ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>ภาษี

20 ม.ย. 2021

PEAK Account

5 min

ทำความรู้จัก “ภาษีซื้อ” และ “ภาษีขาย”

เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการต่อปีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท จำเป็นต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการมูลค่าการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการ โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศและอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 0% สำหรับการส่งออกสินค้าหรือบริการในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ ภาษีขาย-ภาษีซื้อ ภาษีซื้อ ภาษีขาย คืออะไร ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่กิจการเก็บจากลูกค้า เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการ ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเรียกเก็บจากกิจการเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ (ภาษีขาย > ภาษีซื้อ)กิจการต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบภ.พ.30 ให้แก่กรมสรรพากร โดยต้องยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย (ภาษีซื้อ > ภาษีขาย) กิจการสามารถขอคืนภาษีเป็นเงินสดหรือนำส่วนเกินไปใช้เป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป            รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย คืออะไร ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนอกจากจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานแล้ว ยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีซื้อ ที่ผู้ประกอบการอื่นเรียกเก็บในการซื้อสินค้าและบริการตามหลักฐานใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนใดให้บันทึกเป็นรายการภาษีซื้อในเดือนนั้น แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถลงรายการภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในเดือนเดียวกันได้ ผู้ประกอบการสามารถลงรายการภาษีซื้อได้ในเดือนถัดไปแต่ไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่เดือนที่ออกใบกำกับภาษี รายงานภาษีขาย เป็นรายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีขายที่กิจการเรียกเก็บจากลูกค้า โดยภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดกิจการต้องบันทึกรายการตามหลักฐานสำเนาใบกำกับภาษีขายที่ออกให้ลูกค้าในเดือนนั้น ผู้ประกอบการสามารถออกรายงานภาษีซื้อและภาษีขายได้ง่ายๆ ด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่มีฟีเจอร์ช่วยให้คุณออกรายงานภาษีซื้อและภาษีขายได้อัตโนมัติและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด คลิกดู “วิธีการสั่งพิมพ์รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย” ที่นี่ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK

12 ม.ค. 2021

PEAK Account

3 min

การสมัครเข้าใช้งานระบบรับชำระเงินกู้ยืม กยศ.

ปัจจุบันกิจการจะเป็นฝ่ายหักเงินเดือนเพื่อนำส่งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งมีวิธีการสมัครมีขั้นตอนดังนี้ หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ขั้นตอนที่ 1 : สำหรับผู้ที่ยัง ไม่เคย เป็นสมาชิกของระบบ e-Filing (ภ.อ.01) การนำส่งเงินนั้นกิจการจะต้องเป็นสมาชิกของระบบ e-Filing ก่อน ถึงจะใช้งานได้ โดยสามารถดูรายละเอียดการสมัครการใช้งานได้ตาม “(ภ.อ.01)“ หมายเหตุ : หากกิจการไหนเป็นสมาชิกของระบบ e-Filing แล้วสามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้เลย ขั้นตอนที่ 2 : สำหรับผู้ที่ยังเป็นสมาชิกของระบบ e-Filing (ภ.อ.02) หากกิจการเป็นสมาชิกอยู่แล้วให้ทำตามคู่มือ ในข้อ 2. หน้าที่ 10 กรณีที่เเป็นสมาชิกบริการยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ตแล้วต้องเพิ่มรายการ ” นำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.” ตาม คู่มือ เพื่อกรอกรายละเอียด ภ.อ.02 ขั้นตอนที่ 3 : สมัครเข้าใช้งาน e-PaySLP เมื่อสมัคร ภ.อ.01 และภ.อ.02 เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะเป็น การสมัครเข้าใช้งาน e-PaySLP ซึ่งมีขั้นตอนการสมัครตามตัวอย่างด้านล่าง เมื่อสมัครเรียบร้อยแล้วระบบจะแสดงรูปภาพดังตัวอย่างด้านล่าง .ให้ตรวจสอบข้อมูลของกิจการ และสามารถเลือกหัวข้อสำหรับการใช้งานได้เลย ส่วนรายละเอียดการหักเงินจะอยู่ในหัวข้อ ” ยืนยันการตรวจสอบข้อมูล” กรณีสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดการขั้นตอนการบันทึกบัญชีในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ได้ที่ -จบขั้นตอนสมัครเข้าใช้งานระบบรับชำระเงินกู้ยืม –

17 ส.ค. 2022

PEAK Account

19 min

ทำความรู้จัก Tax Point จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในการขายสินค้าหรือบริการ ภาระภาษีของผู้ประกอบการที่จด VAT ของแต่ละประเภทกิจการ ไม่ว่าจะเป็น กิจการขายสินค้า กิจการให้บริการ กิจการนำเข้า มีความแตกต่างกัน เมื่อมีภาระภาษี ถือว่ากิจการมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดเก็บ VAT จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ   หลักในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value Added Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ 2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการภายในราชอาณาจักร ได้แก่ การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ของบริษัทต่างประเทศที่มีการใช้บริการในประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งบริการที่ทำในราชอาณาจักรแต่ใช้บริการในต่างประเทศ ได้แก่ งานรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ในประเทศไทย แต่บริษัทผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทต่างชาติซึ่งนำซอฟต์แวร์ไปใช้ในต่างประเทศ 3. การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้นำเข้า ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและกำหนดเวลาการจดทะเบียน หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วผู้ประกอบการมีหน้าที่ดังนี้ 1. การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 2. การออกใบกำกับภาษี เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ 3. การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 4. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยช่องทางการยื่นแบบและชำระภาษีมีทั้งที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สรรพากรสาขา ที่ธนาคารพาณิชย์ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) Tax Point หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในการเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ Tax Point ของกิจการมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกิจการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ 1. ธุรกิจการขายสินค้า  การขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ ธุรกิจขายสินค้าได้แก่ 1.1 การขายสินค้าทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ยกเว้นมีการกระทำต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้า Tax Point จะเกิดขึ้นทันที ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า ข. ได้รับชำระค่าสินค้า หรือ ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 1.2  การขายสินค้าตามสัญญาเช่าหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ซึ่งกรรมสิทธิ์ของสินค้ายังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระตามงวดแต่ละงวด ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้รับชำระค่าสินค้า หรือ ข. ได้ออกใบกำกับภาษี 1.3 การขายสินค้าโดยมีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้มีการส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว Tax Point เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ให้ถือว่า Tax point เกิดขึ้นแล้ว  ก. ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ ข. ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า ค. ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ง. ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น 1.4 การขายสินค้าโดยการส่งออก Tax Point เกิดขึ้นในแต่ละกรณีดังนี้ ก. การส่งออกสินค้า เมื่อมีการชำระอากรขาออก วางหลักประกันขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันขาออกเว้นแต่ในกรณีที่ไม่เสียอากรขาออก หรือได้รับการยกเว้นอากรขาออก ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ข. กรณีที่มีการส่งออกที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการนำสินค้าใน ราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร ค. กรณีที่มีการส่งออกที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน Tax Point เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 1.5 การขายสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80(1)/5 โดยภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ซึ่งทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/1(2) Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า  2. ธุรกิจบริการ 2.1 การให้บริการทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนชำระค่าบริการ ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้ออกใบกำกับภาษี ข. ได้ใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น 2.2 การให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการ  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลง ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลงให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ข. ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น 2.3 การให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการในประเทศไทย  Tax Point ทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าบริการทั้งหมด หรือบางส่วน แล้วแต่กรณี 2.4 การให้บริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (ตามมาตรา 80/1(5)) และในภายหลังมีการโอนสิทธิในบริการให้แก่ผู้รับโอนสิทธิในบริการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามมาตรา 82/1(2)) Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการกรณีที่รับชำระราคาค่าบริการ ข้อสังเกต คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537 กรณีกิจการขายสินค้าได้รับชำระค่าสินค้าด้วยเช็ค ซึ่งเช็คลงวันที่ก่อน        ส่งมอบสินค้าหรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือเป็นกิจการให้บริการ Tax Point คือวันที่ที่ลงในเช็ค โดย         ผู้ประกอบการต้องออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ลงในเช็ค กรณีกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค ที่ได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ลงในเช็คใบนั้น ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ได้รับมอบเช็คนั้น ก. กรณีรัฐบาล องค์การรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ออกเช็ค ข. กรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้ออกเอกสารรับรองว่าได้มีการส่งมอบเช็คให้แก่ผู้ประกอบการในวันเดือนปีใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวในวันเดียวกันกับที่ส่งมอบเช็ค โดยผู้ประกอบการต้องมีเอกสารดังกล่าวพร้อมให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบได้ทันที 3. ธุรกิจนำเข้า 3.1 การนำเข้าสินค้าทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้า หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ยกเว้นกรณีไม่ต้องเสียอากรขาเข้า Tax Point เกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าของกรมศุลกากร 3.2 การนำเข้าสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร แล้วนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร โดยมิใช่เพื่อการส่งออก Tax Point เกิดขึ้นในวันที่นำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากร โดยมิใช่เพื่อการส่งออก 3.3 การนำเข้าสินค้าในกรณีของตกค้างตามกฎหมายศุลกากร  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อทางราชการได้ทำการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น เพื่อนำเงินดังกล่าวมาชำระภาษี ค่าเก็บรักษา ค่าขนย้าย หรือค่าภาระติดพันตามวิธีการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 3.4 การนำเข้าสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้มีผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวหรือผู้รับโอนสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร 4.  การขายสินค้าหรือให้บริการอื่นๆ  ดังต่อไปนี้ 4.1  การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าสินค้า หรือถ้ามีการออกใบกำกับภาษีก่อนการได้รับชำระค่าสินค้า ให้ Tax Point จะเกิดขึ้นเมื่อออกใบกำกับภาษี 4.2  การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือการขายสินค้าที่ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด   Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้ายกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าสินค้า ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้าหรือ      ข. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.3  การขายสินค้าหรือให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยการชำระค่าสินค้าและบริการ โดยการหยอดเหรียญ หรือบัตรหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้นำเหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัติ 4.4  การขายสินค้าโดยชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ดังต่อไปนี้      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า      ข. เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ      ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.5 การให้บริการโดยการชำระราคาค่าบริการด้วยการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน   Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเดรดิต ยกเว้นได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิตก็ให้ Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้ออกใบกำกับภาษีนั้น 4.6  การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) (ก)  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ดังต่อไปนี้      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า      ข. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ      ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.7  การนำเข้าสินค้าโดยผู้ประกอบการ โดยนำสินค้าไปใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรง  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นไปใช้ 4.8  ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ 4.9 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่เลิกประกอบกิจการ Tax Point เกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการ ยกเว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการ ให้Tax Point เกิดขึ้นเป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร 4.10 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สิน ที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ  Tax Point เกิดขึ้นแล้วแต่กรณีใดดังต่อไปนี้ ก. ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point จะเกิด ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข. ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point จะเกิด ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการให้ Tax Point เป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร  จากรายละเอียดของจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังที่กล่าวมา จะช่วยให้ผู้ประกอบการกิจการที่จดVAT มีความเข้าใจและนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องกับประเภทของกิจการ ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชีและภาษีได้อย่างมืออาชีพ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK   ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง: มาตรา 77_79 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) (greenprokspforsme.com) TAX POINT จุดรับผิดทางภาษี | Prosoft ERP Tax point คือ อะไร เกิดขึ้นตอนไหน | Prosoft ERP

16 ม.ค. 2022

PEAK Account

19 min

เรื่องควรรู้! กฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชี

งานบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งกฎหมายที่ใกล้ตัวนักบัญชีที่สุดคือ ประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากร รวมทั้งกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายศุลกากร, พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และพระราชบัญญัติภาษีป้าย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท), พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 และพ.ศ.2547, พระราชบัญญัติประกันสังคม, พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น กฎหมายภาษีเป็นกฎหมายที่สำคัญ โดยเฉพาะประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายภาษีที่นักบัญชีทั้งในองค์กรและสำนักงานบัญชี ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะมีความเกี่ยวพันกับงานบัญชีอย่างแยกไม่ออก ส่วนกฎหมายอื่นๆ นักบัญชีควรทราบถึงหลักการและแนวทาง พร้อมที่สืบค้นเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น กฎหมายภาษีที่สำคัญที่มีผลกระทบต่องานบัญชีแบ่งออกเป็น  4 ประเภท โดย 3 ประเภทแรกเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรและอีกประเภทหนึ่งเป็นกฎหมายภาษีอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากธุรกิจที่ต้องอาศัยนักบัญชี หรือจ้างสำนักงานบัญชีเป็นกิจการนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นกฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชีในอันดับแรก ความหมาย ภาษีที่เก็บจากเงินได้ของผู้ประกอบการนิติบุคคลในรูปบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ฐานภาษี ฐานภาษี หมายถึง เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจทั่วไปที่เป็นบริษัทจำกัด หรือ             ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ฐานภาษีได้แก่ กำไรสุทธิ ผู้ประกอบการต้องคำนวณกำไรสุทธิจากรายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา โดยปกติเท่ากับ 12 เดือน ยกเว้น กรณีที่กฎหมายยอมให้มีรอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เพิ่งตั้งกิจการ รอบระยะเวลาบัญชีแรกจะน้อยกว่า 12 เดือน หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกิจการ ซึ่งถือวันที่เลิกกิจการเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี รอบระยะเวลาบัญชีก็จะน้อยกว่า 12 เดือน เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ ประมวลรัษฏากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิผู้ประกอบการต้องคำนวณกำไรสุทธิโดยใช้เกณฑ์สิทธิ จากรายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี (แม้ว่าจะไม่ได้รับชำระเงินในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น) หักด้วยรายจ่าย ตามเงื่อนไขที่ระบุในมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี ดังนี้ ก. มาตรา 65 ทวิ เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการหักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร การตีราคาทรัพย์สิน การตีราคาสินค้าคงเหลือ  การจำหน่ายหนี้สูญ การคำนวณเงินปันผลเป็นรายได้ เป็นต้น ข. มาตรา 65 ตรี เป็นรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือเรียกว่ารายจ่ายต้องห้าม ได้แก่ รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง รายจ่ายที่ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ เป็นต้น อัตราภาษี โดยปกติอัตราภาษีเงินได้สำหรับกิจการนิติบุคคลทั่วไปสำหรับ เท่ากับ 20% ของกำไรสุทธิ สำหรับธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการ ในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ใช้อัตราภาษี ดังนี้ การยื่นแบบ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ กิจการจะต้องยื่นแบบภ.ง.ด.51 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี กิจการจะต้องยื่นแบบภ.ง.ด.50 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax หรือ VAT) ความหมาย ภาษีที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านปีต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกินดังกล่าว หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. การจัดทำใบกำกับภาษี และออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการ หรือเมื่อเกิดจุดรับผิดทางภาษี (Tax Point) 2. การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ ฐานภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากฐานมูลค่าสินค้าหรือบริการหลังหักส่วนลดแล้ว โดยมีจุดความรับผิดทางภาษี มูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ดังนี้ ก. ธุรกิจขายสินค้า สำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าทั่วไป จุดความรับผิดทางภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า แต่ถ้ากิจการได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ก่อนที่จะส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าจุดรับผิดเกิดทางภาษีขึ้นทันที ได้แก่ 1. การโอนกรรมสิทธิ์สินค้า 2. ได้รับชำระค่าสินค้า 3. ได้ออกใบกำกับภาษี ข. ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจที่ให้บริการทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้รับชำระค่าบริการ แต่ถ้ามีการดำเนินการต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนให้ Tax Point เกิดทันที 1. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ 2. ได้ใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น อัตราภาษี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบัน ได้แก่ 1. อัตรา7% สำหรับธุรกิจขายสินค้าหรือบริการทุกประเภท รวมทั้งการนำเข้า 2. อัตรา0% สำหรับธุรกิจส่งออก การยื่นแบบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) ทุกเดือน ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 3.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ความหมาย ภาษีที่ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักออกจากจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักและนำส่งภาษีที่ได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ให้แก่กรมสรรพากรและออกหลักฐานหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน ฐานภาษีและอัตราภาษี ฐานภาษีของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ เงินได้ดังต่อไปนี้ (ในที่นี้จะกล่าวถึงประเภทค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของกิจการส่วนใหญ่ ตามมาตรา 3 เตรส) สำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น ถ้าการจ่ายเงินในครั้งนั้นๆ ไม่เกิน 1,000 บาท กรมสรรพากรกำหนดว่าไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามูลค่าการจ่ายเงินในแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือน เป็นต้น ผู้จ่ายเงินก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกงวด การยื่นแบบ 1. ภ.ง.ด.3 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกิจการที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 2. ภ.ง.ด.53 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้          นิติบุคคล โดยกิจการที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 4.ภาษีอื่นๆ นอกจากประมวลรัษฎากร กฎหมายภาษีอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่องานบัญชี ได้แก่ 4.1 ภาษีศุลกากร ความหมาย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออก มีการกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรตามประเภทสินค้า สำหรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร ประกอบด้วยพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า พิกัดอัตราศุลกากรขาออกและของที่ได้รับยกเว้นอากร โดยมีกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดเก็บ ฐานภาษีและอัตราภาษี สำหรับการจัดเก็บภาษีศุลกากร มีด้วยกัน 3 วิธี 1. ภาษีตามมูลค่า เป็นการจัดเก็บตามราคาหรือมูลค่า โดยจัดเก็บตามอัตราร้อยละของราคาสินค้า อากรขาเข้าเก็บจากราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ส่วนอากรขาออก ใช้ราคา FOB (Free on Board) ประกอบด้วยราคาสินค้า บวกค่าระวางบวกค่าขนส่งลงเรือ 2. ภาษีต่อหน่วยหรือปริมาตร เป็นการจัดเก็บตามสภาพ โดยจัดเก็บตามน้ำหนัก ปริมาณ ปริมาตรหรือความยาวของสินค้า 3. การจัดเก็บตามราคาหรือสภาพแล้วแต่วิธีใดค่าอากรจะสูงกว่า 4.2 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความหมาย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกนำมาใช้แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคารโกดัง ที่ครอบครอง เป็นต้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล อบต.เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บ สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือว่าเป็นประเภทที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นประโยชน์อื่น ได้แก่ ในเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหารและอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย ฐานภาษีและอัตราภาษี มูลค่าฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การนำส่งภาษี สำหรับการนำส่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปี 2565 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทางองค์กรปกครองท้องถิ่นจะมีการออกหนังสือแจ้งครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและจะแจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีได้ชำระภาษีภายในเดือนเมษายน 2565 เมื่อกิจการได้รับหนังสือฯ ดังกล่าวควรตรวจสอบประเภทของการใช้ประโยชน์และอัตราภาษี ถ้าพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง สามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือฯ ถ้าไม่มีการคัดค้านการประเมินภายในกำหนดเวลา จะถือว่ากิจการยอมรับการประเมินดังกล่าวของเจ้าพนักงานและต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่ระบุไว้ในหนังสือฯ 4.3 ภาษีป้าย ความหมาย ภาษีป้ายคือภาษีที่จัดเก็บจากป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายการค้า หรือประกอบกิจการอื่นๆ เช่น โฆษณาการค้าเพื่อหารายได้ โดยแสดงเป็นอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก บนวัสดุต่างๆ สำหรับป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่ ก. ป้ายที่ติดภายในอาคาร ข. ป้ายที่มีล้อเลื่อน (โดยต้องมีการเลื่อนย้ายเข้าออก) ค. ป้ายชั่วคราว เช่น ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดงานเป็นครั้งคราว ง .ป้ายของทางราชการ โรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน วัด สมาคม มูลนิธิ การยื่นแบบเสียภาษี เจ้าของป้ายเป็นผู้เสียภาษี ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ให้ผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็น         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ ภาษีป้าย กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษี ตั้งแต่เดือนมกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี โดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขตหรือผ่านธนาคารกรุงไทย นักบัญชีทั้งในองค์กรและสำนักงานบัญชีจึงควรศึกษากฎหมายภาษี โดยเฉพาะภาษีตามประมวลรัษฎากรให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ มีการอัปเดตความรู้กฎหมายภาษีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยกิจการลดความเสี่ยงในการจ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่ม PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้อง ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: www.rd.go.th ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้ | โปรซอฟท์ คอมเทค (prosoft.co.th) ch14.pdf (udru.ac.th) ภาษีศุลกากร 5 ขั้นตอนเสียภาษีป้าย : รู้หรือไม่ครับว่า ป้ายที่ใช้ในธุรกิจนั้นต้องมีการเสียภาษีด้วย (dharmniti.co.th)

19 ก.พ. 2022

PEAK Account

22 min

เทคนิคการวางแผนภาษีเพื่อธุรกิจ

เป้าหมายของการประกอบธุรกิจคือได้รับกำไรสูงสุด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มุ่งสู่การสร้างยอดขายให้มากที่สุด แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งในการประกอบธุรกิจคือการจัดการเรื่องภาษี เพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ป้องกันความเสี่ยงสำหรับภาระภาษีในอนาคต การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของกิจการควรคำนึงถึง การวางแผนภาษี คืออะไร การวางแผนภาษี (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติทางด้านภาษีอากรของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและเสียภาษีเป็นจำนวนน้อยที่สุด โดยถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักกฎหมายภาษีอากร ดังนั้น การวางแผนภาษีจึงมิใช่การหลีกเลี่ยงภาษีหรือการประหยัดภาษีแต่ไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาแนวทางในการวางแผนภาษี เพื่อจะได้กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมทางภาษีของกิจการต่อไป ผู้ประกอบการหลายคนอาจเกิดความสับสนระหว่างการวางแผนภาษี การหลีกเลี่ยงภาษีและการหลบหลีกภาษีว่าต่างกันอย่างไร ลองไปดูกันว่าการหลีกเลี่ยงภาษีและการหลบหลีกภาษีแตกต่างจากการวางแผนภาษีอย่างไร การหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Evasion) หมายถึง การมีเจตนาหรือจงใจหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยทุจริต ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ 1. มีเจตนาแจ้งความเท็จในการยื่นแบบแสดงรายการ หรือการให้ถ้อยคำแก่เจ้าหน้าที่สรรพากรอันเป็นเท็จหรือการแสดงหลักฐานเท็จต่อเจ้าพนักงาน 2. ผู้เสียภาษีจงใจไม่ยื่นแสดงรายการที่กิจการต้องยื่นแบบต่อกรมสรรพากร หรือกรอกข้อมูลในแบบแสดงรายการไม่ตรงกับความเป็นจริงเพื่อให้กิจการเสียภาษีน้อยลง ผู้หลีกเลี่ยงภาษีนอกจากจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่มแล้ว ยังต้องรับโทษทางอาญาด้วย โดยค่าปรับทางอาญา กิจการผู้หลีกเลี่ยงภาษีไม่สามารถนำค่าปรับไปเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ การหลบหลีกภาษี (Tax Avoidance) หมายถึง การนำช่องโหว่ของกฎหมายทางภาษี (Tax Loopholes) มาใช้เป็นประโยชน์ในการเสียภาษี เพื่อให้กิจการไม่ต้องเสียภาษีในส่วนที่ไม่จำเป็น ซึ่งการหลบหลีกภาษีอากรมีความคล้ายกันกับการวางแผนภาษี คือ มีเป้าหมายเหมือนกันในการประหยัดภาษีให้มากที่สุด โดยการหลบหลีกภาษีเป็นการใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในการประหยัดภาษี บ้างก็มองว่าเป็นการบริหารจัดการภาษีอีกรูปแบบหนึ่งที่ยอมรับได้ แต่ก็ยังมีหลายคนที่มองว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมเพราะทำให้รัฐขาดรายได้   ความสำคัญของการวางแผนภาษีอากร การเสียภาษีของกิจการให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นสิ่งสำคัญ การวางแผนภาษีอากรจึงมีผลดีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้ 1. ช่วยให้การเสียภาษีอากรของธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามกฎหมายภาษีอากร 2. ช่วยให้กิจการประหยัดภาษี จากการนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาใช้ เช่น ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงระยะเวลาที่กำหนด, สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการSMEs ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19, สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุหรือผู้พิการ เป็นต้น 3. ช่วยขจัดปัญหาในการเสียภาษีของธุรกิจ เช่น ปัญหาที่เกิดจากความไม่รู้ไม่เข้าใจของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานภาษีเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร เป็นต้น 4. เป็นการเตรียมความพร้อมของกิจการ ในกรณีที่มีการเรียกตรวจสอบจากกรมสรรพากร อย่างไรก็ตามการวางแผนภาษีก็ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบจากกรมสรรพากร ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายประเภทเบี้ยปรับเงินเพิ่มของกิจการด้วย 5. ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น ทำให้ระบบเอกสารทางบัญชีและภาษีมีความเป็นมาตรฐาน เป็นไปตามกฎหมายภาษีอากร 6. ช่วยส่งเสริมระบบการควบคุมภายในของกิจการให้มีประสิทธิภาพ ในการวางแผนภาษี มีขั้นตอนหนึ่งที่ต้องศึกษาแนวปฏิบัติของธุรกิจ ทำให้เห็นปัญหาของระบบการทำงาน จุดเสี่ยง สิ่งที่ควรปรับปรุงไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้การที่ระบบบัญชีและภาษีของกิจการได้รับการปรับปรุงส่งผลให้ระบบการควบคุมภายในของกิจการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย กลยุทธ์การวางแผนภาษี (Tax Planning Process) กลยุทธ์การวางแผนภาษีหรือกระบวนการในการวางแผนภาษี ประกอบด้วย 1. การเตรียมการก่อนการวางแผนภาษีอากร ได้แก่ 1.1. การศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจ ได้แก่ เป็นการศึกษาทำความเข้าใจธุรกิจในแง่มุมต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก. ลักษณะของธุรกิจ  ข. ระบบเอกสารทางธุรกิจและระบบบัญชี ค. การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการ ง. การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร หรือที่เรียกว่า SWOT Analysis   ทางด้านภาษีอากร จ. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร 1.2. ระบุประเภทภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของกิจการ ได้แก่ ก. ภาษีสรรพากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น ข. ภาษีศุลกากร ได้แก่ อากรขาเข้า อากรขาออก เป็นต้น ค. ภาษีสรรพสามิต  ได้แก่ ภาษีสำหรับสินค้าประเภท สุรา ยาสูบ ไพ่ เป็นต้น ง. ภาษีท้องถิ่น ได้แก่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย เป็นต้น โดยภาษีอากรแต่ละประเภทมีอัตราและวิธีปฏิบัติในการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงต้องศึกษาให้เข้าใจถึงรายละเอียดของภาษีอากรแต่ละประเภท เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์สูงสุด 1.3. ระบุปัญหาทางภาษีอากรของกิจการ ปัญหาภาษีอากรของกิจการได้แก่ ก.ปัญหาความผิดพลาดในการคำนวณภาษีอากร การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นแบบ หลักฐานเอกสารทางภาษีไม่ถูกต้องเพียงพอ ข. ปัญหาความแตกต่างของหลักเกณฑ์ที่กิจการใช้ในการบันทึกบัญชีกับหลักเกณฑ์ทางภาษี 1.4. การกำหนดบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวางแผนภาษีอากร บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการวางแผนภาษีอากร ได้แก่ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ฝ่ายบัญชีและการเงิน  ฝ่ายกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาภาษีอากร หน่วยงานอื่นในองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบุคคล เป็นต้น โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องดังกล่าว ควรประกอบด้วยผู้ที่เข้าใจประเด็นทางภาษีของกิจการและทราบถึงสาเหตุของปัญหาทางภาษี มีความรู้ความเข้าใจระบบภาษีขององค์กร ผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนภาษี กิจการอาจพิจารณาจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษีอากร เช่น สำนักงานบัญชี ที่ปรึกษาทางด้านภาษีอากร หรือนักกฎหมาย เป็นต้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและลดปัญหาภาระภาษีที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต ส่วนผู้ประกอบการหรือผู้บริหารของกิจการ มีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย การผลักดันและสนับสนุน การติดตามและประเมินผล 2. การกำหนดขั้นตอนการวางแผนภาษีอากร หลังจากที่กิจการมีเตรียมการในการวางแผนภาษีอากรแล้ว กิจการจะต้องกำหนดขั้นตอนการวางแผนภาษีอากรดังต่อไปนี้ 2.1 กำหนดประเด็นภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้แก่ ก. ประเด็นภาษีอากรทางด้านรายได้ รายได้ที่กิจการได้รับต้องเสียภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร ข. ประเด็นภาษีอากรทางด้านรายจ่าย รายจ่ายของกิจการเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร ค.ประเด็นทางด้านสินทรัพย์และหนี้สิน สินทรัพย์และหนี้สินของกิจการเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใด มีปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างไร 2.2 วิเคราะห์สาเหตุและที่มาของปัญหาทางด้านภาษีอากร ปัญหาทางด้านภาษีอากร ได้แก่ ก. นโยบายทางภาษีของกิจการไม่ถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ข. เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องภาษีอากร ค. ผู้ประกอบการขาดการควบคุมให้มีการเสียภาษีที่ถูกต้อง เนื่องด้วยไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีในเรื่องใดบ้าง หรือเจ้าของธุรกิจตั้งใจหลบเลี่ยงภาษี ทำให้เสียภาษีไม่ครบถ้วน ง. กิจการขาดการวางแผนภาษีอากรที่ดี จ. เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบงานทางด้านภาษีขององค์กรไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอย่างเพียงพอ หรือขาดการอบรมพัฒนาความรู้ทางด้านภาษีอากร ฉ. การจัดทำบัญชี เอกสารทางบัญชีและภาษี ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ช. กฎหมายภาษีมีความซับซ้อน ยากต่อการปฏิบัติตาม ซ. ลักษณะของธุรกิจ สัญญาของธุรกิจ ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทางภาษีอากร 2.3 กำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหา เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการวางแผนภาษีเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบ   โดยทั่วไปมี 3 ประการ1. เพื่อความถูกต้อง (Accuracy) หมายถึง กิจการเสียภาษีถูกต้อง 2. เพื่อความครบถ้วน (Completion) หมายถึง กิจการเสียภาษีครบถ้วน 3. เพื่อการประหยัดภาษี (Saving) หมายถึง กิจการประหยัดค่าภาษีได้ 2.4 การกำหนดขั้นตอนการแก้ไขปัญหาภาษีอากร ประกอบด้วย ก. การจัดประชุมชี้แจงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับเหตุผลในการวางแผนภาษี ปัญหาและสาเหตุของปัญหาภาษีอากร วัตถุประสงค์ของการวางแผน ข. การจัดให้มีการระดมสมองเพื่อร่วมกันพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ทำการศึกษาหลักเกณฑ์และกฎหมายสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นภาษีและร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ การกำหนดแผนการฝึกอบรม ทางด้านภาษีสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้บริหารและเจ้าของกิจการ สำหรับกฎหมายภาษีที่จำเป็นต้องทราบ และติดตามกฎหมายสรรพากรที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือมีกฎหมายใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ, การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานทางบัญชีและภาษี, การวางระบบัญชี  เป็นต้น 2.5. การกำหนดแผนการปฏิบัติการ (Action Plan) ในการแก้ไขปัญหาภาษีอากร แผนปฏิบัติการ(Action Plan) หมายถึง แผนงานที่กำหนดการปฏิบัติงานเป็นกิจกรรมย่อยๆ กำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เกี่ยวข้อง มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน 3. การนำแผนภาษีอากรไปใช้ปฏิบัติจริง ประกอบด้วย 3.1. ผู้ประกอบการกำหนดนโยบายบัญชีและภาษีที่เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานทางบํญชีและถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร 3.2. ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารมอบหมายงานให้แก่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น นำไปปฏิบัติงานตามแผน 3.3. ผู้เกี่ยวข้องที่รับมอบหมายงาน ทำความเข้าใจแนวปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย จากนั้นจึงจัดทำแผนการปฏิบัติงาน มีการทดลองปฏิบัติงานตามแผน มีการติดตามผล หลังจากมีการนำมาใช้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนทั้งระบบ และมีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารทราบ 3.4. เจ้าของธุรกิจและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษากฎหมายสรรพากรหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4. การติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 4.1. การประเมินผลโดยรวม เป็นการพิจารณาว่ามีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน         4.2. การประเมินผลปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผน เป็นการพิจารณาว่าบุคลากรมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน มีการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและให้ความร่วมมืออย่างไร 4.3. การประเมินผลการปฏิบัติ เป็นการพิจารณาว่าจำนวนเงินที่เสียภาษีอากรถูกต้อง ไม่มีค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับ เงินเพิ่มทางภาษี มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุมภายในขององค์กรดีขึ้น 4.4.  การประเมินความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามแผน เป็นการประเมินผลทางด้านความรู้ ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง มีการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน การวางแผนภาษีดังที่กล่าวมา เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะช่วยกิจการลดต้นทุนและได้รับประโยชน์สูงสุด ป้องกันภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยกิจการจัดการงานบัญชีและภาษีครบวงจร เป็นเครื่องมือช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการเรื่องภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง:การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน (krungthai.com) ทำธุรกิจอย่างไรไม่ให้โดนภาษีย้อนหลัง (krungthai.com) การวางแผนภาษีอากรTax Planningการวางแผนภาษีอากรมีประโยชน์อย่างไร | myAccount Cloud (myaccount-cloud.com) สิ่งสำคัญในการวางแผนภาษี – จดทะเบียนบริษัท ทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี (xn—-7wf0bmbkgc3en0e0dua4bj8o.com)

12 ต.ค. 2021

PEAK Account

18 min

e-Tax Invoice คืออะไร?

โลกหมุนเร็วเหลือเกิน เป็นคำพูดที่เหมาะจะใช้กับหัวข้อนี้ที่สุด เพราะประเทศไทยยุค 2021 ทุก ๆ วันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกหยิบยกหันหน้าเข้าพึ่งโลกออนไลน์เกือบจะทั้งหมดแล้ว และยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนให้ความสำคัญกับการอยู่บ้าน หรือ Social Distancing มาขึ้น จนทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกโยกย้ายขึ้นไปบนออนไลน์ทั้งหมด แม้แต่พ่อค้า – แม่ค้า หรือเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ก็เริ่มทำการขายค้าผ่านทางออนไลน์ในแพลตฟอร์มของ Facebook หรือ Google มากกว่าการขายแบบออฟไลน์ ที่เรารู้จักกันดีว่าการเปิดร้านขายของ หรือตั้งหน้าร้านขายให้ผู้คนเดินทางมาซื้อ รวมถึงการออกเอกสารสำคัญต่าง ๆ ด้วย  ปัจจุบันโลกถูกเชื่อมต่อกันด้วยอินเทอร์เน็ต จึงทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน รวมไปถึงการติดต่อซื้อ – ขาย และการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก และสิ่งที่สำคัญที่เราทุกคนต้องรู้คือ เมื่อมีการทำธุรกรรม ค้าขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการเกิดขึ้น เจ้าของธุรกิจ หรือกิจการ ทั้งในรูปแบบของบุคคล หรือนิติบุคคลที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท / ปี ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับกรมสรรพากร ต้องจัดทำใบรับเสร็จ หรือใบกำกับภาษีขึ้นมา เพื่อแสดงเป็นหลักฐานในการขายสินค้า หรือบริการ ในการชำระเงิน พร้อมทั้งต้องจัดส่งต้นฉบับใบรับเสร็จ และใบกำกับภาษีนั้นในรูปแบบกระดาษให้แก่ผู้ลูกค้าทุกครั้ง  รัฐบาลจึงเกิดแนวคิดในการพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินการยื่นเอกสาร, จัดทำธุรกรรม หรือจัดเก็บหลักฐานต่าง ๆ ในแบบใหม่ ที่เรียกว่า e-service ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทยที่เริ่มนำเข้ามาปรับใช้เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา  4 เอกสารสำคัญที่สามารถแปลงให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำส่งกรมสรรพากรได้ 1.   ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร2.   ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร3.   ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร4.   ใบรับ (Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งในปัจจุบันกรมสรรพากรกำลังทำหน้าที่พัฒนาระบบขั้นตอนการบริการ, การยื่นเอกสาร และรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipts) ที่จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระต้นทุนในส่วนของการนำส่ง, การจัดเก็บใบกำกับภาษีแบบกระดาษ ให้เจ้าของธุรกิจได้อีกด้วย แต่การจะออกใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนเป็นการปรับเปลี่ยนระบบใหม่ทั้งหมดนั้น จะต้องใช้การป้องกัน การดูแลข้อมูลที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และแน่นอนว่ากรมสรรพกรกำลังเร่งจัดการดูแลในส่วนนี้อย่างเคร่งคัด e-Tax Invoice คืออะไร e-Tax Invoice หรือที่เรียกกันว่า ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายถึงการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์แบบ 100%  ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจ หรือบริการ รวมทั้งกิจการร้านค้า ไม่จำเป็นต้องจัดเตรียม หรือจัดทำใบกำกับภาษีแบบกระดาษให้วุ่นวาย รวมไปถึงไม่ต้องไปจัดส่งต้นฉบับใบกำกับภาษีให้และลูกค้าที่ทำธุรกิจซื้อ – ขายด้วยตัวเอง แถมยังสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษให้ยุ่งยาก เทียบกันชัด ๆ ใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ แตกต่างกันอย่างไร? e-Tax Invoice จำเป็นต้องจัดทำเข้าระบบทุกคนหรือไม่? การไม่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร รัฐอาจจะไม่สามารถตรวจจับได้ทีละรายคน แต่การเสียภาษีให้ถูกต้องก็จะทำให้เป็นผลดีกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐบาลพยายามดึงทุกคนเข้าสู่ระบบ ทั้งในระบบออนไลน์ และออฟไลน์ ด้วยโครงการต่าง ๆ ของรัฐ จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ระบบจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนก่อนร่วมโครงการ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง? 1. เป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ประเภท– .pdf (Portable Document Format)– .doc, .docx (Microsoft Word Document)– .xls, .xlsx (Microsoft Excel) 2. ภายใน 1 ไฟล์ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 MB 3. ข้อมูลรายละเอียดที่อยู่ในไฟล์เอกสารจะต้องไม่ใช่รูปภาพเด็ดขาด ห้ามใช้ การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษมาเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เด็ดขาด 4. ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในทางกฎหมายได้อีกด้วย วิธีการเปลี่ยนใบกำกับภาษีในรูปแบบเอกสาร ให้กลายเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice มีทั้งหมดกี่รูปแบบ…ใช้แตกต่างกันอย่างไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งหมด 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1: e-Tax Invoice & Receipt e-Tax Invoice & Receipt ซึ่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ในรูปแบบไม่จำกัดรายได้ ซึ่งจะจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของไฟล์ .xml เท่านั้นสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรต้องจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในรูปแบบอื่น หรือไฟล์นามสกุลอื่น ให้มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เพื่อส่งมอบให้ลูกค้าผู้ซื้อสินค้า หรือบริการทุกครั้งที่มีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น รูปแบบที่ 2: e-Tax Invoice by Email e-Tax Invoice by Email เหมาะสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการ ขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องจัดทำเฉพาะใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไฟล์ PDF/A-3 เท่านั้น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 ที่ผ่านมา เจ้าของธุรกิจ หรือกิจการจะต้องส่งอีเมลให้ลูกค้า และจัดทำสำเนา (CC) ไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) จากนั้นระบบ e-Tax Invoice by Email จะส่งอีเมลที่มีประทับรับรองเวลาไปยังอีเมลของลูกค้า และเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐาน และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาไปยื่นด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติมเรื่องแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบต่อที่นี่ วิธีการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร วิธีที่ 1 จัดทำด้วยตัวเอง จัดทำด้วยระบบงานของเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้าผ่านระบบบัญชีหรือระบบ ERP ด้วยตนเอง หรือใช้โปรแกรมที่สามารถปรับปรุงระบบงานให้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ตามรูปแบบ และเงื่อนไขที่กำหนด ก่อนนำส่งถึงกรมสรรพกรตามช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ –  Host to Host สำหรับเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้า–  Service Provider สำหรับตัวแทน–  Web Upload แค่อ่านก็ปวดหัวแล้ว? อย่าเพิ่งท้อ! PEAK มาช่วยคุณแล้ว เรามีวิธีที่จะทำให้การนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพกรได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วขึ้นสไตล์ PEAK PEAK เมื่อสมัครบริการบน INET และเชื่อมต่อกับ PEAK เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเรามาส่ง e-Tax Invoice ในโปรแกรมบัญชี PEAK กัน เริ่ม! สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: วิธีที่ 2 จัดทำโดยใช้ระบบของกรมสรรพากร จัดทำด้วยระบบบริการของกรมสรรพากร สำหรับเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้าที่ยังไม่มีระบบบัญชี สามารถจัดทำเอกสาร และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ด้วยระบบ RD Portal หรือจัดทำเอกสารส่งอีเมลเพื่อประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email ให้กรมสรรพกร –   Web Portal–   e-Tax Invoice by Email จะเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email ต้องลงทะเบียนอย่างไร? PEAK ช่วยจัดการ.ส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-Tax Invoice by Email ให้คุณได้ ไม่ยุ่งยาก ง่าย ๆ ในไม่กี่คลิก ก่อนอื่นเลยการจะส่งใบกำกับภาษีผ่าน e-Tax Invoice by Email คุณต้องลงทะเบียน e-Tax Invoice by Email กับทางกรมสรรพากรให้เรียบร้อยเสียก่อน ก่อนอื่นต้องเช็กคุณสมบัติของเจ้าของธุรกิจ และกิจการร้านค้า ที่สามารถยื่นคำขอ e-Tax Invoice by Email ได้ก่อน 1. เจ้าของธุรกิจ และกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)2. ต้องเป็นเป็นเจ้าของธุรกิจ และกิจการที่มีรายได้แล้วไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี นับตั้งแต่ปีภาษี 2558 เป็นต้นมา3. ต้องไม่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการร้านค้าที่ได้รับอนุมัติ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติให้จัดทํา ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร4. ไม่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี และไม่มีประวัติการออก หรือใช้ใบกํากับภาษีปลอมหรือใบกํากับภาษีที่ออกโดยผิดกฎหมาย 8 ขั้นตอนในการยื่นขอเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email 1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร คลิก: เพื่อยื่นคําขอ2. กรอกหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากร และ ตรวจสอบข้อมูล หรือมีข้อมูลผิดพลาดสามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ให้เป็นปัจจุบันได้3. แจ้งอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพกร4. พิมพ์เอกสาร กอ.01 และเซ็นชื่อลงนาม5. สแกนเอกสาร กอ.01 และอัพโหลดเอกสารส่งกลับไป6. รอทางกรมสรรพกรตรวจสอบ หากตรวจพบว่าเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วนจะต้องทำการอัพโหลดเอกสารใหม่ทั้งหมด ภายในระยะเวลา 7 วันทําการ7. กรมสรรพากรจัดส่งเอกสาร ยืนยันทางไปรษณีย์ พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)8. ยืนยันตัวตนทางเว็บไซต์ และเข้าไปกําหนดรหัสผ่านใหม่ภายในระยะเวลา 15 วันทําการ9. แจ้งอีเมลที่ต้องการจะใช้ในการส่งใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อยื่นคำขอเข้าร่วมระบบ e-Tax Invoice by Email เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกดส่ง e-Tax ด้วยตนเอง ซึ่งทำได้ง่าย ๆ เพียง 4 ขั้นตอนกับ PEAK ที่คุณก็สามารถทำเองได้ สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: และที่สำคัญเมื่อทำการกดส่ง e-Tax เรียบร้อยแล้ว จะมีอีเมลจาก ETDA (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) ส่งตอบกลับเข้ามาแจ้งให้สามารถว่า ประทับรับรองทางเวลาเรียบร้อย อย่าลืมเช็กกันด้วยนะ  e-Tax Invoice ถือเป็นเรื่องการยื่นภาษีที่ใหม่มากสำหรับคนไทย มีคนหลายกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจ และยังไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบอย่างถูกต้อง แน่นอนว่าสำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือกิจการร้านค้าการปฎิบัติตามกฎหมาย ยื่นภาษี, จ่าย Vat อย่างถูกต้องนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในภายหลัง PEAK พร้อมเป็นที่ปรึกษา และดูแลบัญชีให้ธุรกิจของคุณอย่างครบวงจร หมดห่วงเรื่องภาษี ธุรกิจเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

9 min

เจ้าของบริษัทต้องรู้! ซื้อสิ่งนี้… ขอใบกำกับภาษี ลดหย่อนได้

คำถามชวนปวดหัวของนายจ้าง และเจ้าของบริษัท ในสถานการณ์ที่เคร่งเครียดและเต็มไปด้วยปัญหาแบบนี้ นายจ้างอย่างเราต้องมาแปลงร่างเป็นซูเปอร์ฮีโร่ตัวสำคัญ ที่จะกอบกู้ขวัญและกำลังใจของเหล่าลูกน้องกลับคืนมาอีกครั้ง เพราะเมื่อไม่มีใจก็ไม่มีงาน เอาล่ะ…มาลุยกันอีกสักครั้ง!  ถึงเวลาทวงคืนแรงกายแรงใจของเหล่าพนักงานในบริษัท อะไรจะช่วยฮีลใจได้ดีเท่าความใส่ใจ และสวัสดิการดี ๆ จากบริษัท ดังนั้นถ้าคุณอยากเป็นเจ้านายดีเด่น ไม่ยากเลย PEAK ขอบอกเคล็ดลับความใส่ใจมัดใจลูกน้องให้อยู่หมัด ด้วยสวัสดิการขั้นเทพที่จะทำให้ทุกคนในบริษัทร้อง “ว้าว” ที่สำคัญ…ขอแอบกระซิบบอกเบา ๆ ว่านอกจากจัดสวัสดิการ และของสมนาคุณให้พนักงานแล้ว สามารถขอใบกำกับภาษี มาเพื่อลดหย่อนภาษีของบริษัทได้อีกด้วย! ทำไมบริษัทต้องเสียภาษี? เมื่อจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย จะถูกคำนวณกำไรสุทธิในแต่ละปี และจะต้องเสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสำหรับกำไรสุทธิ 30,000 บาทแรกที่บริษัทได้ แต่จะต้องเสียภาษีในอัตราพิเศษเพียง 15% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี  ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องยื่นเอกสารข้อมูลเหล่านี้ให้สรรพากรภายใน 150 วัน หลังจากปิดรอบบัญชีในแต่ละปี เรียกว่าเป็นการจดภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งการจดภาษีรูปแบบนี้เหมาะกับบริษัทเล็ก ๆ ที่กำลังเริ่มต้น หรือบริษัท Startup ที่ยังไม่มีรายรับ – รายจ่ายมาก สำหรับบริษัท หรือธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี สามาเลือกจ่ายแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากยอดขายของสินค้าหรือบริการของธุรกิจในแต่ละปี ซึ่งจัดเก็บในอัตรา 7% ของรายได้ต่อปี และบริษัทต้องจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ของแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือน พร้อมเอกสารต่าง ๆ แต่เดี๋ยวก่อนสรรพากรยังใจดี ให้เจ้าของธุรกิจเลือกเองได้! หากเรามั่นใจว่ารายได้บริษัทต่อปี ไม่เกิน 1,800,000 บาทแน่นอน ก็สามารถเลือกจ่ายแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามต้องการได้ แต่ถ้าหากเชื่อมั่นว่าฉันต้องรวย! รายได้เข้ารั่ว ๆ PEAK แนะนำจ่ายแบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีกว่า จะได้ไม่มีปัญหากับทางสรรพากรทีหลัง ค่าใช้จ่ายน่ารู้ช่วยลดหย่อนภาษี เจ้านาย หรือเจ้าของบริษัททั้งหลายอย่าเพิ่งหมดหวัง! เมื่อต้องจ่ายภาษี เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ถ้ามีใบกำกับภาษี ก็สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย ยิ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริษัท เพื่อการทำงาน และเพื่อลูกน้องสุดที่รักแล้วนั้น ยิ่งช่วยลดหย่อนภาษีได้อีกเพียบ! หากช่วงนี้กำลังมองหาอยากซื้ออะไรสักอย่างเพื่อบริษัท และลูกน้องที่น่ารัก แถมมีใบกำกับภาษีช่วยลดหย่อนภาษีช่วงสิ้นปีได้อีกด้วย นี่แหละคือโอกาส! อยากเป็นเจ้านายที่แสนดีอย่ารอช้า ซื้อเลย PEAK การันตีลูกน้องรัก ลูกน้องหลงแน่นอน 1.  ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเธอจะได้ทำงานสะดวกขึ้น! การซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากนักพัฒนา หรือผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ให้พนักงานเพื่อความสะดวกสบายในการทำงาน สามารถนำมาเป็นรายจ่ายของบริษัท และนำมาหักภาษีปลายปีได้ โดยสามารถหักภาษีได้ 1 เท่าของรายจ่ายตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง 2. ค่าเสื่อม และค่าสึกอุปกรณ์ทั้งของพนักงาน และของส่วนกลาง แน่นอนว่าการทำงานในทุก ๆ วัน สิ่งของย่อมมีสึกตามกาลเวลา สรรพากรก็ใจดี สามารถนำค่าเสื่อม และค่าสึกของอุปกรณ์มาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย–   คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ให้ค่าเสื่อมสภาพ 40% ของราคาคอมพิวเตอร์–   อาคารโรงงาน ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 20 ปี ไม่รวมที่ดิน และราคาไม่เกิน 200 ล้านบาท ที่สำคัญต้องมีพนักงานไม่เกิน 200 คน ให้ค่าเสื่อมสภาพ 25% ของราคาที่ดิน –   เครื่องจักรกล ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ให้ค่าเสื่อมสภาพ 40% ของราคาเครื่องจักร 3. ทำประกันชีวิตให้เหล่าลูกน้องที่น่ารัก ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันอุบัติเหตุ ให้คณะผู้บริหาร หุ้นส่วน รวมไปจนถึงให้พนักงาน สามารถเป็นรายจ่ายบริษัท โดยการจ่ายเบี้ยประกันต้องเป็นไปตามระเบียบ และต้องทำเพื่อเป็นผลประโยชน์ของบริษัทเท่านั้น 4. ซื้อวัคซีนทางเลือกให้พนักงาน สิ่งสำคัญที่พนักงานทุกคนกำลังต้องการในสถานการณ์นี้ ถ้าคุณตัดสินใจซื้อให้พนักงานของคุณ รับรองเลยว่าได้ใจทุกคนแบบเต็ม ๆ และแน่นอนว่าการวัคซีนทางเลือกให้พนักงานในบริษัท ถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท เพราะเมื่อพนักงานได้รับวัคซีน พนักงานก็สามารถกลับมาทำงานให้บริษัทได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถือเป็นผลประโยชน์ของบริษัท 5. ค่าใช้จ่ายการทำบัญชี ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า ข้อนี้สำคัญมาก สำหรับเจ้าของบริษัท การทำบัญชีเป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจ รวมถึงยังสามารถแบ่งเบา ลดภาระงานให้พนักงานที่น่ารักของเรา เราสามารถจ้างสำนักงานบัญชี หรือโปรแกรมบัญชีที่จะมาอำนวยความสะดวกในการทำงาน ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า เป็นเวลา 5 ปีในการเสียภาษี  เป็นหัวเรืออย่าลืมใส่ใจหางเรือ งานจะดีเมื่อคนทำงานมีความสุข ในสถานการณ์แบบนี้ควรจะให้กำลังใจซึ่งและกัน สู้ไปพร้อมกันทั้งบริษัท ส่วน PEAK ก็ขอสู้กับการทำบัญชี เคียงข้างทุกธุรกิจของคุณ ให้ PEAK ช่วยดูแลอย่างมืออาชีพ ที่สำคัญลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย  PEAK ใจดีจัดโปรโมชั่นให้กำลังใจลูกค้า SMEs  สามารถนำค่าโปรแกรมไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 200% สนใจคลิก : สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK คลิก

16 ก.ย. 2021

PEAK Account

8 min

ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด. 54 และ ภ.พ. 36

ในการจ่ายเงินให้กับผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ มีแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้องคือ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 แบบทั้งสองประเภทนี้คืออะไร ใช้เมื่อไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร  มาติดตามดูกัน ภ.ง.ด.54 ภ.ง.ด.54 คือ  แบบยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร วิธีใช้ ภ.ง.ด.54  ผู้จ่ายเงินได้ ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือคณะบุคคล จ่ายเงินได้ตามมาตรา 70 ให้แก่ ผู้รับเงินได้ ซึ่งรวมถึง ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายต่างประเทศ แต่มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย โดย เงินได้ตามมาตรา 70 ได้แก่ 40(2) (3) (4) (5) หรือ(6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย– มาตรา40(2) ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เป็นต้น– มาตรา40(3) ได้แก่ ค่าสิทธิในสิทธิบัตร สูตร หรือกรรมวิธี ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น– มาตรา40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น– มาตรา40(5) ได้แก่ ค่าเช่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น– มาตรา40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จำหน่ายกำไรตามมาตรา70 ทวิ โดย เงินได้ตามมาตรา 70ทวิ เป็นเงินได้จากการจำหน่ายกำไร หรือเงินได้ประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย  หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ 1. คำนวณภาษีและหักภาษี ณ ที่จ่าย  กรณีเงินได้ตามมาตรา 70 มีการหัก ณ ที่จ่ายแตกต่างตามประเภทรายได้ คือ– เงินได้ตามมาตรา 40(2)-40(6) ยกเว้น มาตรา 40(4) ประเภทเงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 15– เงินได้ตามมาตรา 40(4) ประเภทเงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% กรณีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ: อัตราภาษีร้อยละ10 ของจำนวนเงินที่จำหน่ายออกไปจากประเทศไทย 2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 พร้อมกับนำส่งเงินภาษี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 พร้อมกับนำส่งเงินภาษีส่งต่อเจ้าพนักงานภายใน 7 วันหรือยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินหรือจำหน่ายเงินกำไร  ภ.พ.36  ภ.พ.36 คือ เป็นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้จ่ายค่าสินค้าและบริการ เป็นผู้ยื่นแบบและนำส่งภาษีแทน ผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวหรือมิได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย วิธีใช้ ภ.พ.36 ภ.พ.36 ใช้เมื่อ ผู้จ่ายเงิน ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ ผู้รับเงินได้ ซึ่งรวมถึง  ก. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ ข. ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร  หน้าที่ของผู้จ่ายเงินได้ 1. คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ 2. ยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่ไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยยื่นแบบภ.พ.36 พร้อมกับนำเงินภาษีส่งต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วัน หรือยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินได้ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 ต่างกันอย่างไร จากที่กล่าวมาโดยสรุป ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 มีความแตกต่างกัน ดังนี้ อย่างไรก็ตาม ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 มีความเหมือนกันในกรณีที่เป็นภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินของผู้ประกอบการในประเทศไทยให้แก่ผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ และมีกำหนดการในการยื่นแบบต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วันหรือยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ตภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้แก่ผู้รับเงินได้ เมื่อผู้ประกอบการเข้าใจความแตกต่างของ ภ.ง.ด.54 และ ภ.พ.36 แล้ว เมื่อเกิดรายการที่เข้าหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมา จะได้คำนวณและยื่นแบบภาษีได้อย่างถูกต้อง ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง ภ.พ.36 คืออะไร แล้วใครคือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36: ??ายละเอียด/ภ_Dot_พ_Dot_36_Und_คืออะไร_Und_แล้วใครคือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ_Dot_พ_Dot_36