บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>บัญชี

14 ต.ค. 2021

PEAK Account

28 min

โปรแกรมบัญชี และโปรแกรมบัญชีคลาวด์คืออะไร

โปรแกรมบัญชี(Accounting Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลทางบัญชี โปรแกรมบัญชีสำหรับกิจการทั่วไป ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นระบบขาย ระบบซื้อ ระบบสินค้าคลัง ระบบลูกหนี้ ระบบเจ้าหนี้ บัญชีแยกประเภทและรายงานต่างๆ ส่วนกิจการผลิตจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้นมาคือระบบการผลิต ระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปโปรแกรมบัญชีมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อการเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ 2. เพื่อการประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ การควบคุม 3. เพื่อจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้องและเชื่อถือได้ โปรแกรมบัญชีคลาวด์คืออะไร Cloud (คลาวด์) ย่อมาจาก Cloud Computing หมายถึงเครื่องมือที่เป็น Host บริการผ่านทางอินเทอร์เนต ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการและจัดการข้อมูลต่างๆผ่านทางอินเทอร์เนต  เมื่อผู้ใช้งานอัปโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ผ่านระบบการให้บริการเช่น Dropbox ไฟล์จะถูกส่งผ่านอินเทอร์เนตไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่จริงของผู้ให้บริการคลาวด์ ซึ่งจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมากที่ให้บริการเก็บข้อมูล คลาวด์หมายถึง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆของคนทั่วโลก เพียงแค่อุปกรณ์การใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ มีความแตกต่างจากสื่ออื่นๆที่ใช้บันทึกข้อมูล เช่น External hard disk, Flash drive เป็นต้น  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคลาวด์ได้ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดบนโลกนี้ ดังนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์ในการเก็บข้อมูลเอง เพียงแต่ใช้วิธีบันทึกผ่านคลาวด์และเสียค่าใช้จ่ายสำหรับพื้นที่ใช้งาน การประมวลผลระบบคลาวด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชั่นดังนี้ 1. การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure as a Service (IaaS)  ผู้ให้บริการหรือผู้ให้เช่า มีพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ให้ผู้ใช้งานเช่าตามวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานหรือเพื่อเป็น Web hosting โดยผู้ใช้งานสามารถดำเนินการ แก้ไข และจัดการข้อมูลของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น Dropbox ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา หรือ Netflix ซึ่งใช้หลักการของ IaaS ในการจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล โดยข้อมูลถูกเข้าถึงและใช้งานซ้ำๆจากผู้ใช้งานทั่วโลก โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลด เป็นต้น 2. การให้บริการแพลตฟอร์ม Platform as a Service (PaaS) PaaS มีความคล้ายคลึงกับ IaaS แต่ต่างไปตรงที่ผู้ให้บริการทำการควบคุมน้อยกว่า PaaS ช่วยลดความต้องการในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน(หมายถึงฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ) ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดการใช้ทรัพยากร ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ เป็นการปรับใช้และเน้นการจัดการแอปพลิเคชัน ระบบสามารถจัดหาแพลตฟอร์มที่เสมือนจริงที่ใช้พัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ โดยโปรแกรมเมอร์สามารถใช้งานผ่านระบบออนไลน์ได้โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์และระบบต่างๆด้วยตนเอง 3. การให้บริการซอฟต์แวร์ Software as a Service (SaaS) เป็นระบบที่มีการควบคุมของผู้ให้บริการน้อยที่สุด เป็นการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆผ่านระบบคลาวด์ซึ่งรองรับผู้ใช้งานปลายทาง ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน Dropbox paper ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสร้าง แก้ไข แชร์และทำงานร่วมกันในไฟล์ข้อความทางออนไลน์ได้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิชันได้ตามที่ต้องการและทำงานกับไฟล์จากอุปกรณ์ใดก็ได้, Grammarly ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ทางออนไลน์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นต้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานหรือการดูแลรักษา เพียงแค่คำนึงถึงวิธีใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ โปรแกรมบัญชีคลาวด์ เป็นโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์ โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโปรแกรมได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ มีระบบการจัดการทางด้านบัญชีที่ครบวงจร มีระบบการลงบัญชีอัตโนมัติที่ทำงานแบบเรียลไทม์ ประโยชน์ในปัจจุบันของโปรแกรมบัญชีคลาวด์หรือที่เรียกอกีอย่างว่าโปรแกรมบัญชีออนไลน์ 1. ช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่าย โปรแกรมบัญชีคลาวด์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานและค่าไฟฟ้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายผันแปรตามการใช้งาน และประหยัดเวลาที่ใช้ในการแก้ไขอุปกรณ์ที่มีปัญหา 2. ช่วยกิจการลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูล    โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีการทำสำรองข้อมูล (Backup) ทางบัญชีและภาษี ช่วยลดความเสี่ยงในการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพียงที่เดียว ซึ่งมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเกิดไฟฟ้าดับกะทันหัน หรือการโจมตีของมัลแวร์ที่มีโอกาสทำให้ข้อมูลสูญหายได้ทุกเมื่อ เป็นการทำสำรองข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในหลายพื้นที่ 3. มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีระบบการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล โดยมีการกำหนดรหัสผ่านและกำหนดผู้มีสิทธิ์เข้าถึงการใช้ข้อมูล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าการเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ที่สามารถมองเห็นได้ 4. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โปรแกรมบัญชีคลาวด์สามารถปรับขยายพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งต่างจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้ โปรแกรมบัญชีมีแบบใดบ้าง โดยทั่วไปโปรแกรมมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ 1. โปรแกรมบัญชีออฟไลน์  โปรแกรมบัญชีออฟไลน์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้           ตัวอย่างโปรแกรมบัญชีออฟไลน์ ได้แก่ โปรแกรม Express on server 2. โปรแกรมบัญชีออนไลน์  โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ตัวอย่างโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรม PEAK โปรแกรมบัญชีใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทำให้โปรแกรมบัญชีได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานผ่าน Smartphone ได้ อันเป็นคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ผ่านระบบอินเทอร์เนต ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็ว กิจการสามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์ไม่ว่าการเปิดใบเสนอราคา การบันทึกรายการบัญชี การอนุมัติเอกสาร การเรียกดูรายงาน เป็นต้น ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่างโปรแกรม PEAK ที่สามารถใช้งานผ่าน LINE Application ทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก สามารถเรียกดูและตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา วิธีเลือกใช้โปรแกรมบัญชีให้เหมาะกับธุรกิจได้อย่างไร ในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีให้เหมาะกับธุรกิจ มีแนวทางในการพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. ขนาดขององค์กร ในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชี กิจการควรพิจารณาขนาดและความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่มีแพ็คเกจให้เลือก โดยเจ้าของกิจการสามารถประเมินจากจำนวนรายการค้าที่เกิดขึ้นในรายเดือน หรือรายปี ถ้ากิจการมีขนาดเล็กมีจำนวนรายการค้าไม่มาก สามารถเลือกใช้โปรแกรมบัญชีพื้นฐานที่ใช้งานง่าย ถ้ากิจการมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนรายการค้าก็จะมากขึ้น สามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีระบบการใช้งานเพิ่มขึ้น อย่าง PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ให้กิจการเลือกใช้แพ็คเกจตามขนาดของธุรกิจ โดยกิจการสามารถประเมินจากปริมาณเอกสารรายการค้าในรอบระยะเวลาต่อเดือนหรือต่อปี จำนวนผู้ใช้งาน ความซับซ้อนของธุรกิจ โดยกิจการสามารถเลือกใช้แพ็คเกจแบบ Basic สำหรับ 5 ผู้ใช้งาน ที่ไม่จำกัดจำนวนรายการเอกสารและจำนวนผู้ติดต่อ ผู้ใช้งานสามารถออกเอกสารใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ทางออนไลน์ มีระบบเช็ค ระบบสินทรัพย์ รายงานการขาย รายงานลูกค้าค้างชำระ/เจ้าหนี้ค้างชำระ เป็นต้น 2. ราคา ราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมบัญชี โดยทั่วไปจะมีการเปรียบเทียบราคาของผู้ให้บริการหลายรายและนำมาเปรียบเทียบกับงบประมาณของกิจการ โดยเฉพาะโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs ที่สามารถจัดการระบบขององค์กรได้ทุกระบบผ่านการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ที่ใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เนตไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Tablet หรือ Notebook ที่ปัจจุบันผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีมีแพ็กเกจให้เลือกหลายราคาตามจำนวนผู้ใช้งาน จำนวนรายการค้า และเหมาะสมกับระบบงานของธุรกิจ อย่าง PEAK มีแพ็กเกจให้กิจการเลือก ได้แก่แบบ Basic ราคา 500 บาทต่อเดือน แบบ Pro ราคา 700 บาทต่อเดือน เป็นต้น 3. คุณสมบัติของโปรแกรมบัญชี กิจการควรพิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชีที่จะเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ โดยทั่วไปกิจการควรกำหนดความต้องการในการใช้งานของธุรกิจและเลือกโปรแกรมบัญชีที่สามารถรองรับความต้องการที่สำคัญๆ โดยเป็นโปรแกรมบัญชีที่สามารถจัดการระบบงานที่สำคัญขององค์กรได้เช่นระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบขาย ระบบบัญชี เป็นต้น มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการ อย่าง PEAK มีแพ็กเกจที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของธุรกิจ เช่นเมื่อกิจการมีปริมาณเอกสารทางบัญชีเพิ่มขึ้น หรือเมื่อกิจการมีความต้องการรายงานสำหรับผู้บริหาร เช่นรายงานการขาย รายงานลูกหนี้/เจ้าหนี้ค้างชำระ เป็นต้น กิจการสามารถเลือกใช้หรือปรับเปลี่ยนแพ็กเกจให้เหมาะกับความต้องการนั้นๆโดยโปรแกรมจะมีการอัปเดตให้โดยอัตโนมัติ อย่างแพ็กเกจจัดเต็มของPEAK แบบ Pro+ ที่รองรับความต้องการของกิจการที่มีผู้ใช้งานได้ถึง 10 ราย, มี LINE @peakconnect, มีระบบภาษีที่สะดวกสำหรับผู้ประกอบการในการสร้างแบบภาษีภ.พ.30,ภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53 เป็นต้น และเมื่อสร้างแบบแล้วระบบจะบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ มีระบบนำเข้าเอกสารด้วย Excel ,รายงานสรุปรายสัปดาห์/รายเดือนรวมทั้งรายงานงบกระแสเงินสด เป็นต้น 4. ผู้ให้บริการ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีคือการพิจารณาผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญมีความเป็นมืออาชีพ เป็นผู้ที่มีความรู้ในโปรแกรมบัญชีนั้นเป็นอย่างดี โดยพิจารณาว่าใครเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชีนั้นเอง หรือได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในการจัดจำหน่ายโปรแกรมนั้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือการพิจารณาการ support หรือการให้บริการคำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใช้งานหลังการขาย โดยการสอบถามจากผู้ประกอบการหรือนักบัญชีที่ใช้งานโปรแกรมนั้นอยู่ถึงความพึงพอใจและบริการที่ได้รับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรพิจารณาเป้าหมายขององค์กรผู้ให้บริการ นโยบายในการให้บริการ การได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการและนักบัญชี มีการพัฒนาโปรแกรมที่ตอบโจทย์กิจการอย่างต่อเนื่อง อย่าง PEAK เป็นผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากนักบัญชีในการจัดการงานบัญชี ปัจจุบัน PEAK มีสำนักงานบัญชีที่เป็นพันธมิตรกว่า 600 แห่งทั่วประเทศที่ทำบัญชีให้กับกิจการ SMEs กว่า 10,000 กิจการ และ PEAK ยังได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ ในฐานะ Cloud Accounting Software ของประเทศไทย โปรแกรมบัญชีที่ดีควรทำสิ่งใดได้บ้าง 1. ช่วยให้การจัดการบัญชีง่าย สะดวกรวดเร็ว  โปรแกรมบัญชีที่ดี ช่วยให้งานบัญชีสะดวกรวดเร็ว คล่องตัว อย่างโปรแกรมออนไลน์ ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เนตเชื่อมต่อ เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถจัดการงานบัญชีและภาษีที่มีความยุ่งยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายดาย ลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดี ผู้ใช้งานสามารถออกเอกสารทางบัญชีเช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น ทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เนตเชื่อมต่อและมีลักษณะการทำงานแบบเรียลไทม์  2. ช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่าย กิจการที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่ดี โดยเฉพาะโปรแกรมออนไลน์ ช่วยกิจการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ไอทีเมื่อเทียบกับโปรแกรมบัญชีแบบออฟไลน์ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอทีด้วย โปรแกรมออนไลน์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ่ายซื้อซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมีการอัปเดตโปรแกรมให้โดยอัตโนมัติ โดยที่กิจการไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเวอร์ชันใหม่หรือซื้อซอฟต์แวร์ใหม่เพื่อทำการอัปเดต โปรแกรมออนไลน์มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายต่อการใช้งาน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางด้านงานบัญชี ก็สามารถจัดการงานบัญชีเองได้ด้วยตัวเอง โดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายสรรพากร ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานบัญชีเป็นพนักงานประจำ แต่อาจจ้างสำนักงานบัญชีในการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านบัญชีและภาษีรวมทั้งการรับรองเป็นผู้ทำบัญชี โปรแกรมออนไลน์ที่ดีจึงช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรทางด้านบัญชี 3. มีฟังก์ชั่นการทำงานครบถ้วนครอบคลุมทุกระบบงานของธุรกิจ โปรแกรมบัญชีที่ดีควรมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ครบถ้วน ครอบคลุมการทำงานทุกระบบงานของธุรกิจ ปัจจุบันโปรแกรมบัญชีออนไลน์เข้ามาตอบโจทย์ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่ต้องการโปรแกรมบัญชีที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานทั้งระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบขาย ระบบบัญชีซื้อ-ขาย ระบบรับ-จ่าย เป็นต้น ได้แก่การสร้างเอกสารใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ หรือการสร้างระบบการจัดทำแบบแสดงรายการทางภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถดึงข้อมูลมายื่นแบบแสดงรายการได้เลย รวมทั้งมีระบบที่สรุปผลการดำเนินงาน รายงานการขาย รายงานทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ทำให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการนำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจได้ 4. มีระบบความปลอดภัยสำหรับข้อมูลทางบัญชีและภาษี ด้วยข้อมูลทางบัญชี การเงินและภาษีรวมทั้งยอดขายและข้อมูลของลูกค้า เป็นข้อมูลสำคัญขององค์กรที่เป็นความลับในการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกหรือบุคลากรขององค์กรที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้หรือรับรู้ข้อมูล กิจการจึงควรจัดหาโปรแกรมบัญชีที่ดีซึ่งมีระบบความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล โดยที่กิจการไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ที่เป็นสื่อในการจัดเก็บข้อมูล เช่นฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายจากการเกิดภัยธรรมชาติเช่นไฟไหม้หรือน้ำท่วม เป็นต้น รวมทั้งไม่ต้องจัดหาสถานที่เก็บรักษาอุปกรณ์ที่เป็นสื่อดังกล่าว ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและการเก็บรักษาอุปกรณ์สื่อดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมที่ดีควรมีระบบที่กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานในการเข้าถึงและการอนุมัติข้อมูลในระบบด้วย อย่าง โปรแกรมบัญชี PEAK มีระบบการทำสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติทุกๆ 5 นาที โดยใช้เซิร์ฟเวอร์จากผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง Microsoft Azure ในด้านการจัดการการเก็บข้อมูลและการรักษาความปลอดภัย สำหรับข้อมูลธุรกิจที่เป็นความลับ นอกจากนี้ยังมีระบบการป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้งานPEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและนักบัญชี ช่วยให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบจัดการงานบัญชีผ่านระบบออนไลน์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัย โดย PEAK มีฟีเจอร์เด่นๆดังต่อไปนี้ 1. ฟีเจอร์สำหรับเจ้าของกิจการ 2. ฟีเจอร์สำหรับนักบัญชี 3. ฟีเจอร์สำหรับพันธมิตรซอฟต์แวร์ PEAK โปรแกรมบัญชี หนึ่งเดียวที่คุณสามารถทำงานได้ผ่าน LINE สามารถตรวจสอบสถานะทางการเงิน ออกเอกสาร บันทึกรายรับ-รายจ่าย ผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าท่านใดกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีที่ทำงานได้ครบถ้วนครอบคลุมที่สุดสามารถทดลองใช้งานฟรี 30 วัน ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

10 min

ใบเสร็จรับเงินเต็มรูปแบบ VS ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ

“ขอใบเสร็จรับเงินด้วยนะคะ” ประโยคที่เจ้าของกิจการทุกคน ต้องเคยได้ยิน แต่รู้ไหม…กิจการของคุณควรออกใบเสร็จรับเงินแบบไหน? แล้วใช้เพื่ออะไร? หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าใบเสร็จรับเงิน เป็นเหมือนหลักฐานสำคัญที่จะแสดงต่อด่านหน้าอย่างนักบัญชี และด่านสุดท้ายอย่างสรรพากรที่จะใช้ยืนยันในการใช้จ่ายแต่ละครั้ง ฟังแล้วรีบไปค้นหาใบเสร็จรับเงินที่เพิ่งขยำไปด่วน! ใบเสร็จรับเงิน คืออะไร? ใบเสร็จรับ หรือที่เรียกกันว่า ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือเอกสารสำคัญที่จะแสดงถึงการใช้จ่ายเงินของผู้ซื้อ ซึ่งใบเสร็จรับเงินจะถูกออกโดยผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ เพื่อยืนยันว่าได้รับเงินค่าสินค้า หรือบริการแล้วเรียบร้อย เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับเจ้าของกิจการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้น เจ้าของกิจการต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าทุกครั้ง ห้ามเพิกเฉย หรือละเลยเด็ดขาด  เพราะตามกฎหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 105  กำหนดให้เจ้าของกิจการต้องออกใบกำกับภาษี (สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน เตือนผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ที่ไม่ยอมออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ห้ามลืมเด็ดขาด…PEAK เตือนแล้วนะ ใบเสร็จรับเงินถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม และใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ซึ่งทั้งสองแบบจะมีรายละเอียด และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม เป็นเอกสารและหลักฐานสำคัญที่ใช้สำหรับการยื่นภาษีให้กรมสรรพากร เจ้าของธุรกิจหรือผู้ขายจะออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้า หรือบริการที่ต้องการยืนยันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือองค์กร และต้องการนำไปเป็นหลักฐานสำหรับสินค้า หรือบริการที่มีบริการหลังการขาย การรับประกันต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติทั่วไปร้านค้าจะไม่ค่อยออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้ หากไม่ใช่บริษัทใหญ่ หรือมีการซื้อ – ขายในจำนวนที่มากจริง ๆ แต่หากต้องการใช้ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม เราสามารถร้องขอกับพนักงาน หรือร้านค้าให้ออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้เราได้เช่นกัน ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม มีส่วนประกอบสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 86/4) มีทั้งหมด 8 ส่วน 1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ3. ชื่อ – ที่อยู่ ของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ4. ชื่อ – ที่อยู่ของลูกค้า, ผู้ซื้อสินค้า และบริการ5. ตัวเลข หรือลำดับที่ของใบเสร็จรับเงิน6. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน7. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า รวมไปถึงมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ต้องการซื้อ8. จำนวนของภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องทำการคำนวณมาจากจำนวนเงินที่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการตามจริง ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ เป็นเอกสาร และหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันการซื้อ – ขาย และการจ่ายเงิน รวมถึงการได้รับสินค้า เช่นเดียวกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม แต่ใบเสร็จรับเงินแบบย่อจะเป็นรูปแบบใบเสร็จที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประวัน เช่น ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven เพราะใช้งานง่าย และสะดวกในการออกเอกสาร สามารถออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อให้กับลูกค้า หรือผู้ซื้อทันที หลังมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อเหมาะกับธุรกิจ หรือกิจการค้าปลีก ซื้อขายในราคาไม่สูงมาก ขายให้กับบุคคลทั่วไป ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ก็ยังมีกฎสำหรับธุรกิจ หรือกิจการที่ต้องการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เพราะจะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยการขออนุญาตนั้นสามารถยื่นขอได้ตามสรรพากรในพื้นที่ที่ธุรกิจ หรือกิจการเปิดทำการอยู่ และถ้าหากมีจำนวนมากกว่า 1 ร้าน หรือหลายสาขาก็จะต้องทำการยื่นเรื่องขออนุญาตเป็นรายสาขาไปด้วยเช่นกัน ธุรกิจหรือกิจการที่มักออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะต้องเป็นธุรกิจ หรือกิจการที่จดทะเบียนในระบบเป็นร้านค้าปลีก หรือเป็นการขายค้าของประชาชนทั่วไปกันเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมไปถึงกิจการบริการ ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านขายของชำ, ร้านขายยา, ร้านอาหาร, ร้านนวด – สปา, ร้านซ่อมรถ หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แตกต่างกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน 1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ2. ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี3. (ถ้ามี) หมายเลขใบกำกับภาษี และหมายเลขเล่มที่ออกใบกำกับภาษี4. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า5. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงินเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เลือกใช้ให้ถูกประเภท และถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการที่กำลังหัวหมุนในเรื่องของการออกใบเสร็จรับเงิน ธุรกิจของฉันควรออกเสร็จรับเงินแบบไหนดี? ลดหย่อนภาษีอย่างไร? ต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน? หรือแม้กระทั่งจะทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง? PEAK มีคำตอบ เพราะมีคือโปรแกรมบัญชีครบวงจรที่จะอยู่เคียงข้างธุรกิจของคุณ รวมไปถึงให้คำปรึกษาในทุกเรื่องของการทำบัญชี ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

7 min

การจ่ายเงินปันผลของบริษัท ทำอย่างไร?

การก่อตั้งบริษัทหรือการลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือแสวงหาผลตอบแทนในรูปของกำไร และแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการนั้น ซึ่งอยู่ในรูปของเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลคืออะไร เงินปันผลเป็นผลตอบแทนที่บริษัทแบ่งจ่ายจากผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือ การจ่ายเงินปันผลเป็นการจ่ายจาก 2 ส่วนหลักคือ1. กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด 2. กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร บริษัทจ่ายเงินปันผลเมื่อไร โดยปกติบริษัทที่จะจ่ายเงินปันผลได้ต้องเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงิน มีกระแสเงินสดเพียงพอ มีฐานะการเงินที่ค่อนข้างแข็งแรง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3  ลักษณะ22 หุ้นส่วนและบริษัท ระบุเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจำกัด ไว้ดังนี้ มาตรา 1201 ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผลนอกจากโดยมติของที่ประชุมใหญ่ กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งเป็นคราว ในเมื่อปรากฎแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้นได้ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุนเช่นนั้น มาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท จากประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ จะเห็นว่าบริษัทจ่ายเงินปันผลได้ก็ต่อเมื่อ 1. บริษัทมีกำไรสะสม ถ้าบริษัทมีขาดทุนสะสม บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทมีผลขาดทุนสะสมยกมาต้นปี 2563 เป็นจำนวนเงิน (10,000) บาทกำไรสุทธิ ปี2563  เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาทดังนั้น ปี 2563 บริษัทมีกำไรสะสมยกไป 90,000 บาทปี 2563 บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้จากกำไรสะสม 90,000 บาท และขาดทุนสะสม(10,000) บาทที่ยกมาต้นปี 2563 หายไปเนื่องจากในปี 2563 มีกำไรสุทธิ 100,000 บาท  2. บริษัทได้จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองร้อยละ 5 ของกำไร บริษัทได้จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองร้อยละ 5 ของกำไร จนกว่าทุนสำรองนั้นจะเท่ากับร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนหรือตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท ซึ่งจะจัดสรรทุกครั้งที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล 3. บริษัทมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผล ส่วนในกรณีที่กรรมการบริษัทเห็นว่าบริษัทมีกำไรมากในระหว่างงวดพอที่จะจ่ายเงินปันผล กรรมการอาจเสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยจัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล  วิธีการจ่ายเงินปันผล ในการจ่ายเงินปันผล คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาว่าจะจ่ายเงินปันผลด้วยวิธีใด โดยปกติการจ่ายเงินปันผลมีด้วยกัน 6 วิธี ได้แก่ 1. การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด บริษัทส่วนใหญ่จะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 2. การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น เป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นของกิจการ แต่มูลค่ารวมของบริษัทไม่เปลี่ยนแปลงมีผลทำให้ราคาต่อหุ้นลดลง แต่จะชดเชยจากจำนวนหุ้นปันผลที่ได้รับเพิ่มขึ้น ในภาพรวมจำนวนหุ้นที่มากขึ้นเป็นการเสริมสภาพคล่องของบริษัท 3. การแตกหุ้น 4. การซื้อหุ้นกลับคืน 5. การรวมหุ้น 6. การจ่ายเงินปันผลด้วยวิธีอื่น ในการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะกำหนดนโยบายเงินปันผลโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบได้แก่ สภาพคล่องทางการเงิน โอกาสในการลงทุน ความสามารถในการกู้ยืม ขนาดของธุรกิจ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้ถือหุ้นมากที่สุด PEAK โปรแกรมบัญชี มี PEAK Board เป็น New Feature จาก PEAK ให้ข้อมูลสรุปผลประกอบการในรูป Dashboard แสดงข้อมูลสรุปผลอย่างง่าย สวยงาม ถูกต้อง สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆได้ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง การจ่ายเงินปันผล กรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ,สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ :  เงินปันผลหรือหุ้นปันผลอะไรดีกว่ากัน:

27 ก.ค. 2021

PEAK Account

12 min

ประโยชน์ของการปิดงบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ

งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นของกิจการในแต่ละงวดบัญชี รายงานงบการเงินประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในแต่ละปีกิจการต้องทำการปิดงบการเงินให้ได้รายงานเพื่อนำส่งหน่วยราชการตามกฎหมาย การปิดงบการเงินคืออะไร ความหมายของการปิดงบการเงิน การปิดงบการเงิน คือการจัดการเพื่อให้ได้งบการเงินเมื่อถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี รอบระยะเวลาบัญชีหมายถึงช่วงเวลาที่กิจการทำการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นภายในงวดเวลาหรือรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยปกติรอบระยะเวลาบัญชีจะเป็นระยะเวลาเท่าไรก็ได้แต่ไม่เกิน 1 ปี จะเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม เหมือนปีปฏิทินหรือไม่ก็ได้ ส่วนใหญ่กิจการกำหนดรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี ตามปีปฏิทินเช่น รอบบัญชี 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม หรือ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม เป็นต้น วัตถุประสงค์ในการปิดงบการเงิน สำหรับการปิดงบการเงินของบริษัท มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการ และนำเสนอเพิ่ออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้ากิจการมีรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีคือ 31 ธันวาคม กิจการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป เมื่องบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถิอหุ้นแล้ว กิจการต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจ (DBD) ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในที่นี้หมายถึงภายในวันที่ 31 พฤษภาคม นับแต่วันสิ้นรอบระยะวลาบัญชี และกิจการต้องนำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุมสามัญผุ้ถือหุ้น นอกจากนี้กิจการยังต้องนำส่งแบบภ.ง.ด.50 (แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัท)ให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ผู้ดำเนินการปิดงบการเงิน โดยการปิดงบการเงิน .ในบริษัททั่วไปดำเนินการโดยนักบัญชีในตำแหน่ง สมุห์บัญชี, ผู้จัดการแผนกบัญชี ผู้ทำบัญชี ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร ส่วนกิจการที่ไม่ได้ทำบัญชีเอง สำนักงานบัญชีหรือผู้ทำบัญชีฟรีแลนซ์ที่กิจการว่าจ้าง เป็นผู้ดำเนินการปิดงบการเงิน ขั้นตอนการปิดงบการเงิน ในการปิดงบการเงินแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ 1. กรณีที่กิจการปิดบัญชีเอง ในปัจจุบันกิจการจะใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปในการทำบัญชีไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมแบบออฟไลน์หรือระบบออนไลน์  โดยมีขั้นตอนในการปิดบัญชีดังต่อไปนี้ 1.1 การกำหนดตารางงานในการปิดบัญชี 1.2 การปิดระบบ (module) ต่างๆให้ครบ เป็นการบันทึกรายการบัญชีให้ครบถ้วนทั้งในระบบลูกหนี้ ระบบเจ้าหนี้ ระบบสินค้า ระบบสินทรัพย์ถาวร ได้แก่การบันทึกรายการรับรู้ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ณ วันสิ้นงวด การบันทึกรายการรับเงิน/จ่ายเงิน การบันทึกรายการซื้อ/ขายสินทรัพย์ถาวร ให้ครบถ้วน และดำเนินการการปิดระบบต่างๆ 1.3 การบันทึกรายการปรับปรุงในการปิดงบการเงินนอกจากการบันทึกรายการปกติ ยังต้องมีรายการปรับปรุงที่ต้องบันทึกบัญชีในใบสำคัญทั่วไป(journal voucher หรือ JV) ทางบริษัทควรจัดทำ JV List ซึ่งเป็น list ของรายการปรับปรุงรายการประจำ เพื่อให้ปรับปรุงรายการได้ครบถ้วน ได้แก่รายการปรับปรุงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ การปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยน การปรับปรุงดอกเบี้ยค้างรับ การปรับปรุงสินค้าคงเหลือจากการตรวจนับ การปรับปรุงปิดต้นทุนสินค้า การตัดค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า การปรับปรุงภาษีมูลค่าเพิ่ม การบันทึกค่าเสื่อมราคา การปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย การปรับปรุงภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น 1.4 การจัดทำงบทดลอง (First draft) และรายละเอียดประกอบงบการเงินเมื่อบริษัทได้บันทึกรายการบัญชีการซื้อขาย จ่ายรับ และรายการปรับปรุงครบถ้วนแล้ว กิจการก็สามารถพิมพ์งบทดลองเป็น First draft เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกบัญชีและมีผลรวมด้านเดบิตเท่ากับด้านเครดิตรวมทั้งการจัดทำรายละเอียดประกอบงบการเงิน หมายถึงรายละเอียดของสินทรัพย์หรือหนี้สินที่แสดงให้เห็นว่ายอดคงเหลือของสินทรัพย์หรือหนี้สิน ณ เวลาใดเวลาหนึ่งประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น รายละเอียดลูกหนี้ รายงานวิเคราะห์อายุลูกหนี้ รายงานสินค้าคงเหลือ รายละเอียดสินทรัพย์ถาวร รายละเอียดค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น 1.5 การจัดทำรายงานกระทบยอดที่สำคัญและการจัดทำงบทดลอง Finalรายงานกระทบยอด ได้แก่ งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร รายงานกระทบยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม  เพื่อเป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือ หลังจากทำรายละเอียดประกอบงบการเงินและรายการกระทบยอดที่สำคัญแล้ว บริษัทควรจัดทำงบทดลองชุดFinal ออกมา เพื่อนำส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบต่อไป 2. กรณีที่กิจการจ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี ในแต่ละเดือนกิจการจะส่งเอกสารบิลซื้อ บิลขาย ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ให้แก่สำนักงานบัญชีเพื่อลงบัญชี ในการปิดงบประจำปีสำนักงานบัญชีจะดำเนินการให้อยู่แล้ว เมื่อสำนักงานบัญชีจัดทำงบการเงินให้เรียบร้อยและนำส่งงบการเงินให้แก่กิจการแล้ว กิจการควรขอข้อมูลอื่นๆจากสำนักงานบัญชี ได้แก่สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันรับ สมุดแยกประเภท(GL) ทะเบียนทรัพย์สิน มาเก็บไว้เป็นข้อมูลที่กิจการด้วย ประโยชน์ของการปิดงบการเงินในมุมผู้ประกอบการ 1. เจ้าของกิจการเห็นตัวเลขที่แท้จริงของผลประกอบการกำไรขาดทุน สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการ ซึ่งนำไปใช้ในการวางแผนธุรกิจ ใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจได้2. จากการปิดงบการเงิน ข้อมูลจะมีความถูกต้อง ครบถ้วน และพร้อมที่จะส่งต่อให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบต่อไป3. ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลจากการปิดงบการเงินมาจัดทำรายงานวิเคราะห์ต่างๆเช่น รายงานการวิเคราะห์ยอดขาย รายงานการวิเคราะห์สินค้าคงเหลือ รายงานการวิเคราะห์ลูกหนี้4. ผู้ประกอบการสามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงินของกิจการได้ โดยวิเคราะห์ตัวเลขสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ เป็นต้น5. ผู้ประกอบการสามารถกำหนดการจ่ายเงินปันผล จากตัวเลขผลกำไรที่ได้จากการปิดงบการเงิน การปิดงบการเงินไม่จำเป็นต้องปิดปีละครั้ง ถ้ากิจการสามารถปิดบัญชีได้ทุกเดือนหรือทุกไตรมาสจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อกิจการ เพราะจะทำให้ทราบข้อมูลทางการเงินอับเดตและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของเจ้าของกิจการภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยกิจการในการปิดงบการเงินและจัดทำงบการเงิน ผู้ประกอบการสามารถติดตามรายงานสำคัญทางธุรกิจได้ทุกช่องทางออนไลน์ สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.comหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิงปิดงบการเงินเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ, peakaccount, 25 กันยายน 2562รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ขั้นตอนการปิดงบการเงิน, นางสาว ไอรดา พวงประเสริฐ, 2561

25 ก.พ. 2023

PEAK Account

34 min

จรรยาบรรณวิชาชีพที่นักบัญชีต้องรู้

วิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินขององค์กร นักบัญชีมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี บันทึกรายการทางบัญชี สรุปข้อมูลทางบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน โดยผู้ใช้ข้อมูลจากรายงานทางบัญชีและการเงินมีทั้งผู้ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักบัญชีซึ่งถือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องปฏิบัติงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  วิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงินขององค์กร นักบัญชีมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางการเงิน ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี บันทึกรายการทางบัญชี สรุปข้อมูลทางบัญชีและจัดทำรายงานทางการเงิน โดยผู้ใช้ข้อมูลจากรายงานทางบัญชีและการเงินมีทั้งผู้ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักบัญชีซึ่งถือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องปฏิบัติงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีคือใครบ้าง นอกจากนักบัญชีซึ่งมีหน้าที่จัดทำบัญชี ผู้ประกอบวิชาขีพบัญชียังหมายรวมถึง  ผู้สอบบัญชี ผู้วางระบบบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพด้านบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชีและการให้บริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นๆ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีทั้งที่ให้บริการในรูปของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามถือว่าประพฤติผิดจรรยาบรรณ อาจถูกพักใช้ใบอนุญาตหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้  หลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่กำหนดขึ้นโดยสภาวิชาชีพบัญชีฯ ซึ่งได้ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561 เพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ให้ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย                             1. ความซื่อสัตย์สุจริต (Integrity)                                                                                                           ความซื่อสัตย์สุจริต หมายถึง ความประพฤติอย่างตรงไปตรงมา จริงใจซื่อตรงต่อวิชาชีพ ไม่คดโกง ไม่หลอกลวง ได้แก่ 2. ความเที่ยงธรรม (Objectivity) และความเป็นอิสระ (Independence)     ความเที่ยงธรรม หมายถึง การใช้ดุลพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยปราศจากความลำเอียงอคติ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และอิทธิพลของบุคคลอื่น ได้แก่ 3. ความรู้ ความสามารถและความเอาใจใส่ทางวิชาชีพ (Professional Competence and Due Care) และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การรักษาไว้ซึ่งความรู้ความสามารถและความชำนาญทางวิชาชีพในระดับที่รับรองได้ว่าลูกค้าได้รับบริการทางวิชาชีพที่ถึงพร้อมด้วยวิวัฒนาการล่าสุดในวิธีการ หรือเทคนิคการปฏิบัติการหรือตามกฎหมาย และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง   4. การรักษาความลับ (Confidentiality)   ได้แก่ การให้ความสำคัญกับความลับของข้อมูลที่ได้มาจากความสัมพันธ์ทางวิชาชีพและทางธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่พึงเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้กับบุคคลที่สาม โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจอย่างถูกต้องและเฉพาะเจาะจง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามสิทธิ์ทางกฎหมายหรือสิทธิ์ทางวิชาชีพ หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องเปิดเผย หรือไม่นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อบุคคลที่สาม                                                      5. พฤติกรรมทางวิชาชีพ (Professional Behavior) ได้แก่ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชี                                         6. ความโปร่งใส (Transparency) ได้แก่ การแสดงภาพลักษณ์ให้เห็นถึงการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ และมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดไว้ และไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งสามารถติดตามตรวจสอบได้              อัปเดตจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี  เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561 สภาวิชาชีพบัญชีฯ จึงได้จัดทำคู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ตามแนวทางหลักการพื้นฐานประมวลจรรยาบรรณของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานจรรยาบรรณระหว่างประเทศ (IESBA) ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 39/2564 เรื่อง คู่มือจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564  โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป และยกเลิกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 7/2562 เรื่องข้อมูลประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้เพื่อให้ข้อมูลทันกับการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางประมวลจรรยาบรรณของ (IESBA) ฉบับ 2020 วัตถุประสงค์ของประมวลจรรยาบรรณ โครงสร้างประมวลจรรยาบรรณ โครงสร้างของประมวลจรรยาบรรณ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ หลักการพื้นฐานและกรอบแนวคิด ว่าด้วยการปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณ หลักการพื้นฐาน และกรอบแนวคิด และที่สามารถนำไปปรับใช้กับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคน                                                        ส่วนที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในหน่วยงานธุรกิจ (Professional Accountants in Business-PAIB) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในหน่วยธุรกิจ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงาน การ จ้างงานหรือการทำสัญญาในฐานะผู้บริหารหรือผู้บริหารที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารในองค์กรเหล่านี้ ได้แก่ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรมหรือบริการ, ภาคการศึกษา, หน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร, องค์กรกำกับดูแลหรือองค์กรทางวิชาชีพ นอกจากนี้ส่วนที่ 2 ยังนำไปปรับใช้กับบุคคลที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ เมื่อปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาชีพตามความสัมพันธ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กับสำนักงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่ว่าจะเป็นในฐานะคู่สัญญา ลูกจ้างหรือเจ้าของ                                                       ส่วนที่ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพที่ให้บริการสาธารณะ(Professional Accountants in Public Practice-PAPP) ได้กำหนดคำอธิบายเพิ่มเติมที่นำไปปฏิบัติกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ เมื่อให้บริการทางวิชาชีพ                              ส่วนที่ 4ก และ 4ข มาตรฐานระหว่างประเทศเรื่องความเป็นอิสระ ได้กำหนดคำอธิบายเพิ่มเติมที่นำไปปฏิบัติกับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ให้บริการสาธารณะ เมื่อให้บริการให้ความเชื่อมั่นดังต่อไปนี้                                                                                                                           ส่วนที่ 4 ก  ความเป็นอิสระ สำหรับงานสอบบัญชีและงานสอบทานที่นำไปใช้เมื่อปฏิบัติงานสอบบัญชีหรืองานสอบทาน    ส่วนที่ 4 ข   ความเป็นอิสระสำหรับงานที่ให้ความเชื่อมั่น นอกเหนือจากงานสอบบัญชีและงานสอบ ทาน ซึ่งนำไปใช้เมื่อปฏิบัติงานที่ให้ความเชื่อมั่นที่ไม่ใช่งานสอบบัญชีหรืองานสอบทาน ดังแสดงในรูปที่ 1-3  รูปที่ 1 โครงสร้างประมวลจรรยาบรรณ ที่มา: คู่มือประมวลจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์   รูปที่ 2 ภาพรวมคู่มือประมวลจรรยาบรรณ-ส่วนและหมวด ส่วนที่ 1- ส่วนที่ 3   รูปที่ 3 ภาพรวมประมวลคู่มือจรรยาบรรณ-ส่วนและหมวด ส่วนที่ 4ก และ 4ข หลักการพื้นฐาน และกรอบแนวคิด หลักการพื้นฐาน                                                                                                              เป็นการกำหนดมาตรฐานของพฤติกรรมที่คาดหวังไว้จากผู้ประกอบวิชาชีพฯ ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความเที่ยงธรรม ความรู้ความสามารถและความเอาใจใส่ทางวิชาชีพ การรักษาความลับ พฤติกรรมทางวิชาชีพ และความโปร่งใส โดยแสดงไว้ในหมวดย่อย 111-115 สำหรับจรรยาบรรณเรื่องความเป็นอิสระไม่ได้แสดงไว้ในส่วนของหลักการพื้นฐานแต่แสดงไว้ในส่วนที่4 ก และ 4 ข เรื่องมาตรฐานความเป็นอิสระ โดยหลักการพื้นฐานทั้ง 5 ประการมีข้อกำหนดและการนำไปปฏิบัติ ใช้ดังนี้ 1. ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ 2. ความเที่ยงธรรม ได้แก่ 3. ความรู้ ความสามารถ และความเอาใจใส่ทางวิชาชีพ (การรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน) ได้แก่ 4. การรักษาความลับ ได้แก่ การระมัดระวังความเป็นไปได้ที่จะเปิดเผยข้อมูลโดยพลั้งเผลอ รวมทั้งในสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคลที่เป็นผู้ร่วมงานทางธุรกิจที่ใกล้ชิด หรือสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดที่สุดหรือสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิด 5. พฤติกรรมทางวิชาชีพ ได้แก่ กรอบแนวคิด ด้วยในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานอาจเกิดอุปสรรค กรอบแนวคิดจะช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานและบรรลุความรับผิดชอบที่มีต่อประโยชน์สาธารณะ สามารถนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงและเหตุการณ์แวดล้อมในวงกว้างได้ เนื่องด้วยกิจกรรมทางวิชาชีพ ผลประโยชน์ และความสัมพันธ์ที่หลากหลายอาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน                                                             กรอบแนวคิด มีแนวทางสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพฯ ดังนี้                                                                      1. ระบุอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณ                                                       อุปสรรค ได้แก่       ก. อุปสรรคจากผลประโยชน์ส่วนตน เป็นอุปสรรคที่เกิดจากผลประโยชน์ทางการเงิน หรือผลประโยชน์อื่นที่มีอิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมต่อการใช้ดุลยพินิจหรือพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีข. อุปสรรคจากการสอบทานผลงานตนเอง เป็นอุปสรรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ไม่สามารถประเมินได้อย่างเหมาะสมเกี่ยวกับผลของการใช้ดุลพินิจที่ผ่านมาของตน หรือกิจกรรมที่ทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเองหรือโดยบุคคลอื่นในสำนักงานหรือองค์กรผู้ว่าจ้างที่เกี่ยวข้องค. อุปสรรคจากการเป็นผู้ให้การสนับสนุน เป็นอุปสรรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ให้การสนับสนุนสถานภาพของลูกค้าหรือองค์กรผู้ว่าจ้าง จนถึงจุดที่กระทบต่อความเที่ยงธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพฯง. อุปสรรคจากความคุ้นเคยกับลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างจ. อุปสรรคจากการถูกข่มขู่                                                                                                              2. ประเมินอุปสรรคที่ระบุไว้                                                                                                                 เป็นการประเมินว่าอุปสรรคนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ได้ใช้การทดสอบอย่างที่บุคคลที่สามที่มีความรอบรู้และได้ใช้วิจารณญาณเยี่ยงวิญญูชน                                                                                                                 3. จัดการอุปสรรคโดยขจัดหรือลดอุปสรรคให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้                                                       เมื่อผู้ประกอบการวิชาชีพฯ พบอุปสรรคที่ไม่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ในการจัดการอุปสรรคทำได้ด้วยการขจัดหรือลดอุปสรรคนั้น ให้อยู้ในระดับที่ยอมรับได้โดย ก. การขจัดเหตุการณ์แวดล้อม ผลประโยชน์หรือความสัมพันธ์ที่มำให้เกิดอุปสรรคนั้นข. การใช้มาตรการป้องกันเท่าที่มีอยู่และสามารถนำมาปฏิบัติได้เพื่อลดอุปสรรคนั้น ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ค. การปฏิเสธหรือยุติกิจกรรมทางวิชาชีพที่ปฏิบัติอยู่นั้น                                        การนำประมวลจรรยาบรรณไปใช้                                                                                            จากหลักการพื้นฐานและกรอบแนวคิดดังที่กล่าวมาข้างต้น พอจะสรุปแนวทางในการนำประมวลจรรยาบรรณไปใช้ดังนี้                   1. ประมวลจรรยาบรรณช่วยกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานทางจรรยาบรรณและนำกรอบแนวคิดไปใช้ระบุ ประเมิน และจัดการอุปสรรค โดยใช้ดุลยพินิจทางวิชาชีพ การมีความตื่นตัวในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของข้อเท็จจริงและเหตุการณ์แวดล้อม รวมทั้งการใช้การทดสอบอย่างบุคคลที่สามที่มีความรอบรู้และได้ใช้วิจารณญาณเยี่ยงวิญญูชน                                2. กรอบแนวคิดช่วยในการรับรู้เงื่อนไข นโยบายและวิธีปฏิบัติที่กำหนดโดยวิชาชีพ กฎหมายและข้อบังคับที่ส่งผลกระทบต่ออุปสรรคต่างๆ และเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการประเมินอุปสรรคว่าอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่                                                                                                                                   3. ประมวลจรรยาบรรณ เป็นเครื่องมือที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ต้องมีความเป็นอิสระเมื่อปฏิบัติงานสอบบัญชี งานสอบทาน โดยใช้กรอบแนวคิดในการระบุ การประเมินและการจัดการอุปสรรคต่อความเป็นอิสระ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับกรอบแนวคิดในการจัดการอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน นักบัญชีในฐานะที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ควรศึกษาและทำความเข้าใจประมวลจรรยาบรรณดังที่กล่าวมา เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานของวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และไว้วางใจของผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งที่เป็นองค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรํฐ                                                                                                     ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง:                                                                            สภาวิชาชีพบัญชี: มาตรฐาน (tfac.or.th)บทความ : จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี | มหาวิทยาลัยศรีปทุม (spu.ac.th)จรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี (jarataccountingandlaw.com)

17 ส.ค. 2022

PEAK Account

18 min

หนี้สูญ กับ ปัญหารายจ่ายของบริษัท

ในปัจจุบันสภาพการแข่งขันที่สูงสำหรับธุรกิจ SMEs การขายสินค้าแค่เพียงการรับชำระเป็นเงินสดเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าก็ย่อมต้องการซื้อสินค้าไปผลิตและวางจำหน่ายก่อน เมื่อไรที่ได้รับชำระเงินมาก็ค่อยนำมาชำระให้ผู้ขาย ดังนั้นการให้เครดิตกับลูกค้าหรือการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จึงช่วยเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจ SMEs ลูกค้าที่ได้รับเครดิตในการชำระเงินจากการซื้อสินค้า ซึ่งเกิดจากการดำเนินการค้าขายตามปกติของธุรกิจ เรียกว่าลูกหนี้การค้า ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ได้ตกลงให้ผู้ซื้อ (ลูกค้า) นำสินค้าไปใช้ก่อนแล้วค่อยชำระเงินภายหลัง หรือที่เรียกว่าการให้เครดิตเทอม ซึ่งระยะเวลาการให้เครดิตเทอมของธุรกิจ มีตั้งแต่ 15 วัน 30 วัน 45 วัน หรือ 60 วัน เป็นต้น  ความหมายของหนี้สูญ จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลยอดขายของธุรกิจลดลง ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากการผิดนัดการชำระหนี้ของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้มีหนี้ค้างชำระสะสมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดหาเงินสำรองมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิต หรือการจัดซื้อสินค้าสำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป รวมถึงการสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายของกิจการ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าขนส่งสินค้า ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ภาระดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการเกิดการขาดสภาพคล่องได้ เมื่อกิจการไม่สามารถบริหารจัดการในเรื่องเงินทุนหมุนเวียนได้  ในที่สุดอาจทำให้ถึงขั้นเลิกกิจการ ในการผิดนัดของลูกหนี้ มีโอกาสที่กิจการจะไม่ได้รับชำระหนี้ และอาจเกิดหนี้สูญขึ้นได้ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 เรื่องหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ได้ให้คำนิยามของคำว่า “หนี้สูญ” ไว้ดังนี้ “หนี้สูญ” หมายถึง ลูกหนี้ที่ได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี   แนวปฏิบัติในทางบัญชี การตัดจำหน่ายหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายโดยตรง ที่จริงเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่ก็มีข้อบกพร่องที่ไม่เป็นไปตามหลักการ Matching Principle หรือหลักการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชี อีกทั้งมูลค่าของลูกหนี้ที่แสดงในงบการเงินไม่ได้อยู่ในมูลค่าที่จะได้รับจริง วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยใช้กัน เว้นแต่หนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้มีจำนวนที่ไม่มีนัยสำคัญ แต่ในสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจ ถึงแม้ลูกหนี้ส่วนใหญ่จะชำระหนี้เมื่อครบกำหนด แต่มีลูกหนี้บางรายไม่ชำระหนี้ ในทางปฏิบัติจะ   ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดจะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะถึงกำหนดชำระ หรือได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว ทำให้มูลค่าของลูกหนี้ที่จะแสดงในงบการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นจึงต้องมีการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้จำนวนหนึ่ง กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่า นำไปปรับลดบัญชีลูกหนี้ เพื่อให้แสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามความเป็นจริง ได้แก่ วิธีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้องตามหลักการบัญชีในการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชี แนวทางการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อให้กิจการที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดจากการเลิกกิจการของลูกหนี้ หรือเกิดจากการเก็บหนี้ไม่ได้ กรมสรรพากรจึงกำหนดให้ใช้แนวทางการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ได้แก่ กฎกระทรวงฉบับที่ 374 (พ.ศ.2564) ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 29 เมษายน พ.ศ.2564 แทนกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำหนี้สูญที่จะจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม สาระสำคัญของการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษีตามหลักเกณฑ์ใหม่ มีดังนี้ 1. ลักษณะของหนี้สูญที่จะสามารถจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ได้  สำหรับหลักเกณฑ์ข้อนี้ไม่แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม โดยลักษณะของหนี้สูญที่จะสามารถจำหน่ายจากบัญชีลูกหนี้ได้มีดังนี้ ·      เป็นหนี้ที่เกิดจากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการ หรือหนี้ที่ได้รวมเป็นเงินได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่ไม่รวมหนี้ซึ่งเกิดจากกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นลูกหนี้ (เงินให้กู้ยืมกรรมการ ไม่สามารถตัดหนี้สูญได้) ·      ต้องเป็นหนี้ที่ไม่ขาดอายุความและมีหลักฐานโดยชัดแจ้งที่สามารถฟ้องลูกหนี้ได้ 2. มีการขยายเพดานการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล    สำหรับหลักเกณฑ์ข้อนี้มีความแตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ดังนี้ 3. หลักเกณฑ์ในการตัดหนี้สูญใหม่ 3.1 กรณีลูกหนี้แต่ละราย มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท  มีหลักฐานการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้ แต่ไม่ได้รับชำระหนี้ หากฟ้องจะเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับชำระ 3.2 กรณีลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 200,000 บาทแต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. มีการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้และมีหลักฐานการติดตาม แต่ไม่ได้รับชำระ โดยปรากฏว่า (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ 2. ได้ดำเนินการฟ้องศาล 2.1 กรณีคดีแพ่ง กิจการจะตัดหนี้สูญได้เมื่อได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องและศาลได้มีคำสั่งรับคำขอนั้นแล้ว 2.2 กรณีคดีล้มละลาย กิจการจะตัดหนี้สูญได้เมื่อได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้และศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้ว หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลได้มีคำสั่งรับคำขอรับชำระหนี้นั้น 3. กรณีลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 2,000,000 บาท ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.มีการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้และมีหลักฐานการติดตาม แต่ไม่ได้รับชำระ โดยปรากฏว่า (ก) ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เป็นคนสาบสูญ หรือมีหลักฐานว่าหายสาบสูญ และไม่มีทรัพย์สินชำระหนี้ (ข) ลูกหนี้เลิกกิจการ และมีเจ้าหนี้รายอื่นที่มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ 2.ได้ดำเนินการฟ้องศาล 2.1 กรณีคดีแพ่ง กิจการจะตัดหนี้สูญได้เมื่อได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้ หรือได้ยื่นคำขอเฉลี่ยหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง โดยได้มีหมายบังคับคดีของศาลแล้ว และมีรายงานการบังคับคดีครั้งแรกของ       เจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินใดชำระหนี้ได้ 2.2 กรณีคดีล้มละลาย กิจการจะตัดหนี้สูญได้เมื่อได้ดำเนินการฟ้องลูกหนี้หรือได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้อง หรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย โดยได้มีการประนอมหนี้นั้นกับลูกหนี้ โดยศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้นั้น หรือลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายและได้มีการแบ่งทรัพย์สินของลูกหนี้ครั้งแรกหรือศาลได้มีคำสั่งปิดคดีแล้ว 4.หลักเกณฑ์ใหม่นี้ใช้บังคับสำหรับการดำเนินการที่เริ่มในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มหรือหลังวันที่   1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป การบริหารจัดการลูกหนี้ไม่ให้เกิดหนี้สูญ ถึงแม้จะมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาช่วยผู้ประกอบการในการ         ตัดหนี้สูญเป็นรายจ่ายได้เหมาะสมกับสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน แต่ผู้ประกอบการก็ควรกำหนด      แนวทางการบริหารจัดการลูกหนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เกิดหนี้สูญ สามารถจัดเก็บหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาและทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดสภาพคล่อง โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ 1. การกำหนดนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้การค้า ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใด การกำหนดนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ประกอบด้วย ·  การคัดเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายควรมีคุณสมบัติเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ มีความน่าเชื่อถือ ทั้งในส่วนของ ผลประกอบการและสถานะทางการเงิน   ·  การวิเคราะห์สถานะทางการเงินของลูกค้า  สำหรับธุรกิจ SMEs คงไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์สินเชื่อเหมือนกิจการขนาดใหญ่ แต่ควรวิเคราะห์เพื่อเป็นการป้องกัน     ความเสี่ยงในการเก็บหนี้ไม่ได้ โดยวิเคราะห์ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ กรณี ลูกค้าที่เป็นนิติบุคคลสามารถเข้าไปดูข้อมูล งบการเงินที่ตรวจสอบแล้วได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในส่วนของคลังข้อมูลธุรกิจ DataWarehouse+ (dbd.go.th) หรือ ข้อมูลของ Business Online (BOL) ซึ่งให้บริการด้านข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการวิเคราะห์ในเชิงสถิติ เป็นต้น ส่วนลูกค้าที่เป็น บุคคลธรรมดา กิจการไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและผลการดำเนินงานได้ ก็สามารถ  ใช้วิธีสอบถามประวัติ อาชีพ การศึกษา การตรวจสอบจาก google ว่ามีคดีความหรือไม่ รวมทั้งการ  ตรวจสอบรายชื่อบุคคลล้มละลายจากกรมบังคับคดี หรืออาจสอบถามจากคู่ค้าของบุคคลนั้นเกี่ยวกับ  ประวัติและพฤติกรรมการจ่ายชำระหนี้ 2. การกำหนดนโยบายการเร่งรัดหนี้สินจากลูกหนี้การค้า เป็นการกำหนดแนวทางในการติดตามหนี้จากลูกหนี้การค้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจนและควรกำหนดขั้นตอนการจัดทำเป็นระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ 2.1 กรณีผิดนัดชำระในระยะ 7 วันแรก พนักงานที่ดูแลจัดเก็บหนี้จะโทรติดตามเกี่ยวกับกำหนดการชำระหรือสาเหตุที่ติดขัดยังไม่ชำระหนี้ 2.2 กรณีผิดนัดชำระระหว่าง 7-30 วัน พนักงานที่ดูแลจัดเก็บหนี้ จะโทรติดตามและให้ข้อมูลกำหนดการชำระและเร่งรัดให้ลูกหนี้ชำระ รวมทั้งรายงานผลการติดตามให้ฝ่ายบริหารทราบ 2.3 กรณีผิดนัดชำระเกินกว่า 30 วัน ผู้บริหารจะพิจารณาว่าบริษัทสามารถยอมรับการชำระหนี้ที่ล่าช้าได้หรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเข้าพบลูกค้าโดยตรง เพื่อสอบถามสาเหตุในการชำระหนี้ล่าช้า มีการเจรจาหาข้อสรุป  ผู้ประกอบการควรบริหารจัดการการจัดเก็บหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ศึกษากฎหมายภาษีดังที่กล่าวมา เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดหนี้สูญและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชีได้อย่างมืออาชีพ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK   ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง: mr374.pdf (rd.go.th) หลักเกณฑ์ใหม่จัดหนี้สูญอย่างไรให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้ | อบรมบัญชี, เก็บชั่วโมง CPD (iliketax.com) Update หลักเกณฑ์ใหม่ การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ รอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 เป็นต้นไป – สำนักกฎหมายธรรมนิติ (dlo.co.th) การตัดหนี้สูญตามกฎหมายฉบับใหม่ปี 2564 – สอบบัญชีธรรมนิติ(DAA) การบริหารลูกหนี้การค้า (businessplus.co.th)

16 ม.ค. 2022

PEAK Account

27 min

การพัฒนาทักษะนักบัญชีในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ หลายอาชีพมีความเสี่ยงที่จะตกงาน หลายคนเชื่อกันว่าการทำงานแบบซ้ำๆ เดิมอย่างงานบัญชีมีโอกาสถูกแทนที่ด้วย AI นักบัญชีจะเรียนรู้และพัฒนาทักษะอะไรบ้างเพื่อให้อยู่รอดและไม่เสี่ยงต่อการตกงานในยุคดิจิทัล ยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทุกวันนี้โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้ Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า รวมถึงขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร โดยตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมในการปรับตัวไปกับองค์กรด้วยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเพื่อป้องกันการเกิด Digital Disruption Digital Disruption คือ ภาวะการหยุดชะงักของธุรกิจ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งแพลตฟอร์มและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานของดิจิทัล เช่น ธุรกิจ E-Commerce ได้แก่ แอปพลิเคชัน Shopee และ Lazada เป็นต้น บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Grab, Bolt, Taxi OK เป็นต้น บริการชมภาพยนตร์ผ่านแอปพลิเคชันสตรีมมิ่ง เช่น Netflix, Disney plus Hotstar, HBO GO เป็นต้น โดย Digital Disruption จะส่งผลกับธุรกิจดังต่อไปนี้ 1. เทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข่าวสาร ข้อมูล ได้อย่างง่ายดายทุกที่  ทุกเวลา ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจจึงต้องปรับให้ทันต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค 2. ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดีและกว้างไกล เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบันอาศัยความรวดเร็วเป็นสำคัญ ไม่สำคัญว่าเป็นองค์กรขนาดใหญ่เพราะในยุคนี้ธุรกิจขนาดเล็กที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ดีและกว้างไกลย่อมปรับตัวทันต่อเทคโนโลยีได้ดีกว่า 3 ธุรกิจต้องปรับตัวโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น Cloud, Big data, RPA, Blockchain, Data Analytics, Machine Learning, AI เป็นต้น เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของนักบัญชี จากการเกิด Digital Disruption และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ทำให้ต้องเร่งปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร ทั้งในแง่ของการผลิต การจัดซื้อ การจัดจำหน่าย การรับ-จ่ายเงิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของนักบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของนักบัญชี ได้แก่ 1. Advance Data Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากมายมหาศาล(Volume), ข้อมูลมีความหลากหลายและซับซ้อน (Variety), ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา (Velocity), ข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลคนละที่หรือคนละชนิด แต่มีการจัดระเบียบหรือวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ (Veracity) และข้อมูลมีความซับซ้อนสูงจึงต้องมีกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผล (Complexity) โดยนักบัญชีจะนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารให้นำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันในวงการบัญชีมีการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data (Big Data Analytics) ได้แก่ 2.RPA (Robotic Process Automation) คือ โปรแกรมออกแบบการสร้างหุ่นยนต์ (Robot) โดยเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ ให้ทำงานตามรูปแบบที่กำหนดสำหรับงานที่มีจำนวนมาก เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการทำ Transaction Process ซึ่งมีลักษณะทำซ้ำๆ และไม่มีความซับซ้อน เป็นงานที่มีข้อกำหนดตายตัวตามข้อมูลที่มนุษย์ป้อนให้ มีเงื่อนไขการตัดสินใจที่เป็นแบบแผน รวมทั้งงานประเภทที่มักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร การบันทึกใบแจ้งหนี้ (Invoice Processing) เป็นต้น ประโยชน์ของRPA ได้แก่ 3.ระบบ Cloud และการใช้ Software as a Service (SaaS) Cloud เป็นหน่วยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การประมวลผลระบบ Cloud แบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่ ประโยชน์ของคลาวด์ ได้แก่ 1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ รวมทั้งการจ้างพนักงานด้านไอที 2. การสำรองข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ช่วยลดความเสี่ยงในการสำรองไฟล์และการเก็บข้อมูลไว้เพียงที่เดียว 3. มีความปลอดภัยของข้อมูลในการเข้าสู่ระบบ โดยใช้ password และผู้ใช้สามารถตั้งค่าความปลอดภัยบนคลาวด์เองได้ 4.AI (Artificial Intelligence) AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผนและตัดสินใจได้รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ อาชีพที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนหรือมีรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานมีโอกาสถูก AI เข้าไปแทนที่ได้ อย่างงานบัญชีที่มีลักษณะการทำซ้ำเดิมๆ AI มีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจดังนี้ 1. ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีจำนวนมากได้อย่างแม่นยำ AI สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยความถูกต้องแม่นยำและนำเสนอได้ภายในเวลาที่จำกัด ตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูลโดยใส่คีย์เวิร์ดใน Google ซึ่งใช้ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้คำค้นหาหรือคีย์เวิร์ดทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ปัจจุบันมีมัลแวร์ (ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย) เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ระบบ AI ช่วยในการตรวจสอบติดตามแยกแยะได้ว่าไฟล์ไหนเป็นมัลแวร์คุกคาม 2. ใช้ในการประเมินพฤติกรรมผู้บริโภค AI ช่วยประเมินผลพฤติกรรมผู้บริโภคจากประวิติการสั่งซื้อ โดยสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ขายสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า  นอกจากนี้ AI ยังช่วยสร้างแบรนด์ด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ หรือการช่วยทำ SEO ที่ตอบโจทย์ในการค้นหาของลูกค้ารวมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาที่ดึงดูดผู้อ่าน ไปจนถึงการโปรโมทสินค้าและทำโฆษณา 3. ช่วยผู้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในการตัดสินใจ AI ช่วยประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจสำหรับเจ้าของธุรกิจให้ได้ทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด ในการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล ปราศจากอารมณ์ ความคิดเห็นหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งต่างจากการตัดสินใจของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา ทำให้ผู้ประกอบการในองค์กรทุกระดับเกิดการตื่นตัว เพื่อเป็นการขับเคลื่อนองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการ SMEs ก็ต่างให้ความสนใจโดยเฉพาะด้านบัญชีและภาษี เพื่อให้การบริหารจัดการทางด้านบัญชีและภาษีมีประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์จึงตอบโจทย์ด้วยเป็นระบบ Cloud Accounting Software ตัวอย่างเช่น โปรแกรมบัญชี PEAK ใช้เทคโนโลยี OCR ของ Google ที่มาช่วยอ่านเอกสารทางบัญชีเพียงอัปโหลดรูปก็สามารถบันทึกบัญชีได้ ตัดปัญหาเรื่องเอกสารหาย หาใบเสร็จไม่เจอ ช่วยรองรับการเติบโตของธุรกิจ Feature นี้เหมาะกับธุรกิจ SMEs ที่ใช้บริการร่วมกับสำนักงานบัญชีและธุรกิจ SMEs ที่ต้องการจัดเอกสารให้มีความเป็นระบบระเบียบ เพียงอัปโหลดรูป นักบัญชีก็สามารถเข้าไปทำบัญชีและภาษีได้โดยไม่ต้องกลัวเอกสารหาย ใช้ AI และ Big Data ที่พัฒนาขึ้นที่ทำให้การบันทึกบัญชีง่ายขึ้นและใช้ดุลยพินิจเบื้องต้นในการแสดงและจัดประเภทรายการบัญชี ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากลิงก์นี้ ??ก็บเอกสาร-บันทึกบัญช/?fbclid=IwAR2rtLe1-AAjb3mGr0PBrP6ElB8wA-bH8eSBIXCW5MrEHoi8vYfozjsb-_หากต้องการนำเข้าไฟล์ภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น PEAK ได้พัฒนา Feature ที่เชื่อมต่อกันกับแอปพลิเคชัน LINEตามลิงก์นี้ PEAK ยังมีระบบใหม่ ที่พัฒนาลงใน Application LINE ซึ่งรองรับการออกเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย มีระบบตอบกลับเป็นหน้าลิงก์เอกสารที่ส่งให้คู่ค้าได้ทันที พร้อมทั้งลงบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีลดต้นทุนในการเก็บเอกสาร ลดระยะเวลาในการทำงานและช่วยในการจัดทำบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง บทบาทใหม่ของนักบัญชีเพื่อตอบรับ Digital Transformation จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้นักบัญชีต้องปรับบทบาทใหม่จากหน้าที่การปิดบัญชี จัดทำงบการเงินและจัดทำรายงานสำหรับผู้บริหาร มาเป็นการให้ข้อมูลในแนววิเคราะห์เชิงลึกแก่ผู้บริหาร ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ นักบัญชีจึงต้องปรับบทบาทไปสู่การเป็นคู่คิดทางธุรกิจ หรือ Business Partner ซึ่ง Associated of International Certified Professional Accountants ได้ให้มุมมองของแนวโน้มการเป็น Business Partnerของ         นักบัญชีไว้ดังนี้      1. ระบบงานบัญชีมีประสิทธิภาพ (Efficiency) มาก        เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ระบบบัญชีจะมีมาตรฐานและมีความเป็นระบบอัตโนมัติ นักบัญชีมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถทำงานในฐานะนักบัญชีบริหารที่สนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารได้มากขึ้น      2. การทำงานในเชิงวิเคราะห์ข้อมูล (Information) เพิ่มขึ้น        เนื่องจากผู้บริหารต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซึ่งข้อมูลเป็น Big Data นักบัญชีจึงต้องพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud, Business Intelligence (BI), Big Data Analytics เป็นต้น เพื่อช่วยจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้บริหาร      3. ผู้บริหารคาดหวังว่านักบัญชีจะมีบทบาทสำคัญ (Influence) ในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ      การเกิด Digital Disruption ทำให้องค์กรทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้เรียกว่า VUCA World โดย VUCA ย่อมาจากคำว่า Volatility(ความผันผวน), Uncertainty (ความไม่แน่นอน), Complexity (ความสลับซับซ้อน), Ambiguity (ความคลุมเครือ)               นักบัญชีจึงได้รับการคาดหวังให้มีบทบาทสำคัญดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 4 ทักษะสำคัญของนักบัญชีในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับตนเองและองค์กรในการทำงานในยุคดิจิทัล มีทักษะสำคัญ 4 ประการที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีดังต่อไปนี้ 1. ทักษะทางด้านธุรกิจ (Business Skill) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนักบัญชีมีหน้าที่จัดเตรียมข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงานเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อตอบรับกับ Digital Transformation นักบัญชีควรพัฒนาทักษะทางด้านธุรกิจดังนี้ 1.1 ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Data Analytical Skill)           นักบัญชีควรมีความเข้าใจขอบเขตและการดำเนินการทางธุรกิจที่ทำบัญชีอย่างถ่องแท้ ควรติดตามความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลในทางธุรกิจ พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การคิดในเชิงกลยุทธ์เพื่อปรับบทบาทไปสู่การเป็น Business Partner ให้กับผู้บริหารในยุคดิจิทัล นักบัญชีควรพัฒนาทักษะการวิเคราะห์แบบ Business Insight ทำความเข้าใจธุรกิจในหลากหลายมิติและมองไปข้างหน้า (Forward-looking) สามารถระบุประเด็นสำคัญ ตั้งคำถาม ออกแบบและเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยผู้บริหารวางแผนกลยุทธ์ เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ 1.2 ทักษะในการจัดการ (Administrative Skill) นักบัญชีต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการทีมงาน การเจรจาต่อรอง ความสามารถทำงานร่วมกันกับ Business Function อื่นๆ ในองค์กร ได้แก่ หน่วยงานขาย จัดซื้อ ทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกระบวนการทำงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อสร้างข้อมูลแบบเชิงลึก (Insight) ที่เสนอแนวทางการแก้ปัญหา (Solution)  ที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนองคาพยพของทั้งองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน 2. ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Skill) เพื่อเตรียมเข้าสู่ยุคดิจิทัล นักบัญชีต้องเปิดใจและมอง Digital Transformation เป็นโอกาสแทนที่จะมองเป็นวิกฤตโดยนักบัญชีควรพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้แก่ 2.1 Data Mining คือ การวิเคราะห์แยกแยะและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล Big Data 2.2 Data Visualization คือ การสรุปและแสดงข้อมูลในรูปแผนภาพ กราฟ แผนภูมิหรือวิดีโอ ซึ่งจะช่วยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกและแสดงแนวโน้มในอนาคต เครื่องมือที่เป็น Data Visualization ได้แก่ Power BI, Tableau, Google Data Studio เป็นต้น      2.3 Data Modelling คือ การสร้างแบบจำลองข้อมูล หรือแนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้าง ความสัมพันธ์และความหมายของข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายขึ้น 3.ทักษะความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาชีพ (Professional Skill) การเกิด Digital Disruption ทำให้นักบัญชีต้องพัฒนาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพให้มีความเป็นมืออาชีพ ทั้งทักษะทางด้านสติปัญญา (Intellectual Skill) และทักษะทางด้านเทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะทางด้านวิชาชีพ (Technical Skill) นักบัญชีต้องติดตามความรู้อย่างสม่ำเสมอสำหรับมาตรฐานบัญชีและกฎหมายภาษีที่มีการอัปเดตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็น Lifelong learning ที่ต้องพัฒนาและรักษามาตรฐานของวิชาชีพ 4.   ทักษะทางด้านอารมณ์การสื่อสาร (Soft Skill) นอกเหนือไปจากทักษะความรู้ที่ใช้ในการทำงานหรือที่เรียกว่า Hard Skill แล้ว นักบัญชีควรมี Soft Skill ซึ่งเป็นทักษะทางด้านอารมณ์ ความสามารถในการประสานงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งมีความสำคัญในการทำงานเป็นทีมและทำงานกับเพื่อนร่วมงานต่างสาขาอาชีพ ถ้านักบัญชีมีความพร้อมซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติในทักษะต่างๆ ดังที่กล่าวมาจะช่วยเพิ่มคุณค่าในตัวนักบัญชีให้เป็นนักบัญชีที่มีคุณภาพในยุคดิจิทัล เป็นคู่คิดทางธุรกิจซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยนำพาให้องค์กรอยู่รอด ช่วยขับเคลื่อนทิศทางให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเติบโตและมีความสามารถในการแข่งข้นที่มีความรุนแรงในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วได้ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก       อ้างอิง: Big Data Analytics, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 8 พฤษภาคม 2563        ทักษะและเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับนักบัญชีบริหาร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 21 เมษายน 2563        นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 18 พฤษภาคม 2563               Cloudคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร, Dropbox        ติดอาวุธธุรกิจ ด้วย RPA: UiPath Platform ฝ่าวิกฤติ COVID-19, TECHSAUCE, 29 มกราคม 2564        หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Big Data, นายภูวดล แสงทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ ??ืออะไร-ทำไมจึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจระดับโลกต้องจับตา/        Data Mining คืออะไร ทำไมจึงเป็นสิ่งที่องค์กรระดับโลกต้องจับตา        VUCA World คืออะไร สำคัญยังไง ไปรู้จักกัน!, mdr-thai.com, 17 มิถุนายน 2564

24 ก.พ. 2022

PEAK Account

22 min

ทำความรู้จัก Debit VS Credit ในการทำบัญชี

เดบิต-เครดิต เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับนักบัญชี ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี แต่สำหรับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปอาจจะไม่เข้าใจความหมายหรืออาจเข้าใจผิดได้ บางคนเข้าใจว่า เดบิต คือ รายรับ เครดิตคือรายจ่าย  อันที่จริง เดบิต เครดิต เป็นหลักการพื้นฐานของบัญชี การที่เจ้าของกิจการเข้าใจหลักการของเดบิตเครดิตจะช่วยให้มองเห็นที่มาที่ไปของรายการค้า เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบและช่วยให้วางแผนตัดสินใจในการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เดบิต เครดิต คืออะไร มีผู้ให้คำนิยามของเดบิต เครดิต ไว้ดังนี้ 1. คุณหญิง พยอม สิงห์เสน่ห์และนรีนุช เมฆวิชัย,2535 เดบิต (Debit) หมายถึง ด้านซ้ายของบัญชีแยกประเภทซึ่งใช้บันทึกสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น  และหนี้สินกับส่วนของเจ้าของที่ลดลง รายการที่บันทึกทางด้านซ้ายของบัญชีแยกประเภทเรียกว่าเดบิต เครดิต (Credit) หมายถึง ด้านขวาของบัญชีแยกประเภทซึ่งใช้บันทึกสินทรัพย์ที่ลดลง  และหนี้สินกับส่วนของเจ้าของที่เพิ่มขึ้น รายการที่บันทึกทางด้านขวาของบัญชีแยกประเภทเรียกว่าเครดิต 2. Federal of Accounting Professions,1995 เดบิต (Debit) หมายถึง จำนวนเงินที่แสดงทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการลงรายการทางด้านซ้ายของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือการลงรายการซ้ายของบัญชีหรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้หนี้สิน รายการเงินทุน (ส่วนของเจ้าของ) หรือรายได้ลดลง เครดิต (Credit) หมายถึง จำนวนเงินที่แสดงทางด้านขวาของบัญชี  หรือการลงรายการทางด้านขวาของบัญชี หรือการผ่านบัญชีอันกระทำให้หนี้สิน, รายการเงินทุน (ส่วนของเจ้าของ) หรือรายได้เพิ่มขึ้น (หรือทำให้สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายลดลง) 3. ราชบัณฑิตยสถาน, 2555 เดบิต (Debit) หมายถึง รายการทางด้านซ้ายของบัญชี ซึ่งแสดงการเพิ่มขึ้นของรายการทรัพย์สินของกิจการ หรือรายจ่ายของกิจการ เครดิต (Credit) หมายถึง รายการทางด้านขวาของบัญชี สินเชื่อ (Credit) หมายถึง ระบบที่ให้ผู้ใช้สินเชื่อสามารถซื้อสินค้า หรือบริการโดยชำระเงินในภายหน้า(ไม่ใช่ปัจจุบัน) ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อถือ หรือความไว้วางใจทางการเงินของบุคคลหรือหน่วยธุรกิจ (ผู้ให้สินเชื่อ) ในทางปฏิบัติ การที่นักบัญชีจะบันทึกรายการบัญชีว่ารายการใดเป็นเดบิตหรือเครดิต ต้องเข้าใจสมการบัญชีพื้นฐานก่อนคือ สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ(+รายได้-ค่าใช้จ่าย) Assets = Liability+ Shareholders’ Equity (+ Income -Expense) จากสมการบัญชีจึงขอสรุปความหมายของเดบิต เครดิต ได้ดังนี้ ในการบันทึกรายการบัญชีและจำนวนเงินจะมี 2 ด้าน รายการทางด้านซ้ายคือ เดบิต รายการทางด้านขวาคือ เครดิต โดยเดบิตมาจากคำว่า Debtor ใช้ตัวย่อ Dr  ส่วนเครดิตมาจากคำว่า Creditor ใช้   ตัวย่อ Cr ส่วนผลของรายการบัญชีจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับประเภทของบัญชี ดังแสดงในรูปสมการบัญชี สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของเจ้าของ(+รายได้-ค่าใช้จ่าย)     เดบิต ทำให้    เพิ่มขึ้น     ลดลง   ลดลง               ลดลง   เพิ่มขึ้น     เครดิต ทำให้   ลดลง       เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น             เพิ่มขึ้น ลดลง ในการบันทึกบัญชี จำนวนเงินที่บันทึกทางด้านเดบิตและเครดิตต้องเท่ากันเสมอตามสมการบัญชี ถ้า             ไม่เท่ากันแสดงว่ามีการลงบัญชีด้วยจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำว่า เครดิต ที่ใช้ในทางบัญชียังหมายถึง สินเชื่อจากการซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นเงินเชื่อ  ทำให้เกิดรายการเจ้าหนี้การค้า โดยที่ผู้ซื้อได้รับเครดิตหรือสินเชื่อจากผู้ขาย หรือเกิดจากการขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ ทำให้เกิดรายการลูกหนี้การค้า โดยผู้ขายให้เครดิตหรือสินเชื่อแก่ผู้ซื้อ เครดิตจึงหมายความรวมถึงทั้งทางด้านเจ้าหนี้การค้าและลูกหนี้การค้า นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้คำว่า เดบิต เครดิต ในเรื่องอื่นๆ ดังนี้ 1. บัตรเดบิตและบัตรเครดิต บัตรเดบิต (Debit Card) หรือ ATM Card เป็นบัตรที่ผูกกันกับบัญชีเงินฝากธนาคาร ใช้ในการเบิกถอน ฝาก โอน จ่าย หรือสอบถามจำนวนเงิน โดยใช้งานผ่านเครื่อง ATM และบัตรเดบิตยังสามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการที่ร้านค้าหรือช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย บัครเครดิต (Credit Card) เป็นบัตรที่ออกโดยธนาคารหรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยการกำหนดวงเงินเชื่อให้แก่ผู้ถือบัตรที่เป็นบุคคลธรรมดาที่มีเครดิตหรือความน่าเชื่อถือว่ามีความสามารถชำระหนี้คืนเมื่อครบกำหนดเวลา โดยผู้ออกบัตรจะชำระเงินแทนผู้ถือบัตรไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ถือบัตรในภายหลัง 2. เอกสารเดบิตโน้ต เครดิตโน้ต เดบิตโน้ต หรือใบเพิ่มหนี้ คือ เอกสารใบกำกับภาษีที่ผู้ขายออกให้ลูกค้าเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจากใบกำกับภาษีเดิมที่ออกไป เนื่องจากมีการเพิ่มราคาสินค้าหรือบริการจากสินค้าที่ส่งไป มีจำนวนเกินกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน หรือมีการให้บริการเกินกว่าข้อกำหนดที่ตกลงกัน หรือเกิดจากการคำนวณราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง เครดิตโน้ต หรือใบลดหนี้ คือ เอกสารประกอบใบกำกับภาษีที่ผู้ขายออกให้ลูกค้า เมื่อมีการลดราคาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากผู้ขายส่งของให้ลูกค้าขาดไปจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน หรือการให้บริการผิดไปจากที่ตกลงกันไว้ หรือเกิดจากการคำนวณราคาผิดไปสูงกว่าความเป็นจริง หรือเกิดจากลูกค้าคืนสินค้าที่มีการชำรุดบกพร่องไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ หลักบัญชีคู่คืออะไร ในการบันทึกบัญชีโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ 1. ระบบบัญชีเดี่ยว (Single Entry System) เป็นการทำบัญชีอย่างง่าย โดยการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย มีรายละเอียด ของวันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย ยอดคงเหลือ การทำบัญชีแบบนี้เหมาะกับร้านค้าขนาดเล็กที่มีรายการค้าจำนวนไม่มาก บางรายการค้ากิจการก็จดบันทึกแบบเดบิต เครดิต คล้ายกับระบบบัญชีคู่ แต่บางรายการก็จดบันทึกเฉพาะด้านเดบิตหรือด้านเครดิตด้านใดด้านหนึ่ง ระบบบัญชีแบบนี้จึงไม่สมบูรณ์ตามหลักสมการบัญชี ทำให้ไม่สามารถจัดรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำงบทดลองได้ จึงไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชีเหมือนระบบบัญชีคู่ได้ โดยมีสมุดบันทึกที่ใช้ในระบบบัญชีเดี่ยวได้แก่ 1.1 สมุดเงินสด                เป็นการบันทึกรับจ่ายเงินประจำวัน ทำให้เจ้าของร้านค้าทราบว่ามีรายรับ รายจ่าย รายการอะไรบ้าง เกิดขึ้นเมื่อไร มีเงินสดคงเหลือเท่าไร การบันทึกบัญชีเดบิต เครดิต เป็นไปตามหลักบัญชีคู่ หลักบัญชีคู่ คือการบันทึกรายการบัญชี 2 ด้าน โดยแบ่งออกเป็นด้านเดบิต และด้านเครดิต โดยเมื่อรวมจำนวนเงินของแต่ละด้านจะต้องมียอดเท่ากันซึ่งเป็นไปตามสมการบัญชี โดยในแต่ละด้านมีจำนวนรายการไม่เท่ากันได้ 1.2 สมุดแยกประเภทรายตัวลูกหนี้และเจ้าหนี้       ร้านค้าที่ใช้ระบบบัญชีเดียว จะมีหมวดบัญชีไม่ครบทุกหมวดเหมือนระบบบัญชีคู่ อย่างบัญชีลูกหนี้และเจ้าหนี้ก็บันทึกเป็นรายตัว หรืออย่างบัญชีสินทรัพย์ถาวรก็อาจทำในรูปทะเบียนสินทรัพย์ แต่ร้านค้าที่ใช้ระบบบัญชีเดียวมักจะไม่เปิดหมวดรายได้และค่าใช้จ่าย 1.3 สมุดรายวันทั่วไป      ใช้สำหรับบันทึกรายการค้าที่ไม่ได้บันทึกในสมุดเงินสด เช่น รายการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ดังนั้น การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีเดี่ยว การบันทึกบัญชีจะไม่ถูกต้องและครบถ้วน ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป เพราะใช้หมวดบัญชีไม่ครบทุกหมวด และไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ กิจการที่ทำบัญชีในลักษณะนี้จะขาดการควบคุมภายในที่ดี ขาดการประสานงานและการแบ่งหน้าที่งานภายในหน่วยงานบัญชี มีโอกาสเกิดการทุจริตได้ง่าย 2. ระบบบัญชีคู่ (Double Entry System) เป็นการบันทึกบัญชีตามหลักสมการบัญชี ซึ่งเมื่อมีรายการค้าเกิดขึ้นนักบัญชีจะวิเคราะห์รายการค้าและบันทึกข้อมูลสองด้านคือ ด้านเดบิตและด้านเครดิต โดยหลักบัญชีคู่จะใช้สมุดบัญชี 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 สมุดรายวัน      ถือเป็นสมุดขั้นต้นในการบันทึกบัญชี เป็นการบันทึกรายการค้าตามลำดับวันที่ที่เกิดรายการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ                2.1.1 สมุดรายวันเฉพาะ สำหรับบันทึกรายการเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้แก่ สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน เป็นต้น                2.1.2 สมุดรายวันทั่วไป เป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการ เมื่อกิจการไม่ได้ใช้สมุดรายวันเฉพาะ โดยบันทึกรายการตามผังบัญชีซึ่งกำหนดรหัสบัญชีไว้ตามหมวดหมู่บัญชี                        เป็นจำนวน 5 หมวดหมู่ดังนี้ (ก) หมวดสินทรัพย์ ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เป็นต้น                               (ข) หมวดหนี้สิน ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า เงินเดือนค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย  เป็นต้น                               (ค) หมวดส่วนของเจ้าของ ได้แก่ ทุน กำไรสะสม เป็นต้น                               (ง) หมวดรายได้ ได้แก่ ขาย รายได้อื่นๆ เป็นต้น                               (จ) หมวดค่าใช้จ่าย ได้แก่ เงินเดือน ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า เป็นต้น 2.2 สมุดบัญชีแยกประเภท                เป็นการสรุปรายการจากสมุดบัญชีรายวัน ให้เป็นประเภทและหมวดหมู่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการจัดทำงบการเงิน โดยแบ่งออกเป็น                      2.2.1 สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป                     เป็นสมุดบัญชีที่รวบรวมรายการบัญชี โดยแยกเป็นประเภทของรายการตาม 5 หมวดหมู่บัญชี 2.2.2 สมุดแยกประเภทย่อย                     เป็นสมุดที่แสดงรายละเอียดของสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป ได้แก่ สมุดแยกประเภทย่อยลูกหนี้ สมุดแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้ เป็นต้น ตัวอย่างการบันทึกรายการเดบิต เครดิต เพื่อให้เข้าใจการบันทึกรายการเดบิตและเครดิตที่บันทึกตามหลักบัญชีคู่ จะขอยกตัวอย่างให้เห็นตามหลักสมการบัญชีดังต่อไปนี้ ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ABC จำกัด เจ้าของกิจการนำเงินสดมาลงทุนเปิดบริษัท เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท การวิเคราะห์รายการค้า         Debit (Dr)         Credit (Cr) เงินสด   1,000,000  บาท ทุน   1,000,000  บาท     Dr = 1,000,000    Cr  =1,000,000 ตัวอย่างที่ 2  กิจการซื้ออุปกรณ์สำนักงานเป็นเงินเชื่อ จำนวน 30,000 บาท       Debit (Dr)         Credit (Cr) เงินสด          1,000,000  บาท อุปกรณ์สำนักงาน  30,000  บาท ทุน    1,000,000 บาท เจ้าหนี้   30,000  บาท            Dr = 1,030,000   Cr = 1,030,000 ตัวอย่างที่ 3  กิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 30,000 บาท เป็นเงินสด 20,000 บาท การวิเคราะห์รายการค้า         Debit (Dr)         Credit (Cr) เงินสด           1,000,000  บาท อุปกรณ์สำนักงาน 30,000  บาท เงินสด               20,000  บาท ลูกหนี้               30,000  บาท ทุน      1,000,000 บาท เจ้าหนี้     30,000  บาท ขาย       50,000   บาท             Dr = 1,080,000   Cr = 1,080,000 ตัวอย่างที่ 4  กิจการบันทึกค่าเช่าสำนักงานค้างจ่าย เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท การวิเคราะห์รายการค้า         Debit (Dr)         Credit (Cr) เงินสด           1,000,000  บาท อุปกรณ์สำนักงาน 30,000  บาท เงินสด               20,000  บาท ลูกหนี้               30,000  บาท ค่าเช่า               20,000  บาท ทุน           1,000,000 บาท เจ้าหนี้          30,000  บาท ขาย             50,000   บาท   ค่าเช่าค้างจ่าย 20,000   บาท                   Dr = 1,100,000            Cr = 1,100,000 ตัวอย่างที่ 5  กิจการซื้อสินค้ามูลค่า 70,000 บาท เป็นเงินเชื่อ 50,000 บาท ชำระเป็นเงินสด 20,000 บาท  การวิเคราะห์รายการค้า         Debit (Dr)         Credit (Cr) เงินสด           1,000,000  บาท อุปกรณ์สำนักงาน 30,000  บาท เงินสด               20,000  บาท ลูกหนี้               30,000  บาท ค่าเช่า               20,000  บาท สินค้า                70,000 บาท ทุน    1,000,000 บาท   เจ้าหนี้   30,000  บาท ขาย      50,000   บาท    ค่าเช่าค้างจ่าย 20,000    บาท  เงินสด           20,000    บาท  เจ้าหนี้           50,000    บาท                       Dr = 1,170,000            Cr = 1,170,000 จากตัวอย่างที่ 1-5 แสดงการวิเคราะห์รายการค้า แยกเป็นรายการ เดบิตและเครดิตโดยบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ เมื่อวิเคราะห์รายการค้าแล้ว ตามระบบบัญชีคู่จะบันทึกรายการในสมุดรายวันและผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท ดังตัวอย่างที่ 6 ตัวอย่างที่ 6 สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) หลังจากบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไปแล้ว ระบบจะผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท ซึ่งจะแสดงในรูปแบบดังนี้ สมุดบัญชีแยกประเภท เมื่อนำมาจัดทำงบทดลอง จะได้ดังนี้ งบทดลองบ.ABC จะเห็นว่าเมื่อจัดทำงบทดลองแล้ว กิจการจะสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของรายการค้าและข้อมูลมีความครบถ้วน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยแยกรายการเดบิต เครดิตและบันทึกบัญชีให้อัตโนมัติ มีฟังก์ชันการนำเข้ารายการสมุดรายวันด้วยไฟล์ Excel ผู้ประกอบการสามารถเรียกดูงบการเงินได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องปิดงบ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่  ??รือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง: เดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ (Double Entry Accounting), 27 กรกฎาคม 2564 เดบิตและเครดิต คืออะไร, Station Account Co., Ltd. ระบบบัญชีคู่คืออะไร, AMT Group บทความวิชาการ เดบิตและเครดิต : ภาษาบัญชี วารสารวิชาชีพบัญชี ปีที่ 13 ฉบับที่ 39 กันยายน 2560, ร.ศ.นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ

23 ก.พ. 2022

PEAK Account

22 min

วิธีบริหาร Cash Flow เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ

ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีเงินสดเพียงพอเพื่อใช้ใน การดำเนินกิจการ กิจการ SMEs  หลายๆ กิจการมักประสบปัญหาการขาดเงินที่เพียงพอในการ ดำเนินธุรกิจ การทำความเข้าใจกระแสเงินสดเข้าออกจะทำให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการกระแส เงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ทำไมธุรกิจจึงขาดสภาพคล่อง สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องเกิดจาก 4 จม คือ 1. จมอยู่กับลูกหนี้ หมายถึงเมื่อกิจการขายสินค้าไปแล้วยังเก็บค่าสินค้าจากลูกหนี้ไม่ได้ 2.จมอยู่กับสินค้า หมายถึง สต็อกสินค้ามีมาก ขายสินค้าไม่ออก การมีต้นทุนเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ สินค้าหมดอายุ ล้าสมัย สูญหาย ทำให้กิจการเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าไปทำประโยชน์ในทางอื่น 3.จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ได้แก่ การเสียค่าเช่าราคาแพง หรือเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งร้านใหม่ แต่ขายสินค้าไม่ได้มาก 4. จมกับการนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว เกิดจากการที่เจ้าของกิจการไม่แยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีกิจการ และนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว Cash Flow คืออะไร Cash Flow หรือ กระแสเงินสด เป็นการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเงินไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ของกิจการที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพคล่องของกิจการ ประกอบด้วย กระแสเงินสดเข้าและกระแสเงินสดออกซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจ ได้แก่ กิจกรรมการ ดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน กิจกรรมการจัดหาเงิน  เงินสด หมายถึง เงินสดในมือ ได้แก่ ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ (ทั้งที่เป็นเงินบาทและสกุลเงิน ต่างประเทศ) รวมทั้งเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามทั้งประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวัน รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงและพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็น เงินสดในจำนวนที่ทราบได้แน่นอน ซึ่งมีระยะเวลาครบกำหนดไม่เกิน 3 เดือน ได้แก่ ตั๋วสัญญา ใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออก, ตราสารหนี้ ( หุ้นกู้) ที่จะครบกำหนดภายในระยะ 3 เดือน กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเข้า-ออกของกระแสเงินสด กิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเข้า-ออกของกระแสเงินสด มีดังนี้ 1. กิจกรรมการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หลักของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการขาย หรือการ ให้บริการ 2. กิจกรรมการลงทุน เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการได้มาและการจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์ระยะ ยาว และเงินลงทุนอื่นๆ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของและการกู้ยืมหรือ จ่ายคืนเงินกู้ยืมที่เป็นหนี้สินระยะยาว เทคนิคการบริหาร Cash Flow เพื่อให้ธุรกิจเกิดสภาพคล่อง ลดปัญหาเงินทุนจม ผู้ประกอบการควรกำหนดแนวทางในการบริหาร  Cash Flow ดังต่อไปนี้ 1. การบริหารจัดการระบบการรับชำระเงิน โดยทั่วไปกิจการมีการขายสินค้าหรือบริการ และรับชำระเงินเป็นเงินสดหรือเป็นการขายเชื่อ ซึ่งการบริหารจัดการระบบการรับชำระ เงินเป็นวิธีหนึ่งในการบริหารจัดการ Cash Flow ประกอบด้วย 1.1 การเร่งเก็บเงินให้เร็วขึ้น กรณีขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินสด กิจการที่ต้องการใช้เงินสดทันที หรือประสบปัญหาการขาด สภาพคล่องทางการเงิน สามารถใช้วิธีกระตุ้นให้ลูกค้าจ่ายเงินเร็วขึ้น โดยการให้ส่วนลดเงินสด เพื่อให้ลูกค้าเห็นประโยชน์จากการชำระเงินก่อน การที่ลูกค้าชำระเงินเร็วขึ้นมีผลให้ธุรกิจมี สภาพคล่องมากขึ้น 1.2 การกำหนดนโยบายการให้เครดิตกับลูกค้า ในการขายสินค้าหรือบริการเป็นเงินเชื่อ ลูกค้าจะนำสินค้าไปใช้ก่อนหรือได้รับบริการก่อน แล้วค่อยชำระเงินในภายหลัง กิจการจึงต้องกำหนดนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกค้าด้วยการกำหนด ระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าหรือเครดิตเทอม โดยพิจารณาผลประกอบการ ฐานะการเงิน ประวัติการชำระเงิน รวมทั้งขนาดและประเภทกิจการของลูกค้า โดยส่วนใหญ่กิจการ SMEs จะกำหนดเงื่อนไขเครดิตแก่ลูกค้าเป็นระยะเวลา 30 วัน หรือ 60 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับคู่แข่งขัน เพื่อป้องกันหนี้ค้างชำระที่ทำให้กิจการเก็บเงินไม่ได้หรือเก็บเงินได้ล่าช้า 1.3 การวิเคราะห์เครดิตลูกหนี้รายตัว กิจการควรตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดหนี้สูญ ในการขายสินค้าและบริการ กรณีลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล กิจการสามารถสืบค้นข้อมูลของนิติบุคคล ได้แก่ สถานะนิติบุคคล,ที่ตั้ง,ประวัติการเปลี่ยนแปลง,ทุนจดทะเบียน เป็นต้น และข้อมูลงบการเงินจากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา การวิเคราะห์เครดิตทำได้จากการตรวจสอบสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน การตรวจสอบรายชื่อบุคคลล้มละลายจากกรมบังคับคดี รวมไปถึงการพิมพ์ชื่อและนามสกุลของลูกค้าใน google ว่ามีคดีความหรือไม่ หรือการสอบถามเครดิตและประวัติการชำระหนี้จากคู่ค้าของลูกค้า 1.4 การกำหนดนโยบายการติดตามหนี้ค้างชำระ กิจการควรกำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทางที่ชัดเจนและเป็นขั้นตอนสำหรับเจ้าหน้าที่ที่   รับผิดชอบในการติดตามหนี้ค้างชำระจากลูกหนี้ เช่น กำหนดให้พนักงานขายทวงถาม เมื่อพ้น กำหนดการชำระหนี้ไปแล้ว 1 เดือน การส่งจดหมายทวงถามจากฝ่ายบัญชีของกิจการ เมื่อพ้นกำหนดการชำระหนี้ไปแล้ว 3 เดือน การส่งจดหมายจากทนายความไปยังลูกหนี้เมื่อ พ้นกำหนดการชำระหนี้ไปแล้ว 6 เดือน เป็นต้น 2. การบริหารจัดการระบบการจ่ายเงิน ในการชำระค่าสินค้าและบริการของกิจการ การวางแผนการจ่ายเงินจะช่วยให้เกิดสภาพคล่อง โดยการบริหารจัดการระบบการจ่ายเงินมีดังนี้ 2.1 การกำหนดนโยบายการชำระเงิน กิจการกำหนดนโยบายในการวางบิลและชำระเงินให้แก่ผู้ขายสินค้า ให้แก่กิจการ การกำหนดขั้นตอนการวางบิลและการจ่ายเงิน ได้แก่ การกำหนดวันรับวางบิลและจ่ายเช็คเดือนละสองครั้ง โดยกำหนดวันที่รับวางบิลและจ่ายเช็คที่แน่นอน นอกจากทำให้เกิดความสะดวก ในการทำงานของพนักงานบัญชี/การเงินแล้ว การกำหนดวันจ่ายเช็คที่แน่นอนทำให้กิจการสามารถวางแผน ในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายอีกด้วย กิจการสามารถกำหนดวันที่จ่ายเช็คหรือโอนเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าให้ห่างจากวันรับวางบิลได้ เพื่อยืดระยะเวลาการชำระเงินและในช่วงนี้ผู้ประกอบการยังสามารถวางแผนหาเงินเข้ามาในกิจการได้  2.2 การจัดทำบัญชีเจ้าหนี้รายตัว เป็นการสร้างระบบเจ้าหนี้เพื่อช่วยบริหารจัดการการจ่ายชำระหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ระบบบัญชี เจ้าหนี้รายตัวจะมีอยู่แล้วในโปรแกรมบัญชี ในบางกิจการระบบจะเชื่อมต่อตั้งแต่การจัดซื้อสินค้า จนถึงการแสดงวันครบกำหนดชำระของเจ้าหนี้แต่ละรายเพื่อให้แผนกบัญชีจัดเตรียมเช็คเพื่อชำระเงิน รวมทั้งเก็บประวัติของเจ้าหนี้รายตัว ช่วยกิจการในการวางแผนการจัดซื้อและการชำระเงินได้ สำหรับกิจการขนาดเล็กที่มีเจ้าหนี้ไม่กี่รายก็สามารถใช้โปรแกรม Excel ในการจัดทำบัญชีเจ้าหนี้รายตัวได้ 2.3 การเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้เพื่อขอเครดิตเทอมที่ยาวขึ้น การที่กิจการได้รับเครดิตเทอมที่นานขึ้นจะช่วยให้มีสภาพคล่องมากขึ้น ถ้ากิจการซื้อสินค้ากับเจ้าหนี้ รายใดอย่างสม่ำเสมอ กิจการควรเจรจาขอเงื่อนไขในการชำระเงินโดยขอเครดิตเทอมที่นานขึ้น เช่น เครดิตเทอมที่ตกลงซื้ออสินค้ากันไว้เป็น 30 วัน กิจการก็ขอเพิ่มเป็น 45 วัน หรือกรณีที่กิจการมีเงินสด คงเหลือเพียงพอในการชำระค่าสินค้าก็อาจเจรจาขอส่วนลด เช่น 2% ในการชำระเป็นเงินสดซึ่งจะเป็น การช่วยลดต้นทุนค่าสินค้าของกิจการ 3. การบริหารจัดการสินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือ ได้แก่ วัตถุดิบ งานระหว่างทำ (work in process) สินค้าสำเร็จรูป อะไหล่และ วัสดุซ่อมบำรุง การบริหารสินค้าคงเหลือ เป็นการวางแผนจัดการสินค้าที่ยังไม่ได้ขาย ดูแลจัดการการไหลเวียน ของสินค้า ตั้งแต่กระบวนการผลิต การจัดเก็บ จนถึงกระบวนการจัดจำหน่าย  การบริหารจัดการ สินค้าคงเหลือจะช่วยให้กิจการมีเงินทุนหมุนเวียนมากขึ้น ลดการเสียโอกาสจากเงินทุนจมในสินค้า การบริหารสินค้าคงเหลือ ได้แก่ 3.1 การวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ ในการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบของกิจการ กิจการสามารถคำนวณปริมาณการสั่งซื้อ ที่ทำให้ประหยัด ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนในการเก็บรักษา โดยการวิเคราะห์จุดสั่งซื้อหมายถึงจุดที่เตือนสำหรับ การสั่งซื้อในรอบต่อไป การประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการรอสินค้า หมายถึง เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการ สั่งซื้อ รอสินค้า จนได้สินค้า หรือเรียกว่าระยะเวลา Lead Time 3.2 การกำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสม ปริมาณสินค้าคงเหลือที่เหมาะสม หรือ Safety Stock เป็นการกำหนดจำนวนสินค้าสำรอง เพื่อให้มีสต็อกสินค้าเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า โดยใช้วิธีจดบันทึกรายการสินค้าเข้าออก ทำให้ผู้ประกอบการทราบว่าสินค้าใดเป็นสินค้าทำกำไร จะได้ทำสั่งซื้อหรือผลิตให้เพียงพอต่อความ ต้องการของลูกค้า หรือสินค้าใดควรมีการลดราคา สินค้าใดมีการเสื่อมสภาพหรือล้าสมัย 3.3 การเจรจาต่อรองในการขอส่วนลดเมื่อปริมาณสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ประกอบการที่มีการซื้อวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอและทราบปริมาณการใช้ที่แน่นอน สามารถเจรจากับผู้ขายทำสัญญาตกลงซื้อวัตถุดิบทั้งปีและขอส่วนลด โดยให้ผู้ขายทยอยส่งของทุกเดือน 3.4 การตรวจนับสินค้าคงเหลือสม่ำเสมอ กิจการควรมีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างน้อยปีละครั้ง หรือมีการสุ่มตรวจสินค้าบางรายการทุกเดือน เพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงเหลือที่บันทึกบัญชีตรงกับปริมาณสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริงหรือไม่ และช่วย ป้องกันการสูญหายของสินค้าจากการทุจริตหรือโจรกรรมได้ นอกจากนี้ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือยังทำให้ทราบสินค้าที่เป็น Dead Stock ซึ่งเป็นสินค้าหมดอายุ เสื่อมสภาพหรือสินค้าล้าสมัย 4. การจัดให้มีระบบการควบคุมภายใน ระบบการควบคุมภายในเป็นการจัดการให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กร ช่วยลดการสูญหายของทรัพย์สิน ลดการทุจริต มีการปฏิบัติงาน เป็นไปตามขั้นตอนและนโยบายของกิจการ ระบบการควบคุมภายในจะช่วยให้การดำเนินการของกิจการ SMEs เกิดสภาพคล่องมากขึ้น การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในสำหรับกิจการ SMEs มีดังต่อไปนี้ 4.1 การแยกบัญชีส่วนตัวกับบัญชีของธุรกิจ บัญชีส่วนตัวของเจ้าของกิจการกับบัญชีของธุรกิจควรแยกออกจากกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบถึง ตัวเลขกำไรคงเหลือและกระแสเงินสด สามารถบริหารจัดการรายได้ ค่าใช้จ่ายของกิจการ รวมทั้งสามารถกำหนดค่าตอบแทนของเจ้าของกิจการในรูปของเงินเดือน เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว 4.2 การบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนเป็นเงินทุนสำรองสำหรับไว้ใช้จ่ายในกิจการก่อนที่จะได้รับเงินจากค่าขายสินค้าหรือ บริการ กิจการควรกำหนดวงเงินสำหรับเงินทุนหมุนเวียน เนื่องจากจะช่วยให้กิจการทราบถึงเงินสำรอง ที่ต้องมีไว้ เพื่อจะได้บริหารจัดการรายรับจากการขายสินค้าหรือบริการ และบริหารการจัดเก็บเงินจาก ลูกหนี้ให้สมดุลกับต้นทุนสินค้าและรายจ่ายของกิจการ โดยการกำหนดวงเงินสามารถประเมิน ได้จาก ลูกหนี้การค้า เจ้าหนี้การค้า สต็อกสินค้าของกิจการ 5.การจัดทำงบการเงินและรายงานทางการเงิน การจัดทำงบการเงินและรายงานทางการเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลทางการเงินและสามารถ นำไปใช้วางแผนและบริหารจัดการให้เกิดสภาพคล่องได้ ดังนี้ 5.1 งบการเงิน งบการเงินประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ ผู้ถือหุ้น  จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบฐานะทางการเงิน สภาพคล่องของกิจการ ผลประกอบการ ที่แท้จริง ความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงประสิทธิภาพในการบริหาร  สินทรัพย์ของกิจการ ช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนบริหารจัดการให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน 5.2 รายงานทางการเงิน ได้แก่ เทคนิคในการจัดการ Cash Flow ดังที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะช่วยผู้ประกอบการรักษากระแสเงินสดให้เกิดสภาพคล่องซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ช่วยกิจการจัดทำงบการเงิน ให้ข้อมูลทางการเงินแบบ Real Time มีข้อมูลวิเคราะห์ในรูป Dashboard ช่วยผู้ประกอบการวางแผนและตัดสินใจเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ  บทความแนะนำ : ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก

14 ก.พ. 2022

PEAK Account

14 min

เกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์

เกณฑ์การรับรู้รายการ  การรับรู้รายการ หมายถึง การรวมรายการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนหากรายการนั้นเป็นไปตามนิยามขององค์ประกอบและเข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ   ซึ่งรับรู้รายการจะต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ  ดังต่อไปนี้  “ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต”                 เกณฑ์การับรู้รายการข้อแรกนี้เป็นการพิจารณาถึงความน่าจะเป็นของระดับความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการค้าจะเข้าหรือออกจากกิจการ  โดยระดับความแน่นอนแบ่งออกเป็น  ความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ (ความน่าจะเป็น > 50%)   และความไม่น่าจะเป็นไปได้ (ความน่าจะเป็น < 50%)  ซึ่งรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่มีความน่าจะเป็นสูงถึงระดับความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่   รายการดังกล่าวจึงเข้าเงื่อนไขในข้อแรกข้างต้น  “ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า”                 เงื่อนไขข้อที่สองกำหนดว่ากิจการสามารถที่จะวัดราคาทุนหรือมูลค่าของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือหรือไม่  เมื่อรายการดังกล่าวเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อแล้ว  กิจการต้องรับรู้รายการในงบการเงิน  แต่หากรายการเป็นไปตามคำนิยามขององค์ประกอบของงบการเงินแต่ไม่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ  กิจการควรเปิดเผยหรืออธิบายเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย หลักการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน การรับรู้สินทรัพย์ 1.     มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการและ 2.      สินทรัพย์นั้นมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้หนี้สิน 1.       มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบันและ 2.       มูลค่าของภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นสามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายได้ 1.      เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ 2.      การลดลงของหนี้สิน และ 3.      สามารถวัดมูลค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้ค่าใช้จ่าย 1.       เมื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือ 2.       การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และ 3.       สามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้สินทรัพย์ จากหลักการรับรู้รายการในงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุน แสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขของการรับรู้สินทรัพย์ คือ ควรรับรู้สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจะเข้าสู่กิจการ และสินทรัพย์นั้นมีราคาทุน หรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ หากรายการนั้นไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการต้องรับรู้รายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน เช่น กิจการสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นเนื่องจากเครื่องจักรมีประสิทธิภาพหรืออายุการใช้งานมากขึ้น และเครื่องจักรนั้นมีราคาทุนที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการต้องรับรู้เครื่องจักรนี้เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน เนื่องจากเข้าเกณฑ์ของการรับรู้สินทรัพย์ ในทางตรงกันข้าม กิจการจ่ายค่าซ่อมแซมเครื่องจักรมูลค่า 35,000 บาท ซึ่งรายการนี้ไม่ได้ทำให้กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายนั้น กิจการต้องรับรู้ค่าซ่อมแซม 35,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน เนื่องจากรายการดังกล่าวไม่เป็นไปตามคำนิยามของสินทรัพย์ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ ประกอบไปด้วยการวัดมูลค่าดังต่อไปนี้ ราคาทุนเดิม (Historical Cost) เป็นราคาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นราคาที่มีหลักฐาน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้แน่นอน เนื่องจากเป็นราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย  ข้อดีของราคาทุนก็คือช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากอันเนื่องมาจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม การวัดมูลค่าสินทรัพย์ตามราคาทุน ก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น สินทรัพย์ยังคงแสดงในราคาทุนเดิม ทั้งที่มูลค่าในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจนราคาทุนเดิมไม่มีความหมาย ซึ่งควรคำนึงถึงกำไรขาดทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) หมายถึง ราคาที่กิจการจะต้องจ่ายในขณะนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน มูลค่าของสินทรัพย์อาจมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ราคาทุนปัจจุบันของสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงหรือต่ำกว่าราคาทุนเดิมแล้วแต่สถานการณ์ เช่น กิจการบันทึกที่ดินในงบแสดงฐานะการเงินด้วยราคาทุนเดิม 10 ล้านบาท เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ราคาทุนปัจจุบันมีมูลค่า 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่กิจการต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินแปลงนี้ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยราคาทุนปัจจุบัน ให้ผลดี คือ  ช่วยให้กิจการสามารถเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายได้ชัดเจนมากขึ้น และใช้เป็นพื้นฐานในการพยากรณ์อนาคตอย่างสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการยากในการหาหลักฐานอ้างอิงสำหรับราคาทุนปัจจุบัน ราคาทุนปัจจุบันจึงเหมาะสมสำหรับกิจการสามารถกำหนดและพิสูจน์ราคาทุนปัจจุบันของการจัดหาสินทรัพย์นั้นได้ มูลค่าที่จะได้รับ (Realizable Value) การวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่าที่จะได้รับเหมาะสมกับกิจการที่มีวัตถุประสงค์จะขายสินทรัพย์ในอนาคตอันใกล้ หากกิจการสามารถประมาณต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการขายได้กิจการต้องนำมูลค่าที่จะได้รับหักด้วยค่าใช้จ่ายในการขายที่ประมาณไว้มูลค่านี้ เรียกว่า มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ อย่างไรก็ตาม การวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่าที่จะได้รับมีข้อจำกัดบางประการ  คือ มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) การวัดมูลค่าสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบันเป็นวิธีวัดมูลค่าของสินทรัพย์ซึ่งคิดจากกระแสเงินสดที่กิจการคาดว่าจะได้รับในอนาคต ข้อมูลที่ต้องใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบัน ประกอบไปด้วย             – กระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตจากสินทรัพย์             – อัตราส่วนลด ซึ่งหมายถึงอัตราผลตอบแทนหรือต้นทุนของเงินที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าสินทรัพย์ที่จะ ได้รับในอนาคต – ระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึง ช่วงระยะเวลาจากปัจจุบันจนกระทั่งถึงวันที่เกิดรายการกิจการจะวัดมูลค่าของสินทรัพย์ด้วยมูลค่าปัจจุบัน เมื่อกิจการสามารถคาดคะเน หรือประมาณกระแสเงินสดรับ หรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จะได้รับในอนาคตได้ค่อนข้างแน่นอน ตัวอย่างเช่น ในกรณีของสัญญาเช่าการเงิน เมื่อสัญญาเช่าเข้าเกณฑ์ของสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าจะบันทึกสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำ หรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า ณ วันทำสัญญาเช่าแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ตัวอย่างเช่น ในกรณีของสัญญาเช่าการเงิน เมื่อสัญญาเช่าเข้าเกณฑ์ของสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าจะบันทึกสินทรัพย์ตามสัญญาเช่าการเงินด้วยมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าขั้นต่ำ หรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า ณ วันทำสัญญาเช่าแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่มีฟังก์ชันการทำงานระบบจัดการทะเบียนสินทรัพย์ (PEAK Asset)   ที่จะช่วยนักบัญชีดูแลสินทรัพย์ของกิจการ ควบคุมการรับเข้ารับออก สรุปรายการมูลค่าสินทรัพย์ที่มี และคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี พร้อมลงบันทึกบัญชีอัตโนมัติ หรือสามารถทำเป็นทะเบียนคุมสินทรัพย์แต่ละรายการ แนบไฟล์ภาพ เพื่อใช้ตรวจนับยอดคงเหลือให้ตรงกับทะเบียน ป้องกันสินทรัพย์สูญหายภายในกิจการได้อีกด้วย ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่  blog.peakaccount.com/ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก