ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

หน้าหลัก>คลังความรู้>ภาษี

30 ส.ค. 2021

PEAK Account

8 min

เจ้าของกิจการยิ่งรู้เรื่องภาษี ยิ่งได้เปรียบ

ภาษีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ กิจการส่วนใหญ่จะจ้างนักบัญชีไว้คอยดูแลจัดการเรื่องภาษีเพื่อมิให้เกิดประเด็นทางภาษีกับกรมสรรพากร ที่จริงแล้วเจ้าของกิจการต้องตัดสินใจตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจว่าจะดำเนินธุรกิจแบบนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา ถ้าผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องภาษีก็คงจะดีไม่น้อยสำหรับการดำเนินกิจการ สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับภาษี ถึงแม้ธุรกิจจะจ้างนักบัญชีเป็นที่ปรึกษา เจ้าของธุรกิจก็ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษี ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับภาษีมีดังนี้ 1 อัตราภาษีสำหรับประเภทธุรกิจบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยปกติก่อนเริ่มกิจการผู้ประกอบการต้องตัดสินใจเลือกประเภทธุรกิจว่าจะเป็นแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้ เมื่อเริ่มต้นธุรกิจถ้ากิจการคาดว่ารายได้ต่อปีจะเกิน 750,000 บาทก็ควรเลือกประกอบธุรกิจในรูปบริษัท เนื่องจากอัตราภาษีอยู่ที่ 15% ซึ่งจะประหยัดภาษีมากกว่ากรณีบุคคลธรรมดา   2 ประเภทภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ    ในการทำธุรกิจ มีภาษีที่สำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้ดังนี้ 2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในอัตรา7%  2.2 ภาษีเงินได้  เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของผู้ประกอบการประกอบด้วยภาษีครึ่งปีและภาษีประจำปี กรณีธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล มีการยื่นภาษีครึ่งปีด้วยแบบภ.ง.ด.51 และภาษีประจำปีด้วย แบบ ภ.ง.ด.50  2.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่เกิดจากนิติบุคคลจ่ายเงินให้กับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ได้แก่ การจ่าย ค่าบริการ เป็นต้น และมีการหักภาษีไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินเพื่อนำส่งกรมสรรพากร  2.4 ภาษีอื่นๆ ได้แก่ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรแสตมป์ เป็นต้น 3   สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ประกอบการธุรกิจSMEs ควรทราบถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ภาครัฐมีมาตรการในการสนับสนุนธุรกิจSMEs  ได้แก่ 3.1 การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินมา                           ได้แก่ ทรัพย์สินประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ หักค่าเสื่อมราคาในอัตรา40% ของ                           มูลค่าต้นทุน เป็นต้น 3.2 การจ้างงานผู้สูงอายุ ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท     กิจการสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า  ข้อดีของการที่ผู้ประกอบการรู้เรื่องภาษี ถ้าเจ้าของธุรกิจรู้เรื่องภาษี แน่นอนว่าจะต้องเป็นผลดีต่อกิจการ โดยทาง PEAK ได้แบ่งเป็นข้อ ๆ ดังนี้  1 ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้ ผู้ประกอบการที่เข้าใจเรื่องภาษี โดยแยกรายจ่ายส่วนตัวกับรายจ่ายของกิจการออกจากกัน ทำให้กิจการประหยัดภาษีได้ เพราะแยกรายจ่ายส่วนตัวซึ่งเป็นรายจ่ายต้องห้ามออกไป นอกจากนี้การที่เจ้าของกิจการรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีก็จะช่วยให้กิจการประหยัดภาษีได้  2 ช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนการจัดการ ผู้ประกอบการที่รู้ภาษีสามารถวางแผนเลือกทรัพยากรหรือดำเนินกิจกรรมที่นำมาซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ การจัดหาเครื่องจักร การเลือกใช้ทรัพยากรบุคคล การจัดฝึกอบรม หรือแม้แต่การใช้เลือกโปรแกรมบัญชีที่ช่วยผู้ประกอบการในการจัดทำภาษีได้ถูกต้องรวดเร็วอย่างโปรแกรมPEAK ที่ให้ตัวเลขภาษีถูกต้องครบถ้วนและสามารถยื่นแบบได้ทันตามกำหนดเวลา   3 ช่วยผู้ประกอบการในการคำนวณต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง ภาษีธุรกิจส่วนใหญ่แปรผันตามราคาสินค้า ทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีเงินได้ เป็นต้น เมื่อผู้ประกอบการเข้าใจภาษีธุรกิจก็จะคำนวณต้นทุนสินค้าได้อย่างถูกต้อง 4 ลดความเสี่ยงในการเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม การที่เจ้าของกิจการรู้เรื่องภาษีทำให้กิจการเสียภาษีถูกต้องและยื่นแบบได้ทันตามกำหนดเวลา จึงลดความเสี่ยงในการเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า การที่เจ้าของกิจการรู้เรื่องภาษี จะสามารถช่วยให้องค์กรได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมหาศาล ทางเจ้าของธุรกิจ จึงควรเริ่มหาข้อมูลไว้ หรืออาจจะใช้ PEAK เข้ามาช่วยดูแล ทำให้เข้าใจข้อมูลง่ายขึ้นได้ด้วยครับ โปรแกรมบัญชีPEAK  มีPEAK  Board เป็น New Feature ที่ช่วยสรุปข้อมูลผลประกอบการ การจัดประเภทค่าใช้จ่าย ในรูป Dashboard ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.comหรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง เรื่องภาษีที่เจ้าของกิจการต้องรู้ 5 ข้อคิดภาษีธุรกิจ เรื่องที่ผู้ประกอบการควรรู้, ลงทุนศาสตร์ investor, 19 พฤษภาคม 2563

24 ส.ค. 2021

PEAK Account

12 min

“ที่ปรึกษาภาษี” อาชีพนี้มีหน้าที่อะไร?

ปัจจุบันมาตรการทางภาษีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนขึ้นตามทิศทางการดำเนินธุรกิจ การวางแผนภาษีที่ดี นอกจากจะช่วยให้ชำระภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วนยังเป็นการรักษาผลประโยชน์ขององค์กรในการบริหารค่าใช้จ่ายทางด้านภาษี อีกทั้งหลายธุรกิจประสบปัญหาจากการจัดการทางด้านภาษี ทำให้การชำระภาษีล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง ต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับทางภาษีในมูลค่าสูง การมีที่ปรึกษาทางภาษีจึงเป็นกลยุทธที่สำคัญในการจัดการปัญหาด้านภาษีหรือเพื่อการวางแผนทางภาษีให้กับองค์กร

20 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

11 min

 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice

ปัจจุบันการติดต่อซื้อ – ขาย และการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้การทำธุรกรรม หรือการจัดเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบ e-Service มากขึ้น ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญซึ่งกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำและส่งมอบให้กับลูกค้า ตลอดจนนำส่งให้หน่วยงานจัดเก็บภาษี ดังนั้น เพื่อความสะดวก ลดภาระต้นทุนในการนำส่งและจัดเก็บใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กรมสรรพากรจึงได้มีการพัฒนาใบกำกับภาษีรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ที่เรียกกันว่า ใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั่นเอง ในบทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice ให้มากขึ้น e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ 5 เอกสารที่สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ หากแต่กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ สามารถออกในรูปแบบเอกสารออนไลน์หรืออิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน ได้แก่ ประโยชน์ของการจัดทำ e-Tax Invoice การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่การลดต้นทุน การส่งเอกสารให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ซึ่งสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ PEAK ขอเล่า: รูปแบบของโครงการ e-Tax Invoice การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั้น มี 2 โครงการ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเลือกเข้าสู่โครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น 1. e-Tax Invoice by Time Stamp e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการพร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่โครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน 2. e-Tax Invoice & e-Receipt e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ที่มีการออกใบกำกับภาษีต่อเดือนจำนวนมาก สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญของทั้ง 2 โครงการ ขอสรุปความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt ดังนี้ PEAK ขอเล่า: การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้ว ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

24 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

11 min

เรื่องต้องรู้ก่อนเสียภาษีเงินได้

สองสิ่งที่หนีไม่พ้น คือ ความตายกับภาษี เป็นหนึ่งในวลีเด็ดที่เรามักถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะนอกจากความตายที่เราไม่อาจหลีกหนีได้แล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายก็เป็นเช่นนั้น ลองสังเกตชีวิตประจำวันของเราก็ได้ครับ แค่เด็กน้อย 8 ขวบไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เราก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าสินค้าโดยไม่รู้ตัวแล้ว พอโตขึ้นมาหน่อยเริ่มมีเงินจากการทำงานก็ต้องโดนนายจ้างหักภาษีเงินได้เงินเดือนเราอีก นั่นละครับชีวิต ในบทความนี้เราจะมาดูสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้ นั้นก็คือ “รายได้” กันครับ แต่ในเชิงการเสียภาษีเราจะไม่ได้เรียกรายได้ตรงๆ แต่จะใช้คำว่า “เงินได้” แทนครับ เงินได้ คืออะไร? “เงินได้” คือ คำว่า “รายได้” ที่เราคุ้นเคยกันมาแต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า เช่น เราทำงานแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน แล้วถ้าเราทำงานแต่ได้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งของหรือแลกกับบ้านเช่าที่ได้อยู่ฟรีล่ะ? ในทางภาษีก็ถือเป็นเงินได้เหมือนกันครับ เพราะเงินได้หมายรวมถึงเงิน สิ่งของตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่สามารถคิดกลับมาเป็นตัวเงินได้ แม้แต่เงินที่เราได้มาฟรีก็ยังต้องเป็นเงินได้เพราะถือเป็นผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับครับ “เงินได้” ย่อมาจากคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ซึ่งหมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปี ได้แก่ 1.เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้ 8 ประเภท มีอะไรบ้าง? พอเราเข้าใจว่าคำว่า “รายได้” เท่ากับ “เงินได้” ในทางภาษีแล้ว ก็ต้องรู้ต่อว่าทางกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศไทย ได้แบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. เงินเดือน 2. รับจ้างทำงาน 3. ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล 5. ค่าเช่าทรัพย์สิน 6. วิชาชีพอิสระ 7. รับเหมาก่อสร้าง 8. รายได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 อ้างอิงตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร บางคนอาจเรียกว่าเงินได้ประเภท 40(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ก็ได้ เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่ารับจ้าง โดยจะเน้นเรื่องการใช้แรงงานตัวเองเป็นหลัก เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เงินได้ประเภทนี้จะดอกผลที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุนของผู้มีเงินได้ เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ 40(5) ได้แก่ (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์รักษาคน) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 เช่น ขายสินค้าออนไลน์  สาเหตุที่ต้องแบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท สาเหตุที่ต้องแยกเงินได้ออกมาเป็นแต่ละประเภทมาจากการที่แต่ละอาชีพมีความยากง่ายหรือมีต้นทุนในการทำอาชีพนั้นแตกต่างกันจึงกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อหักจากเงินได้เพื่อเสียภาษีในอัตราเปอร์เซ็นต์ที่อ้างสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60%ของรายได้ ส่วนเงินได้จากค่าเช่ารถอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาจึงหักค่าใช้ได้จ่ายได้ 30%ของรายได้ ในบางกรณีเงินได้บางประเภทมีต้นทุนต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้นครับ ดังนั้นถ้าเราไม่แยกประเภทของเงินได้และกำหนดให้ทุกเงินได้หักค่าใช้จ่ายเท่ากันจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในแง่ของผู้มีเงินได้ครับ อัตราการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ของบุคคลธรรมดา การเสียภาษีของบุคคลธรรมดาจะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรที่ต้องเสียภาษีได้ 2 วิธี นั้นคือวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร (ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งบางเงินได้สามารถเลือกได้ทั้งสองวิธี แต่บางเงินได้อาจจะบังคับให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ดังนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้สูงสุด เช่น พี่เอกมีเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง 1 ล้านบาท มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง 8 แสนบาท ถ้าเลือกหักด้วยวิธีอัตราเหมาจะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 60% ของเงินได้หรือ 600,000 บาท แต่ถ้าเลือกวิธีหักตามจริงจะสามารถหักได้ถึง 8 แสนบาท ทำให้กำไรที่จะนำไปเสียภาษีต่ำลง อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็มีเรื่องที่ต้องระวัง คือ ทุกค่าใช้จ่ายที่นำมาหักต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเก็บไว้เสมอ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเราด้วย สรุปแล้วรายได้หรือเงินได้มีทั้งหมด 8 ประเภท โดยแบ่งเป็นตามความยากง่ายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องของเงินได้นั้นๆ กรณีบุคคลธรรมดาการที่เรารู้ว่าเงินได้ของเราอยู่ประเภทไหนจะช่วยให้ทราบว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร(ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางสรรพากรกำหนด อย่างไรก็ตามวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงต้องมีการจัดเก็บเอกสารเพื่อให้สรรพากรตรวจสอบได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายจริง และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 พ.ค. 2023

PEAK Account

6 min

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ใกล้ก้าวเข้าสู่กลางปีกันแล้ว แม้จะยังไม่ถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับโครงการช้อปดีมีคืนประจำปี 2566 โดยเฉพาะการออกใบกำกับภาษีที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งในรูปแบบของกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 โดยเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ช้อปดีมีคืน ถูกกำหนดไว้ดังนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ เพิ่มอีกจำนวน 10,000 บาท สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งใบกำกับภาษีแบบกระดาษนั้นไม่สามารถใช้ได้ หมายความว่า หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าสามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์คุณ เพราะ PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารแบบกระดาษ และที่สำคัญยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้จากโครงการช้อปดีมีคืนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย โดยขั้นตอนการดำเนินการผ่านโปรแกรม PEAK นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ผู้ประกอบการสามารถสมัครใช้งานโปรแกรม PEAK ได้ที่เว็บไซต์ www.peakaccount.com แล้วสมัครเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ที่เว็บไซต์ etax.rd.go.th เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างใบกำกับภาษีเต็มรูปในแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 สำหรับลูกค้า ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ได้จำนวนสูงสุดถึง 40,000 บาท มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง ดังนี้ ☑️ เลือกร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หากจำนวนเกิน 30,000 บาทแรก หมายความว่า เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะสามารถได้รับใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ☑️ ตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่เกิดปัญหานั้น การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะส่วนของใบกำกับภาษี จากเดิมที่ผู้ประกอบการนำส่งใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 โดยมีข้อความครบถ้วน และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ดังนั้น เมื่อเราได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการแล้ว ลูกค้าต้องตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของตนเอง PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก พร้อมเอกสารที่มีดีไซน์สวยงาม อ่านง่ายถูกใจลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

4 ม.ย. 2023

PEAK Account

23 min

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการจัดการภาษีซื้อที่ควรรู้

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีซื้อ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในการจัดการเรื่องภาษีซื้อได้อย่างถูกต้อง ภาษีซื้อ (Input Tax) คืออะไร ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จ่ายให้กับผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมี 4 กรณีดังนี้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีซื้อ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ 1.1 กรณีไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น1.2 ใบกำกับภาษีสูญหายหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ ในกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการร้องขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ออกใบกำกับภาษี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ                                                                                                                     2. กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยต้องมีรายการดังต่อไปนี้2.1 คำว่า “ใบกำกับภาษี” สามารถมองเห็นได้ชัดเจน2.2 รายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกใบกำกับภาษี2.3 รายการ ชื่อ และที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ2.4 รายการ และหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี2.5 รายการ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ2.6 รายการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยแยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน2.7 รายการ วัน เดือน และปีที่ออกใบกำกับภาษี หากใบกำกับภาษีฉบับใดมีข้อความไม่ครบถ้วนดังที่กฎหมายกำหนดข้างต้น ภาษีซื้อนั้นจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม 3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือนำมาขอคืนได้นั้น ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อกิจการหรือเพื่อแสวงหากำไรของกิจการ หากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม 4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน รายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ได้แก่ ค่ารับรองหรือค่าบริการ ไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรอง หรือให้บริการแก่บุคคลใดก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นการให้ประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าที่พัก ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา รวมถึงค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลที่ได้รับการรับรองหรือรับบริการ หรือที่ให้บุคคลอื่น 5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีมีดังต่อไปนี้5.1 บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม5.2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม5.3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่น โดยบุคคลอื่น 6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ซึ่งเป็นภาษีซื้อต้องห้ามมีดังนี้6.1 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต6.2 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ6.3 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม6.4 ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์6.5 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษี ไม่ได้พิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ6.6 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร6.7 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตาม 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย6.8 ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร6.9 ภาษีที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ นำมาใช้ หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิ์เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด6.10 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด6.11 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง ได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต6.12 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามมาตรา 86/4 (2)  แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ                    ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้ามนั้นกฎหมายไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ นำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืน แต่ภาษีซื้อต้องห้ามมีทั้งประเภทที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ และประเภทที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ  สำหรับภาษีซื้อต้องห้ามที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้แก่ การเฉลี่ยภาษีซื้อ สำหรับการเฉลี่ยภาษีซื้อโดยทั่วไป มีวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ 2 วิธี ดังนี้ 1. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเพิ่งเริ่มประกอบการ หรือประกอบกิจการแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ มีหลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อดังต่อไปนี้                                                                              1.1 การประมาณการรายได้ของกิจการของปีที่เริ่มมีรายได้ ทั้งกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคาดการณ์ว่าปีใดจะเป็นปีที่เริ่มมีรายได้ และแต่ละประเภทกิจการจะมีรายได้เท่าไร ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามสัดส่วนของรายได้ สำหรับ “ปีที่เริ่มมีรายได้” หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริง โดยมีระยะเวลาในปีแรกไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยมีวิธีพิจารณาดังนี้ก. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ เป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทอย่างน้อยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นปีที่เริ่มมีรายได้ข. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ เป็นนิติบุคคล ต้องมีรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทอย่างน้อย 6 เดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน เช่น บริษัท กขค จำกัด มีรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ต้องเริ่มมีรายได้อย่างน้อยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป จึงจะถือว่ารอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็น “ปีที่เริ่มมีรายได้”       ทั้งนี้แม้จะประมาณการรายได้เท่าไรก็ตาม ในการเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวจะนำภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ยไม่ได้                                                                      1.2 การปรับปรุงภาษีซื้อ เมื่อทราบว่าปีใดเป็นปีที่เริ่มมีรายได้แล้วก. การปรับปรุงภาษีซื้อ ให้ทำในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ข. ให้ปรับปรุงภาษีซื้อตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้                   ค. ในการปรับปรุงภาษีซื้อ ให้ปรับปรุงโดยการนำภาษีซื้อจำนวนที่เฉลี่ยตามประมาณการมาเปรียบเทียบกับการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของฐานรายได้ที่เกิดขึ้นจริงง. ยื่นปรับปรุงด้วยแบบ ภ.พ.30.2 โดยยื่นเพียงฉบับเดียว โดยปรับปรุงเป็นยอดรวมตั้งแต่เดือนแรกที่มีภาษีซื้อที่ต้องเฉลี่ยเกิดขี้น (ไม่ต้องแยกยื่นเป็นรายเดือน) และให้ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ  2. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ ประกอบการแล้ว มีรายได้ของปีที่ผ่านมา (รายได้ของปีก่อนปีปัจจุบัน 1 ปี) เมื่อผู้ประกอบการเริ่มมีรายได้แล้ว ปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้                                                                                                                                                                            2.1 เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อเมื่อสิ้นปีอีก หรือ                               2.2 เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา แล้วปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทตอนสิ้นปี โดยนำหลักเกณฑ์ของการปรับปรุงภาษีซื้อของปีที่ยังไม่มีรายได้ หรือปีที่เริ่มมีรายได้มาใช้     2.3 เมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้วให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไปเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้        แนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามและการเฉลี่ยภาษีซื้อดังที่กล่าวมา จะช่วยเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการในการวางแผนและบริหารจัดการภาษีของกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ                                                    ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง: ภาษีซื้อ คืออะไรอ่านบทความนี้ไม่ปวดหัวแน่ๆ | Station Account (station-account.com)เรื่องน่ารู้ของการ “เฉลี่ยภาษีซื้อ” | getInvoiceเอกสารกรมสรรพากร: การเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยนางสาว กัลยานี ยิ้มย่อง เอกสารกรมสรรพากร : ภาษีซื้อต้องห้าม

9 ต.ค. 2022

PEAK Account

20 min

ภาษีป้าย ประเด็นสำคัญที่เจ้าของกิจการควรรู้

ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ในฐานะลูกค้าเราคงจะไม่ปฏิเสธกันว่า สิ่งที่ทำให้ลูกค้าสะดุดตาและอยากเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการ นอกเหนือไปจากการตกแต่งร้านหรือการจัดโปรโมชั่นแล้ว ก็คือ ป้ายหน้าร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาจะสังเกตเห็นและมองเป็นอันดับแรก แต่ทราบกันหรือไม่ว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับป้ายไม่ใช่แค่ค่าออกแบบป้ายหรือค่าติดตั้งเท่านั้น แต่ยังมีภาษีป้ายซึ่งเจ้าของธุรกิจรวมทั้งนักบัญชีต้องศึกษาทำความเข้าใจเนื่องจากภาษีป้ายถือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจด้วย ลักษณะของป้ายที่ดี ในการทำธุรกิจ ป้ายหน้าร้านมีส่วนทำให้ร้านค้าน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ โดยลักษณะของการออกแบบป้ายที่ดีที่เจ้าของกิจการควรจัดทำนั้น ประกอบไปด้วย 1. การจัดวางภาพรวมของป้าย ในการจัดทำป้ายของกิจการ ภาพรวมของป้ายเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะข้อความที่ดึงดูดและเป็นที่จดจำของลูกค้า รวมทั้งการเลือกใช้สี การจัดวางตัวอักษรที่เหมาะสมที่ทำให้ลูกค้าสามารถอ่านและเข้าใจได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ระยะในการมองเห็นป้ายกิจการของลูกค้าก็มีความสำคัญ ในการจัดวางตัวอักษรหรือแผ่นป้ายควรคำนึงระดับการมองเห็นของคนทั่วไปด้วย โดยระยะการมองของคนทั่วไปโดยพื้นฐาน มุมมองสูงสุดระดับสายตาจะอยู่ที่ 50 องศา การเคลื่อนระดับสายตาระดับสูงจะอยู่ที่ 30 องศา ระดับการมองเห็นฉับพลันจะอยู่ที่ 15 องศา ระดับการมองเห็นปกติจะอยูที่ 10 องศา เป็นต้น  2. การเลือกใช้สีป้ายร้าน เจ้าของกิจการส่วนใหญ่มักจะเลือกสีที่ชอบเป็นการส่วนตัว หรือเลือกสีที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ แต่นอกจากนั้นสิ่งที่ควรคำนึงอีกประการหนึ่ง ก็คือ การปรับโทนสีให้เหมาะสมและเน้นการใช้งานในระยะยาว โดยมีแนวทางในการเลือกสีของป้ายร้านดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกใช้สีโทนเดียว โดยปกติสีแบ่งออกเป็น 2 โทนคือ สีโทนร้อนและสีโทนเย็น สีโทนร้อนได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง  ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ  กระฉับกระเฉง สีโทนเย็น ได้แก่ สีน้ำเงิน  สีเขียว ซึ่งให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ เย็นตา ในการใช้สีโทนเดียวกันของป้ายจะทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ทำให้เกิดความกลมกลืนและมีแรงจูงใจให้เกิดการคล้อยตามได้ การเลือกใช้สีดังที่กล่าวมาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับคอนเซ็ปต์ของร้านหรือตัวตนของแบรนด์ จะช่วยสร้างความน่าสนใจ ช่วยสร้างการรับรู้และจดจำของลูกค้า 3. วัสดุที่ใช้ในการทำป้าย วัสดุที่ใช้ในการทำป้าย ได้แก่ อะคริลิก ไวนิล อะลูมิเนียม สแตนเลส พลาสวูด เป็นต้น นอกเหนือจากประเภทของวัสดุควรคำนึงถึง ระยะเวลาในการใช้งานและความทนทานของวัสดุ เมื่อจัดทำป้ายร้านค้าแล้ว สิ่งสำคัญที่เจ้าของจะลืมไม่ได้คือเรื่องของภาษีป้าย ที่จะต้องยื่นแบบเสียภาษีให้ ถูกต้องตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนด ภาษีป้ายคืออะไร ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 6 ป้าย หมายความว่าป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น  ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือ ในรูปของเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ หรือ ในรูปของโลโก้บนวัตถุต่างๆ ที่ประกอบด้วยอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของป้ายทั่วไป ป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ รวมทั้งป้ายไฟที่ใช้ในการหารายได้หรือการโฆษณา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เจ้าของป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีไม่สามารถหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ หน่วยงานที่จัดเก็บ หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่จัดเก็บภาษีป้าย หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล องค์กรบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย เขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1. เขตเทศบาล 2. เขตสุขาภิบาล 3. เขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4. เขตกรุงเทพมหานคร 5. เขตเมืองพัทยา 6. เขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น อัตราภาษีป้าย อัตราภาษีป้ายตามกฎกระทรวงอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563 บังคับใช้สำหรับป้ายที่ต้องเสียภาษีป้ายตั้งแต่   วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป มีดังนี้ การคำนวณภาษีป้าย ในการคำนวณภาษีป้าย ผู้ประกอบการสามารถคำนวณจากสูตรนี้  ภาษีป้าย = พื้นที่ป้าย(ตร.ซม.) x อัตราภาษีป้าย/ 500 ตร.ซม. 1. การคำนวณหาพื้นที่ป้าย ให้พิจารณาจาก 1.1 ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้  โดยพื้นที่ป้าย คำนวณจากส่วนที่กว้างที่สุด คูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย 1.2 ป้ายที่ไม่มีขอบเขตที่กำหนดได้ ให้ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด และยาวที่สุดและนำมาคำนวณหาพื้นที่ป้ายแบบเดียวกับข้อ 1. เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของ 500 ตารางเซนติเมตร ให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง  2. จากนั้นจึงคำนวณหาภาษีป้ายจากตารางอัตราภาษีป้ายข้างต้นโดยพิจารณาตามประเภทของป้าย กรณีที่คำนวณภาษีป้ายได้ต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้กิจการเสียภาษีป้ายละ 200 บาท ตัวอย่าง การคำนวณภาษีป้าย            1. การคำนวณพื้นที่ป้าย   เช่น กรณีเป็นป้ายประเภทที่1 ที่มีตัวอักษรไทยล้วน อัตราภาษี 10 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายที่คำนวณ               ได้จากข้อ 1 พื้นที่ป้าย เท่ากับ 57,600 ตร.ซม.                             จากสูตร           ภาษีป้าย= พื้นที่ป้าย (ตร.ซม.) x อัตราภาษีป้าย/ 500 ตร.ซม.                                                     ภาษีป้าย = 57,600 x 10 /500                                                                           = 1,152 บาท ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษีป้าย มีดังนี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกป้ายโฆษณาจะต้องเสียภาษีป้ายทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย ได้ระบุป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย 2.1 ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ 2.2 ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า 2.3 ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว 2.4 ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์ 2.5 ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น หรือภายในอาคารซึ่ง เป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึง ป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 2.6 ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2.7 ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ 2.8 ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการ สหกรณ์ 2.9 ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตาม กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น 2.10 ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน 2.11 ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ 2.12 ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ 2.13 ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 2.14 ป้ายที่ติดหรือที่แสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล 2.15 ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ หรือรถแทรกเตอร์ 2.16 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะ นอกเหนือจากข้อ 2.17 โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย – เจ้าของป้าย ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งป้ายหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้าย – สำหรับผู้ยื่นเสียภาษีป้ายรายใหม่ เมื่อผู้ประกอบการทำการจัดทำป้ายร้านค้าที่ต้องเสียภาษีป้ายร้านค้าแล้ว ก่อนการติดตั้งจะต้องแจ้ง         เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เทศบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีป้าย ซึ่งระยะเวลาในการยื่นประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปี ถ้ามีการติดตั้ง แก้ไข หรือเพิ่มป้าย หลังจากวันที่ 31 มีนาคม ของปีนั้น ให้ยื่นแบบประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายภายใน 15 วัน หลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงป้าย เอกสารที่ใช้ในการยื่นประเมิน สำหรับเอกสารที่ใช้ในการยื่นประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายกรณีเป็นผู้ยื่นรายใหม่ มีดังนี้ 1. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย 2. รูปป้าย พร้อมขนาด กว้างxสูง 3. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน 4. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคล เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ภ.พ.20 ภ.พ.09 เป็นต้น 5. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่เจ้าของกิจการไม่สามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตนเอง เงินเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จะต้องชำระเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้ 1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย 2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน 3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดิอนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย บทลงโทษ 1. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท 3. ผู้ใดไม่เสียภาษีป้ายภายในวันที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 4. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย หรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้าย ณ สถานประกอบการค้า หรือสถานประกอบการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชึ PEAK ได้ที่  สอบถามเพิ่มเติม คลิก  อ้างอิง : พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ.2563 6 เรื่องควรรู้ก่อนทำป้ายหน้าร้าน (rantiddao.com) องค์ประกอบของป้ายร้านที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร? – HLVISION (hlvisioninkjet.com)

29 ส.ค. 2022

PEAK Account

20 min

Checklist ภาษีนิติบุคคลครึ่งปี มีอะไรต้องรู้บ้าง

กิจการที่มีรอบบัญชี สิ้นสุด 31 ธันวาคมมีกำหนดต้องยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายใน 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นการทบทวนเรื่องของภาษีนิติบุคคลครึ่งปีก่อนถึงกำหนดการยื่นภาษี ผู้ประกอบการต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง มาติดตามเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้กันในบทความนี้ ภ.ง.ด.51 คืออะไร ภ.ง.ด.51 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบ 6 เดือน โดยกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภายในระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี  ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการมีรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี  กรณียื่นแบบกระดาษ  กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายใน 31 สิงหาคม ของทุกปี กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต กิจการได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันหยุดราชการ จะได้รับการขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 1 วัน  ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด.51 ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ไม่ว่าจะมีทุนจดทะเบียน หรือยอดขายจำนวนเท่าใดก็ตาม ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด. 51 แยกตามประเภทของวิธีคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้แบ่งออกได้เป็น   2 ประเภท ดังนี้ 1. กรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี ประกอบด้วย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้แก่     1.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภท ใดหรืออยู่ ณ ที่ใด ได้แก่ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ กิจการ SMEs   กิจการ Start-up ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  1.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทยในกิจการที่ไม่ใช่การขนส่งระหว่างประเทศ 1.3 กิจการที่เป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้ามาประกอบกิจการในไทย ในกิจการอื่นใดที่มิใช่การขนส่งระหว่างประเทศ 1.4 กิจการร่วมค้า (Joint Venture)  2. กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรกได้แก่ 2.1 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2.2 ธนาคารพาณิชย์  2.3 บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  2.4 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ตามมาตรา 67ทวิ  (แห่งประมวลรัษฎากร ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงิน การคำนวณประมาณการกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี   (ภ.ง.ด.51) เป็นการประมาณการผลประกอบการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สาเหตุที่ต้องมีการประมาณการกำไรสุทธิ 1. เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายปีละครั้งลงเหลือกึ่งหนึ่ง 2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสมัครใจในการเสียภาษีของผู้ประกอบการ 3. เพื่อให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รวดเร็วขึ้น 4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีประมาณการกำไรสุทธิ ขั้นตอนที่1 กิจการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือนปีปัจจุบัน โดยนำตัวเลขผลประกอบการที่เกิดจริงในช่วง 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี บวกกับประมาณการผลประกอบการในช่วง 6 เดือนหลัง ซึ่งพิจารณาจากข้อเท็จจริงและแนวโน้มของปีปัจจุบันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยกิจการควรเก็บข้อมูลตัวเลขดังต่อไปนี้        1. ข้อมูลรายได้  ประกอบด้วย รายได้หลักของกิจการ และรายได้อื่น ได้แก่ กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน, กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น        2. ข้อมูลรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น ได้แก่ ขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน, ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น รวมทั้งควรพิจารณารายการรายจ่ายต้องห้าม ซึ่งไม่สามารถนำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณประมาณการกำไรสุทธิได้ เช่นเดียวกับการคำนวณกำไรสุทธิในการยื่นแบบภ.ง.ด.50 โดยกรมสรรพากรได้จัดทำตารางการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิที่เหมาะสมซึ่งกิจการสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่2 เมื่อได้ตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องคำนวณภาษีแล้ว จึงนำมาคำนวณภาษีเพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ซึ่งกิจการอาจใช้เกณฑ์การพิจารณาภาษีที่คำนวณได้ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดที่ผ่านมา กรณีประมาณการกำไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากร ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระ ภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทําให้จํานวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.8/2542 ข้อผ่อนปรนกรณีการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ในการพิจารณาการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ กรมสรรพากรมีข้อผ่อนปรนสำหรับกิจการดังนี้ 1. คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” กรณีแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไป ตาม มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558 “ข้อ ๑ กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร” (๑) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว (๒) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําหรือจะได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากําไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) 2. เหตุอันสมควรอื่นตามที่กรมสรรพากรกําหนด (ผู้เสียภาษีอากรทําหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่ทําให้ประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ) 3. คําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ กรณีลดเงินเพิ่ม  (ผู้เสียภาษีอากรต้องทําคําร้องยื่นต่อกรมสรรพากร) การยื่นแบบภ.ง.ด.51  นอกจากการยื่นแบบด้วยกระดาษ ปัจจุบันกรมสรรพากรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีข้อดีหลายประการดังต่อไปนี้ 1.  ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ในการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการจัดเตรียมเอกสารและการเดินทางไปยื่นแบบและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 2. โปรแกรมการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ช่วยผู้ประกอบการตรวจสอบข้อมูลขั้นต้น ในการกรอกแบบแสดงรายการภ.ง.ด.51 ในโปรแกรมการยื่นแบบ หากโปรแกรมพบข้อมูลผิดพลาด ในบางกรณีระบบจะแจ้งรายการเตือนให้ทราบทันที 3. การได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ในการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะได้รับสิทธิให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก   8 วัน การยื่นแบบภ.ง.ด.51 ทางออนไลน์  ปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วและง่ายสำหรับผู้ประกอบการ เพียงไม่กี่คลิกก็สามารถยื่นแบบได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและทันเวลา โดยกิจการสามารถศึกษาวิธีการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้จากลิงก์นี้ CMS-Manual-51-V4.pdf (rd.go.th) ข้อดีของการยื่นแบบภาษีตรงเวลา  1. กิจการไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ ได้แก่ ค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม    ถ้ากิจการยื่นแบบภ.ง.ด. 51 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว กิจการจะต้องชำระค่าปรับดังนี้ 1.1  ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร กรณียื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ค่าปรับอาญา  1,000 บาท  กรณียื่นแบบภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดการยื่นรายการไปแล้ว ค่าปรับอาญา  2,000 บาท  1.2 . เงินเพิ่ม ตามมาตรา 65  กรณีกิจการมีภาษีที่ต้องชำระ กิจการจะต้องเสียเงินเพิ่มตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1)  กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วัน  เสียเงินเพิ่มในอัตรา  0.1%   ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ        (2)   กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า เกิน 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ        (3)   กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการเกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) จนกว่าจะชำระครบ 20%ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด 2.    กิจการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลาแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วนถูกต้อง  ถ้ากิจการยื่นแบบเพิ่มเติม ในช่วงที่ยังไม่พ้นกำหนดการยื่นแบบดังกล่าว กิจการก็ไม่ต้องเสียค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม แต่ถ้ากิจการยื่นแบบเพิ่มเติม หลังจากพ้นกำหนดการยื่นแบบดังกล่าวแล้ว กิจการก็ต้องเสียค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่มในกรณีมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม  ความรับผิดในการเสียภาษี ความรับผิดในการเสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีแยกตามวิธีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดังนี้ 1. กรณีประมาณการกำไรสุทธิ ความรับผิดในการเสียภาษีแสดงดังรูป      ที่มา: เอกสารสัมมนาเรื่อง ภ.ง.ด.51 พ.ศ.2562, กรมสรรพากร 2. กรณีเสียจากกำไรสุทธิ 6 เดือนแรก ความรับผิดในการเสียภาษีแสดงดังรูป ที่มา: เอกสารสัมมนาเรื่อง ภ.ง.ด.51 พ.ศ.2562, กรมสรรพากร กิจการต้องไปยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกำไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อความรับผิดทางภาษี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นแบบภ.ง.ด.51ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ช่วยให้ผู้ประกอบการยื่นแบบได้ทันตามกำหนดเวลา ไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับทางภาษี ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง: การประมาณการกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ให้ถูกต้องและถูกใจกรมสรรพากร,กรมสรรพากร เอกสารการสัมมนาภ.ง.ด.51 ปี2562, กรมสรรพากร สรุป – แบบภาษีครึ่งปี (ภงด51) ปี 64 – ยื่นเมื่อใด? / คำนวณอย่างไร? (accountworks.co.th) ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น | Prosoft HCM ภ.ง.ด. 51 คืออะไรและระยะเวลายื่นแบบเป็นอย่างไร | getInvoice เตรียมพร้อมยื่น ภ.ง.ด.51 ประจำปีกันเถอะ (businessplus.co.th)