Our facilities

Pellentesque accumsan viverra magna vel maximus. Vestibulum at massa tempus, ultricies neque eget, ultrices felis. Curabitur tellus ipsum, commodo id sapien quis, varius dapibus nunc. Proin sapien mi, varius at mollis eget, lobortis at nisi. Nullam id odio ac leo volutpat finibus.

Etiam imperdiet turpis non nisi fermentum, ac mollis sem lobortis. Aliquam et nulla turpis. Donec vestibulum sed justo sed pulvinar. Ut vehicula varius dapibus. Nam vitae arcu eget metus sagittis ullamcorper in cursus nisl. Donec et mauris quis turpis auctor viverra in sit amet mi.

ราคาเริ่มต้น 1,200 บาท/เดือน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

บริหารธุรกิจ บัญชี การเงิน
และจัดการเงินเดือนได้ครบวงจร

เริ่มต้นเพียง 1,200 บาท/เดือน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

สามารถทำได้ซึ่งบนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างได้ทั้งแบบภาษีรายเดือนและรายปี

โดยแยกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ภ.ง.ด 1 เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน PAY โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะสร้างไฟล์ให้อัตโนมัติสำหรับการใช้โอนย้ายบน RD Prep และนำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรได้
  2. ภ.ง.ด 1ก เมื่อมีการสร้างสรุปจ่ายเงินเดือนประจำปีใน ระบบโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จึงดึงข้อมูลจากการจ่ายเงินเดือนในแต่เดือนของปีนั้นๆมารวมคำนวนเงินได้ และคิดภาษีรวมทั้งปีให้ ซึ่งง่ายต่อการนำการนำข้อมูลไปยื่นภาษีต่อ

เมื่อใช้โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) เพื่อสร้างข้อมูลเงินเดือน และการชำระเงินเดือน คุณไม่จำเป็นต้องทำการบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกครั้ง เนื่องจากระบบจะทำการบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติในรูปแบบของเอกสารบันทึกรายจ่าย EXP ซึ่งโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดในกระบวนการบัญชีของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการคำนวนยอดการจ่ายประกันสังคม โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถตั้งค่าคำนวนได้แบบทั้งกิจการและลงลึกได้ทั้งแบบรายพนักงานในบริษัท

ซึ่งการตั้งค่าประกันสังคมสามารถตั้งค่าได้ทั้งฝั่งอัตราเงินสมทบส่วนของนายจ้าง และ อัตราเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพื่อให้การจ่ายประกันสังคมในแต่ละเดือนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกต่อการทำงาน

และที่เป็นจุดเด่นโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปอัปโหลดบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพื่อทำจ่ายประกันสังคมได้ด้วย

อ่าน สำหรับวิธีการใช้งานฟังก์ชันเกี่ยวกับประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่
อ่าน วิธีการสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปจ่ายบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่

สามารถทำได้ โดยจะออกสลิปเงินเดือนและสามารถกดส่งสลิปเงินเดือนทาง Email ให้กับพนักงานในบริษัทได้เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน บนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll)

อ่าน คู่มือการออกสลิปเงินเดือน เพิ่มเติมนี่ที่
อ่าน คู่มือการส่งสลิปเงินเดือนทาง Email เพิ่มเติมที่นี่

ผลิตภัณท์ของ PEAK

PEAK Account
โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Payroll
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Tax
โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Board
โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Line @PEAKConnect
ใช้งานโปรแกรมผ่านไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

PEAK Account

9

min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

ความรู้บัญชี

5 เรื่องต้องรู้! การกระทบยอดรายได้บัญชีและภาษี (ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50)

จักรพงษ์

12

min

5 เรื่องต้องรู้! การกระทบยอดรายได้บัญชีและภาษี (ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50)

หนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องโดนเวลาขอคืนภาษี คือ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะขอรายงานหนึ่งที่เรียกว่า “รายงานกระทบยอดรายได้ทางบัญชีและภาษี” หรือที่นักบัญชีชอบเรียกกันว่า “กระทบยอด 30 vs 50” ซึ่งมีสมมติฐานว่ารายได้ที่บันทึกทางบัญชีควรต้องเท่ากับรายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) แต่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำด้วยเหรอ? ทำไมต้องขอ? แล้วต้องทำยังไง? ในบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องกระทบยอดรายได้ไปจนถึงสาธิตการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าอยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะครับ อ่านกันต่อได้เล้ยยยย⏩⏩⏩ 1. ทำไมต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ?  เหตุผลเบื้องหลังการกระทบยอดรายได้ ง่ายๆ คือ เพื่อตรวจสอบจำนวนรายได้ที่บันทึกบัญชี (ภ.ง.ด.50 หรือ งบการเงิน) กับ รายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ว่าตรงกัน และยื่นภาษีครบถ้วน PEAK ขอเล่า : จริงๆ ผู้ประกอบการควรต้องกระทบยอดรายได้ทุกเดือนอยู่แล้ว(แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรายปี!) เพื่อดูว่ารายได้บันทึกบัญชีในแต่ละเดือนได้นำส่งภาษีครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วมาพบทีหลัง ก็จะโดนค่าปรับย้อนหลัง ซึ่งบอกเลยว่าค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแพงสุดๆในบรรดาทุกภาษี เช่น วันดีคืนดีโดนสรรพากรเรียกตรวจ พบว่ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่มขาดไป 10,000 บาท เราจะต้องนำส่งภาษีที่ขาดและค่าปรับอีก 2 เท่า แปลว่าต้องจ่ายรวม 30,000 บาท (ภาษี 10,000 + ค่าปรับ 10,000*2เท่า) นอกจากนี้ยังมีเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย เรียกว่าโดนปรับทีหนึ่ง อาจเตรียมปิดกิจการได้เลย อ๊ากกก น่ากลัวมากก 😱😱 2. กิจการที่ต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ไม่ใช่ว่าทุกครั้งมีหน้าที่ต้องกระทบยอดรายได้ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 นะครับ เพราะภ.พ.30 นั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบที่จดภาษีมูลค่า (VAT) เท่านั้น – เน้นว่า ถ้าใครไม่ได้จด VAT ก็ไม่ต้องทำครับ – ดังนั้นกลุ่มที่ต้องกระทบยอดรายได้ หลักๆจะประกอบด้วย 1. บุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)2. นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 3. ข้อมูลที่ใช้กระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าวันนี้เราเป็นผู้ประกอบการจด VAT รู้ตัวแล้วว่าทำไมต้องทำ คำถามถัดไป คือ ถ้าจะทำต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? ผมได้สรุปเอกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ครับ 4. วิธีกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 เมื่อเตรียมเอกสารที่ได้บอกครบถ้วน ต่อไปเราจะเริ่มมากระทบยอดรายได้กันครับ สูตร  คือ “ รายได้ทางบัญชี(ภ.ง.ด.50) ลบ รายได้ทางภาษีVAT(ภ.พ.30) = 0 ” หือออ แค่นี้เองเหรอ! ใช่ครับและตาไม่ฝาดแน่นอน ถ้าธุรกิจไม่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจขายสินค้า เมื่อนำรายได้ทางบัญชีและทางภาษีมาลบกันแล้วมักจะไม่มีผลต่างครับ แปลว่าอาจยื่นภาษีได้ถูกต้อง (ผมใช่คำว่า “อาจ” แม้บางครั้งไม่มีผลต่าง แต่ก็มีกรณีที่มีรายได้แต่ไม่บันทึกบัญชีและยื่นภาษีด้วย) สำหรับธุรกิจที่เริ่มมีความซับซ้อนขึ้น เช่น ขายสินค้าแต่มีการเก็บมัดจำล่วงหน้า หรือธุรกิจให้บริการที่มีลูกหนี้การค้า วิธีกระทบยอดยังคงเป็นหลักการเดิม แต่จะเพิ่มรายการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของผลต่างเข้ามาคำนวณด้วย หลักๆ ผมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจขายสินค้า และธุรกิจให้บริการ ดังนี้ ธุรกิจขายสินค้า ธุรกิจขายสินค้าที่ไม่มีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า เมื่อนำรายได้ตามบัญชีหักรายได้ทางภาษีมักจะไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้ามีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า จะต้องนำเงินมัดจำคงค้างปลายงวดและต้นงวดมาปรับด้วยตามรูปภาพ ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจให้บริการการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีVAT มักจะเป็นคนละวันกัน ทำให้ต้องนำลูกหนี้การค้าปลายงวดและต้นงวดมากระทบยอดด้วย อีกทั้งถ้ามีการรับเงินมัดจำก็ต้องนำมากระทบยอดด้วยเช่นกัน ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น คือ ยอดลูกหนี้การค้าปกติจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วย ดังนั้นเมื่อนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอด อย่าลืมว่าต้องถอด VAT ออกจากลูกหนี้การค้าเสมอ ไม่งั้นจะเกิดผลต่างขึ้นได้ 5. สาเหตุผลต่างและวิธีแก้ไข บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้ราบเรียบเสมอไป ถ้าเราใส่ตัวเลขไปครบถ้วนแล้ว แต่เกิดผลต่าง ไม่ได้แปลว่าจะเกิดความผิดพลาดเสมอไป จริงๆมีหลายเหตุผลมากที่ทำให้เกิดผลต่าง ดังนั้นก่อนที่เราจะไปแก้ไขปัญหา เรามาเข้าสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลต่างจากการกระทบยอดรายได้กันครับ สาเหตุผลต่างที่ควรรู้ กรณีธุรกิจขายสินค้าวันที่รับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะรับรู้รายได้ทางบัญชีเมื่อให้บริการเสร็จ แต่ภาษีจะรับรู้เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว นี้จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจบริการจะต้องนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอดด้วย รายได้ที่บันทึกบัญชีไม่ได้จำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ เช่น ธุรกิจขายเนื้อหมูสดและขายมีดหั่นหมู ตอนบันทึกบัญชีจะบันทึกรายได้ทั้งขายหมูและขายมีด แต่ตอนเสียภาษีมูลค่าจะเสียจากรายได้ขายมีดเท่านั้น เพราะการขายเนื้อหมูเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  รายการที่ใช้กระทบยอดผิด หรือไม่ครบ เช่น ธุรกิจขายสินค้า แต่ใช้วิธีกระทบยอดของธุรกิจให้บริการ หรือ ธุรกิจบริการใช้ยอดลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ถอดVAT หรือ ไม่ได้นำเงินมัดจำ รวมถึงรายการอื่นๆ เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน รายได้ที่ไม่ต้องเสียVAT มากระทบ เป็นต้น ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่กิจการทำผิดจริงๆ เช่น บันทึกบัญชีรายได้แต่ไม่ได้นำไปเสียVAT หรือนำรายได้ไปเสียVAT แต่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายได้ เป็นต้น วิธีแก้ไขเมื่อเกิดผลต่าง ถ้าผลต่างเกิดจากการกระทบยอดผิดวิธี ไม่ครบถ้วน หรือเข้าใจผิด เมื่อรู้สาเหตุแล้วต้องรีบแก้ไขทันทีก่อนยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะมาทำหลังจากยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปแล้ว จึงต้องยื่นแก้ไขแบบภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบต้องเสียทั้งค่าปรับและเงินเพิ่มครับ สรุป ท้ายนี้ผมหวังว่าผู้อ่านทุกคนจะเข้าใจและเห็นความสำคัญของการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 มากขึ้นนะครับ ก่อนจากกันไป ผมได้สรุปเนื้อหาให้อีกครั้งเป็น checklist สั้นๆ ดังนี้ครับ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

ความรู้ภาษี

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามือใหม่

PEAK Account

13

min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

ความรู้บัญชี

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

PEAK Account

9

min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

ความรู้บัญชี