์กร 2. ช่วยลดภาระและความยุ่งยากของเจ้าของกิจการและประหยัดเวลาในการทำบัญชีด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ สามารถใช้เวลาไปกับการบริหารจัดการ การวางแผน การเพิ่มยอดขาย ได้มากขึ้น 3. มีการอัปเดตกฎหมายทางบัญชีและภาษีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเลือกใช้โปรแกรมทางบัญชีที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ และสามารถติดต่อประสานงานและให้ข้อมูลทางบัญชีและภาษีกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์หรือกรมสรรพากรแทนผู้ประกอบการได้ 4. ช่วยลดค่าใช้จ่ายของกิจการประเภทเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆ ในการจ้างนักบัญชีในบริษัท โดยผู้ประกอบการสามารถว่าจ้างสำนักงานบัญชีด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ในการจัดทำบัญชี การจัดทำงบการเงิน การยื่นแบบเสียภาษีรายเดือนและรายปี นอกจากนี้ยังลดต้นทุนในการจัดซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปและค่าใช้จ่ายในการอัปเกรดโปรแกรมด้วย 5. สำนักงานบัญชีไม่เพียงแค่จัดทำบัญชีให้อย่างเดียวเท่านั้น ยังให้บริการให้คำปรึกษาและแนะนำในการจัดการเรื่องบัญชีและภาษีของบริษัท ซึ่งลดความเสี่ยงในการมีประเด็นทางภาษีและการเสียค่าปรับทางบัญชีและภาษี นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจต่อไป วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือในการเลือกสำนักงานบัญชี ในการเลือกสำนักงานบัญชีสำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มต้น หรือกิจการที่ต้องการหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือ สามารถทำได้ดังนี้ 1. การขอคำแนะนำจากคนรู้จักหรือผู้ที่เคยใช้งานจริง เป็นการสอบถามจากคนรู้จัก เพื่อน ญาติพี่น้อง ที่ทำธุรกิจส่วนตัวซึ่งใช้บริการสำนักงานบัญชี หรือเรียกว่าวิธี Refer โดยสอบถามวิธีการทำงานของสำนักงานบัญชี ประสิทธิภาพในการทำงาน ผลงานเป็นอย่างไร เมื่อได้รับคำแนะนำจากคนรู้จักแล้ว อาจทำการติดต่อสอบถามสำนักงานบัญชีดังกล่าวเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจว่าจ้าง 2. การติดต่อสอบถามจากสำนักงานบัญชี ในกรณีที่ไม่มีคนรู้จักแนะนำ กิจการสามารถค้นหาสำนักงานบัญชีจากการ search ในอินเทอร์เน็ต และทำการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันอย่างน้อย 4-5 ราย เช่น เรื่องของประสบการณ์ในการทำงานของสำนักงาน มีใบประกอบวิชาชีพหรือไม่ มีบริการอะไรบ้าง ค่าบริการทำบัญชีเป็นเท่าไร เป็นต้น 3 เรื่องในการเลือกสำนักงานบัญชี ที่เจ้าของกิจการต้องระวัง 1. การพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ในการเลือกสำนักงานบัญชี ผู้ประกอบการควรพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ดังต่อไปนี้ 1 .1 สำนักงานบัญชีต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย สำนักงานบัญชีสามารถจัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็ได้ แต่สิ่งที่จำเป็นก็คือสำนักงานบัญชีจำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชี ซึ่งเป็นผู้ลงนามนำส่งงบการเงินประจำปีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยผู้ทำบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญดังต่อไปนี้ โดยปกติสำนักงานบัญชีจะมีบริการจัดหาผู้สอบบัญชีในการตรวจสอบและรับรองงบการเงินของกิจการ กิจการสามารถตรวจสอบสถานะของผู้สอบบัญชีได้ที่ :ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี :: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ Federation of Accounting Professions (tfac.or.th) 1.2 ประสบการณ์ของสำนักงานบัญชี ในการพิจารณาคุณสมบัติของสำนักงานบัญชี ควรพิจารณาประสบการณ์ของสำนักงานบัญชีว่าเคยให้บริการแก่ธุรกิจประเภทใดบ้าง เช่น ธุรกิจบริการ ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิต เป็นต้น และพิจารณาความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของกิจการ อย่างกรณีกิจการที่มีลักษณะเฉพาะเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริม BOI ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น เพราะการบันทึกบัญชีจะมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป ถ้านักบัญชีในสำนักงานบัญชีไม่มีประสบการณ์ตรงในธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดทางด้านบัญชีและภาษีสูง 1.3 ระบบการทำงาน ในการเลือกสำนักงานบัญชี เจ้าของกิจการควรพิจารณาระบบการทำงานของสำนักงานบัญชีว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น มีเอกสารใดบ้างที่ต้องส่ง กำหนดการส่งเอกสารเมื่อไร และที่สำคัญควรสอบถามกำหนดการยื่นแบบภาษีและการนำส่งงบการเงินประจำปี เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการ      เสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม รวมทั้งควรสอบถามรายงานที่กิจการจะได้รับในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี เช่น งบกำไรขาดทุนรายเดือน งบการเงินประจำปี เป็นต้น นอกจากนี้กิจการอาจพิจารณาถึงจำนวนพนักงานของสำนักงานบัญชี รวมทั้งจำนวนลูกค้าที่สำนักงานบัญชีให้บริการ ก็จะช่วยให้กิจการทราบถึงประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานบัญชีก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการ 1.4 จริยธรรมของสำนักงานบัญชี จริยธรรมในที่นี้หมายถึงความซื่อสัตย์ของสำนักงานบัญชี ที่จริงแล้วดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากในการประเมินคุณสมบัติข้อนี้ของสำนักงานบัญชี ผู้ประกอบการอาจจะเคยได้ยินว่ามีลูกค้าของสำนักงานบัญชีบางรายโดนสำนักงานบัญชีโกงเงินค่าภาษี เมื่อโอนเงินค่าภาษีให้สำนักงานบัญชีไปแล้ว แต่สำนักงานบัญชีไม่นำไปจ่ายกรมสรรพากร ในการพิจารณาความซื่อสัตย์ของสำนักงานบัญชี ให้ดูว่าสำนักงานบัญชีมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่งหรือไม่ อย่าหลงเชื่อเว็บไซต์ที่สวยงาม โดยในการเซ็นตกลงราคาควรนัดเซ็นที่สำนักงานบัญชี หรือในระหว่างการใช้บริการอาจสุ่มขอดูใบเสร็จค่าภาษีหรือใช้วิธีให้สำนักงานบัญชีส่งเอกสาร pay slip มาให้ผู้ประกอบการนำไปชำระภาษีเอง 2. บริการของสำนักงานบัญชีและราคาค่าบริการทำบัญชี โดยทั่วไปสำนักงานบัญชีจะให้บริการในการทำบัญชี ปิดงบ จัดทำงบการเงินประจำปี การยื่นประกันสังคมและยื่นแบบภาษีเป็นหลัก แต่ถ้าสำนักงานบัญชีมีบริการที่ครบวงจรหรือมีสำนักงานที่เป็นพันธมิตร ได้แก่ บริการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การเปลี่ยนแปลงกรรมการ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของบริษัท เป็นต้น การวางระบบบัญชี การวางแผนภาษี การจัดทำเงินเดือน การจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ ก็จะเป็นการสะดวกสำหรับเจ้าของกิจการ ที่ไม่ต้องจัดหาสำนักงานบัญชีหลายแห่ง สำหรับค่าบริการทำบัญชี ผู้ประกอบการควรพิจารณาราคาที่เหมาะสมกับบริการที่ได้รับ ปัจจุบันมีสำนักงานทางบัญชีที่ให้บริการเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันกันทางด้านราคาค่าบริการ ผู้ประกอบการไม่ควรเลือกสำนักงานบัญชีที่คิดราคาค่าบริการที่ถูกเพียงอย่างเดียว แต่ควรพิจารณาเลือกสำนักงานบัญชีที่คิดราคาค่าบริการที่เหมาะสมและพิจารณาที่คุณภาพของงานที่ให้บริการเป็นหลัก ในการตกลงค่าบริการทำบัญชีกับสำนักงานบัญชี กิจการควรสอบถามให้ชัดเจนว่า ค่าบริการทำบัญชีรวมบริการอะไรบ้าง อย่างในกรณีที่กิจการถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบภาษี ได้รวมค่าที่ปรึกษาและการที่สำนักงานบัญชีเป็นตัวแทนเข้าพบเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรหรือยัง ในกรณีที่ยังไม่รวม สำนักงานบัญชีจะคิดอัตราค่าบริการอย่างไร ถ้ากรณีดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดของสำนักงานบัญชี ทางสำนักงานบัญชีจะร่วมรับผิดชอบกับกิจการหรือไม่ จึงควรมีการตกลงในเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน และที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรมีการตกลงราคาค่าบริการและบริการที่จะได้รับกับสำนักงานบัญชีเป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้สำนักงานบัญชีจัดทำข้อเสนอราคาและมีการลงนามทั้งสองฝ่าย 3 . โปรแกรมบัญชีที่สำนักงานบัญชีใช้ ในการเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง คือ โปรแกรมบัญชีที่สำนักงานบัญชีใช้ ควรเป็นโปรแกรมบัญชีที่เหมาะกับธุรกิจของกิจการ มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการจะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น การมองหาสำนักงานบัญชีที่ใช้โปรแกรมบัญชีดังกล่าวได้จะช่วยให้ไม่เกิดความผิดพลาดในการจัดทำบัญชีและภาษี ปัจจุบันการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้การทำบัญชีสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดขั้นตอนการทำงานตอบโจทย์ทั้งผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีอย่างโปรแกรมPEAK มีฟีเจอร์สำหรับผู้ประกอบการดังนี้ – ช่วยจัดการงานบัญชีครบวงจรทั้งโปรแกรมบัญชีและบริการบัญชี/ยื่นภาษีในที่เดียว – มีรายงานแบบเรียลไทม์ที่สรุปผลประกอบการข้อมูลการขาย รายงานสินค้า รายงานลูกหนี้/เจ้าหนี้ค้างชำระ และรายงานการเก็บเงินช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนและตัดสินใจ – การออกเอกสารการค้าทางออนไลน์ ได้แก่ ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี   ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้สะดวก ถูกต้องและรวดเร็วแบบมืออาชีพ – ช่วยกิจการจัดทำเอกสารยื่นแบบส่งกรมสรรพากรได้อย่างถูกต้อง ส่วนฟีเจอร์สำหรับสำนักงานบัญชี ได้แก่ – การบันทึกบัญชีอัตโนมัติทั้งสมุดรายวัน บัญชีแยกประเภท ออกงบทดลองและจัดทำงบการเงิน – ช่วยจัดเตรียมรายงานภาษี ทั้งรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย (สำหรับจัดทำ ภ.พ.30) รายงานภาษี   หัก ณ ที่จ่าย สำหรับจัดทำ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.3 ภ.ง.ด.53 – สามารถแนบภาพไฟล์เอกสารออนไลน์เก็บไว้ในการบันทึกบัญชี ใช้ตรวจสอบภายหลังได้ ลดการส่งเอกสารฉบับจริง – สามารถดึงข้อมูลคู่ค้าจากเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรโดยอัตโนมัติ – ช่วยการกระทบยอด Statement บัญชีธนาคารโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้PEAK ยังมีฟีเจอร์ที่รองรับซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เป็นพันธมิตร โดยมีการเชื่อมต่อกับโปรแกรมพันธมิตรในกลุ่มต่างๆ เพื่อช่วยให้การบันทึกบัญชีหรือการตรวจสอบข้อมูลเป็นอัตโนมัติมากที่สุด อย่างกลุ่มธุรกิจ e-Commerce โปรแกรม PEAK มีการพัฒนาเชื่อมต่อกับ ZORT ผู้ให้บริการระบบบริหารและจัดการออเดอร์และสต็อกสินค้าแบบครบวงจร รองรับทั้งระบบ e-Commerce, Social Media และหน้าร้าน โดย PEAK จะช่วยให้การบันทึกบัญชีและการตรวจสอบข้อมูลเป็นไปโดยอัตโนมัติ ทำให้ลดขั้นตอนการทำงาน ข้อมูลมีความถูกต้อง โปรแกรม PEAK ยังช่วยออก e-Tax Invoice by email ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนดทันที พร้อมประทับเวลารับรอง (Time Stamp) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานในการส่งเอกสารให้กรมสรรพากรได้โดยไม่ต้องแปลงไฟล์ หรือใช้งานผ่านโปรแกรมใดเพิ่มเติม การเลือกใช้สำนักงานบัญชีที่ทำบัญชีโดยการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ดังกล่าว นอกจากจะช่วยให้การจัดการบัญชีมีความสะดวกรวดเร็ว ยังช่วยให้กิจการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ่ายซื้อซอฟต์แวร์และประหยัดค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอที  และโปรแกรมยังมีระบบสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันระบบล่ม การติดไวรัสหรือข้อมูลสูญหาย รวมทั้งการป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้งานด้วย จากที่กล่าวมา 3 แนวทางในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสำนักงานบัญชี จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้รับบริการที่ครบถ้วน เหมาะสม คุ้มค่ากับราคาค่าบริการที่จ่าย    ได้รับบริการจากสำนักงานบัญชีที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งทางกฎหมาย  มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ตรงกับธุรกิจ มีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการใช้โปรแกรมบัญชีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้การจัดทำบัญชีและภาษีมีความถูกต้อง ช่วยลดความผิดพลาด ลดประเด็นปัญหาทางบัญชีและภาษี กิจการไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ที่สำคัญคือผู้ประกอบการสามารถเรียกดูข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ทุกที่ทุกเวลา ข้อมูลมีความถูกต้องนำไปใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กรและนำไปสู่การเติบโตในอนาคต PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีสำนักงานบัญชีพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมช่วยแนะนำสำนักงานบัญชีที่ใกล้และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของคุณ ช่วยผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน                                                                                                    ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: เลือกสำนักงานบัญชีอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจคุณ – PEAK Blog (peakaccount.com) สำนักงานบัญชี คืออะไร ข้อดีของการจ้างสำนักงานบัญชี? – ณัฐชา | บริการด้านบัญชีและภาษี (accnonthaburi.com) วิธีเลือกสำนักงานบัญชี | Prosoft ERP 5 วิธีตรวจสอบสำนักงานบัญชีที่น่าใช้งาน – โปรแกรมบัญชี SMEMOVE

31 ม.ค. 2022

PEAK Account

14 min

หลักเกณฑ์สำคัญของการบันทึกรายได้ช่วยให้กิจการเติบโต

รายได้และค่าใช้จ่ายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การคำนวณกำไรสุทธิที่ถูกต้อง ในการบันทึกรายได้ยังคงมีประเด็นปัญหาที่นักบัญชีต้องระวัง จะมีประเด็นอย่างไรนั้นมาติดตามกันในบทความนี้ รายได้คืออะไร ในทางธุรกิจ รายได้ (Revenue) หมายถึง รายรับที่องค์กรธุรกิจได้มาจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติ เป็นผลจากการสินค้าและบริการให้กับลูกค้า นอกจากนี้รายได้ยังหมายถึงจำนวนเงินที่ได้รับภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น บริษัท A มีรายได้ในปี 2564 10 ล้านบาท เป็นต้น ในทางบัญชีการจัดทำงบการเงิน รายได้จะถูกแสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุนเป็นบรรทัดแรก ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 รายได้ หมายถึง กระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ ดังนั้นจำนวนเงินที่กิจการเก็บแทนบุคคลที่สาม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่ถือเป็นประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กิจการได้รับและไม่ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ประเภทของรายได้ รายได้จากการประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. รายได้จากการดำเนินงาน (Operating Revenue) เป็นรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการตามปกติของธุรกิจ เกิดจากการประกอบกิจการโดยตรงตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจในการแสวงหากำไร เรียกว่ารายได้หลัก ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า รายได้จากการผลิตสินค้าและจำหน่าย รายได้จากการให้บริการ เป็นต้น 2. รายได้อื่น (Non Operating Revenue) เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของธุรกิจ แต่เป็นรายได้อันเนื่องมาจากการประกอบกิจการที่เป็นผลพวงมาจากการดำเนินงานในทางอ้อม เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ รายได้ค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร กำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เงินปันผลรับ เป็นต้น ในการดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป รายได้เกิดจากรายการดังต่อไปนี้ 1. การขายสินค้า สินค้า หมายถึง สินค้าที่กิจการผลิตหรือที่ซื้อมาเพื่อขายต่อ ได้แก่ สินค้าที่ซื้อมาโดยกิจการค้าปลีก ที่ดินที่กิจการถือครองไว้เพื่อขายต่อ เป็นต้น 2. การให้บริการ สำหรับการให้บริการ มีผู้ให้คำนิยามของการบริการไว้ดังนี้ ไพรพนา (2544) การบริการ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลหรือองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นให้ได้รับความสุขและความสะดวกสบาย หรือเกิดความพึงพอใจจากผลของการกระทำนั้น โดยมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ไม่สามารถจับต้องได้ ไม่สามารถครอบครองเป็นเจ้าของในรูปธรรม และไม่จำเป็นต้องรวมอยู่กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งยังเกิดจากความเอื้ออาทร มีน้ำใจ ไมตรี เปี่ยมด้วยความปรารถนาดี ช่วยเหลือเกื้อกูลให้ความสะดวกรวดเร็ว Kotler (1997) ให้ความหมายของการบริการไว้ว่า การบริการ หมายถึง กิจกรรม หรือประโยชน์เชิงนามธรรมซึ่งฝ่ายหนึ่งได้เสนอเพื่อขายให้กับฝ่ายหนึ่ง โดยผู้รับบริการไม่ได้ครอบครองการบริการนั้นได้อย่างเป็นรูปธรรม กระบวนการให้การบริการอาจจะให้ควบคู่ไปกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ได้ การบริการจึงเปรียบเสมือนผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นนามธรรม ซึ่งไม่สามารถจับต้องได้เหมือนสินค้าทั่วๆ ไป ดังนั้นการบริการจะเกี่ยวข้องกับการเสนอขาย การปฏิบัติงาน หรือการกระทำใดๆ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งโดยที่ผู้บริโภคจะมิได้ครอบครองการบริการนั้นๆ เหมือนการครอบครองสินค้า 3. ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ เงินปันผล ดอกเบี้ย ค่าสิทธิ เงินปันผล เป็นรายได้ที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการโดย ดอกเบี้ย เป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้เงินสด รายการเทียบเท่าเงินสด หรือจำนวนค้างรับของกิจการ ค่าสิทธิ เป็นค่าตอบแทนจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ระยะยาวของกิจการ เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เงินปันผล เป็นส่วนแบ่งกำไรที่ผู้ถือเงินลงทุนในตราสารทุนจะได้รับตามสัดส่วนของเงินลงทุนที่ถือ ความหมายของรายได้ดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นรายได้ในทางบัญชี สำหรับรายได้ทางภาษีหรือ รายได้ตามประมวลรัษฎากร หมายถึง เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี รวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ประมวลรัษฎากรได้กำหนดคำว่า ขาย หมายถึงรวมถึง ขายฝาก และเปลี่ยน ให้ โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอบในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าด้วยวิธีใดและไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึง หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ การรับรู้รายได้ (Revenue Recognition) หมายถึง การรวบรวมรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบกำไรขาดทุน ดังนั้น เมื่อกิจการมีการรับรู้รายได้ สิ่งที่จะต้องปฏิบัติ คือ จะต้องนำรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นไปบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และนำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีอากรมีความแตกต่างกัน สำหรับความแตกต่างของหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกรณีกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ได้แก่ ธุรกิจ SMEs ซึ่งมีจำนวนเงินทุนน้อย และมีการดำเนินธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน   ตารางที่1 ความแตกต่างของหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ทางบัญชีและการรับรู้รายได้ทางภาษี ปัญหาในการบันทึกรายได้ที่นักบัญชีต้องระวัง การบันทึกรายได้เป็นรายการที่นักบัญชีมีความคุ้นเคยกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามมีประเด็นปัญหาในการบันทึกรายได้ที่นักบัญชีต้องระวัง ในที่นี้จะขอยกประเด็นปัญหาในการบันทึกรายได้บางประเด็นพร้อมทั้งแนวทางแก้ไข ดังต่อไปนี้ 1. การบันทึกรายได้ไม่ตรงตามงวดเวลาที่เกิดรายการ ปัญหา กรณีที่กิจการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในงวดปัจจุบัน โดยตามหลักฐานใบส่งของระบุวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่การบันทึกบัญชีรายได้ บันทึกเป็นรายได้ของปีถัดไป มีผลทำให้รายได้ของปีปัจจุบันต่ำไปและรายได้ของปีถัดมาสูงไป แนวทางแก้ไข นักบัญชีควรตรวจสอบรายการส่งมอบสินค้าโดยเฉพาะในช่วงสิ้นปี จากวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในหลักฐานใบส่งของ เพื่อบันทึกรายได้ให้ตรงตามงวดเวลาและครบถ้วน 2. การบันทึกรับรู้รายได้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ปัญหา กรณีที่กิจการออกเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษีและบันทึกรายได้ แต่ยังไม่มีการส่งสินค้าหรือยังไม่มีการให้บริการเกิดขึ้น แนวทางแก้ไข นักบัญชีควรตรวจสอบหรือสอบยันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่ามีรายการส่งสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นหรือยัง มิใช่บันทึกรายการตามเอกสารที่ได้รับเท่านั้น 3. การบันทึกรายได้จากการขายสินค้าส่งออก ปัญหา กิจการมีรายการขายสินค้าส่งออก การรับรู้รายได้บันทึกตามวันที่เอกสารใบขนขาออก แนวทางการแก้ไข ตามปกติในการส่งออก กิจการจะว่าจ้างบริษัทเดินเรือเพื่อทำการส่งออกและเคลียร์เอกสารต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า (INCOTERM) หลายรูปแบบ ได้แก่ CIF, CFR หรือ FOB เป็นต้น ในการรับรู้รายได้ นักบัญชีควรพิจารณาเงื่อนไขดังกล่าว แล้วจีงรับรู้รายได้และบันทึกตัดสินค้าคงเหลือออกจากบัญชีเมื่อกิจการปราศจากความเสี่ยงและผลตอบแทนในตัวสินค้านั้นแล้ว โดยความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกโอนไปยังผู้รับจ้างเดินเรือ หรือโอนไปยังผู้ซื้อตาม INCOTERM ที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่การบันทึกรายได้ตามวันที่ในเอกสารใบขนขาออก นักบัญชีจึงควรศึกษาทำความเข้าใจวิธีการบันทึกรายได้ของกิจการให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การบันทึกรายได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าและได้ข้อมูล ผลประกอบการของกิจการที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ PEAK โปรแกรมบัญชีช่วยนักบัญชีจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว   ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: 5 ปัญหาการบันทึกรายได้ ที่นักบัญชีต้องระวัง (dharmniti.co.th) ความหมายของคำว่า รายได้ | Prosoft ERP z3BRppJ4TF.pdf (tfac.or.th) สรุปความแตกต่างหลักการทางบัญชีและหลักการทางภาษี สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

16 ม.ค. 2022

PEAK Account

20 min

วิธีรับมือกับความเสี่ยงด้านบัญชีของธุรกิจ

ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี ความเสี่ยงที่พบในงานบัญชี  ประกอบด้วย 1. ความเสี่ยงจากลักษณะธุรกิจ (Inherent Risk หรือ IR) หรือความเสี่ยงสืบเนื่อง เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่โดยธรรมชาติในธุรกิจหรือกิจกรรมแต่ละอย่าง เกิดขึ้นจากลักษณะของธุรกิจ ความ เสี่ยงนี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการตัดสินใจทำธุรกิจหรือดำเนินกิจกรรมนั้น โดยความเสี่ยงสืบเนื่อง แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1.1 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับงบการเงิน เป็นการพิจารณาความเสี่ยงจากงบการเงินโดยรวม ว่างบการเงินมีโอกาสแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างไร โดยปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่ – ลักษณะธุรกิจของกิจการ เช่น กิจการที่มีรายการกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีความเสี่ยงจากการกำหนดราคาขายสินค้าระหว่างกันใน ราคาต่ำกว่าราคาตลาด หรือกิจการที่มีรายการค้าการนำเข้าหรือส่งออก มีความเสี่ยงในเรื่องอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือกิจการที่จำหน่ายสินค้าประเภทแฟชั่นตามสมัยนิยม มีความ เสี่ยงเรื่องสินค้าล้าสมัย เป็นต้น – ความซื่อสัตย์และประสบการณ์ของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์ของผู้บริหาร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระหว่างงวดบัญชี มีผลต่อการ จัดทำงบการเงิน – แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร การที่ผู้บริหารได้รับค่าตอบแทนที่มีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับกำไรสุทธิหรือรายได้ มีโอกาสที่กิจการจะบันทึก รายการกำไรสุทธิหรือรายได้สูงกว่าความเป็นจริง เช่น กิจการอาจรับรู้รายได้โดยที่ยังไม่ควรรับรู้ ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือการเลื่อนการรับรู้ค่าใช้จ่ายโดยการตั้งบันทึกบัญชีค่าใช้จ่าย รอตัดบัญชี เป็นต้น – ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินอยู่ ได้แก่ เศรษฐกิจ สถานการณ์การแข่งขันในตลาด ลูกค้า เทคโนโลยี การเกิดโรคระบาด เช่น การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 วิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็นต้น 1.2 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทของรายการ เป็นการพิจารณาในรายละเอียดของรายการมากกว่าในระดับของงบการเงิน ได้แก่ – การประเมินความซับซ้อนของรายการและเหตุการณ์ ว่าต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือการประมาณการ ในการกำหนดยอดคงเหลือของบัญชี เช่น การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม เทคโนโลยี – การพิจารณาความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก – รายการที่มีความผิดปกติและซับซ้อน รวมทั้งรายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติ 2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk หรือ CR) เป็นความเสี่ยงที่ระบบบัญชีของกิจการไม่สามารถป้องกันหรือตรวจพบและแก้ไข การแสดงข้อมูล ที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลา หรือเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากระบบการควบคุม ภายในที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการปฏิบัติตาม จนทำให้มีข้อผิดพลาดรวมอยู่ในงบการเงิน ตัวอย่างเช่น – กิจการไม่มีการอนุมัติรายการก่อนการจ่ายเงิน ทำให้มีการจ่ายเงินซ้ำซ้อน หรือมีรายจ่ายที่ไม่ใช่รายจ่ายของกิจการ – กิจการไม่มีนโยบายหรือแนวทางในการปฏิบัติงานทำให้ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่งานที่เหมาะสม – มีการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารโดยพนักงานบัญชี แต่ไม่ได้รับการตรวจทานจาก หัวหน้าแผนกบัญชี – ผู้จัดการแผนกบัญชีมีความไว้วางใจพนักงานบัญชีคนหนึ่งมากเกินไป จึงมอบหมายให้จัดทำรายงาน ทางการเงินทั้งหมดโดยไม่ได้ตรวจสอบ แนวทางในการจัดการความเสี่ยง ในการจัดการความเสี่ยง ในที่นี้ขอนำแนวคิดของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Tread Way Commission) ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วมของสถาบันวิชาชีพทางด้านบัญชีและตรวจสอบภายใน 5 สถาบัน มาใช้ดังนี้ 1. การวางระบบควบคุมภายใน การควบคุมภายในเป็นเครื่องมือในการจัดการที่เป็นกลไกพื้นฐานของกระบวนการกำกับดูแลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรให้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 1. ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน (Effective and Efficiency of Operation หรือ O) เป็นวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายที่ กำหนดไว้ขององค์กร 2. ความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน (Reliability of Financial Reporting หรือ F) เพื่อให้ ผู้ใช้รายงานทางการเงินขององค์กรที่เป็นบุคคลทั้งภายในและภายนอกได้ข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ใน การตัดสินใจ 3. การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด กฎระเบียบ และข้อบังคับ (Compliance with Laws and Regulations หรือ C) เพื่อป้องกันมิให้องค์กรเกิดความเสียหายจากการละเว้นไม่ปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติผิดกฎหมาย ข้อกำหนด กฎ ระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรเอง ประเภทของการควบคุมภายใน การควบคุมภายในแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 1. การควบคุมแบบป้องกัน (Preventive Control) เป็นการควบคุมเพื่อป้องกัน หรือลดความเสี่ยงจากความผิดพลาด ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เช่น การแบ่งแยกหน้าที่การงาน การควบคุมการเข้าถึงทรัพย์สิน เป็นต้น 2. การควบคุมแบบค้นพบ (Detective Control) เป็นการควบคุมเพื่อค้นพบความเสียหาย หรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การสอบทานงาน การสอบยืนยันยอด การตรวจนับพัสดุ เป็นต้น 3. การควบคุมแบบแก้ไข (Corrective Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง หรือเพื่อหาวิธีแก้ไขเพื่อ ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคต 4. การควบคุมแบบส่งเสริม (Directive Control) เป็นวิธีการควบคุมที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การให้รางวัล แก่ผู้มีผลงานดี เป็นต้น 5. การควบคุมแบบชดเชย (Compensating Control) เป็นวิธีการควบคุมที่กำหนดขึ้นเพื่อชดเชยหรือทดแทนระบบสำรองที่ทำอยู่เดิม เช่น การเปลี่ยนจากการ ใช้โปรแกรมบัญชีระบบออฟไลน์เป็นระบบออนไลน์ เป็นต้น แนวทางการวางระบบการควบคุมภายใน มีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการควบคุมภายใน เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในภาพรวมขององค์กร การค้นหาความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ และการพิจารณาการ ควบคุมที่มีอยู่ว่าสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงได้ในระดับใด 2. แนวทางการกำหนดหรือออกแบบระบบการควบคุมภายใน การกำหนดแนวทางระบบการควบคุมภายในทำได้โดยกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบการปฏิบัติงาน การป้องกันการทุจริตอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดแผนการดำเนินการโดยเชื่อมโยงมาตรฐาน การปฏิบัติงานของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร 3 .การติดตามประเมินผล ได้แก่ การติดตามประเมินผลในระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่รวมอยู่กับการบริหาร จัดการ และการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานปกติประจำวัน โดยบุคลากรขององค์กรทุกระดับต้องมี ความรับผิดชอบร่วมกันในการติดตามการประเมินผลในหน่วยงานย่อยของตนเอง และการประเมินผล เป็นรายครั้ง โดยอาจจัดตั้งหน่วยงานอิสระในการประเมินผลตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร มีเครื่องมือในการประเมินผล เช่น แบบสอบถามการควบคุมภายใน รวมทั้งการทดสอบการควบคุม ได้แก่ การทดสอบระบบการปฏิบัติงาน การสอบทานรายการต่างๆ เป็นต้น 2.การบริหารความเสี่ยง (Enterprise Risk Management) ตามแนวทางกรอบจัดการความเสี่ยงของ COSO (COSO ERM : Enterprise Risk Management)     การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการที่เป็นผลมาจากผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรร่วมกัน กำหนดขึ้น เพื่อประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์โดยการออกแบบสามารถระบุเหตุการณ์ที่มีความ เป็นไปได้อันจะมีผลกระทบต่อองค์กร และการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ วัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยง 1. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic :S);                                   เป็นวัตถุประสงค์ระดับสูงที่เน้นเป้าหมายรวมและสัมพันธ์กับการสนับสนุนพันธกิจ เป็นการกำหนดโดย ผู้บริหารระดับสูง เช่น แผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ เป็นต้น 2. วัตถุประสงค์การดำเนินงาน (Operations :O) เป็นวัตถุประสงค์ของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลและคุ้มค่า  ซึ่งวัดได้จากอัตรา กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทน อัตราหมุนเวียนการใช้ทรัพย์สิน การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ระดับความพึงพอใจของลูกค้าในการให้บริการ เป็นต้น 3. วัตถุประสงค์การรายงาน (Reporting: R) เป็นวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเชื่อถือได้ของการรายงานโดยเน้นทุกรายงานมิใช่เฉพาะรายงานการ เงิน ซึ่งมีความสำคัญต่อการการตัดสินใจของผู้บริหารและความน่าเชื่อถือสำหรับบุคคลภายนอก 4.วัตถุประสงค์การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance :C) เป็นวัตถุประสงค์ที่มุ่งให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่ทำการละเมิดซึ่งจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องหรือเสียชื่อเสียง แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง ในการบริหารจัดการความความเสี่ยง เริ่มจากการระบุเหตุการณ์ (Event Identification) โดยแยก เหตุการณ์ที่เป็นโอกาสออกจากความเสี่ยง ทำการระบุความเสี่ยง จากนั้นก็ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยการวิเคราะห์ ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยง สำหรับแนวทางตอบสนองความเสี่ยง(Risk Response) ประกอบด้วย เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่เกิดความคุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกัน ความเสี่ยง เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้      เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งเบาภาระความเสี่ยง เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมาก และหน่วยงานไม่สามารถยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการหรือกิจกรรมนั้น ผู้ประกอบการจึงควรเลือกแนวทางการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่ทำให้ความน่าจะเป็นและผลกระทบ จากความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จากนั้นจึงควรกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติซึ่งจะช่วย ให้เกิด ความมั่นใจว่าความเสี่ยงได้รับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลและมีการปฏิบัติตามวิธีการตอบสนอง     ความเสี่ยงที่กำหนดไว้และประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ภายในเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรจัดให้มีการสื่อสารกับบุคลากรในองค์กร เพื่อให้มีการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งควรมีการติดตามผลจากการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อนำมาประเมินกรอบการจัดการความเสี่ยง ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยงดังที่กล่าวมา เป็นแนวทางที่จะช่วย ผู้ประกอบการรับมือความเสี่ยงในงานบัญชีได้ นักบัญชีขององค์กรสามารถมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ วิเคราะห์ความเสี่ยงในงานบัญชี โดยวิเคราะห์ลักษณะการประกอบธุรกิจ มีกิจกรรมตรงส่วนไหนขององค์กรที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและถ้าไม่มีมาตรการการควบคุมที่เพียงพอจะ ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ดีเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการรับมือต่อความเสี่ยงในงานบัญชี ได้ PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชี ช่วยลดความเสี่ยงในงานบัญชี ให้ข้อมูลและรายงานที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ นำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์และตัดสินใจได้โดยไม่ผิดพลาด และนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์กรกำหนด ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก