ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>ธุรกิจ

7 มิ.ย. 2021

PEAK Account

6 min

ขั้นตอนการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท

เมื่อบริษัทประกอบการมาได้ในระยะหนึ่ง การดำเนินการด้วยทุนจดทะเบียนเมื่อเริ่มจัดตั้งบริษัทอาจไม่เพียงพอสำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือเมื่อกิจการมีการเติบโตขึ้นต้องการใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น การเพิ่มทุนจดทะเบียนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการระดมทุนของบริษัทจากผู้ถือหุ้นเดิมหรือเป็นการขายหุ้นเพิ่มให้กับนักลงทุนรายใหม่ ทุนจดทะเบียนบริษัทมีมูลค่าสูงดีอย่างไร การเพิ่มทุนทำให้ทุนจดทะเบียนมีมูลค่าสูงขึ้นมีข้อดีดังต่อไปนี้ 1. นำเงินทุนมาใช้ในการขยายกิจการ เพื่อหวังผลการเติบโตของยอดขายและการเพิ่มขึ้นของกำไรในอนาคตและทำให้กิจการมีความสามารถในการจ่ายเงินปันผลสูงขึ้นด้วย 2. สภาพคล่องของกิจการดีขึ้น เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทำให้กระแสเงินสดเป็นบวก 3. กิจการสามารถนำเงินทุนมาจ่ายชำระหนี้ และช่วยลดการจัดหาแหล่งเงินทุนจากการกู้เงิน ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง 4. ธุรกิจมีความน่าเชื่อในสายตาของผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน เพราะการเพิ่มทุนแสดงให้เห็นโอกาสในการขยายตัวและการเติบโตของกิจการ 5. ในกรณีที่กิจการมีขาดทุนสะสม การเพิ่มทุนจะช่วยล้างยอดขาดทุนสะสม เพื่อให้บริษัทมีกำไรและสามารถจ่ายเงินปันผลได้ ขั้นตอนการเพิ่มทุนจดทะเบียน ในการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนการดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. บริษัทออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้นและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท 2. ดำเนินการจัดประชมผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีมติพิเศษในการเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทุน โดยที่ประชุมต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน โดยการเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม 3. บริษัทจัดทำคำขอจดทะเบียนโดยจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้ 3.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ.1) 3.2 แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3.3 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมและ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4) 3.4 หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติมจำนวน 1 ฉบับ 3.5 สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น 3.6 สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ 4. ทำการยื่นจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติที่ประชุม ที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจข้อดี และขั้นตอนของการเพิ่มทุน อย่างไรก็ตามการดำเนินการในการจัดทำคำขอจดทะเบียนและยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุนค่อนข้างมีความยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการ การใช้บริการสำนักงานบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารหลักฐานในการเพิ่มทุนได้อย่างครบถ้วน จะช่วยประหยัดเวลาและลดภาระความยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการเมื่อเทียบกับค่าบริการที่ต้องจ่าย และ PEAK ก็มีบริการแนะนำสำนักงานบัญชีให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียน หรือดูแลงานบัญชีของกิจการ ติดต่อหาสำนักงานบัญชี คลิก ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK

18 มิ.ย. 2022

PEAK Account

29 min

5 กลยุทธ์วางระบบบัญชีของธุรกิจ SMEs แบบเหนือชั้น

ในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็วเพื่อการตัดสินใจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางกลยุทธ์เพื่อให้อยู่เหนือคู่แข่ง การวางระบบบัญชีเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้กิจการมีระบบบัญชีและมีระบบการควบคุมภายในที่ดี ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้องทันเวลา สามารถนำไปวางแผน ตัดสินใจ ช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและเติบโตได้  ระบบบัญชี คือ อะไร ระบบบัญชี คือ ระบบการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชี ประกอบด้วยเอกสารต่างๆ ทางบัญชี บันทึกทางการบัญชี รายงานทางบัญชีและการเงิน รวมถึงวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานและการเงินของกิจการให้แก่ฝ่ายจัดการนำไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจ และเพื่อเสนอข้อมูลให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่ต้องการใช้ข้อมูล เช่น กรมสรรพากร  วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบบัญชี วัตถุประสงค์ของการออกแบบระบบบัญชี  แบ่งออกเป็น 5 ด้านดังนี้ 1.  เพื่อดูแลรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัย ระบบบัญชีที่ออกแบบไว้เป็นอย่างดีจะช่วยรักษาทรัพย์สินให้ปลอดภัยจากการถูกขโมยหรือถูกทำลาย กระบวนการในการรักษาความปลอดภัยของระบบต้องมีการกำหนดนโยบาย ข้อมูลและวิธีดำเนินงาน การจัดให้มีระบบการป้องกันที่เหมาะสม มีการประเมินความเสี่ยงตามช่วงเวลา และต้องมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ 2.  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของระบบบัญชี ประสิทธิผลในการออกแบบระบบบัญชี คือ การรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของกิจการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันต่อเวลาและเชื่อถือได้ ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือสำหรับฝ่ายบริหารในการวางแผนและนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ 3.    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน ประสิทธิภาพในกระบวนการดำเนินงาน เป็นการใช้ข้อมูลและรายงานทางบัญชีจากระบบบัญชีมาใช้วางแผนและปะเมินเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ บรรลุผลตามเป้าหมายที่กิจการได้วางไว้ ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนผลิตและการให้บริการ 4.  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามนโยบายของกิจการ การออกแบบระบบบัญชีจะช่วยให้เกิดการสนับสนุนการปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมขององค์กร เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันในวิธีการทำงานที่ตรงกัน การปฏิบัติงานในทุกกระบวนการธุรกิจ ได้แก่กระบวนการขาย ซื้อ  การจ่ายเงิน การรับเงิน เป็นต้น เป็นไปตามนโยบายของกิจการ  5.  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล การออกแบบระบบบัญชีทำเพื่อตอบสนองการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพสามิต เป็นต้น ความสำคัญของการวางระบบบัญชีที่ดี การจัดให้มีระบบบัญชีที่ดีมีความสำคัญต่อกิจการดังต่อไปนี้ 1. ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลและรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ มีความรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ วางแผน และกำหนดเป้าหมายขององค์กร 2. ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร เพราะข้อมูลที่ได้จากระบบบัญชีจะช่วยให้เห็นว่าส่วนงานต่างๆ ดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ 3. ระบบบัญชีที่ดีช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรบุคคล การเงิน เป็นต้น 4. ระบบบัญชีที่ดีช่วยให้การเก็บรวบรวมและการประมวลผลข้อมูลมีความเป็นระบบ ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการจัดทำบัญชี รวมทั้งเพิ่มความถูกต้องในการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินไปยังผู้ใช้งบการเงินทุกกลุ่ม  5. ระบบบัญชีที่ดีจะช่วยให้การมอบหมายงาน การควบคุมและการประสานงาน รวมทั้งการวัดผลและ การประเมินผลมีประสิทธิภาพ  6. ระบบบัญชีที่ดีเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงอันเกิดจากการทุจริต ช่วยสร้างความเชื่อถือจากผู้ใช้งบการเงินและผู้ใช้รายงานทางการเงิน สิ่งที่ควรพิจารณาในการวางระบบัญชี ในการพัฒนาและวางระบบบัญชีมีต้นทุน และมีความเป็นไปได้ที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว จึงมีสิ่งที่กิจการควรนำมาพิจารณาดังนี้ 1. ในการวางระบบบัญชี วัตถุประสงค์ในการออกแบบต้องมีความชัดเจน ผู้ประกอบการต้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำการประเมินความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ มีการประเมินข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากการออกแบบระบบบัญชี 2. ระบบบัญชีของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่างกัน การวางระบบบัญชีต้องมีความสอดคล้องกับประเภทหรือลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ ซึ่งจะมีผลต่อความคุ้มค่า ความยากง่าย กระบวนการและวิธีการในการออกแบบระบบบัญชี 3. เวลาที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี ขึ้นอยู่กับประเภทของการวางระบบบัญชี ได้แก่ การออกแบบระบบบัญชีใหม่ทั้งหมด สำหรับกิจการที่เพิ่งเริ่มต้นดำเนินกิจการ และการวางระบบบัญชีบางส่วน สำหรับการปรับปรุงพัฒนาระบบบัญชีที่ใช้อยู่ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งใช้เวลามากน้อยแตกต่างกัน นอกจากนี้เวลาที่ใช้ในการออกแบบยังขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ 4. บุคลากรที่ใช้ในการวางระบบบัญชี นอกจากนักบัญชีแล้วจำเป็นต้องอาศัยทีมพัฒนาและวางระบบจากทั้งบุคลากรภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ 5. การวางระบบบัญชีควรมีเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานเดิมให้น้อยที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการใช้งานของผู้ใช้งาน เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้งานระบบบัญชียอมรับและมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้งานระบบบัญชี 6. การวางระบบบัญชีต้องมีการออกแบบเอกสารประกอบในระบบบัญชีที่เหมาะสม มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี แผนผังทางเดินเอกสาร รวมทั้งแผนการฝึกอบรมและติดตามผลกระทบที่เกิดจากการวางระบบบัญชี กลยุทธ์ในการวางระบบบัญชี เพื่อให้ได้ระบบบัญชีที่ดี ในการวางระบบบัญชี มีเทคนิค 5 ประการดังต่อไปนี้ 1. การวางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ในการเริ่มต้นวางระบบบัญชีต้องมีการวางแผนการสำรวจและวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยจั้นตอนดังต่อไปนี้  1.1   การสำรวจข้อมูล ในการวางระบบบัญชี ผู้วางระบบบัญชีจะทำการสำรวจขั้นต้นเสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของผู้ใช้งานและฝ่ายจัดการขององค์กรรวมทั้งขอบเขตของงานที่จะต้องทำ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก.การวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบัญชีปัจจุบัน โดยอาศัยเครื่องมือดังต่อไปนี้ ผู้วางระบบบัญชีจะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเอกสารของระบบงานเดิม ประกอบด้วย แบบฟอร์มหรือรายการที่ถูกสร้างขึ้นจากระบบเดิมที่ใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกรายการค้า  เป็นการวิเคราะห์ปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการสังเกตการณ์การทำงานของพนักงานในขณะปฏิบัติงาน ทำให้เห็นขั้นตอนการปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงาน ในขณะเดียวกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ออกแบบระบบกับผู้ใช้งาน เป็นการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มคนจำนวนมากด้วยคำถามที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ได้ข้อมูลจากกลุ่มคนจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็วกว่าเครื่องมืออื่น เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับการสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ซึ่งในการสัมภาษณ์จะต้องบันทึกคำสัมภาษณ์ และสรุปข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไว้อย่างเป็นระบบ ข้อดีของการสัมภาษณ์ คือได้รับข้อมูลตอบกลับทันทีและมีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลโดยตรง    ข. รูปแบบและลักษณะของธุรกิจ       รูปแบบธุรกิจส่งผลต่อขั้นตอนหริอกระบวนการในการดำเนินกิจการรวมถึงการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจการ ซึ่งจะใช้วิธีการบัญชีที่แตกต่างกันไป รูปแบบธุรกิจโดยทั่วไป ได้แก่ธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจผลิตสินค้า ธุรกิจให้บริการ ค. โครงสร้างองค์กรและการกำหนดหน้าที่ โครงสร้างองค์กรหรือผังการจัดสายงานขององค์กร แสดงให้เห็นถึงการแบ่งหน่วยงานและกำหนดความรับผิดชอบตามชนิดของงาน ซึ่งจะทำให้ทราบว่างานเริ่มต้นจากส่วนงานใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ใครเป็นผู้อนุมัติ เอกสารจะต้องส่งให้ใครบ้าง 1.2   การศึกษาความเป็นไปได้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะนำมาใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อนำมาใช้พิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม ประกอบด้วย ก.      การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิค เป็นความรู้ทางบัญชี วิธีปฏิบัติทางด้านบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชี ความรู้ด้านบริหารธุรกิจที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี สภาพแวดล้อมของระบบบัญชีเดิมและระบบบัญชีใหม่ รวมถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญของทีมออกแบบและพัฒนาระบบบัญชี ข.      การศึกษาความเป็นไปได้ด้านต้นทุนและผลตอบแทน เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนวางระบบบัญชีใหม่ว่าคุ้มค่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือไม่ ต้นทุนที่เกิดขึ้น หมายถึง ต้นทุนในการพัฒนาระบบและต้นทุนในการนำระบบบัญชีไปทดลองใช้ ส่วนผลตอบแทนวัดได้จากผลตอบแทนที่ประเมินที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ ยอดขายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในกระบวนการทำงานน้อยลง หรือประเมินจากผลตอบแทนที่ประเมินค่าไม่ได้ ได้แก่        ส่วนแบ่งการตลาดที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงขึ้น มีการปรับปรุงงานบริการดีขึ้น หรือสินค้าและบริการเป็นที่รู้จักมากขึ้น ค.      การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติงาน เป็นการศึกษาความสามารถในการติดตั้งหรือเชื่อมต่อกับระบบปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเมื่อนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ รวมถึงการสนับสนุนของผู้บริหารในการวางระบบบัญชีใหม่ว่ามีมากน้อยเพียงใด ผลกระทบจากการออกแบบระบบบัญชีจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างไร ง. การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเวลา เป็นการศึกษาเวลาที่ใช้ในการออกแบบระบบบัญชี การพิจารณาว่าระบบัญชีใหม่จะสามารถพัฒนาและพร้อมใช้งานในเวลาที่กำหนด 1.3   การจัดทำหนังสือเสนอโครงการ (Proposal)  หลังจากที่ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการวางระบบบัญชีมีผลตอบแทนคุ้มค่ากับต้นทุนในการวางระบบ ขั้นตอนต่อไปเป็นการยื่นขออนุมัติ โดยจัดทำหนังสือเสนอโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งประกอบด้วยข้อมูลวัตถุประสงค์และขอบเขตของงาน ปัญหาและความจำเป็นของการวางระบบบัญชี แนวทางการศึกษา การวิเคราะห์ความต้องการของการวางระบบบัญชี แผนงานการออกแบบระบบบัญชี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ  1.4 การจัดตั้งทีมงานในการวางระบบบัญชี      เมื่อข้อเสนองานได้รับอนุมัติ ทีมงานวางระบบบัญชีจะจัดตั้งกลุ่มการทำงาน มีการกำหนดขอบเขต ในการวางระบบบัญชีโดยพิจารณาถึงความเสี่ยงในด้านต่างๆ มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการวางแผน กำหนดเวลาในการวางระบบ การควบคุมและการตรวจสอบ รวมทั้งการรายงาน       2. การกำหนดความต้องการของระบบบัญชี ในการกำหนดความต้องการของระบบบัญชี ให้พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 2.1. ความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานด้านบัญชี โดยพิจารณาคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีที่ต้องการว่าเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและนำเสนองบการเงิน และได้รับการยอมรับจากผู้ใช้ระบบบัญชีหรือไม่ โดยจะต้องทำความเข้าใจในระบบงานเดิม พร้อมกับการกำหนดสิ่งที่จะปรับปรุงใหม่ลงไป เพื่อตอบสนองผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกแบบระบบบัญชี ได้แก่ ผู้บริหาร นักบัญชี ผู้ตรวจสอบภายในที่ตรวจสอบกระบวนการและกิจกรรมในการควบคุม หน่วยงานภาครัฐที่ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามข้อบังคับต่างๆ 2.2. การจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการออกแบบระบบบัญชี กิจการสามารถจัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการออกแบบระบบบัญชี โดยการจัดซื้อ การพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นเอง หรือการว่าจ้าง Outsource โดยพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดหา ความสามารถของผู้ขายหรือผู้ให้บริการและระบบการสนับสนุนเทคโนโลยีจากผู้จำหน่าย  3. การกำหนดแนวทางในการวางระบบบัญชี แนวทางในการวางระบบบัญชี ได้แก่  3.1 การออกแบบเอกสาร แบบฟอร์ม สมุดรายวันและรายงานทางบัญชี โดยมีหลักที่ควรพิจารณาดังนี้ ก. ในการวางระบบบัญชี ต้องมีการสำรวจเอกสารจากระบบบัญชีเดิม เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเอกสารในระบบบัญชีใหม่ ข. มีการจำแนกประเภทของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ เรียงลำดับจากแหล่งที่น่าเชื่อถือของเอกสารจากน้อยไปหามาก ได้แก่ เอกสารที่เกิดจากแหล่งภายในกิจการและกิจการนำมาใช้เอง เอกสารที่เกิดจากแหล่งภายในที่ถูกรับรองโดยบุคคลภายนอก และเอกที่สารที่เกิดขึ้นจากแหล่งภายนอก ค. เอกสารที่ออกแบบต้องมีการระบุข้อความที่จำเป็นต่างๆ ให้ครบถ้วน เช่น ชื่อเอกสาร ชื่อที่อยู่กิจการ เล่มที่และเลขที่เอกสาร วันที่ออกเอกสาร เป็นต้น 3.2 การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารและการบันทึกบัญชี โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ ก. การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารและการบันทึกบัญชีทีละระบบงาน ข. การเข้าสำรวจกิจกรรมการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้การออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารตรงกับความต้องการมากที่สุด ค. การร่างแผนภาพทางเดินเอกสารโดยอาศัยการแบ่งแยกหน้าที่ตามแผนผังโครงสร้างองค์กร ง. การร่างแผนภาพทางเดินเอกสารต้องเน้นการอธิบายการ Flow ของเอกสารประกอบระบบ จ. หลังจากที่ได้ออกแบบแผนภาพทางเดินเอกสารแล้ว ผู้วางระบบต้องมีการทดลองปฏิบัติ เพื่อนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานจริง 3.3 การออกแบบกิจกรรมการควบคุมภายใน การวางระบบบัญชีต้องมีการออกแบบกิจกรรมการควบคุมภายใน ด้วยหลักการที่ว่าเอกสารและการบันทึกบัญชีมีความถูกต้อง ได้แก่ การให้ลำดับเลขที่เอกสาร เอกสารต้องระบุผู้จัดทำและผู้อนุมัติเป็นคนละคนกัน เป็นต้น 3.4 การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี คู่มือการปฏิบัติงานของระบบบัญชี คือ รายละเอียดการปฏิบัติงานตามระบบบัญชีที่ระบุถึง วิธีการใช้คู่มือ ผังการจัดองค์กรของหน่วยงาน วัตถุประสงค์ของระบบงาน ระเบียบปฏิบัติ ผังบัญชี ระบบรายงาน การควบคุมภายในเฉพาะระบบงานที่สำคัญ แผนภาพทางเดินของเอกสาร ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยละเอียด เอกสารประกอบระบบบัญชี  4. การนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ ในการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 4.1 การตรวจสอบความถูกต้องและทดสอบระบบบัญชี ก่อนนำระบบบัญชีใหม่ออกใช้ปฏิบัติต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำระบบบัญชีออกใช้ปฏิบัติ โดยมีขั้นตอนดังนี้ ก. การทดลองใช้เอกสาร เป็นการตรวจสอบว่าเอกสารที่ใช้ในระบบบัญชีว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ข. ตรวจสอบแผนภาพทางเดินของเอกสารและการบันทึกบัญชี ทางเดินเอกสารเริ่มตั้งแต่แหล่งกำเนิดของเอกสารจนถึงแหล่งจัดเก็บเอกสาร มีระบบการควบคุมภายในด้านเอกสารและการอนุมัติเอกสารที่เหมาะสมเพียงพอหรือไม่ ค. การทดสอบการบันทึกรายการบัญชี เป็นการตรวจสอบว่าการบันทึกรายการบัญชีมีเอกสารประกอบการบันทึกรายการบัญชีครบถ้วน เชื่อถือได้หรือไม่ ง. การทดลองการออกรายงานจากระบบบัญชีใหม่ 4.2 การเตรียมความพร้อมทางด้านเอกสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และบุคลากร หลังจากมีการทดสอบระบบแล้ว กิจการควรเตรียมความพร้อมโดยจัดเตรียมแบบฟอร์มและเอกสารต่างๆ และจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เพียงพอและสามารถรองรับระบบบัญชีใหม่ให้พร้อมก่อนการนำระบบใหม่มาใช้จริง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือควรจัดให้มีการฝึกอบรมการใช้งานระบบบัญชีใหม่และวิธีการใช้แบบฟอร์มต่างๆ ของระบบใหม่ให้แก่พนักงานผู้ใช้งานเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้รวมทั้งอบรมการใช้งานสำหรับผู้มีอำนาจอนุมัติด้วย 4.3 การนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ในกิจการ หลังจากกิจการมีความพร้อมทั้งระบบบัญชีใหม่ เอกสาร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และบุคลากรแล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำระบบบัญชีมาใช้ในกิจการ ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ ก. แบบขนาน เป็นการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ควบคู่กับระบบบัญชีเดิมในช่วงเวลาเดียวกัน  ข. แบบทันที เป็นการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้แทนระบบเก่าทันที หลังจากระบบบัญชีใหม่ได้รับการพัฒนาเสร็จแล้ว  ค. แบบทีละช่วง เป็นนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ โดยแบ่งออกเป็นระบบย่อยๆ ทำการปรับใช้ทีละระบบจนกว่าจะครบทุกระบบ 5. การติดตามประเมินผลระบบบัญชี หลังจากกิจการนำระบบบัญชีใหม่มาใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้วางระบบบัญชีควรมีการติดตามและประเมินผลว่าระบบบัญชีใหม่ได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยมีขั้นตอนการประเมินผลดังนี้ 5.1 การติดตามประเมินผลในการยอมรับของผู้ใช้งาน เป็นการสำรวจและวิเคราะห์การยอมรับของผู้ใช้งานสำหรับระบบบัญชีที่ได้พัฒนาขึ้นใช้ในกิจการ 5.2 การติดดามประเมินผลทางด้านประสิทธิภาพของระบบบัญชี การประเมินผลประสิทธิภาพของระบบบัญชี ต้องใช้เครื่องมือในการประเมินผลที่เหมาะสม 5.3 การติดตามประเมินผลทางด้านการควบคุมภายใน การประเมินผลทางด้านการควบคุมภายใน เป็นการติดตามกิจกรรมที่อยู่ในระบบบัญชีว่าสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในทรัพย์สินของกิจการ 5.4 การติดตามประเมินผลด้านต้นทุนและประโยชน์ที่ได้รับ เป็นการประเมินผลประโยชน์ที่ได้รับว่าคุ้มค่ากับต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ระบบบัญชีที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้กิจการ SMEs สามารถจัดทำบัญชีและยื่นภาษีได้ครบถ้วน ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ยังทำให้กิจการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน และช่วยป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ อ้างอิง การออกแบบระบบบัญชี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุเทน เลานำทา ระบบบัญชี, วิไล วีระปรีย จงจิตต์ หลีกภัย ประจิต หาวัตร

13 มิ.ย. 2022

PEAK Account

12 min

3 เรื่องสำคัญช่วยบริหารสำนักงานบัญชีให้เติบโต

เชื่อว่าความใฝ่ฝันของนักบัญชีหลายๆ คนนั้น คือ การมีสำนักงานบัญชีเป็นของตัวเอง และพัฒนาจนสามารถเติบโต เป็นที่ยอมรับของลูกค้าที่มาใช้บริการ  แต่มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ในช่วงเวลาเพียงชั่วข้ามคืน ปัจจุบัน สำนักงานบัญชีที่จะก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปได้นั้นจะต้องมีการเตรียมพร้อมในหลายๆ ด้าน ซึ่งในบทความนี้จะรวบรวมข้อมูลสำคัญๆ ไว้ในหลากหลายมุมมองด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการ ตลอดจนเทคนิคที่จะช่วยให้สำนักงานบัญชี ประสบความสำเร็จ เป็นต้น ปัญหาสำนักงานบัญชีที่ต้องเร่งแก้ไข ในการดำเนินกิจการสำนักงานบัญชี ทุกปัญหาน้อยใหญ่ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเปิดสำนักงานบัญชี ไปจนถึงช่วงเวลาที่เปิดให้บริการจริงกับลูกค้า หากมีการเตรียมความพร้อม และมีที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำที่ดี ก็จะสามารถผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆ ไปได้  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ 1. ต้นทุนไม่เพียงพอ สำนักงานบัญชีหน้าใหม่มักจะประสบปัญหาเรื่องการเงิน  มักมีสายป่านยาวไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการรายรับรายจ่ายได้อย่างลงตัว ซึ่งบางครั้งการเก็บเงินค่าบริการอาจจะต้องรอเวลา แต่ขณะเดียวกันค่ายใช้จ่ายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวัน  จะทำอย่างไรให้มีรายได้มารองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เรื่องของการวางแผนเรื่องการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่เจ้าของสำนักงานบัญชีต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี 2. ขาดความรู้เรื่องการทำการตลาด สำนักงานบัญชีหลายๆ แห่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการทำการตลาดมากนัก  เพราะคิดว่าการใช้หลักการบอกเล่าปากต่อปากจากเพื่อนและครอบครัว ตลอดจนผู้ที่เคยร่วมงานเด้วย ก็น่าจะเพียงพอต่อการเปิดสำนักงานบัญชีแล้ว ผลที่ตามมาคือ การมีลูกค้าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และผลประกอบการอาจไม่เป็นไปตามที่คาดในช่วง ในระยะแรกที่ลูกค้ายังไม่รู้จักสำนักงานบัญชีของคุณ ควรนำหลักการตลาดและการประชาสัมพันธ์มาทำให้สำนักงานบัญชีเป็นที่รู้จักมากขึ้น มิฉะนั้น อาจสร้างปัญหาต่อกระแสเงินสดของบริษัทได้เช่นกัน ดังนั้นเจ้าของสำนักงานบัญชีจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องของการตลาดมาตั้งแต่ต้น 3.  คิดค่าบริการต่ำเกินจริง สำนักงานบัญชีจำนวนมากมักใช้วิธีการกำหนดค่าบริการที่ต่ำกว่าคู่แข่งในตลาดเพราะคิดว่าจะทำให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น แต่ในระยะยาววิ ธีการนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา ก็คือ ปริมาณงานที่มากจะไม่รองรับกับรายได้ที่ไม่เหมาะสม เกิดเป็นภาระทางการเงินที่อาจะทำให้กิจการไปต่อได้ยาก 4.  ขาดความแตกต่างในบริการ เจ้าของสำนักงานบัญชีหลายๆ แห่งเ ริ่มต้นธุรกิจด้วยการมองถึงการหากำไรเข้าบริษัท โดยไม่มีการวางแผนจะสร้างการบริการที่แตกต่างจากบริการรูปแบบเดิมๆ  ที่มีอยู่ในตลาด  ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างอาจทำทำให้ธุรกิจโดดเด่น และสร้างความน่าสนใจให้กับลูกค้า เช่น การเลือกใช้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีการพัฒนาฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งนักบัญชี และผู้ประกอบการ เป็นต้น 5. ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน ปัญหาหนึ่งที่พบมากในสำนักงานบัญชี ก็คือ การทำงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างเจ้าของกิจการกับสำนักงานบัญชี เช่น  ในการขายสินค้าหรือบริการ ผู้ประกอบการมีการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน จากนั้นผู้ประกอบการก็จะส่งเอกสารมาให้สำนักงานบัญชีบันทึกบัญชีลงในโปรแกรมบัญชีของสำนักงานอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานบัญชีก็ควรหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น การใช้โปรแกรมบัญชีที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานดังกล่าว เป็นต้น 6.  ขาดความเชี่ยวชาญในงานบัญชีของธุรกิจแต่ละประเภท เนื่องจากลูกค้าที่มาใช้บริการสำนักงานบัญชีนั้นมากจากหลากหลายธุรกิจ ซึ่งแต่ละธุรกิจก็จะมีลักษณะเฉพาะในการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ซึ่งหากสำนักงานบัญชีต้องการให้บริการครอบคลุมกลุ่มลูกค้าในทุกๆ ประเภท ก็ควรศึกษาธุรกิจอย่างรอบด้านด้วย 3 เทคนิคพัฒนาสำนักบัญชีในยุคดิจิทัล ในการบริหารจัดการสำนักงานบัญชีให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะต้องแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังต้องมีการพัฒนาทุกการทำงานให้ธุรกิจเติบโตอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้สำนักงานบัญชีเติบโตมาฝากกัน สร้างแบรนด์ให้โดดเด่น เป็นที่จดจำ การสร้าง “แบรนด์” นั้น  ไม่ใช่แค่เพียงการตั้งชื่อสำนักงานบัญชีให้เก๋ ฟังแล้วสะดุดหู  หรือออกแบบโลโก้ให้สวยงามน่าประทับใจเท่านั้น หากแต่ต้องเป็นการสื่อสารถึงเอกลักษณ์ และจุดเด่นของสำนักงานบัญชีออกมาให้น่าสนใจอีกด้วย เช่น การให้บริการของเรามีความน่าประทับใจอย่างไร และจะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องสื่อสารออกมาอย่างชัดเจน  สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างการให้บริการเป็นเรื่องที่สำนักงานบัญชีไม่ควรมองข้าม  ต้องมีการรักษาความสัมพันธ์เป็นอย่างดีทั้งกับลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ เช่น ไม่ละเลยการตอบคำถามของลูกค้า แม้จะเป็นเพียงคำถามเล็กๆ น้อยๆ  การตรงต่อเวลา เป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าในทุกเรื่อง  และการรักษาผลประโยชน์ที่ลูกค้าควรได้รับ ให้กับลูกค้า เป็นต้น  เพราะหากลูกค้าเกิดความไม่ประทับใจในการให้บริการ ก็เปลี่ยนสำนักงานบัญชีไปเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากในทุกๆ วงการ ไม่เว้นแต่วงการบัญชีเอง สำนักงานบัญชีที่รู้จักใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์กับการทำงาน ก็จะช่วยลดภาระงานที่หนักอึ้ง และยังช่วยให้ลูกค้าทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เช่น การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือการเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ เพื่อป้องกันการสูญหาย หรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเอกสารต่างๆ เป็นต้น Partner คู่ใจ หนึ่งหนทางสร้างความสำเร็จของสำนักงานบัญชี นอกจากจะต้องงัดไม้เด็ดเคล็ดลับต่างๆ มาสร้างความสำเร็จให้กับสำนักงานบัญชีแล้ว  ในปัจจุบันยังอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้สำนักงานบัญชีเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือ การหา Partner มา Support เติมในส่วนที่ตัวเองยังขาดตกบกพร่อง หรือยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การเป็น Partner ร่วมกับโปรแกรมบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์การทำงานของนักบัญชี และตอบโจทย์ตวามต้องการของลูกค้า หรือการเป็น Partner ร่วมกับหน่วยงานราชการ หรือสถานบันการศึกษาต่างๆ เพื่ออัปเดตข้อมูลทางบัญชีต่างๆ เป็นต้น PEAK พร้อมเป็นพันธมิตร เคียงคู่ทุกสำนักงานบัญชี หากสำนักงานบัญชีใดกำลังมองหา  Partner ที่ตอบโจทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย PEAK  โปรแกรมบัญชีบนคลาวด์พร้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะเสริมประสิทธิภาพ ลดเวลาและขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ตลอดจนมีสิทธิพิเศษที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็น PEAK โปรแกรมบัญชีอออนไลน์ ช่วยจัดการข้อมูลทางบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์การทำงานของนักบัญชีในยุคดิจิทัล 

9 มิ.ย. 2022

PEAK Account

2 min

เจ้าของกิจการทำงานง่ายขึ้น ด้วย Leceipt ระบบออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับใครที่กำลังทำธุรกิจและจะต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารประเภท e-Tax Invoice/e-Receipt ที่ต้องส่งให้ลูกค้าและกรมสรรพากรนั้น อาจจะกำลังมองหา solution ของระบบหรือแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ มาช่วยทำการออกเอกสารเหล่านี้ “Leceipt” ช่วยคุณได้ .โดยระบบ Leceipt นั้นคือ ระบบออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบเรียลไทม์ ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชั่น ซึ่งเป็นระบบที่ออกเอกสาร e-Tax Invoice/e-Receipt ในรูปแบบไฟล์ PDF (ส่งให้ลูกค้า) และ XML (ส่งให้สรรพากร) รวมถึงเอกสารทางธุรกิจในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์ PDF ซึ่งสามารถส่งเอกสารผ่านทางอีเมลและ SMS ได้ด้วย. รองรับประเภทเอกสาร e-Tax Invoice/e-Receipt ที่ระบบ Leceipt สามารถให้มีดังนี้ ✔ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ✔ ใบเสร็จรับเงิน ✔ ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี ✔ ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี ✔ ใบกำกับกับภาษี Leceipt นำข้อมูลใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี, ใบเสร็จรับเงิน รวมถึงใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จาก PEAK ไปจัดทำ e-Tax invoice & e-Receipt ในหน้าของ Leceipt และนำส่งไฟล์ XML ให้กรมสรรพากรทุกเดือน.สามารถดูวิธีการเชื่อมต่อ Leceipt เพิ่มเติมได้ โดย คลิก >>

12 พ.ค. 2022

PEAK Account

20 min

จัดการข้อมูลบัญชีแบบขั้นเทพ ด้วยเทคโนโลยี Big Data

ในโลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ทำให้ทุกธุรกิจจำเป็นให้ความสำคัญกับช้อมูล ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อจำกัดในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ลดลงหรือหมดไป การไหลมาของข้อมูล Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินธุรกิจในทุกๆ ด้าน งานบัญชีเป็นงานที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้มีความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น งานบัญชีเป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล การตัดสินใจของผู้ประกอบการจะอ้างอิงจากข้อมูลทางบัญชีเป็นส่วนใหญ่ ด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนธุรกิจ การจัดการข้อมูลบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ Big Data คืออะไร Big Data คือ ข้อมูลที่มีปริมาณที่ใหญ่มาก มีทั้งข้อมูลที่มีโครงสร้าง กึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง Big Data จะมีการเพิ่มขนาดของข้อมูลขึ้นไปเรื่อยๆ ดังนั้น การทำงานของ Big Data จึงต้องอาศัยเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถรองรับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซับซ้อนและหลากหลาย ลักษณะสำคัญของ Big Data Big Data เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ 4V ดังนี้ 1. ปริมาณ (Volume) หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่ผลิตและจัดเก็บมีขนาดใหญ่มากเพียงพอ  2. ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง ข้อมูลมีความหลากหลาย ทั้งประเภทตัวหนังสือ รูปภาพ ข้อมูลเสียงที่ถูกบันทึกไว้ในรูปแบบวิดีโอ หรือไฟล์ประเภทอื่น ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากแผนกต่างๆ ขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบุคคล ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น 3. ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ความเร็วในการประมวลผลข้อมูลให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูล Big Data เป็นข้อมูลในลักษณะ Real-time มีการประมวลผลอยู่ตลอดเวลาและเป็นข้อมูลที่มีความถี่ในการประมวลผลสูง  4. คุณภาพของข้อมูล (Veracity) หมายถึง คุณภาพของข้อมูลที่สามารถนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อได้ โดยการนำข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล นำไปเข้าสู่กระบวนการประมวลผล เช่น ข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างๆ ทางโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook, You Tube, Twitter  ซึ่งยากต่อการควบคุมคุณภาพและคัดกรองข้อมูล เข้าสู่กระบวนการทำ Data Cleansing (การทำความสะอาดข้อมูล หรือการทำข้อมูลให้สมบูรณ์) ขั้นตอนการทำงานของ Big Data  ขั้นตอนและกระบวนการทำงานของ Big Data มีดังนี้ 1. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง  2. การประมวลผลข้อมูล (Processing) เป็นการนำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์กัน หรือให้ผลลัพธ์ที่คล้ายกัน มาเปลี่ยนเป็นรูปแบบข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปประมวลผล 3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) หลังจากข้อมูลได้ถูกจัดกลุ่มและแยกประเภทแล้ว เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล เช่น การพยากรณ์ยอดขาย การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เป็นต้น การนำ Big Data มาใช้ในการจัดการข้อมูลทางบัญชี สำหรับวงการบัญชี มีการนำ Big Data มาใช้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้ 1. ด้านบัญชีบริหาร ในองค์กร การวิเคราะห์การจัดเก็บข้อมูล Big Data (Big Data Analytics) มีบุคลากร 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Data Engineer, Data Scientist และ Data Analyst โดยในเชิงบัญชีบริหาร นักบัญชีจะเกี่ยวข้องในการช่วยทำ Data Analyst ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ สรุปผลข้อมูลในเชิงลึก และยังรวมถึงการรวบรวมข้อมูลในวงกว้างในอุตสาหกรรมเดียวกันมาเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหาร  2. ด้านการสอบบัญชี ในวงการสอบบัญชี มีการนำ Big Data Analytics  มาใช้ใน Big 4 ซึ่งหมายถึง 4 บริษัทตรวจสอบบัญชีระดับโลก โดยการเปลี่ยนจากวิธี Audit Sampling  มาเป็นการตรวจสอบ 100% ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ 3. ด้านการตรวจสอบภาษี ในต่างประเทศมีการนำ Big Data Analytics มาใช้ในการตรวจสอบภาษี โดยใช้ประโยชน์ในการตรวจหาความผิดปกติของผู้เสียภาษี การคำนวณประมาณการในการจัดเก็บภาษีจากพื้นที่ต่างๆ การขยายฐานภาษีไปยังแหล่งใหม่ๆ ตลอดจนความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเงินได้ของผู้เสียภาษีกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก  ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการบัญชี 1. ช่วยธุรกิจในการรวบรวมข้อมูลทางบัญชีที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนให้สะดวกและง่ายขึ้น 2. ช่วยให้การประมวลผลข้อมูลทางบัญชี มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน 3. ช่วยให้กิจการประหยัดต้นทุนในการสรุปข้อมูลที่มีจำนวนมากให้กระชับตามลักษณะที่กิจการต้องการ สามารถจัดพิมพ์ในรูปแบบรายงานที่ต้องการ กิจการสามารถขยายการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้เมื่อปริมาณงานของกิจการเพิ่มขึ้น  4. ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีให้ผู้ประกอบการ รวมทั้งช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับข้อมูลทางธุรกิจได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น การจัดการข้อมูลทางบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีคลาวด์เป็นสิ่งที่ช่วยในการจัดการข้อมูลทางบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีคุณสมบัติที่ช่วยตอบโจทย์นักบัญชีในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี ดังนี้ 1. เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยนักบัญชีหรือผู้ประกอบการสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น PC, Notebook, Tablet หรือ Smartphone มีระบบการจัดการทางบัญชีที่ครบวงจร มีระบบการบันทึกบัญชีอัตโนมัติที่ทำงานแบบเรียลไทม์ โดยผู้ใช้งานสามารถทำงานพร้อมกันได้บนฐานข้อมูลเดียวกัน  2. เป็นโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีมีความสะดวก   คล่องตัว       ทำให้การจัดการบัญชีและภาษีเป็นไปอย่างง่ายดาย ลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน รวมทั้งผู้ใช้งานสามารถออกเอกสารทางบัญชี เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น โปรแกรมบัญชีคลาวด์ในปัจจุบันมีฟังก์ชันการใช้งานที่ง่าย แม้ผู้ประกอบการที่ไม่มีพื้นฐานทางบัญชี ก็สามารถจัดการบัญชีได้ด้วยตนเอง 3. เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้งานไม่ต้องลงทุนติดตั้งเซิร์ฟเวอร์                                                     โปรแกรมมีการอัปเดตให้โดยอัตโนมัติ กิจการไม่ต้องจ่ายซื้อซอฟต์แวร์เพื่ออัปเดตเวอร์ชันใหม่ จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์  4. เป็นโปรแกรมที่มีฟังก์ชันการทำงานครบถ้วนครอบ คลุมทุกระบบของธุรกิจ โปรแกรมคลาวด์ปัจจุบัน จะมีฟังก์ชันการทำงานที่ครบถ้วน ครอบคลุมการทำงานทุกระบบของธุรกิจ ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบจัดส่ง ระบบขาย ระบบซื้อ ระบบรับ-จ่าย เป็นต้น  5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน                                                                 โดยผู้ใช้งานสามารถปรับขยายพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งต่างจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้ 6. เป็นโปรแกรมที่มีการทำสำรองข้อมูล (Back up) โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีการทำสำรองข้อมูลทางบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยลดความเสี่ยงในการจัดเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพียงที่เดียว รวมทั้งลดความเสี่ยงจากข้อมูลสูญหายกรณีเกิดไฟฟ้าดับ เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือกรณีการโจมตีของมัลแวร์ที่มีโอกาสทำให้ข้อมูลสูญหายได้ทุกเมื่อ 7. มีระบบรักษาความปลอดภัยในการเช้าถึงข้อมูล โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีระบบรักษาความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล โดยมีการกำหนดรหัสผ่านและกำหนดผู้มีสิทธิใช้งาน ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างโปรแกรมบัญชีคลาวด์ ได้แก่ PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีความทันสมัย ด้วยฟีเจอร์เด่นๆ ดังต่อไปนี้ 1. ฟีเจอร์สำหรับนักบัญชี 2. ฟีเจอร์สำหรับเจ้าของกิจการ ทักษะนักบัญชีในการขับเคลื่อนข้อมูล อย่างไรก็ตามเพื่อให้จัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่กล่าวมาเกิดความมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือไปจากการเลือกใช้โปรแกรมออนไลน์ที่ดีแล้ว นักบัญชีควรเปิดใจรับและมองเทคโนโลยีเป็นโอกาสและพัฒนาทักษะที่จำเป็นควบคู่กันไปในโลกดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล อันได้แก่ ทักษะต่างๆดังต่อไปนี้ 1. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูล              โดยเฉพาะข้อมูลที่มีความหลากหลาย ไม่มีโครงสร้างรูปแบบตายตัว เพื่อนำมาใช้สนับสนุนในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจของผู้ประกอบการ นักบัญชีจำเป็นต้องพัฒนาทักษะขั้นสูงในการทำงานกับข้อมูล รวมทั้งทักษะในการระบุประเด็นสำคัญ การตั้งคำถาม การออกแบบและแปลผลการวิเคราะห์ให้เหมาะสม รวมทั้งการใช้เครื่องมือใหม่ๆ เพื่อจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการวางแผนกลยุทธ์  2. ทักษะความเข้าใจในบริบททางธุรกิจ                                                                         เป็นการพัฒนาทักษะความสามารถในการกลั่นกรองปัญหาทางธุรกิจ รวมทั้งความเข้าใจใน Data flow ของธุรกิจและความสัมพันธ์ของข้อมูลในบริบททางธุรกิจ 3. ทักษะในการสื่อสาร                                                                                              เป็นทักษะในการแปลข้อมูลเชิงลึกและสามารถสื่อสารไปยังผู้บริหารด้วยภาษาธุรกิจ และสามารถสื่อสารกับทีมงาน Big Data Analytics ได้แก่ Data Engineer และ Data Analyst  4. ทักษะทางด้านบัญชีและธุรกิจ                                                                                      นักบัญชีต้องมีความรู้ลึกในทักษะทางด้านการบัญชี และเข้าใจขอบเขตการดำเนินงานทางธุรกิจโดยถ่องแท้ 5. ทักษะในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ในองค์กรเข้าด้วยกัน                                           นักบัญชีต้องสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ในองค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ข้อมูล การะบวนการทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้สามารถผลิตข้อมูลเชิงลึก และนำเสนอทางออกที่เหมาะสมตรงตามความต้องการของผู้ใช้ นำไปสู่การขับเคลื่อนทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จขององค์กร 6. ทักษะในการพัฒนาการคิดอย่างสร้างสรรค์                                              โดยนักบัญชีควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)      7. ทักษะในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) 8. ทักษะเรื่อง Data Analytics                                                                                         เป็นทักษะในการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปนำเสนอเป็นรูปแบบของแผนภูมิหรือกราฟหรือวิดีโอ (Data Visualization)            PEAK โปรแกรมบัญชีอออนไลน์ ช่วยจัดการข้อมูลทางบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโนโลยีที่ทันสมัย ตอบโจทย์การทำงานของนักบัญชีในยุคดิจิทัล  อ้างอิง : Big Data Analytics | สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) (tfac.or.th) เทคโนโลยีกับการบัญชีในยุค 4.0 – สอบบัญชีธรรมนิติ(DAA) นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล | สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) (tfac.or.th)

12 พ.ค. 2022

PEAK Account

23 min

เคล็ดลับสร้างพันธมิตร เพิ่มโอกาสและข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

การทำธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง คู่แข่งทางธุรกิจมีจำนวนมาก การพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสารที่รวดเร็วทำให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่จึงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้คือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการมีพันธมิตรทางธุรกิจ  พันธมิตรทางธุรกิจคืออะไร พันธมิตรทางธุรกิจ คือ การร่วมมือขององค์กรธุรกิจตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป โดยมีการนำจุดแข็งของแต่ละองค์กรมารวมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน แสดงให้เห็นว่าแต่ละองค์กรมี      บรรทัดฐานในการดำเนินงานร่วมกัน มีความเกี่ยวพันกันโดยสมัครใจ แต่ละฝ่ายมีความคาดหวังว่าแต่ละฝ่ายจะมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน และมีความเข้าใจร่วมกันว่า การทำธุรกิจเพียงองค์กรเดียวยากที่จะประสบความสำเร็จด้วยข้อจำกัดในเรื่องความชำนาญ ค่าใช้จ่าย หรือ เวลา เป็นต้น รูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ รูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ 1. Loose market relationship หมายถึง พันธมิตรทางธุรกิจที่เกิดจากความร่วมมือทางการตลาดอย่างหลวมๆ เป็นรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจที่ไม่เป็นทางการ เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากการเอื้ออำนวยของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ ได้แก่รูปแบบพันธมิตรแบบเครือข่าย หรือ network 2. Contractual Relationship หมายถึง พันธมิตรทางธุรกิจที่มีลักษณะเป็นทางการ เกิดจากการทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรร่วมกัน มีการรวมตัวของธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้แก่ การจ้างผู้รับเหมาช่วง (Subcontracting) การให้สิทธิบัตร (Licensing) การให้สิทธิการเป็นผู้แทนจำหน่าย(Franchising) เป็นต้น  3. Formalized Ownership Relationship หมายถึง พันธมิตรที่มีการจัดการด้านความเป็นเจ้าของและความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ได้แก่ การร่วมทุน (Joint ventures) ซึ่งมีความเป็นทางการมากกว่าสองรูปแบบข้างต้น และมีการกำหนดสัดส่วนความเป็นเจ้าของทางธุรกิจ 4. Formal Integration หมายถึง พันธมิตรทางธุรกิจที่รวมตัวอย่างเป็นทางการ เป็นรูปแบบที่องค์กรธุรกิจตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปรวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยสมบูรณ์ ได้แก่ การควบรวมกิจการและการซื้อกิจการ  (Mergers & Acquisitions) นอกจากนี้ยังมีรูปแบบพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ช่วยสร้างจุดแข็งและข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ได้แก่ 1. พันธมิตรต้นน้ำ เป็นรูปแบบพันธมิตรที่มีการร่วมมือในกิจกรรมขั้นแรกของการดำเนินงาน ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา, การผลิต โดยอาศัยการแลกเปลี่ยน การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี ซึ่งใช้กับองค์กรที่ไม่สามารถลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเองได้โดยลำพัง โดยพันธมิตรต้นน้ำมี 3 รูปแบบดังนี้ 2. พันธมิตรปลายน้ำ เป็นรูปแบบพันธมิตรที่อาศัยข้อได้เปรียบทางการค้าหรือการตลาดของหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรร่วมกัน โดยใช้ระบบการกระจายสินค้า การพัฒนากิจกรรมในการขาย เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการทำตลาดใหม่ๆ เช่น มีการแบ่งกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ในการขายสินค้าหรือบริการร่วมกัน หรือการที่ไม่ต้องลงทุนในรูปแบบที่เป็นตัวเงินเพิ่ม เป็นต้น 3. พันธมิตรลำน้ำ เป็นรูปแบบพันธมิตรที่มีการรวมจุดแข็งของธุรกิจต้นน้ำกับจุดแข็งของธุรกิจปลายน้ำ เช่น การรวมตัวของหน่วยงานวิจัยขององค์กรหนึ่งกัยหน่วยงานขายของอีกองค์กรหนึ่ง เป็นต้น แนวทางการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน มีแนวทางดังนี้ 1. การวิเคราะห์แรงจูงใจในการสร้างพันธมิตร มีการพิจารณาปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างพันธมิตรดังต่อไปนี้ 1.1 ความไม่แน่นอนทางการตลาด (Uncertainty Market) แรงจูงใจในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เกิดจากความผันผวนของความต้องการซื้อ (Demand) และการแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจจะก่อให้เกิดการป้องกันความเสี่ยงในการแข่งขันทางด้านราคา (Price War) การมีวงจรอายุของสินค้าสั้นลง (Shorten Product Lift Cycle) เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 1.2 การประหยัดขนาดและขอบเขตในการดำเนินธุรกิจ (Economy of Scale and Scope) ในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ได้แก่ เงินทุน ทักษะทางการตลาดและเทคโนโลยี ที่จะก่อให้เกิดการประหยัดขนาดและขอบเขตการดำเนินงานที่ทำให้ต้นทุนลดลงและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.3 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันได้แก่ ทรัพยากรที่จับต้องได้ (Tangible Resources) ได้แก่ เงินทุน เครื่องจักร ช่องทางการจัดจำหน่าย โครงสร้างพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้(Intangible Resources) ได้แก่ ตราสินค้า (Brand Name) ภาพลักษณ์ของธุรกิจ (Corporate Image) การใช้สิทธิในการดำเนินการร่วมกัน (License) ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ (Business Connection) เป็นต้น 1.4 การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากพันธมิตร การแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ ความชำนาญและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักดันในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการอยู่รอดและเกิดการเติบโตทางธุรกิจ และก่อให้เกิดการผนึกกำลัง(Synergy) ร่วมมือกันในด้านความรู้ ทักษะ ความชำนาญและเทคโนโลยี  1.5 การลดการกีดกันทางการค้า ในการค้าระหว่างประเทศที่ต้องเผชิญกับการกีดกันทางการค้าในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของภาษีและไม่ใช่การเก็บภาษีที่จะทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจ 2. การเลือกจังหวะเวลาในการสร้างพันธมิตร การเลือกจังหวะเวลาที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการจัดตั้งพันธมิตรทางธุรกิจ ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมของพันธมิตร โดยปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกจังหวะเวลาในการจัดตั้งพันธมิตรทางธุรกิจ ได้แก่ 2.1 อำนาจการต่อรองขององค์กรที่จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตร โดยทั่วไปองค์กรควรเลือกเวลาในการจัดตั้งพันธมิตรในช่วงที่มีอำนาจการต่อรองสูง เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมจัดตั้งพันธมิตร 2.2 การจัดตั้งพันธมิตรในช่วงเวลาที่ไม่มีความแน่นอนทางการตลาด ในช่วงที่การประกอบธุรกิจขององค์กรเกิดการอิ่มตัว ตลาดเกิดความผันผวนและมีการแข่งขันในระดับสูง การจัดตั้งพันธมิตรในช่วงเวลาดังกล่าวจะช่วยรับมือกับความผันผวนและช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ 3. การสรรหาพันธมิตรทางธุรกิจ (Partner Search) ในการสรรหาคู่พันธมิตรทางธุรกิจ องค์กรควรพิจารณาคุณสมบัติของพันธมิตรที่ดี โดยมีลักษณะพื้นฐานดังต่อไปนี้ 3.1. คู่พันธมิตรที่สามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Goals) โดยคู่พันธมิตรจะต้องมีสิ่งที่องค์กรไม่มีและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร 3.2. คู่พันธมิตรที่มีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ในทิศทางเดียวกัน คู่พันธมิตรไม่ควรมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างรุนแรง มิฉะนั้นการร่วมงานกันจะเป็นไปได้ยาก 3.3. คู่พันธมิตรจะต้องไม่ฉกฉวยแสวงหาผลประโยชน์จากพันธมิตร เพื่อประโยชน์ของส่วนตนแต่ฝ่ายเดียว เนื่องจากกลยุทธ์ในการจัดตั้งพันธมิตรอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคู่พันธมิตรต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน 4. การวิเคราะห์ประเมินคู่พันธมิตร (Evaluate Screen) เป็นการวิเคราะห์ประเมินพันธมิตรที่ได้สรรหามาและทำการคัดเลือก โดยการวิเคราะห์ประเมินในด้านต่างๆ ได้แก่ 4.1 ความเหมาะสมกับองค์กร ก. ความสอดคล้องในเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fit) ทั้งวัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์ในระยะยาว และทิศทางกลยุทธ์ ข. ความสอดคล้องของทรัพยากร (Resource Fit) โดยพันธมิตรทางธุรกิจจะต้องมีความรู้ ความสามารถและทรัพยากรที่ก่อให้เกิดผลการผนึกกำลัง(Synergy Effect) ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร ค. ความสอดคล้องของวัฒนธรรม (Cultural Fit) เป็นเรื่องของการรับรู้และเข้าใจในวัฒนธรรม ค่านิยมของแต่ละฝ่าย สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้  ง. ความสอดคล้องขององค์กร (Organizational Fit) คู่พันธมิตรควรต้องมีระบบบริหารจัดการที่สอดคล้องกันได้แก่ ระบบการตัดสินใจ, กลไกการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น  4.2 การสอบทานธุรกิจของคู่พันธมิตร (Partner Due Diligence) เป็นการประเมินผลทรัพย์สิน หนี้สินของบริษัทและนำมาวิเคราะห์สถานะของกิจการที่เป็นคู่พันธมิตร เพื่อให้องค์กรทราบข้อมูลที่แท้จริงที่จะใช้ในการพิจารณาความเสี่ยงว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน 4.3 การประเมินความเสี่ยงในด้านต่างๆ ของคู่พันธมิตร ได้แก่ ความเสี่ยงในด้านชื่อเสียง, ทรัพยากร,การเงิน, กฎหมาย, การปฏิบัติการ, ความขัดแย้งทางผลประโยชน์(Conflict of Interest), การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น 4.4 การประเมินสถานภาพการแข่งขันในปัจจุบันของคู่พันธมิตร เป็นการวิเคราะห์สถานภาพในการแข่งขันของคู่พันธมิตร ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 สถานภาพ คือ ก. เป็นผู้นำในธุรกิจ ที่มีความชำนาญและความสามารถในการแข่งขันสูง ข. เป็นผู้ตามในธุรกิจ ที่มีความชำนาญและความสามารถในการแข่งขันน้อย ค. เป็นผู้นำในธุรกิจอื่น แต่ต้องการขยายฐานไปสู่อีกธุรกิจหนึ่งที่ไม่มีความชำนาญ ง. เป็นผู้ตามในธุรกิจอื่น แต่เห็นโอกาสในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่องค์กรขาดความรู้ความชำนาญ 5. การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือหรือการทำสัญญา ในการตัดสินใจร่วมจัดตั้งพันธมิตร องค์กรควรกำหนดให้มีขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อจัดทำข้อตกลงและสัญญาดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 5.1 การขอความเห็นชอบจากผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร ในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือหรือการทำสัญญา ก่อนอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร (Stakeholders) ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เป็นต้น ซึ่งโดยปกติกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีความคาดหวังจากองค์กรธุรกิจที่แตกต่างกันไป และการดำเนินการของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดคุณและโทษต่อองค์กร ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพิจารณาการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือหรือการทำสัญญาในการเข้าร่วมจัดตั้งพันธมิตร ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรด้วย เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยอมรับและให้การสนับสนุนซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการในการจัดตั้งพันธมิตรทางธุรกิจประสบความสำเร็จ 5.2 การจัดทำแผนธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินการในการเข้าร่วมจัดตั้งพันธมิตรมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน องค์กรควรจัดทำแผนธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ แผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน รวมทั้งความต้องการและการจัดสรรทรัพยากร 5.3 การจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding หรือ MOU) เมื่อมีการตกลงที่จะเป็นคู่พันธมิตรกัน จะมีการจัดทำ MOU เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจที่จะปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งและตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัดแต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนดังที่ได้ระบุไว้ 5.4 การทำสัญญา (Contract) ในกรณีที่กิจการประเมินว่าการสร้างพันธมิตรมีความเสี่ยงหรือข้อผูกมัดในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รายได้ ค่าใช้จ่าย ลูกค้า ควรทำสัญญาอย่างเป็นทางการโดยระบุเงื่อนไขของสัญญาความร่วมมืออย่างชัดเจน สำหรับประเด็นในการทำสัญญาควรครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก. รายละเอียดของงาน ขอบเขตความรับผิดชอบ  ข. ข้อตกลงการให้บริการ (Service Agreement) เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานการให้บริการขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัติภายใต้สถานการณ์ทั้งที่ปกติและไม่ปกติ ค. ค่าบริการ (ถ้ามี) ควรเป็นราคาค่าบริการที่อ้างอิงจากอัตราค่าบริการที่เรียกเก็บในท้องตลาดและมีความสมเหตุสมผล ง. อายุสัญญา ข้อกำหนด เงื่อนไขการยกเลิกสัญญา รวมทั้งสิทธิในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและต่ออายุสัญญา จ. ขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีที่เกิดปัญหา รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาตลอดจนการชดใช้ค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ฉ. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรักษาความลับ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ตลอดจนบทลงโทษที่ชัดเจน ช. เงื่อนไขอื่นๆ ตามความจำเป็น เช่น สถานที่ให้บริการ การประกันภัย เป็นต้น ตัวอย่างการสร้างพันธมิตร บริษัท พียูยูเอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด เป็น Start-up ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม PEAK ซึ่งเป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ปัจจุบันมีธุรกิจ SMEs ทั่วประเทศใช้งานกว่า 10,000 กิจการ และยังมีกว่า 1,000 สำนักงานบัญชีพันธมิตรและนักบัญชีอิสระ มียอดธุรกรรมในระบบกว่า 1,000,000 รายการ/เดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาท/เดือน เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถทำธุรกิจโดยใช้ข้อมูลมาตัดสินใจ ช่วยพัฒนาระบบที่ทำให้การทำงานธุรกิจเป็นอัตโนมัติ และจัดการข้อมูลธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสาร, บันทึกรับ-จ่าย, สต็อกสินค้า, บัญชี, การเงิน และภาษี ไปจนถึงการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจให้กับประเทศ  PEAK ได้รับการลงทุนจากพันธมิตรที่เป็นนักลงทุนชั้นนำระดับประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารออมสิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มบริษัทในเครือบริษัท ทรู คอร์เปอร์เรชั่น, M8VC รวมไปนักลงทุนอิสระอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชีได้อย่างมืออาชีพ จัดเก็บข้อมูลเป็นระบบถูกต้องและน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน!  คลิก อ้างอิง พันธมิตรทางธุรกิจ(Alliance) : ทางเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เพชรา บุดสีทา แนวปฏิบัติเรื่องการคัดเลือกพันธมิตรทางธุรกิจของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย “พันธมิตรทางธุรกิจ” ความได้เปรียบทางการค้าที่ยั่งยืน | Money We Can พันธมิตรทางธุรกิจ การสร้างความร่วมมือและความแตกต่าง (hmong.in.th) พันธมิตรทางธุรกิจคืออะไร? (netinbag.com) วิธีหาพันธมิตรทางธุรกิจแบบไหนที่ใช่เลย | บทความ | GlobalLinker Thailand

29 ม.ย. 2022

PEAK Account

19 min

Cyber Security เทคโนโลยีสร้างความปลอดภัยในยุค Digital Transformation

ในยุคที่ Digital Transformation  เข้ามามีบทบาทในหลายๆ ธุรกิจเป็นอย่างมากนั้น สิ่งสำคัญที่ทุกๆ กิจการควรมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ก็คือ เรื่องความปลอดภัยทางข้อมูล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบดิจิทัล เนื่องจาก Digital Transformation คือ การปรับตัวให้ธุรกิจหรือองค์กรสามารถดำเนินการท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนกิจการให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น  ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงจากการถูกโจมตีทางอินเทอร์เน็ตที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน Cyber Security คืออะไร? Cyber Security คือ เทคโนโลยีที่ช่วยปกป้องเครือข่าย อุปกรณ์ โปรแกรม  ตลอดจนข้อมูลจากการถูกโจมตีจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกิจการหรือวค์กรธุรกิจต่างๆ  ในการก้าวเข้าสู่ Digital Transformation เนื่องจากข้อมูลจำนวนมากที่ทางองค์กรเก็บรวบรวมไว้หากถูกขโมยเอาข้อมูลไป หรือถูกนำไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และข้อมูลทางธุรกิจอื่นๆ ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับกับองค์กรได้ ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องมี Cyber Security เพื่อให้การดำเนินงานมีความปลอดภัย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของ  Cyber Security  เนื่องจากกการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานมากขึ้น ตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แท็บเล็ตต่างๆ  ไปจนถึงการจัดเก็บข้อมูลพนักงาน และลูกค้าในระบบคลาวด์  ดังนั้นการกำหนดวิธีการปกป้องข้อมูลนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนมากขึ้น  อาทิ ความปลอดภัยในการซื้อของออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะต้องมีระบบการจัดการที่ดี ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลทางการเงินของลูกค้า ควรมีการทำให้ลูกค้าทราบว่าองค์กรใช้ข้อมูลของตนอย่างไร ซึ่งการได้ทราบว่าว่าธุรกิจของคุณมีระบบรักษาความปลอดภัยดิจิทัลที่แข็งแกร่งนั้น จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้ามากขึ้นได้ ภัยคุกคามคืออะไร ภัยคุกคาม (Threat) หมายถึง สิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคุณสมบัติของข้อมูลด้านใดด้านหนึ่งหรือ มากกว่าหนึ่ง การกระทําที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายนี้ เราจะเรียกว่าการโจมตี (Attack) ส่วนผู้ที่ทําให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เรียกว่า ผู้โจมตี (Attacker) หรือเรียกว่า แฮคเกอร์ (Hacker)) ภัยคุกคามที่จะสร้างปัญหาให้กับธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ Malware เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อโจมตีทางไซเบอร์ สามารถแพร่กระจายตัวเองจนสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้ เช่น ทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือขัดขวางการทำงานของระบบ รวมถึงการเปิดช่องให้ผู้โจมตีเข้าถึงเพื่อดำเนินการที่เป็นอันตรายอื่นๆ ได้ไม่จำกัด Ransomware เป็น Malware ประเภทหนึ่งที่ล็อกไฟล์ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายผ่านการเข้ารหัส เพื่อเรียกร้องเงินค่าไถ่จำนวนมากแลกกับการถอดรหัสและปลดล็อกไฟล์เหล่านั้น ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อข้อมูลขององค์กรอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องยากที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมา Phishing                เป็นการส่งอีเมลและข้อความไปหลอกลวงเหยื่อโดยปลอมแปลงเป็นองค์กรหรือเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง โดยมีเจตนาที่จะขโมยข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลแอปพลิเคชันสำคัญต่างๆ  เป็นต้น Advanced Persistent Threats (APTs) เป็นการโจมตีทางไซเบอร์แบบกำหนดเป้าหมายระยะยาวกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง โดยผู้โจมตีจะแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายและหลบหลีกการตรวจจับ  มักมีเป้าหมายเพื่อขโมยเงินหรือข้อมูลลูกค้า รวมทั้งการทำลายหรือขัดขวางระบบการทำงานขององค์กร Code Injection เป็นการส่งรหัสที่เป็นอันตรายไปยังระบบคอมพิวเตอร์และทำให้ระบบประมวลผลเรียกใช้รหัสนั้น จากนั้นจะใช้การแทรกโค้ดเพื่อเข้าควบคุมระบบต่างๆ เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือฐานข้อมูล และดำเนินการตามเป้าหมายที่ผู้โจมตีต้องการ Denial of Service (DDoS) เป็นการส่ง Traffic ปลอมจำนวนมากไปยังระบบคอมพิวเตอร์จนปริมาณการรับส่งข้อมูลเม ทำให้ผู้ใช้งานระบบที่มีสิทธิถูกต้องไม่สามารถเข้าถึงระบบการใช้งานได้ โดยผู้โจมตีสามารถทำให้ระบบช้าลงหรือหยุดทำงาน  ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กรนั้นๆ Bots and Automated Attacks เป็นการโจมตีทางไซเบอร์ที่ดำเนินการโดยระบบอัตโนมัติที่เรียกว่า Bot ซึ่งสามารถสแกนหาช่องโหว่ของระบบจากการพยายามคาดเดารหัสผ่าน ติดระบบด้วยมัลแวร์  ตลอดจนวิธีการอื่นๆ ที่อีกมากมาย ประเภท Cyber Security ปัจจุบันทคโนโลยี Cyber Security  ได้มีการพัฒนาขึ้นมาหลายประเภทด้วยกัน ดังนี้ Network Security หรือความปลอดภัยของเครือข่าย เป็นการปกป้องเครือข่าย หรือป้องกันการถูกโจมตีและการบุกรุก Internal Networks โดยไม่ได้รับอนุญาต โดย Network Security ช่วยให้ Internal Networks มีความปลอดภัย และป้องกันการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานภายใน ซึ่งมักจัดทำโดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายที่ใช้นโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่าน และการเข้าสู่ระบบที่คาดเดาได้ยาก ไฟร์วอลล์ การเข้ารหัส และซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส Application Security หรือความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน                เป็นหนึ่งในมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อจัดการกับภัยคุกคามภายนอกที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันจำเป็นต้องมีการอัปเดตและทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันจากการถูกโจมตีจากบุคคลอื่น การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ นี้ต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เข้ามาช่วยตรวจสอบว่าระบบแอปพลิเคชันมีความปลอดภัยแค่ไหน Cloud Security หรือความปลอดภัยบนคลาวด์ เป็นหนึ่งใน Cyber Security ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อตรวจสอบและปกป้องข้อมูลที่จัดเก็บในระบบคลาวด์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับผู้ใช้งานว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์จะมีความปลออดภัยเช่นเดียวกับการจัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ต่างๆ   Cloud Security ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับระบบ Cloud ทั้งแบบส่วนตัว สาธารณะ และ Multi Cloud รวมถึงการปกป้องแอปพลิเคชัน API และฐานข้อมูลด้วยจุดควบคุมเดียว นอกจากนี้ การกำหนดค่าคุณสมบัติความปลอดภัยโดยเฉพาะคุณสมบัติการแยกเครือข่าย เช่น Virtual Private Cloud (VPC) ต้องมีโซลูชัน Identity and Access Management (IAM) ที่แข็งแกร่ง เพื่อกำหนดบัญชีผู้ใช้ บทบาท และนโยบายควบคุมการเข้าถึงที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพ Data Security หรือความปลอดภัยของข้อมูล  ข้อมูลคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำ Digital Transformation เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะข้อมูลเป็นตัวบ่งบอกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และสามารถนำมาคาดการณ์ความเป็นไปในอนาคตได้ ดังนั้น การป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องให้สิทธิ์ในการเข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์เท่านั้น และป้องกันไม่ให้บุคคลที่สามเข้าถึงข้อมูลโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต Operational Security หรือความปลอดภัยของการดำเนินการ เป็นกระบวนการป้องกันข้อมูลที่ถือเป็นทรัพย์สินอีกอย่างหนึ่ง และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เช่น การกำหนดขอบเขตในการเข้าถึงเครือข่าย และกระบวนการในการระบุว่าข้อมูลควรถูกจัดเก็บไว้ที่ไหนและอย่างไรเพื่อความปลอดภัย ซึ่งต้องวางแผนกันตั้งแต่เริ่มต้น  เพื่อป้องกันการเข้ามาสร้างความเสียหาย เช่น การลอบดักฟังเพื่อมาล้วงข้อมูลต่าง ๆ กระบวนการนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีไว้เป็นอย่างมาก Machine Learning เทคโนโลยี Machine Learning คือ การวิเคราะห์และเปรียบเทียบเชิงบริบทโดยอ้างอิงจากการเรียนรู้ของเครื่องจักร เพื่อช่วยระบุพฤติกรรมทางไซเบอร์ที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย พร้อมจัดลำดับความสำคัญของการแจ้งเตือน จึงช่วยให้ทีมงานรักษาความปลอดภัยด้านไอทีทำงานได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น API Security                API Security ช่วยปกป้องและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเพียงการรับส่งข้อมูลที่ต้องการเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงปลายทาง API ของเราได้ เช่นเดียวกับการตรวจจับและบล็อกการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของผู้โจมตี ซึ่งปัจจุบันมีการนำเสนอโซลูชันการป้องกัน API ที่ไม่ต้องบำรุงรักษาและสามารถปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของ API ได้โดยอัตโนมัติ Advanced Bot Protection เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยวิเคราะห์ปริมาณการใช้ Bot เพื่อระบุความผิดปกติและพฤติกรรมของ Bot ที่ไม่ดี โดยตรวจสอบผ่านกลไกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการรับส่งข้อมูลของผู้ใช้หรือ Bot ที่ดี รวมทั้งช่วยคัดกรองการเข้าถึงที่ไม่พึงประสงค์ตามแหล่งที่มา ภูมิศาสตร์ รูปแบบ หรือ IP ที่ถูกขึ้นบัญชีดำออกจากระบบ File Security เป็นเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยของไฟล์สามารถระบุกิจกรรมของไฟล์ที่น่าสงสัยได้โดยอัตโนมัติ เช่น ไฟล์ที่แสดงถึงความพยายามในการขโมยข้อมูล การโจมตีของ Ransomware หรือแม้แต่ความผิดพลาดของผู้ใช้ที่ลบไฟล์โดยไม่ได้ตั้งใจหรือคัดลอกไฟล์ไปยังตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ File Security ยังช่วยตรวจสอบการเข้าถึงของผู้ใช้ทั้งหมดอย่างต่อเนื่องไปยังระบบจัดเก็บไฟล์ขององค์กร และเก็บบันทึกรายละเอียดของกิจกรรมการเข้าถึงไฟล์ทั้งหมด รวมถึงการกำหนดผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษด้วย Runtime Application Self-Protection (RASP) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถสแกนและตรวจสอบ Source Code ของแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับการโจมตีที่ใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนในโค้ด เช่น การแทรกโค้ดและการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่รู้จัก นอกจากนี้ ยังช่วยตรวจจับ Traffic และพฤติกรรมของผู้ใช้ หากพบปัญหาก็จะดำเนินการบล็อกคำขอของผู้ใช้และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านไอทีทันที เทคนิคสร้างความปลอดภัยความปลอดภัยทางไซเบอร์    เพื่อเป็นการปกป้องธุรกิจจากการโจมตีของผู้ไม่หวังดี  คววรมดูแลองค์กรให้มีความปลอดภัยทางไซเบอร์   ควรมีการเตรียมความพร้อมรับมือเป็นอย่างดี ซึ่งในบทความนี้มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากกัน การรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ต้องมีการควบคุมเป็นระบบ เพื่อให้การทำ Digital Transformation เดินหน้าต่อไปอย่างปลอดภัย โดยรวมแล้ว Cyber Security เป็นสิ่งจำเป็นในการควบคุม Computer Systems จากพฤติกรรมที่น่าสงสัย ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องง่าย ทั้งประชาชนทั่วไปและองค์กร ต่างใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น จึงเป็นช่องทางที่อาชญากรทางไซเบอร์สามารถเข้ามาสร้างความเสียหายได้ ดังนั้น Cyber Security จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ส่งผลให้องค์กรที่มีการทำ Digital Transformation เดินหน้าได้อย่างไม่มีสะดุด และรับมือได้ในทุกสถานการณ์ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก  อ้างอิง: Cyber Security เทคโนโลยี ที่องค์กร Digital Transformation ไม่ควรมองข้าม Cyber Security คืออะไร ทำไมทุกองค์กรที่อยากก้าวสู่ยุคดิจิทัลจึงควรใส่ใจ