บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>บัญชี

14 ต.ค. 2021

PEAK Account

28 min

โปรแกรมบัญชี และโปรแกรมบัญชีคลาวด์คืออะไร

โปรแกรมบัญชี(Accounting Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลทางบัญชี โปรแกรมบัญชีสำหรับกิจการทั่วไป ประกอบไปด้วยฟังก์ชั่นระบบขาย ระบบซื้อ ระบบสินค้าคลัง ระบบลูกหนี้ ระบบเจ้าหนี้ บัญชีแยกประเภทและรายงานต่างๆ ส่วนกิจการผลิตจะมีฟังก์ชั่นเพิ่มขึ้นมาคือระบบการผลิต ระบบการจัดส่งสินค้า เป็นต้น โดยทั่วไปโปรแกรมบัญชีมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อการเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ 2. เพื่อการประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ การควบคุม 3. เพื่อจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้องและเชื่อถือได้ โปรแกรมบัญชีคลาวด์คืออะไร Cloud (คลาวด์) ย่อมาจาก Cloud Computing หมายถึงเครื่องมือที่เป็น Host บริการผ่านทางอินเทอร์เนต ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการและจัดการข้อมูลต่างๆผ่านทางอินเทอร์เนต  เมื่อผู้ใช้งานอัปโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ผ่านระบบการให้บริการเช่น Dropbox ไฟล์จะถูกส่งผ่านอินเทอร์เนตไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่จริงของผู้ให้บริการคลาวด์ ซึ่งจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมากที่ให้บริการเก็บข้อมูล คลาวด์หมายถึง พื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัลซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆของคนทั่วโลก เพียงแค่อุปกรณ์การใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ มีความแตกต่างจากสื่ออื่นๆที่ใช้บันทึกข้อมูล เช่น External hard disk, Flash drive เป็นต้น  ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงคลาวด์ได้ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดบนโลกนี้ ดังนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์ในการเก็บข้อมูลเอง เพียงแต่ใช้วิธีบันทึกผ่านคลาวด์และเสียค่าใช้จ่ายสำหรับพื้นที่ใช้งาน การประมวลผลระบบคลาวด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชั่นดังนี้ 1. การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure as a Service (IaaS)  ผู้ให้บริการหรือผู้ให้เช่า มีพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ให้ผู้ใช้งานเช่าตามวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานหรือเพื่อเป็น Web hosting โดยผู้ใช้งานสามารถดำเนินการ แก้ไข และจัดการข้อมูลของตนเองได้ ตัวอย่างเช่น Dropbox ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงและแก้ไขข้อมูลได้ทุกเวลา หรือ Netflix ซึ่งใช้หลักการของ IaaS ในการจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล โดยข้อมูลถูกเข้าถึงและใช้งานซ้ำๆจากผู้ใช้งานทั่วโลก โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลด เป็นต้น 2. การให้บริการแพลตฟอร์ม Platform as a Service (PaaS) PaaS มีความคล้ายคลึงกับ IaaS แต่ต่างไปตรงที่ผู้ให้บริการทำการควบคุมน้อยกว่า PaaS ช่วยลดความต้องการในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน(หมายถึงฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ) ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดการใช้ทรัพยากร ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ เป็นการปรับใช้และเน้นการจัดการแอปพลิเคชัน ระบบสามารถจัดหาแพลตฟอร์มที่เสมือนจริงที่ใช้พัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ โดยโปรแกรมเมอร์สามารถใช้งานผ่านระบบออนไลน์ได้โดยไม่ต้องจัดหาอุปกรณ์และระบบต่างๆด้วยตนเอง 3. การให้บริการซอฟต์แวร์ Software as a Service (SaaS) เป็นระบบที่มีการควบคุมของผู้ให้บริการน้อยที่สุด เป็นการทำงานของซอฟต์แวร์ต่างๆผ่านระบบคลาวด์ซึ่งรองรับผู้ใช้งานปลายทาง ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชัน Dropbox paper ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสร้าง แก้ไข แชร์และทำงานร่วมกันในไฟล์ข้อความทางออนไลน์ได้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิชันได้ตามที่ต้องการและทำงานกับไฟล์จากอุปกรณ์ใดก็ได้, Grammarly ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ทางออนไลน์ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เป็นต้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานหรือการดูแลรักษา เพียงแค่คำนึงถึงวิธีใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ โปรแกรมบัญชีคลาวด์ เป็นโปรแกรมบัญชีที่ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์ โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโปรแกรมได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ มีระบบการจัดการทางด้านบัญชีที่ครบวงจร มีระบบการลงบัญชีอัตโนมัติที่ทำงานแบบเรียลไทม์ ประโยชน์ในปัจจุบันของโปรแกรมบัญชีคลาวด์หรือที่เรียกอกีอย่างว่าโปรแกรมบัญชีออนไลน์ 1. ช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่าย โปรแกรมบัญชีคลาวด์ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานและค่าไฟฟ้า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นค่าใช้จ่ายผันแปรตามการใช้งาน และประหยัดเวลาที่ใช้ในการแก้ไขอุปกรณ์ที่มีปัญหา 2. ช่วยกิจการลดความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูล    โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีการทำสำรองข้อมูล (Backup) ทางบัญชีและภาษี ช่วยลดความเสี่ยงในการเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ในอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เพียงที่เดียว ซึ่งมีความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเกิดไฟฟ้าดับกะทันหัน หรือการโจมตีของมัลแวร์ที่มีโอกาสทำให้ข้อมูลสูญหายได้ทุกเมื่อ เป็นการทำสำรองข้อมูลเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในหลายพื้นที่ 3. มีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม โปรแกรมบัญชีคลาวด์มีระบบการรักษาความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูล โดยมีการกำหนดรหัสผ่านและกำหนดผู้มีสิทธิ์เข้าถึงการใช้ข้อมูล ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าการเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ที่สามารถมองเห็นได้ 4. มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน โปรแกรมบัญชีคลาวด์สามารถปรับขยายพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ตามความต้องการในการใช้งาน ซึ่งต่างจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ไม่สามารถขยายพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้ โปรแกรมบัญชีมีแบบใดบ้าง โดยทั่วไปโปรแกรมมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้ 1. โปรแกรมบัญชีออฟไลน์  โปรแกรมบัญชีออฟไลน์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้           ตัวอย่างโปรแกรมบัญชีออฟไลน์ ได้แก่ โปรแกรม Express on server 2. โปรแกรมบัญชีออนไลน์  โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ตัวอย่างโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ได้แก่ โปรแกรม PEAK โปรแกรมบัญชีใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทำให้โปรแกรมบัญชีได้รับการพัฒนาให้รองรับการทำงานผ่าน Smartphone ได้ อันเป็นคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ผ่านระบบอินเทอร์เนต ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็ว กิจการสามารถทำงานผ่านระบบออนไลน์ไม่ว่าการเปิดใบเสนอราคา การบันทึกรายการบัญชี การอนุมัติเอกสาร การเรียกดูรายงาน เป็นต้น ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีออนไลน์อย่างโปรแกรม PEAK ที่สามารถใช้งานผ่าน LINE Application ทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวก สามารถเรียกดูและตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา วิธีเลือกใช้โปรแกรมบัญชีให้เหมาะกับธุรกิจได้อย่างไร ในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีให้เหมาะกับธุรกิจ มีแนวทางในการพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. ขนาดขององค์กร ในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชี กิจการควรพิจารณาขนาดและความซับซ้อนในการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันมีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่มีแพ็คเกจให้เลือก โดยเจ้าของกิจการสามารถประเมินจากจำนวนรายการค้าที่เกิดขึ้นในรายเดือน หรือรายปี ถ้ากิจการมีขนาดเล็กมีจำนวนรายการค้าไม่มาก สามารถเลือกใช้โปรแกรมบัญชีพื้นฐานที่ใช้งานง่าย ถ้ากิจการมีขนาดใหญ่ขึ้น จำนวนรายการค้าก็จะมากขึ้น สามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีระบบการใช้งานเพิ่มขึ้น อย่าง PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ให้กิจการเลือกใช้แพ็คเกจตามขนาดของธุรกิจ โดยกิจการสามารถประเมินจากปริมาณเอกสารรายการค้าในรอบระยะเวลาต่อเดือนหรือต่อปี จำนวนผู้ใช้งาน ความซับซ้อนของธุรกิจ โดยกิจการสามารถเลือกใช้แพ็คเกจแบบ Basic สำหรับ 5 ผู้ใช้งาน ที่ไม่จำกัดจำนวนรายการเอกสารและจำนวนผู้ติดต่อ ผู้ใช้งานสามารถออกเอกสารใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ทางออนไลน์ มีระบบเช็ค ระบบสินทรัพย์ รายงานการขาย รายงานลูกค้าค้างชำระ/เจ้าหนี้ค้างชำระ เป็นต้น 2. ราคา ราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมบัญชี โดยทั่วไปจะมีการเปรียบเทียบราคาของผู้ให้บริการหลายรายและนำมาเปรียบเทียบกับงบประมาณของกิจการ โดยเฉพาะโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจ SMEs ที่สามารถจัดการระบบขององค์กรได้ทุกระบบผ่านการใช้งานได้ทุกอุปกรณ์ที่ใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เนตไม่ว่าจะเป็น Smartphone, Tablet หรือ Notebook ที่ปัจจุบันผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีมีแพ็กเกจให้เลือกหลายราคาตามจำนวนผู้ใช้งาน จำนวนรายการค้า และเหมาะสมกับระบบงานของธุรกิจ อย่าง PEAK มีแพ็กเกจให้กิจการเลือก ได้แก่แบบ Basic ราคา 500 บาทต่อเดือน แบบ Pro ราคา 700 บาทต่อเดือน เป็นต้น 3. คุณสมบัติของโปรแกรมบัญชี กิจการควรพิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชีที่จะเลือกใช้ให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ โดยทั่วไปกิจการควรกำหนดความต้องการในการใช้งานของธุรกิจและเลือกโปรแกรมบัญชีที่สามารถรองรับความต้องการที่สำคัญๆ โดยเป็นโปรแกรมบัญชีที่สามารถจัดการระบบงานที่สำคัญขององค์กรได้เช่นระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบขาย ระบบบัญชี เป็นต้น มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการ อย่าง PEAK มีแพ็กเกจที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของธุรกิจ เช่นเมื่อกิจการมีปริมาณเอกสารทางบัญชีเพิ่มขึ้น หรือเมื่อกิจการมีความต้องการรายงานสำหรับผู้บริหาร เช่นรายงานการขาย รายงานลูกหนี้/เจ้าหนี้ค้างชำระ เป็นต้น กิจการสามารถเลือกใช้หรือปรับเปลี่ยนแพ็กเกจให้เหมาะกับความต้องการนั้นๆโดยโปรแกรมจะมีการอัปเดตให้โดยอัตโนมัติ อย่างแพ็กเกจจัดเต็มของPEAK แบบ Pro+ ที่รองรับความต้องการของกิจการที่มีผู้ใช้งานได้ถึง 10 ราย, มี LINE @peakconnect, มีระบบภาษีที่สะดวกสำหรับผู้ประกอบการในการสร้างแบบภาษีภ.พ.30,ภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53 เป็นต้น และเมื่อสร้างแบบแล้วระบบจะบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ มีระบบนำเข้าเอกสารด้วย Excel ,รายงานสรุปรายสัปดาห์/รายเดือนรวมทั้งรายงานงบกระแสเงินสด เป็นต้น 4. ผู้ให้บริการ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีคือการพิจารณาผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญมีความเป็นมืออาชีพ เป็นผู้ที่มีความรู้ในโปรแกรมบัญชีนั้นเป็นอย่างดี โดยพิจารณาว่าใครเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชีนั้นเอง หรือได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในการจัดจำหน่ายโปรแกรมนั้น อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือการพิจารณาการ support หรือการให้บริการคำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใช้งานหลังการขาย โดยการสอบถามจากผู้ประกอบการหรือนักบัญชีที่ใช้งานโปรแกรมนั้นอยู่ถึงความพึงพอใจและบริการที่ได้รับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการควรพิจารณาเป้าหมายขององค์กรผู้ให้บริการ นโยบายในการให้บริการ การได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการและนักบัญชี มีการพัฒนาโปรแกรมที่ตอบโจทย์กิจการอย่างต่อเนื่อง อย่าง PEAK เป็นผู้ให้บริการโปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากนักบัญชีในการจัดการงานบัญชี ปัจจุบัน PEAK มีสำนักงานบัญชีที่เป็นพันธมิตรกว่า 600 แห่งทั่วประเทศที่ทำบัญชีให้กับกิจการ SMEs กว่า 10,000 กิจการ และ PEAK ยังได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ ในฐานะ Cloud Accounting Software ของประเทศไทย โปรแกรมบัญชีที่ดีควรทำสิ่งใดได้บ้าง 1. ช่วยให้การจัดการบัญชีง่าย สะดวกรวดเร็ว  โปรแกรมบัญชีที่ดี ช่วยให้งานบัญชีสะดวกรวดเร็ว คล่องตัว อย่างโปรแกรมออนไลน์ ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีอินเทอร์เนตเชื่อมต่อ เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถจัดการงานบัญชีและภาษีที่มีความยุ่งยากให้กลายเป็นเรื่องง่ายดาย ลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดี ผู้ใช้งานสามารถออกเอกสารทางบัญชีเช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น ทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เนตเชื่อมต่อและมีลักษณะการทำงานแบบเรียลไทม์  2. ช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่าย กิจการที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่ดี โดยเฉพาะโปรแกรมออนไลน์ ช่วยกิจการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนซื้ออุปกรณ์ไอทีเมื่อเทียบกับโปรแกรมบัญชีแบบออฟไลน์ จึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไอทีด้วย โปรแกรมออนไลน์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ่ายซื้อซอฟต์แวร์บัญชีเพราะมีการอัปเดตโปรแกรมให้โดยอัตโนมัติ โดยที่กิจการไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเวอร์ชันใหม่หรือซื้อซอฟต์แวร์ใหม่เพื่อทำการอัปเดต โปรแกรมออนไลน์มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ง่ายต่อการใช้งาน ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางด้านงานบัญชี ก็สามารถจัดการงานบัญชีเองได้ด้วยตัวเอง โดยถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและกฎหมายสรรพากร ไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานบัญชีเป็นพนักงานประจำ แต่อาจจ้างสำนักงานบัญชีในการให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านบัญชีและภาษีรวมทั้งการรับรองเป็นผู้ทำบัญชี โปรแกรมออนไลน์ที่ดีจึงช่วยกิจการประหยัดค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรทางด้านบัญชี 3. มีฟังก์ชั่นการทำงานครบถ้วนครอบคลุมทุกระบบงานของธุรกิจ โปรแกรมบัญชีที่ดีควรมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ครบถ้วน ครอบคลุมการทำงานทุกระบบงานของธุรกิจ ปัจจุบันโปรแกรมบัญชีออนไลน์เข้ามาตอบโจทย์ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่ต้องการโปรแกรมบัญชีที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานทั้งระบบจัดซื้อ ระบบคลังสินค้า ระบบขาย ระบบบัญชีซื้อ-ขาย ระบบรับ-จ่าย เป็นต้น ได้แก่การสร้างเอกสารใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ หรือการสร้างระบบการจัดทำแบบแสดงรายการทางภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถดึงข้อมูลมายื่นแบบแสดงรายการได้เลย รวมทั้งมีระบบที่สรุปผลการดำเนินงาน รายงานการขาย รายงานทางภาษี ไม่ว่าจะเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ทำให้ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการนำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจได้ 4. มีระบบความปลอดภัยสำหรับข้อมูลทางบัญชีและภาษี ด้วยข้อมูลทางบัญชี การเงินและภาษีรวมทั้งยอดขายและข้อมูลของลูกค้า เป็นข้อมูลสำคัญขององค์กรที่เป็นความลับในการเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกหรือบุคลากรขององค์กรที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้หรือรับรู้ข้อมูล กิจการจึงควรจัดหาโปรแกรมบัญชีที่ดีซึ่งมีระบบความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล โดยที่กิจการไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ที่เป็นสื่อในการจัดเก็บข้อมูล เช่นฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายจากการเกิดภัยธรรมชาติเช่นไฟไหม้หรือน้ำท่วม เป็นต้น รวมทั้งไม่ต้องจัดหาสถานที่เก็บรักษาอุปกรณ์ที่เป็นสื่อดังกล่าว ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อและการเก็บรักษาอุปกรณ์สื่อดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมที่ดีควรมีระบบที่กำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานในการเข้าถึงและการอนุมัติข้อมูลในระบบด้วย อย่าง โปรแกรมบัญชี PEAK มีระบบการทำสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติทุกๆ 5 นาที โดยใช้เซิร์ฟเวอร์จากผู้ให้บริการระดับโลกอย่าง Microsoft Azure ในด้านการจัดการการเก็บข้อมูลและการรักษาความปลอดภัย สำหรับข้อมูลธุรกิจที่เป็นความลับ นอกจากนี้ยังมีระบบการป้องกันการแก้ไขข้อมูลจากผู้ใช้งานที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้งานPEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและนักบัญชี ช่วยให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบจัดการงานบัญชีผ่านระบบออนไลน์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัย โดย PEAK มีฟีเจอร์เด่นๆดังต่อไปนี้ 1. ฟีเจอร์สำหรับเจ้าของกิจการ 2. ฟีเจอร์สำหรับนักบัญชี 3. ฟีเจอร์สำหรับพันธมิตรซอฟต์แวร์ PEAK โปรแกรมบัญชี หนึ่งเดียวที่คุณสามารถทำงานได้ผ่าน LINE สามารถตรวจสอบสถานะทางการเงิน ออกเอกสาร บันทึกรายรับ-รายจ่าย ผ่านมือถือได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าท่านใดกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีที่ทำงานได้ครบถ้วนครอบคลุมที่สุดสามารถทดลองใช้งานฟรี 30 วัน ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

10 min

ใบเสร็จรับเงินเต็มรูปแบบ VS ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ

“ขอใบเสร็จรับเงินด้วยนะคะ” ประโยคที่เจ้าของกิจการทุกคน ต้องเคยได้ยิน แต่รู้ไหม…กิจการของคุณควรออกใบเสร็จรับเงินแบบไหน? แล้วใช้เพื่ออะไร? หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าใบเสร็จรับเงิน เป็นเหมือนหลักฐานสำคัญที่จะแสดงต่อด่านหน้าอย่างนักบัญชี และด่านสุดท้ายอย่างสรรพากรที่จะใช้ยืนยันในการใช้จ่ายแต่ละครั้ง ฟังแล้วรีบไปค้นหาใบเสร็จรับเงินที่เพิ่งขยำไปด่วน! ใบเสร็จรับเงิน คืออะไร? ใบเสร็จรับ หรือที่เรียกกันว่า ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือเอกสารสำคัญที่จะแสดงถึงการใช้จ่ายเงินของผู้ซื้อ ซึ่งใบเสร็จรับเงินจะถูกออกโดยผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ เพื่อยืนยันว่าได้รับเงินค่าสินค้า หรือบริการแล้วเรียบร้อย เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับเจ้าของกิจการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้น เจ้าของกิจการต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้าทุกครั้ง ห้ามเพิกเฉย หรือละเลยเด็ดขาด  เพราะตามกฎหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 105  กำหนดให้เจ้าของกิจการต้องออกใบกำกับภาษี (สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงิน เตือนผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ที่ไม่ยอมออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ห้ามลืมเด็ดขาด…PEAK เตือนแล้วนะ ใบเสร็จรับเงินถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม และใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ซึ่งทั้งสองแบบจะมีรายละเอียด และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม เป็นเอกสารและหลักฐานสำคัญที่ใช้สำหรับการยื่นภาษีให้กรมสรรพากร เจ้าของธุรกิจหรือผู้ขายจะออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปขอให้คืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้า หรือบริการที่ต้องการยืนยันเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบหรือองค์กร และต้องการนำไปเป็นหลักฐานสำหรับสินค้า หรือบริการที่มีบริการหลังการขาย การรับประกันต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติทั่วไปร้านค้าจะไม่ค่อยออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้ หากไม่ใช่บริษัทใหญ่ หรือมีการซื้อ – ขายในจำนวนที่มากจริง ๆ แต่หากต้องการใช้ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม เราสามารถร้องขอกับพนักงาน หรือร้านค้าให้ออกใบเสร็จรับเงินแบบเต็มให้เราได้เช่นกัน ใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม มีส่วนประกอบสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 86/4) มีทั้งหมด 8 ส่วน 1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ3. ชื่อ – ที่อยู่ ของเจ้าของธุรกิจ, ผู้ขายสินค้าหรือบริการ4. ชื่อ – ที่อยู่ของลูกค้า, ผู้ซื้อสินค้า และบริการ5. ตัวเลข หรือลำดับที่ของใบเสร็จรับเงิน6. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน7. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า รวมไปถึงมูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ต้องการซื้อ8. จำนวนของภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องทำการคำนวณมาจากจำนวนเงินที่จ่ายค่าสินค้าหรือบริการตามจริง ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ เป็นเอกสาร และหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันการซื้อ – ขาย และการจ่ายเงิน รวมถึงการได้รับสินค้า เช่นเดียวกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม แต่ใบเสร็จรับเงินแบบย่อจะเป็นรูปแบบใบเสร็จที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประวัน เช่น ร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven เพราะใช้งานง่าย และสะดวกในการออกเอกสาร สามารถออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อให้กับลูกค้า หรือผู้ซื้อทันที หลังมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อเหมาะกับธุรกิจ หรือกิจการค้าปลีก ซื้อขายในราคาไม่สูงมาก ขายให้กับบุคคลทั่วไป ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ก็ยังมีกฎสำหรับธุรกิจ หรือกิจการที่ต้องการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เพราะจะต้องทำเรื่องเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินต่ออธิบดีกรมสรรพากรให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยการขออนุญาตนั้นสามารถยื่นขอได้ตามสรรพากรในพื้นที่ที่ธุรกิจ หรือกิจการเปิดทำการอยู่ และถ้าหากมีจำนวนมากกว่า 1 ร้าน หรือหลายสาขาก็จะต้องทำการยื่นเรื่องขออนุญาตเป็นรายสาขาไปด้วยเช่นกัน ธุรกิจหรือกิจการที่มักออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะต้องเป็นธุรกิจ หรือกิจการที่จดทะเบียนในระบบเป็นร้านค้าปลีก หรือเป็นการขายค้าของประชาชนทั่วไปกันเอง โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมไปถึงกิจการบริการ ยกตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า, ร้านขายของชำ, ร้านขายยา, ร้านอาหาร, ร้านนวด – สปา, ร้านซ่อมรถ หรือแม้กระทั่งโรงภาพยนตร์ ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงินแบบย่อ จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ แตกต่างกับใบเสร็จรับเงินแบบเต็ม ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลัก ๆ ด้วยกัน 1. จั่วหัวด้วยคำว่า ใบเสร็จรับเงินแบบย่อ2. ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี3. (ถ้ามี) หมายเลขใบกำกับภาษี และหมายเลขเล่มที่ออกใบกำกับภาษี4. รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และบริการที่ออกใบกำกับภาษี เช่น ชื่อสินค้า, ประเภทสินค้า, ปริมาณของสินค้า5. วันที่ ที่ทำการออกใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จรับเงินเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เลือกใช้ให้ถูกประเภท และถูกต้องตามกฎหมาย ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการที่กำลังหัวหมุนในเรื่องของการออกใบเสร็จรับเงิน ธุรกิจของฉันควรออกเสร็จรับเงินแบบไหนดี? ลดหย่อนภาษีอย่างไร? ต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน? หรือแม้กระทั่งจะทำบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง? PEAK มีคำตอบ เพราะมีคือโปรแกรมบัญชีครบวงจรที่จะอยู่เคียงข้างธุรกิจของคุณ รวมไปถึงให้คำปรึกษาในทุกเรื่องของการทำบัญชี ช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ก้าวไปข้างหน้าอย่างถูกต้อง สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

7 min

การจ่ายเงินปันผลของบริษัท ทำอย่างไร?

การก่อตั้งบริษัทหรือการลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนมีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือแสวงหาผลตอบแทนในรูปของกำไร และแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการนั้น ซึ่งอยู่ในรูปของเงินปันผล การจ่ายเงินปันผลคืออะไร เงินปันผลเป็นผลตอบแทนที่บริษัทแบ่งจ่ายจากผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้น ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือ การจ่ายเงินปันผลเป็นการจ่ายจาก 2 ส่วนหลักคือ1. กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในระหว่างงวด 2. กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร บริษัทจ่ายเงินปันผลเมื่อไร โดยปกติบริษัทที่จะจ่ายเงินปันผลได้ต้องเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงิน มีกระแสเงินสดเพียงพอ มีฐานะการเงินที่ค่อนข้างแข็งแรง  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3  ลักษณะ22 หุ้นส่วนและบริษัท ระบุเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจำกัด ไว้ดังนี้ มาตรา 1201 ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผลนอกจากโดยมติของที่ประชุมใหญ่ กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งเป็นคราว ในเมื่อปรากฎแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้นได้ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุนเช่นนั้น มาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท จากประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ จะเห็นว่าบริษัทจ่ายเงินปันผลได้ก็ต่อเมื่อ 1. บริษัทมีกำไรสะสม ถ้าบริษัทมีขาดทุนสะสม บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทมีผลขาดทุนสะสมยกมาต้นปี 2563 เป็นจำนวนเงิน (10,000) บาทกำไรสุทธิ ปี2563  เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาทดังนั้น ปี 2563 บริษัทมีกำไรสะสมยกไป 90,000 บาทปี 2563 บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้จากกำไรสะสม 90,000 บาท และขาดทุนสะสม(10,000) บาทที่ยกมาต้นปี 2563 หายไปเนื่องจากในปี 2563 มีกำไรสุทธิ 100,000 บาท  2. บริษัทได้จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองร้อยละ 5 ของกำไร บริษัทได้จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองร้อยละ 5 ของกำไร จนกว่าทุนสำรองนั้นจะเท่ากับร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนหรือตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท ซึ่งจะจัดสรรทุกครั้งที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผล 3. บริษัทมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้จ่ายเงินปันผล ส่วนในกรณีที่กรรมการบริษัทเห็นว่าบริษัทมีกำไรมากในระหว่างงวดพอที่จะจ่ายเงินปันผล กรรมการอาจเสนอให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล โดยจัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล  วิธีการจ่ายเงินปันผล ในการจ่ายเงินปันผล คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาว่าจะจ่ายเงินปันผลด้วยวิธีใด โดยปกติการจ่ายเงินปันผลมีด้วยกัน 6 วิธี ได้แก่ 1. การจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด บริษัทส่วนใหญ่จะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด 2. การจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น เป็นการเพิ่มจำนวนหุ้นของกิจการ แต่มูลค่ารวมของบริษัทไม่เปลี่ยนแปลงมีผลทำให้ราคาต่อหุ้นลดลง แต่จะชดเชยจากจำนวนหุ้นปันผลที่ได้รับเพิ่มขึ้น ในภาพรวมจำนวนหุ้นที่มากขึ้นเป็นการเสริมสภาพคล่องของบริษัท 3. การแตกหุ้น 4. การซื้อหุ้นกลับคืน 5. การรวมหุ้น 6. การจ่ายเงินปันผลด้วยวิธีอื่น ในการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะกำหนดนโยบายเงินปันผลโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบได้แก่ สภาพคล่องทางการเงิน โอกาสในการลงทุน ความสามารถในการกู้ยืม ขนาดของธุรกิจ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้ถือหุ้นมากที่สุด PEAK โปรแกรมบัญชี มี PEAK Board เป็น New Feature จาก PEAK ให้ข้อมูลสรุปผลประกอบการในรูป Dashboard แสดงข้อมูลสรุปผลอย่างง่าย สวยงาม ถูกต้อง สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆได้ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง การจ่ายเงินปันผล กรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ,สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ :  เงินปันผลหรือหุ้นปันผลอะไรดีกว่ากัน: