บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>บัญชี

18 พ.ค. 2020

PEAK Account

5 min

วิธีคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์

สูตรการคิดค่าเสื่อมสินทรัพย์ของระบบ PEAK ค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)  เมื่อได้ตัวเลขค่าเสื่อมราคา/วัน จะนำ x จำนวนจำนวนวันของเดือน จะเป็นค่าเสื่อมราคาของเดือนๆนั้น ซึ่งตัวอย่างการคิดค่าเสื่อมทางทีมงานขอแบ่งเป็น 2 กรณีกรณีที่ 1 กรณีไม่มีค่าเสื่อมสะสมยกมากรณีที่ 2 กรณีมีค่าเสื่อมสะสมยกมา ตัวอย่างกรณีที่ 1 กรณีไม่มีค่าเสื่อมสะสมยกมา ซื้อคอมพิวเตอร์วันที่ 11/09/2019ราคา                                           36,000 บาทมูลค่าซากของสินทรัพย์                        1  บาทอายุการใช้งาน                                      5  ปี  สูตรค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)เมื่อแทนค่าในสูตร   = [ (36,000 – 0) – 1 ] / 1,827                              = 35,999 / 1,827∴ ค่าเสื่อมราคา/วัน  = 19.70 บาท/วัน (โดยประมาณ) ค่าเสื่อมราคาของเดือน 09/2019นำจำนวนวันของเดือนกันยายน 2019 x ค่าเสื่อมราคา/วันแทนค่าในสูตร  =  20 วัน (นับวันที่ 11/09/2019 –  30/09/2019) x 19.70                        =  394.08 บาท (โดยประมาณ) ค่าเสื่อมราคาของเดือน 10/2019นำจำนวนวันของเดือนตุลาคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วันแทนค่าในสูตร  =  31 วัน (นับวันที่ 01/10/2019 –  31/10/2019) x 19.70                        =  610.82 บาท (โดยประมาณ) ตัวอย่างกรณีที่ 2 กรณีมีค่าเสื่อมสะสมยกมา ซื้อคอมพิวเตอร์วันที่ 11/09/2019  ราคา                                           36,000 บาทมูลค่าซากของสินทรัพย์                        1  บาทอายุการใช้งาน                                      5  ปีค่าเสื่อมราคาสะสม                         5,000 บาทเริ่มให้ระบบ PEAK คิดค่าเสื่อมให้ตั้งแต่วันที่  01/01/2020ดังนั้นวันที่คงเหลือใช้งาน = 1,715 (คำนวณจากวันที่อายุใช้งานทั้ง 1,827 – วันที่ทำงานใช้ไป 112) สูตรค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)เมื่อแทนค่าในสูตร   = [ (36,000 – 5,000) – 1 ] / 1,715                              = 30,999 / 1,715∴ ค่าเสื่อมราคา/วัน   = 18.08 บาท/วัน (โดยประมาณ) ค่าเสื่อมราคาของเดือน 01/2020นำจำนวนวันของเดือนมกราคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วันแทนค่าในสูตร   =  31 วัน (นับจากวันที่ 01/01/2020 – 31/01/2020) x 18.08                        =  560.48 บาท (โดยประมาณ) ค่าเสื่อมราคาของเดือน 02/2020นำจำนวนวันของเดือนมกราคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วันแทนค่าในสูตร  =  29 วัน (นับจากวันที่ 01/02/2020 – 29/02/2020) x 18.08                        =  524.32 บาท (โดยประมาณ) หมายเหตุ: ตัวเลขอาจมีความคลาดเคลื่อนในส่วนของตำแหน่งทศนิยม เพราะระบบคำนวณโดยไม่มีการปัดเศษทศนิยม ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK

10 ก.พ. 2022

PEAK Account

6 min

ความแตกต่างระหว่าง เกณฑ์คงค้าง VS เกณฑ์เงินสด

เกณฑ์เงินสด เป็นการบันทึกบัญชีเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินสดจริง โดยไม่ได้คำนึงถึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีใด เรียกได้ว่ารายได้ตามเกณฑ์เงินสดนี้จะไม่รวมรายได้จากการขายเชื่อ หรือการให้บริการแล้วยังไม่ได้รับเงิน สำหรับค่าใช้จ่ายก็จะไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อเชื่อ หรือการรับบริการที่ยังไม่ได้จ่ายชำระเงิน กิจการจะไม่มีการบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายจนกว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินจริง ตัวอย่างเช่น เราจ่ายค่าเช่าบ้านปีละ 12,000 บาท ทันทีที่เราจ่ายเงินไปเราก็จะบันทึเป็นค่าเช่า 12,000 บาททันที โดยไม่ต้องสนใจว่า ค่าเช่าที่จ่ายไปนั้นสำหรับการเช่า 1 ปี ซึ่งบัญชีตามเกณฑ์เงินสดนั้น ราชการของไทยจะใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชี เกณฑ์คงค้าง เกณฑ์คงค้าง หรือ เราจะเรียกอีกชื่อว่าเกณฑ์สิทธินั้น คือ วิธีการทางบัญชีที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงวดต่าง ๆ โดยคำนึงถึงรายได้ที่พึงรับและค่าใช้จ่ายที่พึงจ่าย เพื่อให้แสดงผลการดำเนินงานของแต่ละงวดนั้นอย่างเหมาะสม โดยไม่ว่าได้รับเงินมาแล้วหรือจ่ายเงินไปแล้วหรือไม่ ดังนั้น ตามเกณฑ์คงค้าง รายได้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าหรือบริการแล้ว ไม่ว่ากิจการจะได้รับเงินแล้วหรือยังไม่ได้รับเงินก็ตาม เช่น การให้บริการแก่ลูกค้าแต่ยังไม่ได้รับเงิน การให้บริการนี้ก็จะต้องบันทึกเป็นรายได้ของกิจการถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม สำหรับค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์คงค้างค่าใช้จ่ายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการใช้ทรัพยากรหรือได้รับบริการจากบุคคลอื่นแล้ว ไม่ว่าจะจ่ายเงินแล้วหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างเช่น ค่าเช่าบ้านปีละ 12,000 บาท ทันที่เราจ่ายเงินออกไป เราจะต้องทยอยรับรู้ค่าเช่าทีละเดือน เช่น เดือนแรก เราจะบันทึกเป็นค่าเช่า 1,000 บาท และเงินจ่ายล่วงหน้าค่าเช่า 11,000 บาท ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้ทุกบริษัทต้องบันทึกบัญชีด้วยเกณฑ์คงค้าง ดังนั้นตามเกณฑ์คงค้าง ในวันสิ้นงวดจึงจะต้องมีการปรับปรุงบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีความถูกต้องตามเกณฑ์คงค้าง ซึ่งจะส่งผลต่อความถูกต้องของผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการด้วย ตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principles) นั้น กิจการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการค้าที่เป็นนิติบุคคลจะใช้เกณฑ์คงค้างในการบันทึกบัญชี ดังนั้นในวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ จึงจะต้องมีการปรับปรุงบัญชีที่บันทึกไว้ตามหลักการบัญชีทั่วไปให้เป็นไปตามเกณฑ์คงค้างด้วย จากตัวอย่างที่ยกมาคงทำให้หลายคนเห็นความแตกต่างของเกณฑ์คงค้าง กับเกณฑ์เงินสดได้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ เมื่อมีการบันทึกบัญชีตามหลักเกณฑ์ทั้ง 2 ประเภทนี้จะดำเนินการได้อย่างถูกต้องค่ะ PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีฟังก์ชันการทำงานที่การตอบโจทย์ มีระบบบันทึกบัญชี Accrual ได้อัตโนมัติ และรองรับด้วยระบบสร้างเอกสารล่วงหน้า (Recurring) ที่ทำให้นักบัญชีหรือผู้ประกอบการที่ต้องออกเอกสารเป็นประจำทุกเดือน มาทำรายการไว้ล่วงหน้า เช่น สำนักงานบัญชีที่มีค่าบริการบัญชีประจำ ธุรกิจให้เช่าพื้นที่มีสัญญาค่าเช่าต่อเดือนแน่นอน ธุรกิจรับเหมาที่แบ่งรับเงินออกเป็นงวด เป็นต้น ซึ่งรายการที่สร้างจะถูกบันทึกบัญชี และส่งอีเมลให้โดยอัตโนมัติ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่  blog.peakaccount.com/ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก

6 ก.พ. 2022

PEAK Account

32 min

ค่าเสื่อมราคา สะท้อนให้เห็นสิ่งใดในกิจการ

ค่าเสื่อมราคาเป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับนักบัญชี แต่สำหรับผู้ประกอบการ นักลงทุน หรือบุคคลทั่วไป คงจะเคยผ่านตาสำหรับคำว่า “ค่าเสื่อมราคา” ในการอ่านงบการเงินหรือรายงานทางการเงินต่างๆ มาบ้างแต่อาจจะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของค่าเสื่อมราคา หรือค่าเสื่อมราคาสะท้อนให้เห็นอะไรเกี่ยวกับกิจการ ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คือ ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป สินทรัพย์เหล่านี้ได้แก่สินทรัพย์ถาวร โดยส่วนใหญ่มีมูลค่าสูง ซึ่งกิจการต้องประมาณการอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์แต่ละรายการ เพื่อที่จะทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด สินทรัพย์ถาวร คืออะไร สินทรัพย์ถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีลักษณะถาวรโดยสภาพ โดยเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้ สินทรัพย์ถาวรแบ่งตามลักษณะสินทรัพย์ได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. สินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตน (Tangible Fixed Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีรูปร่าง สามารถมองเห็น สัมผัส จับต้องได้ กิจการมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงานและอายุการใช้งานนานหลายปี ได้แก่ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องตกแต่ง เป็นต้น 2. สินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตน (Intangible Fixed Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง           ไม่สามารถสัมผัส จับต้องได้ แต่สามารถวัดมูลค่าได้และให้ประโยชน์ในการดำเนินงาน แต่มีความไม่แน่นอนของประโยชน์ในอนาคตค่อนข้างสูง ได้แก่ ซอฟต์แวร์ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เป็นต้น เมื่อกิจการนำสินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่มาใช้ในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกิจการ มูลค่าของสินทรัพย์ย่อมลดลงจากวันที่ซื้อสินทรัพย์ มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานและลักษณะการใช้งาน ทำให้ประโยชน์และประสิทธิภาพการใช้งานลดลง กิจการจึงต้องเฉลี่ยมูลค่าราคาทุนของสินทรัพย์ตามอายุการใช้งาน เพื่อคำนวณมูลค่าที่เสื่อมลงของสินทรัพย์ถาวรในแต่ละงวดบัญชี โดยสินทรัพย์ถาวรที่นำมาคิดค่าเสื่อมราคาเป็นสินทรัพย์ประเภทที่มีตัวตน (Tangible Fixed Assets) ได้แก่ อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง ยานพาหนะ เป็นต้น โดยตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด  ยกเว้น ที่ดิน ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่ไม่หักค่าเสื่อมราคาเนื่องจากอายุการใช้ประโยชน์ของที่ดินไม่จำกัด และมูลค่าคงเหลือของที่ดินมีค่าเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าตามบัญชี โดยกิจการจะต้องทยอยบันทึกค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี ไม่สามารถบันทึกตัดเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน ณ ปีที่ซื้อสินทรัพย์ถาวรนั้น ข้อดีของการคิดค่าเสื่อมราคา คือ เป็นการปันส่วนต้นทุนของสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานอย่างเป็นระบบ และทำให้ตัวเลขกำไรขาดทุนมีความสมเหตุสมผล    ถ้ากิจการไม่ใช้การบันทึกค่าเสื่อมราคา เงินที่จ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวรจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในทันที ซึ่งจะส่งผลต่อตัวเลขกำไรขาดทุนของกิจการอย่างมีสาระสำคัญ ทำให้งบการเงินดูผิดปกติ โดยกิจการซึ่งมีกำไรมาตลอดแต่มาแสดงผลประกอบการเป็นขาดทุนอย่างมากในปีที่มีการซื้อเครื่องจักร ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา กิจการต้องรวบรวมข้อมูลพื้นฐานดังต่อไปนี้ 1. จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา (Depreciation Base) จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือมูลค่าอื่นที่ใช้แทนราคาทุน หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ ราคาทุนของสินทรัพย์ ประกอบด้วย ตัวอย่าง ต้นทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ก. ต้นทุนผลประโยชน์ของพนักงานที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการก่อสร้าง หรือการได้มาซึ่งที่ดินอาคารอุปกรณ์ ข. ต้นทุนการเตรียมสถานที่ ค. ต้นทุนการขนส่งเริ่มแรกและการเก็บรักษา ง. ต้นทุนการติดตั้งและการประกอบ จ. ต้นทุนในการทดสอบว่าสินทรัพย์นั้นสามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ หลังหักมูลค่าสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการขายรายการต่างๆ ที่ผลิตได้ในช่วงเตรียมความพร้อมของสินทรัพย์ เพื่อให้อยู่ในสถานที่และสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ (เช่น สินค้าที่ผลิตขึ้นในช่วงการทดสอบอุปกรณ์) ฉ ค่าธรรมเนียมวิชาชีพ ส่วนต้นทุนที่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุน ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ได้แก่ ก. ต้นทุนในการเปิดสถานประกอบการใหม่ ข. ต้นทุนในการแนะนำสินค้าหรือบริการใหม่ (รวมถึงต้นทุนในการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย) ค. ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในสถานที่ตั้งใหม่ หรือกลุ่มลูกค้าใหม่ (รวมทั้งต้นทุนในการฝึกอบรมพนักงาน) ง. ต้นทุนในการบริหารและค่าใช้จ่ายทั่วไป โดยสรุป ราคาทุน = ราคาซื้อ+ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการซื้อจนทำให้สินทรัพย์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามต้องการ ต้วอย่างที่1 ราคาทุน วันที่ 31 สิงหาคม 2564  กิจการจ่ายเงินซื้อเครื่องจักร เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท โดยได้รับส่วนลด 10% (เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท) และจ่ายค่าขนส่ง 200,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและทดลองการใช้เครื่อง 100,000 บาท ดังนั้นราคาทุนของเครื่องจักร=10,000,000-1,000,000+200,000+100,000 =9,300,000 บาท 2. อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ (Useful life) ในการกำหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ เจ้าของกิจการควรประเมินอายุการใช้งานจริงของสินทรัพย์ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ 2.1 Physical Factors คือ พิจารณาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยประเมินจากกำลังการผลิตหรือผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ ได้แก่ ชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร 2.2 Economic Factors คือ พิจารณาอายุประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยคำนึงถึงความล้าสมัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงการผลิต ซึ่งมีทั้งความล้าสมัยทางเทคนิคและความล้าสมัยทางพาณิชย์ เช่น กิจการมีแผนยกเลิกการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งเนื่องจากมีความล้าสมัย จึงมีแผนที่จะยกเลิกการใช้งานเครื่องจักรที่ผลิตสินค้าดังกล่าวในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งๆ ที่เครื่องจักรยังมีความสามารถในการผลิตอยู่ ในกรณีนี้อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์กำหนดจากความล้าสมัยทางพาณิชย์ 2.3 Other Factors คือ พิจารณาจากข้อกำหนดทางกฎหมายหรือข้อจำกัดอื่นๆ เช่น พิจารณาจากอายุสัญญาเช่าซึ่งถือเป็นข้อจำกัด อย่างกรณีการสร้างอาคารบนที่ดินที่เช่า ซึ่งอาคารมีอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ 20 ปี แต่สัญญาเช่าที่ดินมีอายุ 15 ปี กิจการก็ควรคิดค่าเสื่อมราคาอาคารจากอายุการใช้งานเพียง 15 ปีตามสัญญาเช่า 3.อัตราคำนวณค่าเสื่อมราคา (Depreciation Rate) ในทางบัญชีไม่ได้กำหนดอัตราการคำนวณค่าเสื่อมราคา แต่ใช้การประมาณการอายุการใช้งานให้เหมาะกับประเภททรัพย์สินดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2 แต่ในทางภาษี กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์การหักค่าเสื่อมราคาไว้ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ฉบับที่ 145 พ.ศ.2527 ซึ่งกำหนดให้กิจการหักค่าสึกหรอตามวิธีเส้นตรง ตามระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในอัตราของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สินดังต่อไปนี้ 1) อาคาร – อาคารถาวร     ร้อยละ 5 – อาคารชั่วคราว  ร้อยละ 100 2) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นไปได้ ร้อยละ 5 3) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิการเช่า – กรณีไม่มีหนังสือสัญญาเช่า หรือมีหนังสือสัญญาเช่าที่มีข้อกำหนด ให้ต่ออายุการเช่าได้ โดยเงื่อนไขในการต่ออายุนั้นเปิดโอกาสให้ต่ออายุการเช่ากันได้ต่อๆ ไป ร้อยละ 10 – กรณีมีหนังสือสัญญาเช่าที่ไม่มีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้หรือมีข้อกำหนดให้ต่ออายุการเช่าได้เพียงระยะเวลาอันจำกัดแน่นอน ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุ การเช่า และอายุที่ต่อได้รวมกัน 4) ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในกรรมวิธี สูตรกู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิประกอบกิจการตามใบอนุญาต สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น – กรณีไม่จำกัดอายุการใช้งาน ร้อยละ 10 – กรณีจำกัดอายุการใช้  ร้อยละ 100 หารด้วยจำนวนปีอายุการใช้ 5) ทรัพย์สินอื่นซึ่งโดยสภาพของทรัพย์สินนั้นสึกหรอ หรือเสื่อมราคาได้นอกจากที่ดินและสินค้า  ร้อยละ 20 6) เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนา ร้อยละ 40 สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 1-5 7) เครื่องบันทึกการเก็บเงินของผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม    7.1) หักจากมูลค่าต้นทุน ร้อยละ 100 7.2) หักในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา  ร้อยละ 40 สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 1-5 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งมีอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาไม่เท่ากันในแต่ละปีระหว่างอายุการใช้ทรัพย์สิน จะหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามวิธีนั้นในบางปีเกินอัตราที่กำหนดข้างต้นก็ได้ แต่จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 100 หารด้วยจำนวนร้อยละที่กำหนดข้างต้น      วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา สำหรับการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยทั่วไปมีด้วยกัน 4 วิธีดังนี้ 1 วิธีเส้นตรง (Straight-line Method) การคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรงมีข้อสมมติฐานที่ว่ากิจการจะได้รับผลประโยชน์จากการใช้สินทรัพย์ที่เท่ากันทุกๆ ปีตลอดอายุการใช้งาน ค่าเสื่อมราคาต่อปี= (ราคาทุน-ราคาซาก)/ อายุการใช้งาน  ตัวอย่างที่2      กิจการซื้อเครื่องจักร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ราคา 1,000,000 บาท จ่ายค่าติดตั้งและทดลองการใช้เครื่อง 50,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี                     เมื่อเลิกใช้เครื่องจักรคาดว่าจะขายเป็นเศษซากได้ในราคา 10,000 บาท                     ค่าเสื่อมราคาต่อปี=(1,000,000-50,000-10,000) / 5  = 188,000 บาท                    ระยะเวลาในการใช้งานในปี 2563 ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563 = 1 ปี                     ดังนั้นค่าเสื่อมราคาประจำปี 2563 = 188,000 บาท                                                                                                                                      ผลจากการคำนวณ ทำให้ค่าเสื่อมราคามีจำนวนคงที่ตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์หากมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์นั้นไม่เปลี่ยนแปลง 2. วิธียอดลดลงทวีคูณ (Double Declining Balance Method) เป็นการคำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรงต่อปีแล้วปรับเป็น 2 เท่า จากนั้นนำอัตรา 2 เท่าที่คำนวณได้ไปคำนวณค่าเสื่อมราคาสำหรับงวด โดยคำนวณจากราคาตามบัญชี (Book Value) ของสินทรัพย์ถาวรที่ลดลงทุกปี โดยไม่นำราคาซากมาเกี่ยวข้องกับการคำนวณ เป็นการคิดค่าเสื่อมราคาในปีแรกๆ ควรสูงกว่าในปีหลังๆ หรือเรียกว่าเป็นการคิดในอัตราเร่ง โดยหลักการคือ สินทรัพย์ถาวรที่ซื้อมาใหม่ย่อมมีประสิทธิภาพการใช้งานสูง ตัวอย่างที่ 3 กิจการซื้อเครื่องจักรเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ราคา 650,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี ประมาณราคาซากที่ราคา 50,000 บาท การคำนวณค่าเสื่อมราคา                               อัตราค่าเสื่อมราคาตามวิธีเส้นตรง = 100/5 = 20%                               สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคา     = 2*20% = 40%                                ตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา (บาท) ปีที่ ราคาตามบัญชี ณ วันต้นปี อัตราค่าเสื่อม ราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี ณ วันสิ้นปี 1 650,000 40% 260,000 260,000 390,000 2 390,000 40% 156,000 416,000 234,000 3 234,000 40% 93,600 509,600 140,400 4 140,400 40% 56,160 565,760 84,040 5 84,240   34,240 600,000 50,000 หมายเหตุ การคำนวณค่าเสื่อมราคาในปีที่5 คิดจากราคาตามบัญชีคงเหลือ-ราคาซาก = 84,240-50,000 = 34,240 บาท 3. วิธีผลรวมจำนวนปี (Sum of the Years’ Digits) วิธีนี้ถือจำนวนปีหรืออายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรเป็นเกณฑ์ โดยใช้ผลบวกรวมทั้งสิ้นในรูปเศษส่วนและจำนวนเศษส่วนจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ในการคำนวณค่าเสื่อมราคา เป็นการคิดค่าเสื่อมราคาแบบอัตราเร่งเช่นเดียวกับวิธียอดลดลงทวีคูณ โดยค่าเสื่อมราคาในปีแรกๆ จะสูงกว่าในปีหลังๆ การคำนวณค่าเสื่อมราคา ตัวอย่างที่ 4 กิจการซื้อรถยนต์ราคา 10,000,000 บาทเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ราคาซาก 1,000,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี การคำนวณค่าเสื่อมราคา (ก) ผลรวมจำนวนปี = 5*(5+1)/2 =15 (ข) ราคาทุน-ราคาซาก = 10,000,000-1,000,000 = 9,000,000 บาท            ตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา (บาท)                     ปีที่ ราคาทุน-ราคา ซาก อัตราค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี ณ วันสิ้นปี 1 9,000,000 5/15 3,000,000 3,000,000 7,000,000 2 9,000,000 4/15 2,400,000 5,400,000 4,600,000 3 9,000,000 3/15 1,800,000 7,200,000 2,800,000 4 9,000,000 2/15 1,200,000 9,400,000 1,600,000 5 9,000,000 1/15 600,000 10,000,000 1,000,000 หมายเหตุ ราคาตามบัญชีในปีที่ 5 เท่ากับราคาซากของรถยนต์ 1,000,000 บาท ผลจากการคำนวณ ทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลงตลอดอายุการใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์ 4 วิธีตามจำนวนผลผลิต (Productive-Output Method) หรือตามชั่วโมงการทำงาน (Working-Hours Method) วิธีนี้ใช้จำนวนหน่วยผลิตหรือจำนวนชั่วโมงการทำงานซึ่งเป็นสัดส่วนจริงในการใช้งานเป็นเกณฑ์ในการปันส่วน โดยมีสมมติฐานว่าสินทรัพย์มีการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน ผลจากการคำนวณ ทำให้ค่าเสื่อมราคาขึ้นอยู่กับประโยชน์หรือผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ ดังนั้นในปีที่มีการผลิตสินค้าจำนวนมากหรือมีชั่วโมงการทำงานสูง ค่าเสื่อมราคาก็จะสูงตามไปด้วย การคำนวณค่าเสื่อมราคา        n=ประมาณการจำนวนหน่วยผลิตหรือชั่วโมงการทำงานตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์     (ข) ค่าเสื่อมราคาประจำปี = จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละปี x อัตราค่าเสื่อมราคาต่อชั่วโมง(หน่วย) ตัวอย่างที่ 5 กิจการซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตสินค้า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 มูลค่า 2,000,000 บาท มีค่าขนส่ง ค่าติดตั้งและทดลองเครื่องรวม 200,000 บาท และประมาณราคาซากที่ราคา 500,000 บาท กิจการประมาณว่าเครื่องจักรนี้จะสามารถผลิตสินค้าได้ตลอดระยะเวลา 5 ปี โดยมีชั่วโมงการทำงานรวม 17,000 ชั่วโมง ในปีที่1 ผลิตสินค้าได้ 2,000 ชั่วโมง    ปีที่2 ผลิตสินค้าได้ 3,000 ชั่วโมง    ปีที่3 ผลิตสินค้าได้ 5,000 ชั่วโมง    ปีที่4 ผลิตสินค้าได้ 4,000 ชั่วโมง    ปีที่5 ผลิตสินค้าได้ 3,000 ชั่วโมง การคำนวณค่าเสื่อมราคา n=ประมาณการชั่วโมงการทำงานตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์                                                               = (2,000,000+200,000)-500,000/ 17,000                                                              = 100 บาทต่อชั่วโมง           (ข) ค่าเสื่อมราคาประจำปี = จำนวนชั่วโมงการทำงานในแต่ละปี x 100 บาทต่อชั่วโมง (หน่วย) ตารางการคำนวณค่าเสื่อมราคา (บาท)                             ปีที่ จำนวนชั่วโมงการ ผลิต อัตราค่าเสื่อมราคา  (บาทต่อชั่วโมง) ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคสะสม ราคาตามบัญชี ณ วันสิ้นปี 1 2,000 100 200,000 200,000     2,000,000 2 3,000 100 300,000 500,000 1,700,000 3 5,000 100 500,000 7,200,000 1,200,000 4 4,000 100 400,000 9,400,000 800,000 5 3,000 100 300,000 10,000,000 500,000 หมายเหตุ ราคาตามบัญชีในปีที่ 5 เท่ากับราคาซากของเครื่องจักร 500,000 บาท      ตัวเลขค่าเสื่อมราคาสะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง ในการวิเคราะห์งบการเงินของกิจการ ค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นรายการค่าใช้จ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุนที่สะท้อนให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนหรือผู้ใช้งบการเงินเห็นถึง 1. สำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ค่าเสื่อมราคาช่วยให้ทราบมูลค่าต้นทุนที่แท้จริงของอสังหาริมทรัพย์ว่าเป็นเท่าไร ควรตัดสินใจซื้อหรือเช่า ราคาที่ประกาศขายมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรตั้งราคาขายที่เท่าไร 2. สำหรับกิจการประเภทผลิตสินค้าหรือกิจการที่มีสินทรัพย์ถาวรจำนวนมาก ค่าเสื่อมราคามีผลต่อกำไรสุทธิของกิจการอย่างมีสาระสำคัญ เมื่อเทียบกับกิจการซื้อมาขายไปหรือกิจการบริการ 3. ในการวิเคราะห์งบการเงิน การใช้นโยบายวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของตัวเลขกำไรของบริษัท 4. การประเมินมูลค่าซากและอายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรของกิจการมีผลต่อกำไรของกิจการ ถ้ากิจการไม่สามารถประเมินได้อย่างเหมาะสม จะทำให้กำไรไม่สะท้อนความเป็นจริง เกิดความเข้าใจผิดสำหรับผู้ใช้งบการเงิน 5. กรณีกิจการมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา นักลงทุนหรือผู้ใช้งบการเงินควรวิเคราะห์สาเหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่ามีความสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงการคำนวณเพื่อต้องการแสดงผลกำไรสูงขึ้นกว่าปีก่อนหรือไม่ 6. ในการคำนวณกระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) คำนวณจากกำไรสุทธิของกิจการบวกกลับด้วยค่าเสื่อมราคา เนื่องจากค่าเสื่อมราคาถือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงกระแสเงินสดที่กิจการมีอยู่ที่เหลือจากการใช้จ่ายจากการดำเนินการซึ่งกิจการสามารถนำไปใช้ลงทุนต่อได้ 7 การคิดค่าเสื่อมราคาทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นตัวเงิน ทำให้กิจการมีเงินสดเหลือเพื่อนำไปลงทุนต่อได้หรือเป็นเงินสดสำรองของบริษัทไว้ใช้ปรับปรุงและพัฒนากิจการในด้านต่างๆต่อไป 8 ในการบันทึกบัญชีสินทรัพย์ถาวร เจ้าของกิจการไม่ควรนำสินทรัพย์ส่วนตัว เช่น บ้าน รถยนต์ มาบันทึกเป็นสินทรัพย์ของกิจการและตัดค่าเสื่อมราคา ที่จริงในทางบัญชีไม่มีประเด็นอะไร แต่ในทางภาษี ค่าเสื่อมราคาดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ การบันทึกบัญชีดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลตัวเลขผลประกอบการผิดพลาดเพราะไม่สะท้อนข้อเท็จจริงของธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการคำนวณค่าเสื่อมราคาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว PEAK มี New Feature ที่แสดงค่าเสื่อมราคาสะสมยกมายกมาและมูลค่าซากในรายงานสินทรัพย์ถาวรรายตัว ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มจำนวนรายการสินทรัพย์ถาวรให้รองรับสูงสุดถึง 4,000 รายการ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook อ้างอิง: วิธีคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์, PEAKACCOUNT,18 พฤษภาคม 2563 การคำนวณหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรและอุปกรณ์, ธรรมนิติ, 11 ธันวาคม 256 คู่มืออธิบายมาตรฐานทางบัญชีฉบับที่ 16, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 4 กุมภาพันธ์ 2562 Slide บทที่11 เรื่องที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ , ผ.ศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

27 ก.พ. 2022

PEAK Account

11 min

ทำความรู้จัก OCR เทคโนโลยีเพื่อนักบัญชี

ปัจจุบันโลกเข้าสู่ยุค Digital 4.0 เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่างๆ สื่อสารและทำงานได้โดยอัตโนมัติซึ่งมี ผลกระทบกับทุกภาคส่วน วงการบัญชีก็เช่นกัน ที่การพัฒนาของโปรแกรม บัญชีมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้นักบัญชีทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากเทคโนโลยีระบบ Cloud ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้วยังมีการนำเทคโนโลยี OCR มาใช้ในวงการซอฟต์แวร์บัญชี ซึ่ง OCR จะเข้ามาช่วยงานของนักบัญชีได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ OCR คืออะไร OCR หรือ Optical Character Recognition ภาษาไทยใช้คำว่า การอ่านอักขระด้วยแสง หมายถึงกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แปลข้อความที่อยู่ในภาพจากการเขียนหรือจากการพิมพ์ ไปเป็นข้อความที่สามารถแก้ไขได้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับภาพอาจทำโดยเครื่องสแกนเนอร์หรือ กล้องดิจิทัล OCR จึงเป็นระบบการทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการเปลี่ยนลายมือหรือเอกสารรูปภาพที่สแกนลายมือหรือ  เอกสารการพิมพ์ให้อยู่ในรูปรหัสตัวอักษรที่ระบบสามารถเข้าใจได้ หรือถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น เทคโนโลยี OCR เป็นกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรูปแบบ Analog เป็นข้อมูลในรูปแบบ Digital อย่างข้อมูลที่ลักษณะเป็น Code หรือ Serial Number ที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษร เทคโนโลยี OCR จะช่วยให้ผู้ใช้งานเก็บข้อมูลเหล่านี้ในรูปแบบดิจิทัลได้ โดยการประมวลผลจากรูปภาพและ ดึงข้อมูลตัวอักษรมาทำการจำแนกตัวอักษรเก็บไว้ในระบบ จากเดิมที่เมื่อต้องการใช้ข้อมูลจากเอกสาร ต้องใช้วิธีพิมพ์ข้อมูลตามเอกสารต้นฉบับ หลักการทำงานของOCR OCR มีกลไกในการทำงานที่ช่วยจำแนกตัวหนังสือหรือตัวอักษรที่มีรูปแบบของ Font แตกต่างกัน ออกไป ดังต่อไปนี้ 1. Pattern Recognition เป็นการตรวจจับตัวอักษรในภาพรวม ระบบสามารถจำแนกตัวอักษรที่เขียนด้วย Font ต่างกัน เช่น  อักษร ก ระบบเพียงแค่เปรียบเทียบรูปที่ถูกสแกนเข้ามากับตัวอักษร ก ที่ถูกเก็บไว้ในระบบ เมื่อตัวอักษรถูกเปรียบเทียบและ Matching กัน ระบบจะระบุได้ว่าตัวอักษรนี้คือตัวอักษร ก 2. Feature Detection หรือที่เรียกว่า ICR (Intelligence Character Recognition) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจำแนกตัวอักษร ในข้อความได้อย่างละเอียด รวมถึงข้อความที่เป็นการเขียนด้วยลายมือ ระบบก็สามารถจำแนกได้ เช่น ระบบจะจดจำตัวอักษรจากความตรงและความลาดเอียงของเส้นตัวอักษร อย่างตัวอักษร A ระบบจะจดจำตัวอักษรใดก็ตามที่มีลักษณะเป็นเส้นเฉียง 2 เส้นและคั่นด้วยเส้นแนวนอน เมื่อมีการอ่านตัวอักษรลักษณะดังกล่าว ระบบก็จะจำแนกได้ว่าลักษณะตัวอักษรที่เป็นไปตามเกณฑ์นี้ คือตัวอักษร A เป็นต้น เทคโนโลยี OCR ช่วยนักบัญชีในยุคดิจิทัลได้อย่างไร เทคโนโลยี OCR ถูกนำมาใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 ในกิจการไปรษณีย์และสื่อสิ่งพิมพ์ จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนา OCR ในรูปแบบของโปรแกรมที่เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่เป็น   ระบบ Cloud อย่างโปรแกรม PEAK เป็น Cloud Accounting Software ซึ่งเชื่อมต่อข้อมูลที่บันทึกไว้ จากการที่ OCR แปลงไฟล์รูปภาพที่เป็นเอกสารให้เป็นตัวเลขและตัวอักษร นำไปบันทึกบัญชีได้โดย อัตโนมัติ ดังรูปที่1 ข้อดีของ เทคโนโลยี OCR เทคโนโลยี OCR มีข้อดีหลายประการที่จะช่วยนักบัญชีในยุคดิจิทัลดังนี้ 1. ช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกบัญชี เทคโนโลยี OCR ช่วยแปลงข้อความในรูปภาพให้เป็นข้อมูลและบันทึกไว้ในระบบโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น ภาพถ่ายของใบเสร็จรับเงินจาก Smartphone ในรูปที่2 ระบบ OCR จะช่วยแปลงภาพและแยกข้อมูลสำคัญออกเป็นส่วนๆ ได้แก่ ชื่อผู้ขาย (Vendor) วันที่ (Date) วิธีการจ่ายเงิน (Payment) และจำนวนเงิน (Total) เป็นต้น จากนั้นระบบจะเชื่อมต่อข้อมูล ไปบันทึกบัญชีอัตโนมัติในโปรแกรมบัญชี ส่วนข้อมูลทางบัญชีที่ได้จากวิธีอื่นก็จะถูกแปลงเป็น ข้อมูลในลักษณะเดียวกันเพื่อนำไปบันทึกบัญชีต่อโดยอัตโนมัติ 2. ช่วยประหยัดเวลาในการทำงานของนักบัญชี เทคโนโลยี OCR ช่วยประหยัดเวลาในการบันทึกบัญชีได้ถึง 75% (อ้างอิงจากบทความ พัฒนาการของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่น่าจับตามอง, นางสาวศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการวางระบบบัญชี, Newsletter Issue65, May2018, สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์  ) เมื่อนักบัญชีใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลที่ OCR แปลงจากไฟล์รูปภาพเป็น ข้อความเก็บไว้ ระบบจะดึงข้อมูลที่บันทึกไว้ดังกล่าวมาบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ โดยที่นักบัญชี ไม่ต้องบันทึกบัญชีซ้ำอีก สำหรับรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดได้ล่วงหน้า ว่าจะบันทึกด้วยรหัสบัญชีใด นอกจากนี้การค้นหาเอกสารยังทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ลดปัญหา เอกสารสูญหายอีกด้วย 3. ช่วยพัฒนาการทำงานของนักบัญชี การทำงานของนักบัญชี ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกบัญชีที่มีปริมาณมากและมีความซ้ำซ้อน เมื่อมีการนำเทคโนโลยี OCR มาใช้ นอกจากจะช่วยลดเวลาและขั้นตอนในการทำงานของนักบัญชี ที่ต้องจัดการกับเอกสารกองโตแล้ว นักบัญชียังสามารถใช้เวลาที่เหลือไปทำงานสำคัญในการ วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านบัญชี เพื่อการวางแผนทางด้านการเงินสำหรับผู้บริหาร เป็นการพัฒนา การทำงานไปสู่การเป็นนักบัญชีบริหารได้ 4. ลดการใช้กระดาษ OCR เป็นเทคโนโลยีที่สามารถแปลงภาพให้เป็นข้อมูล เมื่อผู้ใช้งานต้องการเรียกดูข้อมูลที่ถูกบันทึก ไว้ในระบบ ก็สามารถเรียกดูได้โดยไม่ต้องพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษ เป็นการลดการใช้กระดาษ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงานแล้วยังเป็นการปรับกระบวนการทำงานของนักบัญชีให้เข้าสู่ระบบ Paperless Accounting (งานเอกสารทางบัญชีแบบไร้กระดาษ) ในอนาคต OCR ช่วยให้การทำงานของนักบัญชีง่ายขึ้น โปรแกรมบัญชีPEAK ใช้เทคโนโลยีOCR ช่วยอ่านข้อมูลจากเอกสารทางบัญชี เพียงอัปโหลดรูปก็สามารถบันทึกบัญชีได้  ตัดปัญหาเรื่องเอกสารหาย หาใบเสร็จไม่เจอ ช่วยรองรับการเติบโตของธุรกิจ ฟีเจอร์นี้เหมาะกับธุรกิจ SMEs ที่ใช้บริการร่วมกับสำนักงานบัญชีและธุรกิจSMEs ที่ต้องการจัดเอกสาร ให้มีความเป็น ระบบระเบียบ เพียงอัปโหลดรูป นักบัญชีก็สามารถเข้าไปทำบัญชีและภาษีได้โดยไม่ต้องกลัว เอกสารหาย PEAK ได้พัฒนาฟีเจอร์ที่เชื่อมต่อกันกับ Application LINEช่วยให้นำเข้าไฟล์รูปภาพ ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ตามลิงก์นี้ PEAKยังมีระบบใหม่ ที่พัฒนาลงในApplication LINE ซึ่งรองรับการออกเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย มีระบบตอบกลับเป็นหน้าลิงก์เอกสารที่ส่งให้คู่ค้าได้ทันที พร้อมทั้งลงบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีลดต้นทุนในการเก็บเอกสาร ลดเวลาในการทำงานและ ช่วยให้จัดทำบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: ACS-62-04-038.pdf (tfac.or.th)  เทคโนโลยี OCR คืออะไร และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร? – AI GEN (aigencorp.com)

11 ก.พ. 2022

PEAK Account

18 min

กลยุทธ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือ

การตรวจนับสินค้าคงเหลือหรือการนับสต็อกสินค้า เป็นสิ่งที่นักบัญชีส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี กิจการที่มีการนับสต็อกหรือตรวจเช็ก สินค้าอย่างสม่ำเสมอ จะลดปัญหาความผิดพลาดในเรื่องปริมาณสินค้าคงเหลือ ทำให้ตัวเลขในงบการเงินมีความถูกต้อง ลดความเสี่ยงที่จะถูกกรมสรรพากรตรวจสอบและเสียภาษีเพิ่มเติมได้ ทำอย่างไรกิจการจะตรวจนับสินค้าคงเหลือให้มีความแม่นยำถูกต้อง บทความนี้มีคำตอบ ในการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจวิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือก่อน เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมในการบันทึกบัญชีให้เหมาะสมกับลักษณะและปริมาณสินค้าของกิจการแต่ละประเภท วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือ                            วิธีการบันทึกบัญชีของสินค้าคงเหลือ มีด้วยกัน 2 ระบบดังนี้ วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method) เป็นวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวของสินค้า ทำให้ยอดสินค้าคงเหลือ  อัปเดตเป็นปัจจุบันตลอดเวลา โดยกิจการจะบันทีกรายการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าคงเหลือ ได้แก่ รายการซื้อ ขาย ส่งคืน รับคืนสินค้า ไว้ในบัญชีสินค้าคงเหลือ และบันทึกราคาทุนของสินค้าที่ขายไว้ในบัญชีต้นทุนขาย วิธีนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขายส่ง ธุรกิจที่ต้องการทราบยอดเคลื่อนไหวของสินค้าตลอดเวลา ธุรกิจที่มีต้นทุนสินค้าราคาแพง หรือธุรกิจที่ขายสินค้าที่มีปริมาณขายไม่สูงมากแต่ราคาขายต่อหน่วยสูงและคำนวณต้นทุนต่อหน่วยได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ บ้าน เป็นต้น วิธีบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) เป็นวิธีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือเมื่อถึงสิ้นงวด โดยไม่มีการบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือในระหว่างงวด โดยเมื่อมีการซื้อสินค้าจะบันทึกที่บัญชีซื้อและไม่บันทึกบัญชีต้นทุนขายทุกครั้งที่มีการขาย กิจการสามารถทราบจำนวนสินค้าคงเหลือ ณ เวลาปัจจุบันได้จากการตรวจนับสินค้า ซึ่งกิจการโดยส่วนใหญ่จะทำการตรวจนับ ณ วันสิ้นงวดบัญชี และสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไปต้นทุนขายคำนวณจากผลต่างของสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย (เท่ากับสินค้าต้นงวดบวกซื้อ) กับสินค้าคงเหลือปลายงวด วิธีนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลายชนิด มีราคาขายต่อหน่วยไม่สูงมากแต่ปริมาณการขายในแต่ละวันมีจำนวนมากและมีความถี่ในการขายบ่อยครั้ง เช่น ร้านค้าปลีก ร้านขายยา ร้านเครื่องเขียน ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกต่อการทำงานของนักบัญชีเพราะไม่ต้องบันทึกรายการ ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า และช่วยประหยัดเวลาในการบริหารจัดการสินค้าคงเหลือของกิจการ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้สต็อกการ์ดหรือรายงานสินค้าคงเหลือมาเป็นตัวช่วยบันทึกการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือในระหว่างงวดได้ การตรวจนับสินค้าคงเหลือจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะกิจการที่ใช้การบันทึกบัญชีสินค้าคงเหลือแบบ Periodic ซึ่งการตรวจนับสินค้าจะทำให้ทราบจำนวนสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดและนำไปใช้คำนวณต้นทุนขายของสินค้าได้อย่างถูกต้อง กิจการส่วนใหญ่ใช้วิธีตรวจนับสินค้าปีละครั้ง แต่ก็มีบางกิจการที่นอกจากจะมีการตรวจนับสินค้าทุกสิ้นงวดแล้ว ยังมีการตรวจนับเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เป็นต้น ประเภทของการตรวจนับสินค้าคงเหลือ โดยทั่วไปการตรวจนับสินค้าคงเหลือมีด้วยกัน 2 ประเภทดังนี้ Physical Count (การตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งหมดในครั้งเดียว) ปกติกิจการส่วนใหญ่จะใช้วิธีการนับสต็อกแบบนี้คือตรวจนับปีละครั้ง โดยกิจการจะมีการหยุดการรับ-จ่ายสินค้าในวันที่ทำการตรวจนับ มีการกำหนดแผนการตรวจนับและวันที่ทำการตรวจนับอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่ในการตรวจนับจะเกิดผลต่างระหว่างปริมาณสินค้าที่ตรวจนับได้จริงกับปริมาณสินค้าที่บันทึกบัญชี ณ วันที่ตรวจนับ กิจการต้องหาสาเหตุของผลต่างดังกล่าวและดำเนินการปรับปรุงรายการสินค้าให้ถูกต้อง Cycle Count (การตรวจนับแบบวนรอบ) เป็นการนับสต็อกสินค้าเป็นรอบ เป็นการนับสินค้าบางส่วนอย่างต่อเนื่องหรือนับบ่อยๆ แทนที่จะนับครั้งเดียวตอนสิ้นปี มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้กิจการไม่ต้องนับสินค้าภายในช่วงสิ้นงวดครั้งเดียว ซึ่งทำให้ต้องหยุดกิจการเพื่อนับสต๊อก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น โดยก่อนจะวางแผนรอบการนับสินค้า จะมีการแบ่งประเภทสินค้าที่จะนับก่อน เทคนิคในการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือให้มีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรกำหนดแนวทางหรือกลยุทธ์ในการตรวจนับตามประเภทของการตรวจนับสินค้าดังนี้ 1. การตรวจนับสินค้าคงเหลือสิ้นงวด (Physical Count) ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือสิ้นงวดซึ่งเป็นการตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งหมดในครั้งเดียว ปกติกิจการส่วนใหญ่จะจัดให้มีการตรวจนับสินค้าปีละครั้ง กิจการควรวางแผนและกำหนดวิธีการตรวจนับตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ก. การวางแผนการตรวจนับให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทของกิจการและทุกสถานที่ที่ทำการจัดเก็บ กรณีกิจการซื้อมาขายไป ถ้ามีการจัดเก็บสินค้าไว้หลายแห่งหรือหลายสาขา ควรวางแผนการตรวจนับให้ครอบคลุมสินค้าทุกประเภทที่ถูกจัดเก็บไว้ทุกแห่งให้ครบถ้วน      กรณีกิจการผลิต มีสินค้าคงเหลือ 3  ประเภท ได้แก่ วัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่ง      กิจการต้องวางแผนการตรวจนับให้ครบทุกขั้นตอนการผลิตและครอบคลุมสินค้าที่ยังค้างอยู่ใน      กระบวนการผลิตทั้งหมด โดยในวันที่ทำการตรวจนับ กิจการควรหยุดทำการผลิตสินค้า เพื่อให้      กระบวนการผลิตหยุดนิ่ง จะได้ไม่เกิดการคลาดเคลื่อนและความผิดพลาดในการตรวจนับ      ข. การกำหนดวันเวลาในการตรวจนับ      ค. การจัดเตรียมสินค้าให้ง่ายต่อการตรวจนับ โดยการจัดเรียงสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ มีแถบป้ายของสินค้าที่ระบุรหัสสินค้าและชื่อสินค้าอย่างชัดเจน      ง. การกำหนดบุคลากรในการตรวจนับ ควรกำหนดจำนวนบุคลากรที่เพียงพอต่อปริมาณสินค้าที่ทำ      การตรวจนับ  ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมตรวจนับ ตลอดจนควรกำหนดให้บุคลากรที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลและผู้สอบบัญชีของกิจการเข้าร่วมสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าด้วย 1.2. การดำเนินการขณะตรวจนับสินค้า        ในการตรวจนับให้พิจารณาสินค้าด้วยว่ามีสภาพสมบูรณ์หรือไม่ หากพบว่ามีสินค้าที่เสื่อมสภาพ หมดอายุ หรือชำรุดเสียหาย ให้แยกสินค้าเหล่านั้นออกมา 1.3. การปรับปรุงผลต่างหลังการตรวจนับสินค้าคงเหลือ       หลังจากตรวจนับเมื่อพบว่ามีผลต่างจากการนับสินค้ากับรายการสินค้าตามรายงานสินค้าคงเหลือ       กิจการควรดำเนินการดังนี้       ตรวจนับผิดพลาด สินค้าสูญหาย หรือการบันทึกรายการซื้อ รายการขายไม่ครบถ้วน เป็นต้น       ข. เมื่อพบสาเหตุของผลต่าง กิจการควรทำการปรับปรุงรายการ ดังนี้ 2. การตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบวนรอบ (Cycle Count)     ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบวนรอบ มีเทคนิคในการตรวจนับอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้ 2.1. การกำหนดกลุ่มสินค้าแบบ ABC      ในการนับสินค้าแบบวนรอบเป็นการนับสินค้าเพียงบางส่วนเป็นรอบ กิจการจะต้องกำหนดว่าจะนับ      สินค้าใดก่อน โดยแบ่งประเภทสินค้าตามความสำคัญของสินค้า โดยใช้หลักการ ABC ของ Pareto      ดังนี้      สินค้ากลุ่ม A หมายถึง สินค้าที่ทำยอดขายหลักให้แก่กิจการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีไม่กี่รายการ      สินค้ากลุ่ม B หมายถึง สินค้าที่ทำยอดขายให้แก่กิจการในระดับปานกลาง และมีจำนวนรายการปานกลาง      สินค้ากลุ่ม C หมายถึง สินค้าที่ทำยอดขายให้แก่กิจการได้น้อยหรือยอดขายเป็นศูนย์ ส่วนใหญ่เป็น      สินค้าที่มีจำนวนมาก เช่น 50-60% ของปริมาณสินค้าทั้งหมด 2.2. กำหนดเวลาในการนับสำหรับสินค้าแต่ละกลุ่ม ABC       กำหนดช่วงเวลาในการนับสินค้า ABC โดยกำหนดนับ       สินค้ากลุ่ม A ซึ่งทำยอดขายให้แก่กิจการมากที่สุด ทุก  1 เดือน   สินค้ากลุ่ม C ทุก 6 เดือน       สินค้ากลุ่ม B ทุก 3 เดือน 2.3. การตรวจนับสินค้าที่มียอดคงเหลือในรายงานสินค้าคงเหลือเป็นศูนย์ หรือมียอดคงเหลือติดลบ 2.4. ก่อนเริ่มนับสต็อก ควรให้มีการเคลื่อนไหวเข้าออกของสินค้าน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการโอนสินค้าเข้าคลังหรือการจัดทำใบสั่งซื้อสินค้า กิจการอาจจัดให้มีพนักงาน 2 คน โดยคนหนึ่งนับสินค้าจริง อีกคนหนึ่งดูความเคลื่อนไหวของสินค้าในระบบแล้วนำข้อมูลที่ได้มากระทบยอดเปรียบเทียบกัน 2.5. หลังจากการตรวจนับ ถ้าพบว่าตัวเลขจากการตรวจนับสินค้าจริงไม่ตรงกับตัวเลขสินค้าในระบบ ให้ทำการปรับปรุงให้ตรงกัน และควรมีการหมั่นตรวจสอบจำนวนสินค้าจริงกับตัวเลขสินค้าในระบบเป็นประจำ เมื่อกิจการกำหนดกลยุทธ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือดังที่กล่าวมาข้างต้น กิจการจะได้รับประโยชน์หลายประการ ประโยชน์จากการกำหนดกลยุทธ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือที่มีประสิทธิภาพ ช่วยในการบริหารสินค้าคงคลังของกิจการ เทคนิคการตรวจนับสินค้าคงเหลือที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ตัวเลขสินค้ามีความถูกต้อง ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลสินค้าคงเหลือไปใช้ในการวิเคราะห์อัตราการหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover Ratio) โดยอัตราการหมุนเวียนของสินค้าเป็นการวัดจำนวนครั้งในการขายสินค้าในรอบระยะเวลา 1 ปีซึ่งสามารถนำมาใช้ในการวางแผนกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้า  ด้วยการสั่งซื้อสินค้าที่ทำกำไรให้แก่กิจการมากขึ้นและกำหนดให้มีสินค้าดังกล่าวไว้ในคลังให้มากที่สุด กิจการสามารถควบคุมต้นทุนได้ และมีสินค้าขายเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า การตรวจนับสินค้าที่มีประสิทธิภาพทำให้กิจการควบคุมต้นทุนสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ สามารถจัดหาสินค้าได้เพียงพอและตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้กิจการมีผลประกอบการที่ดี กิจการทราบข้อมูลสินค้าหมดอายุ สินค้าชำรุดเสื่อมสภาพ สินค้าสูญหาย การตรวจนับสินค้าทำให้กิจการทราบข้อมูลสินค้าหมดอายุ สินค้าชำรุดเสื่อมสภาพ สินค้าสูญหาย  เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อลดการสูญเสีย การป้องกันการทุจริตและโจรกรรม ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน!

5 ก.พ. 2022

PEAK Account

21 min

การตลาดเพื่องานบัญชี เสริมความแข็งแกร่งธุรกิจ

ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง การตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ ซึ่งนักบัญชีกับการตลาดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร การตลาดมีความสำคัญกับนักบัญชีหรือไม่ มาตามดูกันในบทความนี้ นักบัญชีกับการตลาดเกี่ยวข้องกันอย่างไร นักบัญชีกับการตลาดมีความเกี่ยวข้องกัน ในที่นี้จะขออธิบายความเกี่ยวข้องของการตลาดกับนักบัญชีเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ความเกี่ยวข้องของการตลาดกับนักบัญชีในองค์กรและสำนักงานบัญชี ดังนี้ สำหรับนักบัญชีในองค์กร ผู้ประกอบการต้องตั้งเป้าหมายและวางแผนการตลาด ซึ่งการวางแผนการตลาดที่ดี ควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลลัพธ์ได้ ทำได้จริงภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มยอดขายของกิจการ 10% เป็นต้น นักบัญชีขององค์กรจึงมีบทบาทในการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการดังนี้ 1. แนวทางการเติบโตของธุรกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับยอดขาย โดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการทำกำไรของสินค้าแต่ละประเภท นอกจากนี้ผู้ประกอบการมักจะให้ความสำคัญกับยอดขายของสินค้าที่ขายดี ซึ่งไม่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด นักบัญชีสามารถให้คำแนะนำแก่เจ้าของกิจการได้เพราะทราบข้อมูลยอดขาย ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกำไรของสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งช่วยในการตัดสินใจวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดแก่กิจการ 2. การประหยัดต้นทุนของกิจการ เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด นอกจากการให้คำแนะนำในการเพิ่มยอดขายของกิจการแล้ว นักบัญชียังสามารถให้คำแนะนำในการลดต้นทุนของกิจการได้อีกด้วย เช่น การให้ข้อมูลต้นทุนขายของสินค้าว่าเกิดจากต้นทุนชนิดใดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ค่าแรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลในการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายบริหารที่กิจการจ่ายไปแล้วและก่อให้เกิดรายได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการตลาดของกิจการ 3. ความเสี่ยงของธุรกิจ นักบัญชีสามารถให้คำแนะนำโดยระบุความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อจะได้หาทางป้องกันได้ เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ สินค้าค้างสต็อกเป็นเวลานาน หรือความเสี่ยงจากการทุจริตของพนักงานขายที่เก็บเงินจากลูกค้า ความเสี่ยงจากลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการตลาดของธุรกิจทั้งสิ้น สำหรับสำนักงานบัญชี สำนักงานบัญชีถือเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่ง ไม่ว่าจะรูปแบบธุรกิจจะเป็นแบบบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ในการดำเนินธุรกิจย่อมต้องอาศัยการตลาดเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะการตลาดเป็นกิจกรรมในทางธุรกิจที่เป็นการนำบริการไปสู่ผู้ใช้บริการให้ได้รับความพีงพอใจ ปัจจุบันธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการจึงต้องกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการตลาด รวมทั้งการกำหนด          ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือในที่นี้หมายถึง 7Ps ได้แก่ Product (ผลิตภัณฑ์),          Price (ราคา), Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย), Promotion (การส่งเสริมการขาย), People (ทรัพยากรบุคคลขององค์กร), Process (กระบวนการและขั้นตอนของสินค้าและบริการ), Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ลูกค้าที่มาใช้บริการต้องพบ) เพื่อให้ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้ามากที่สุด มีความยินดีที่จะจ่ายค่าบริการและใช้บริการของสำนักงานบัญชีอย่างต่อเนื่องทุกปี ความสำคัญของการตลาดกับนักบัญชี การตลาดมีความสำคัญกับวิชาชีพบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชี ปิดงบการเงิน  การวางระบบบัญชี การให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี การรับจดทะเบียน            นิติบุคคล เป็นต้น โดยการตลาดมีความสำคัญดังนี้ ช่วยในการสร้างแบรนด์ของสำนักงานบัญชีให้เป็นที่จดจำของลูกค้า ปัจจุบันธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการแข่งขันสูง สำนักงานบัญชีที่ประสบความสำเร็จควรต้องมีแบรนด์ที่เป็นที่จดจำของลูกค้า แบรนด์เป็นเอกลักษณ์ที่จะทำให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น โดยต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนแลให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า ได้แก่ การปิดงบการเงิน ยื่น             งบการเงิน และยื่นแบบภาษี ถูกต้องครบถ้วนทันตามกำหนดเวลา หรือการให้คำแนะนำในการวางแผนภาษีซึ่งช่วยให้ลูกค้าไม่เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มจากภาษีย้อนหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ในยุคดิจิทัล การที่สำนักงานบัญชีมีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น Facebook, You-tube, Line เป็นต้น ทั้งการนำเสนอ Content ในรูปแบบของรูปภาพ บทความและเสียง หรือการตอบคำถามทางบัญชีและภาษี เป็นต้น ทำให้แบรนด์ของสำนักงานบัญชีนั้นมีความโดดเด่นและเป็นที่จดจำในโลกดิจิทัล ช่วยในการประเมิน SWOT ของสำนักงานบัญชี การประเมิน SWOT เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางการตลาดของกิจการ โดยเป็นการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมและศักยภาพในการประเมินสถานการณ์ในการประกอบธุรกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการรู้จุดอ่อน จุดแข็ง จากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ การนำ SWOT มาใช้เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบทางการตลาด เทคนิค SWOT นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจรวมทั้งธุรกิจสำนักงานบัญชีด้วย เทคนิค SWOT ประกอบด้วย ก. Strength จุดแข็ง เป็นการวิเคราะห์จุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของกิจการ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมสภาพในของกิจการเอง เช่น จุดแข็งทางด้านการเงิน จุดแข็งทางด้านทรัพยากรบุคคล เป็นต้น โดยกิจการสามารถนำจุดแข็งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ข. Weakness จุดอ่อน เป็นการวิเคราะห์จุดด้อยหรือข้อเสียเปรียบของกิจการ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในของกิจการ เช่น การขาดสภาพคล่อง การขาดการกำหนดนโยบายในการบริหาร บุคลากรไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งกิจการจะต้องหาวิธีปรับปรุงหรือกำจัดข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป ค. Opportunities ปัจจัยภายนอก โอกาสเป็นผลจากจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงานของบริษัท แตกต่างจากจุดแข็งที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายในในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการจะต้องแสวงหาซึ่งโอกาสอยู่เสมอ โดยโอกาสต่างๆ นั้นประกอบไปด้วย สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสภาพการแข่งขันในตลาด เป็นต้น ง. Threats อุปสรรค อุปสรรคเป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ เช่นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เป็นต้น โดยสำนักงานบัญชีสามารถวิเคราะห์ SWOT โดยประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของกิจการ เช่น จุดแข็ง ได้แก่ การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ทางด้านบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทันสมัยอย่างโปรแกรม PEAK เป็นต้น จุดอ่อน ได้แก่  จำนวนบุคลากรของสำนักงานบัญชีมีไม่เพียงพอ หรือบุคลากรไม่มีคุณภาพ  ทำให้การให้บริการล่าช้า ตลอดจนการใช้โปรแกรมบัญชีที่ไม่ทันสมัย เป็นต้น โอกาส ได้แก่ เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การปิดบัญชีถูกต้อง รวดเร็ว อย่างปัจจุบันมีโปรแกรมออนไลน์ที่ช่วยในการปิดบัญชีได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลแบบ real time ที่ถูกต้อง อุปสรรค ได้แก่ การแข่งขันทางด้านราคาสูง มีจำนวนผู้ให้บริการเป็นจำนวนมาก เป็นต้น 3. ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและลูกค้า ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด หลายคนคุ้นเคยกันดีกับ Marketing Mix 4Ps หรือส่วนประสมทางการตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานการตลาด เป็นปัจจัยที่กิจการสามารถควบคุมได้ กิจการธุรกิจจะต้องสร้างส่วนประสมการตลาดที่เหมาะสมในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด (ศิริวรรณ           เสรีรัตน์ และคณะ,2541:35-36,337) 4Ps ประกอบด้วย Product (ผลิตภัณฑ์หรือบริการ) Price (ราคา) Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) Promotion (การส่งเสริมการขาย) ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ ได้แก่ สำนักงานบัญชี ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจบริการ ได้แก่ 7Ps เป็นการต่อยอดจาก 4Ps โดยมีอีก 3Ps เพิ่มเข้ามา คือPeople Process Physical Evidence ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจบริการ โดย People คือ การจัดการเกี่ยวกับบุคลากร Process คือ กระบวนการในการให้บริการ Physical Evidence คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ลูกค้าที่มาใช้บริการต้องเจอ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การนำแนวคิด 7Ps มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของสำนักงานบัญชี ดังนี้ 1. Product ในที่นี้หมายถึงบริการซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นกระบวนการในการให้บริการแก่ลูกค้า สำหรับสำนักงานบัญชี หมายถึง บริการรับทำบัญชี ปิดงบการเงิน ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ยื่นงบการเงิน การวางระบบบัญชี การให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี การรับจดทะเบียนบริษัท เป็นต้น 2.Price การกำหนดราคา ใช้นโยบายราคาถัวเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง (Medium High Price) โดยพิจารณาจากปริมาณงานที่ต้องให้บริการ รวมทั้งประเมินจากยอดขายต่อเดือนของกิจการ เน้นคุณภาพในการให้บริการ เช่นนอกจากจะรับทำบัญชีแล้วยังมีการให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษีโดยตลอดด้วย ซึ่งไม่ใช่การแข่งขันกับตลาดล่างที่คิดค่าบริการถูกเพื่อให้ได้ลูกค้า แต่ไม่เน้นคุณภาพของงาน 3. Place การให้บริการทั้งที่สำนักงานบัญชีหรือที่ตั้งของลูกค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้า เช่น               สถานที่ตั้งของสำนักงานบัญชีอยู่ในพื้นที่ที่เดินทางเข้าถึงสะดวก มีที่จอดรถเพียงพอ เป็นต้น 4. Promotion การส่งเสริมการขายของสำนักงานบัญชี เช่น การเปิดเพจของสำนักงานบัญชีใน Facebook มีการทำContent ในรูปของการให้ความรู้ด้วยบทความหรือคลิป หรือการตอบคำถามผ่านแฟนเพจทาง Facebook รวมทั้งการจัดสัมมนาทางบัญชีและภาษีและให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการของสำนักงานบัญชี 5. People การจ้างบุคลากรของสำนักงานบัญชีที่มีวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี มีประสบการณ์ทางด้านบัญชีอย่างน้อย 2 ปี มีใจรักในงานให้บริการ มีความสามารถในการใช้โปรแกรมบัญชี นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เช่น การปรับเงินเดือนสำหรับผู้ที่สอบ Tax Auditor ได้ เป็นต้น 6. Process การจัดระบบการทำงานของสำนักงานบัญชี โดยจัดทำคู่มือการทำงานเพื่อให้การทำงานมีระบบเดียวกัน ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของงานได้  มีการอบรมพนักงานทางด้านบัญชี กฎหมายภาษีอากร อย่างสม่ำเสมอ มีช่องทางการติดต่อกับลูกค้าที่ง่ายและสะดวก เช่น Line Application, E-mail เป็นต้น รวมถึงการนำโปรแกรมบัญชีที่ทันสมัยมาให้บริการแก่ลูกค้า อย่างโปรแกรมPEAK ที่ทำงานผ่านระบบออนไลน์ มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์นักบัญชีและเจ้าของกิจการ ให้ทำบัญชีได้ง่ายและถูกต้อง 7. Physical Evidence เน้นการเป็นสำนักงานบัญชียุคใหม่ ด้วยการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยให้กับพนักงานแต่ละคน กระดาษหรือซองของสำนักงานที่ใช้ติดต่อลูกค้ามีชื่อที่อยู่ของสำนักงานให้ครบถ้วน รวมทั้งการพิมพ์ข้อมูลภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ใน Brochure หรือ Website สำหรับลูกค้าต่างชาติ ทำไมนักบัญชีควรมีความรู้ทางการตลาด ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชีขององค์กรหรือสำนักงานบัญชี ควรมีความรู้ทางการตลาด เนื่องจาก สำหรับนักบัญชีขององค์กร เมื่อนักบัญชีมีความรู้ทางการตลาดจะสามารถเตรียมข้อมูลรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ประกอบการได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถพยากรณ์ยอดขาย และวางแผนการตลาดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันและส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรในอนาคต สำหรับสำนักงานบัญชี การตลาดเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจ สำนักงานบัญชีถือเป็นธุรกิจให้บริการ ถึงแม้จะเป็นการให้บริการด้านงานบัญชี การให้บริการก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีต้องให้ความสำคัญ การนำแนวคิด SWOT และ 7Ps มาใช้จะช่วยให้สำนักงานบัญชีมีความโดดเด่น มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ประทับใจของลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและนักบัญชี ด้วยฟีเจอร์ที่ทันสมัย ปัจจุบันPEAK มีสำนักงานบัญชีที่เป็นพันธมิตรทั่วประเทศกว่า 600 รายที่ให้บริการทำบัญชีด้วยคามถูกต้อง รวดเร็ว ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: 4 เรื่องที่นักบัญชีควรแนะผู้ประกอบการในการวางเป้าหมายธุรกิจ (flowaccount.com) 4 เทคนิคสร้างความสำเร็จให้สำนักงานบัญชี | Prosoft ibiz 7P คืออะไร? รู้จักกับ Marketing Mix 7Ps – GreedisGoods แผนการตลาดของสำนักงานบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจทีเอ แอคเคาน์ติ้ง / จุฑามาศ บำรุงยุติ =Marketing Plan for Accounting firm, JTA Accounting Limited Partnership /Jutamat Bumrungyut (chula.ac.th) แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1) (smlaudit.com) แผนการตลาดของสํานักงานบัญชียุคใหม่ (จบ) (smlaudit.com) การสร้างแบรนด์ของธุรกิจที่ปรึกษา (smlaudit.com)

4 ก.พ. 2022

PEAK Account

13 min

นักบัญชีห้ามลืม! เก็บชั่วโมง CPD ปลายปี

ช่วงปลายปี หนึ่งภารกิจที่นักบัญชีต้องทำให้สำเร็จลุล่วง ก็คือ การเก็บชั่วโมง CPD ให้ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นจะส่งผลทั้งทางกฎหมาย และการดำเนินการต่างๆ ได้ ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาทบทวนประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บชั่วโมง CPD กัน ความหมายของการเก็บชั่วโมง CPD การเก็บชั่วโมง CPD คือ การเก็บชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชี ในแต่ละปีปฏิทินจะต้องมีการเก็บชั่วโมง CPD ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามพ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543  ตามเนื้อหาและจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด หลักเกณฑ์การเก็บชั่วโมง CPD   กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบเป็นทางการ สภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดกิจกรรมที่สามารถเก็บชั่วโมง CPD อย่างเป็นทางการไว้หลากหลายกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่เก็บชั่วโมง CPD แบบไม่เป็นทางการ      ในกรณีไม่สามารถเก็บชั่วโมง CPD จากกิจกรรมหลักที่สภาวิชาชีพกำหนดไว้อย่างเป็นทางการได้ครบ ก็สามารถเก็บชั่วโมงจากกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมได้ดังนี้      1. การเข้าร่วมอบรมหรือสัมมนาความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือวิชาชีพ นับชั่วโมงได้ตามจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมหรือสัมมนาจริง       2. การรับฟังข่าวสารทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพผ่านสื่อต่าง ๆ   นับชั่วโมงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง       3. การอ่านวารสารวิชาการหรือบทความต่าง ๆ นับชั่วโมงได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อหนึ่งหัวข้อ       4.  การเข้าร่วมประชุมหรืออภิปรายกลุ่ม นับชั่วโมงได้ตามจริง       5. การศึกษาดูงานหรือเยี่ยมชมการดำเนินงานของกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  นับชั่วโมงได้ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง       6. การสัมภาษณ์หรือสอบถามเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและวิชาชีพ  นับชั่วโมงได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง       7. การเขียนวารสารวิชาการหรือบทความต่างๆ เผยแพร่แก่สาธารณชน  นับได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อเรื่อง       8. กิจกรรมอื่น ๆ เพื่อการเรียนรู้ และพัฒนาการประกอบวิชาชีพ นับชั่วโมงได้ตามจริง มาตรการสำหรับผู้ทำบัญชี ประจำปี 2564 ผู้ทำบัญชีสามารถพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ประจำปี 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ในกิจกรรมเพิ่มเติม ดังนี้ ข้อควรระวังสำหรับการเก็บชั่วโมง CPD ในปี 2564 แจ้งชั่วโมง CPD  ได้อย่างไร เมื่อนักบัญชีเก็บชั่วโมง CPD เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าหน้าที่จะจบลง สิ่งถัดมาที่ต้องทำก็คือ การแจ้งชั่วโมง CPD ให้เรียบร้อย ภายในวันที่ 30 มกราคมของปีถัดไป เช่น หากเก็บชั่วโมง CPD ครบแล้วในปี 2562 ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งชั่วโมงภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 นั่นเอง ช่องทางการแจ้งชั่วโมง CPD สามารถทำได้แบบออนไลน์ผ่าน ซึ่งทั้งสองระบบนี้เชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นผู้ทำบัญชีสามารถเลือกแจ้งชั่วโมงผ่านทางช่องทางใดก็ได้ เก็บชั่วโมง CPD ไม่ครบมีผลอย่างไร และต้องแก้ไขอย่างไร ตามกฎหมายจะถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2343 สำหรับผู้ทำบัญชีที่อบรบพัฒนาความรู้ไม่ครบตามกำหนด ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2557ข้อ 6 (3) ซึ่งออกตามความในมาตรา7 (6) ต้องระวางโทษตามมาตรา 27 ปรับไม่เกิน 10,000บาท หากได้รับหนังสือแจ้งท่านต้องชำระค่าปรับ และเมื่อชำระค่าปรับแล้วต้องอบรมชดเชยส่วนที่ขาดให้ครบถ้วนและต้องพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ให้ครบจำนวนชั่วโมงตามระยะเวลาที่ขาดหายไป แต่เมื่อรวมกันแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ในกรณีที่เป็นผู้สอบบัญชี หากไม่สามารถเก็บชั่วโมง CPD ได้อย่างครบถ้วนตามระยะเวลาที่กำหนด สามารถดำเนินการได้ดังนี้ อ้างอิง: